Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ขั้นตอนแยกสีCMYK สำหรับกระบวนการในการพิมพ์ ด้วยโปรแกรม Photoshop CMYK Separations for Process Printing









สาธิตตัวอย่างการใช้เครื่องมือปรับค่าสี CMYK And RGB Color Modes?








ตัวอย่างการเกิดลักษณะเหลื่อมล้ำของสีในงานพิมพ์ เกิดจากอะไร?

            ระบบการพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม หากภาพพิมพ์ที่ออกมามีความเหลื่อมของสี หรือพิมพ์ไม่ตรงแล้ว ภาพพิมพ์นั้นก็หมดความหมายและลดความสวยงามลงไปทันที ในบทนี้จะคุยกันในเรื่องการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ต
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ตก็คล้าย ๆ กันงานพิมพ์อื่น ๆ คือต้องใช้แม่พิมพ์สีแต่ละสีพิมพ์ภาพซ้อนทับกัน งาน 4 สีก็ต้องใช้เพลท 4 แผ่นพิมพ์ภาพซ้อนทับกันหมุนไปเรื่อยๆ ตามโมแม่พิมพ์แต่ละสี ซึ่งการแยกสีของเพลทหรือระบบที่เรียกว่า cmyk ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้
ในตัวอย่างภาพด้านล่างต่อไปนี้ จะแสดงให้ดูว่าการพิมพ์เหลื่อมหรือพิมพ์ไม่ตรงนั้น ภาพที่ออกมาจะเป็นอย่างไร
ภาพที่1 ภาพแสดงการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต 4 สี (CMYK) โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของสี
ภาพที่สอง เป็นการแสดงภาพพิมพ์เพลทแม่พิมพ์สีฟ้า และสีแดง

ภาพที่สาม แสดงการพิมพ์ภาพด้วยเพลทสีแดงและสีเหลือง


ภาพนี้แสดงภาพพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต ทั้ง 4 สี สังเกตุว่าภาพพิมพ์ที่ได้นั้นเกิดความเหลื่อมล้ำของสี ภาพพิมพ์ตรงหรือไม่นั้นให้สังเกตุที่ฉากพิมพ์ซ้ายและขวามือ ซึ่งปกติแล้วจะติดไว้ที่เพลทแม่พิมพ์ทุกเพลท เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งเครื่อง และสามารถตรวจสอบความตรงของภาพได้ง่ายขึ้น

การพิมพ์ภาพไม่ตรงนั้นก็มีหลายสาเหตุ อย่างเช่น อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการพิมพ์ การตั้งเครื่องพิมพ์ของช่างพิมพ์ หรือไม่ก็เพลทไม่ตรงอยู่แล้ว อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการทำเพลทแม่พิมพ์ เพราะหากเพลทแต่ละสีไม่ตรงกันแล้วก็ยากที่ช่างพิมพ์จะพิมพ์ภาพให้ตรงกันได้ ซึ่งต้องหาต้นตอของปัญหาก่อนจึงจะแก้ไขได้

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

หลักการพื้นฐานของทฤษฎีสีCMYK Printing ในระบบการพิมพ์สี












nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์