Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การจำแนกแก้วตามลักษณะการใช้งาน


  แก้วสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. แก้วที่ใช้ในวงการวิทยาศาสาตร์
  เมื่อพิจารณาสมบัติๆของแก้ว เช่น ทางด้านเชิงกล ความร้อน ทางไฟฟ้า ทางแสง และทางเคมีแล้วแก้วยังสมารถผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในความต้องการได้หลายประเภท เป็นเครื่องมือที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น แก้วที่ใช้ทำเลนส์ และแก้วปริซึมในกล้องจุลทรรศน์ที่มีคูณภาพสูง กล้องดูดาวที่ใช้ในการสำรวจจักรกาลโดยศึกษาระยะดวงดาวที่อยู่ห่างไกลจากโลภมากได้ ทำการวิเคราะห์ความลึกลับต่างๆ ของธรรมชาติโดยถ่องแท้โดยใช้สายตาผ่านเลนส์แก้ว นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาแก้วที่เหมาะสำหรับการใช้งานทางเคมีที่ทนต่อความร้อน และกัดกร่อนจากกรดได้ดีอีกด้วย
  ในห้องผ่าตัดยุคใหม่จะประกอบด้วยแก้วพิเศษซึ่งช่วยลดความร้อนจากหลอดไฟแรงเทียนสูงให้หมดโดยแก้วจะทำหน้าที่คลายความร้อนออกได้ช้ามาก ในทางการแพทย์ ห้องผ่าตัดยุคใหม่ จะใช้แก้วพิเศษชนิดรูปวงแหวนประกอบปืนอิเล็กตรอนใช้ยิงอนุภาคไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าการฉายรังสี( เรเดียม )ถึง 2 เท่าตัวในการค้นคว้าวิจัยต้องใช้แก้ว เช่น บิกเกอร์ ปิเปต บูเรต หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่นๆ อีกมาก
2. แก้วที่ใช้ในการให้แสงสว่าง
  ในอดีตจำเป็นต้องใช้โป๊ะแก้ว ปัจจุบันจึงมีหลอดไฟที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันเช่น หลอดไฟประหยัดไฟฟ้า ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออน ส่วนหลอดที่ใช้ทำป้ายโฆษณาที่มีสวยสดงดงามและหลอดที่มีกำลังส่องสว่างสูงกว่าหลอดธรรมดาด้วย การเกิดสีต่างๆ นั้น เป็นผลเนื่องจากการอัดก๊าซเข้าไปหลอด หรือเกิดจากสารเคมีบางชนิด เช่น แคลเซียมทังสเตนให้สีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเกตให้สีเขียว แคตเมียมบอเรต( cadmium borate ) ให้สีชมพู่
  สำหรับหลอดไฟที่อัดด้วยก๊าซฮาโลนา คลอรีน ฟลูออรีน ไอโอดีน นั้น ขณะที่หลอดติดจะเกิดความร้อนสูงให้แสงสว่างมาก จึงนิยมใช้ทำหลอดไฟสปอตไลด์( sport light ) ของรถยนต์ นอกจากนี้ยังสามารถอัดสารอื่นๆ เข้าไปในหลอดไฟ เช่น โซเดียม ปรอท นิยมใช้เป็นหลอดไฟแสงสว่างตามถนนหนทาง หรือกระโจมไฟ การอัดสารใดๆ เข้าไปหลอดไฟ จะต้องพิจารณาด้านความเหมาะสมในการใช้งาน
 3. แก้วที่ใช้วงการก่อสร้าง
  ในปี พ.ศ 2443 หรือ ค.ศ 1900 ผลิตภัณฑ์แก้วที่นำมาใช้ในวงการก่อสร้างเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ แก้วแผ่นใช้บุหน้าต่าง แต่ในปัจจุบันได้นำแก้วมาใช้เป็นจำนวนมาก ทำเป็นผลิตภัณฑ์แก้วแบบต่างๆ เช่น อิฐแก้ว ผลิตภัณฑ์แก้วชนิดเส้นใยใช้ทำม่าน หรือบุเก้าอี้ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ในที่ๆ แสงสว่างน้อยไม่เพียงพอก็ใช้บุเพดานหรือหลังคา หรือ กำแพงด้วยอิฐแก้วก็จะช่วยให้มีแสงสว่างดี และมากขึ้น
  ในปัจจุบันในวงการสถาปัตย์กรรมพยายามหาผลิตภัณฑ์แก้วแบบใหม่มาใช้งาน และนับวันจะมีบทบาทมากขึ้น การใช้เส้นใยแก้วก็เช่นเดียวกัน ได้จากการหลอมแก้ว แล้วใช้การดึงจากแก้วเหลวให้เป็นเส้นใย เมื่อได้เส้นใยขนาดต่างๆ ตามต้องการแล้ว จึงนำไปทอเป็นแผ่น สุดแท้แต่ลักษณะความต้องการในการใช้งาน บางครั้งก็นำเส้นใยไปทอเป็นเสื้อกันความร้อน หรือเสื้อกันไฟ ใยแก้วส่วนใหญ่ใช้บุเป็นฉนวนกันความร้อน ถือว่าเป็นวัตถุช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในตู้เย็น จะมีแผ่นฉนวนกันความร้อนบุโดยรอบ
  ในวิทยาการแผนใหม่กล่าวไว้ว่า ช่วงคลื่นของโทรทัศน์สี สามารถถ่ายทอดภาพ และเคลื่อนไปตามเส้นใยแก้วได้เป็นระยะทางไกลๆ แก้วอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำใช้งานก่อสร้าง ได้แก่ แก้วโฟม ( foam giass ) ซึ่งทำจากแก้วบดละเอียดผสมกับถ่านบด แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิสูง ใช้เป็นวัตถุก่อสร้างที่สำคัญอย่างหนึ่ง สมบัติพิเศษของแก้วโฟม คือ น้ำหนักเบามาก ลอยน้ำได้ ทนไฟ และไม่มีกลิ่น เมื่อหลอมละลายจะเกิดการขยายตัวมีฟองสีดำ เทลงไปลงแบบ และปล่อยให้แข็งตัวจะได้ในวัตถุที่แข็ง ทั้งหมดนี้แสดงว่าแก้วมีบทบาทเกี่ยวข้องกับความเจริญและความใกล้ชิดกับมนุษย์โลกอยู่ตลอดเวลา
4. แก้วในวงการศิปละ
  ผลิตภัณฑ์แก้วประเภทนี้ ไดแก่ แก้วไวแสง ซึ่งมีความไวต่อรังสีอัลตราไวโเลต ซึ่งสามารถใช้อัดภาพในแก้ว นอกจากนี้ยังมีแก้วสีต่างๆ ที่ใช้ในป้ายสัญญาณจราจร แก้วสีมาจากแก้วใส แต่ใส่ออกไซด์ของโลหะลงไปเล็กน้อยทำให้เกิดสีขึ้นในเนื้อแก้ว เช่น ใส่โคบอลต์ออกไซด์ ( cobalt oxide ) ให้สีน้ำเงิน ใส่เหล็กออกไซด์ให้สีชาใส่โครมิกออกไซด์ ( chromic oxide ) ให้สีเขียว
  บางทีก็ใช้ในการทำแว่นตาสีต่างๆ ในกรณีที่เป็นขวดแก้ว เรียกว่า แก้วเจียไน มีการตกแต่งโดยการกัดผิวให้เป็นรูปร่างศิปละขึ้นมา แก้วอีกอย่างหนึ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ เรียกว่า แก้วกระจกสี ซึ่งนิยมใช้ในการตกแต่งโบสถ์ วัดวาอาราม
5. แก้วในวงการอุตสาหกรรม
  แก้วมีส่วนช่วยให้กิจกรรมดำเนินไปด้วยความสะดวกหลายประการ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจะช่วยแก้ไขได้โดยผลิตภัณฑ์แก้ว เพราะนำไปใช้ในกิจกรรมเฉพาะเรื่องงได้ เช่น แก้วใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน ทนความร้อนได้ดี ไม่ผุกร่อน มองเห็นการทำงานได้ง่าย นอกจากนี้แก้วยังนำไปใช้ทำท่อต่างๆ ที่ใช้ในอุาสาหกรรมนม แก้วบางประเภทใช้กันความร้อนในอุตสาหกรรมโลหะ และใช้เป็นชิ้นส่วนของปั๊มบางประเภทที่ต้องทนต่อสารเคมี แก้วชนิดเป็นแก้วโบโรซิลิเกต หรือแก้วซิลิก้า ในปัจจุบันนี้ได้มีวิวัฒนาการนำแก้วมาใช้ทำเครื่องยนต์ต่างๆด้วย
6. แก้วในวงการอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนานคม
  จากการที่แก้วมีสมบัติเป็นฉนวน จึงได้มีการนำแก้วมาใช้ในการโทรคมนานคมและวงการอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั่วไปแก้วชนิดนี้ใช้ในวงการวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบเป็นพิเศษให้ทนต่อแรงดันไฟฟ้าสูงและช่วงความถี่สูงได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องประกอบทางวิทยุต่างๆ เช่น ตัวเหนี่ยว( inductance ) ตัวเก็บประจุ ( capactior ) หลอดโทรทัศน์สุญญากาศ แก้วบางประเภทนำมาทำเทปใสหนา 1/1000 ของ 1 นิ้ว ใช้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ สะดวกในการนำไปในที่ต่างๆ แม้แต่ลูกถ้วยไฟฟ้าแก้วตามหัวเสาไฟ หรือสายผ่านสัญญาณ ( transmission line ) ที่พบเห็นกันทั่วๆ ไปอีกด้วย
7. แก้วในยุคอวกาศ
  แก้วที่มีบทบาทสำคัญในวงการยุคอวกาศ โดยเฉพาะที่มนุษย์โลกได้พยายามขึ้นไปในอวกาศเพื่อการศึกษาจำเป็นต้องมองผ่านหน้าต่าง ซึ่งทำด้วยแก้วพิเศษ แม้แต่ในจรวดก็เช่นเดียวกัน ส่วนประกอบหลายอย่างใช้แก้วเป็นวัสดุสำคัญรวมถึงกล้องถ่ายรูปชนิดพิเศษที่ติดไปกับจรวดด้วย แก้วเหล่านี้ต้องทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลันได้โดยไม่เกิดการแตก นอกจากนี้ยังทนต่อรังสีอินฟาเรดที่ใช้ทำหน้ากระจังเครื่องบินที่ใช้ความเร็วสูง และใช้กระจกที่ทนต่อความสูงมากๆ แก้วอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานจรวด ได้แก่ แก้วเซรามิก ใช้การฉาบผิวที่อุณหภูมิสูง เนื่องจากกระสวยอวกาศก่อนร่อนลงสู่ผิวโลกจะต้องเสียดสีกับอากาศตามชั้นต่างๆ ทำให้เกิดความร้อนสูง จึงจำเป็นต้องเคลือบด้วยแก้วเซรามิกที่หัวจรวด กระเบื้องที่มีรูปร่างเป็นโฟมฟูๆ ฉาบผิวด้วยแก้วซิลิก้า มีการระบายความร้อนดีมาก และเป็นฉนวนกันความร้อนที่เมื่อผ่านชั้นอากาศก็ทนได้ดีซึ่งขึ้นอยู่สารยึดที่ทำให้เซรามิกหรือกระเบื้องติดอยู่ดี หรือไม่เท่านั้น

การจำแนกแก้วตามลักษณะส่วนผสม


  บรรดาผลิตภัณฑ์แก้วนานาชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นเพื่อสนองความต้องการใช้มีอยู่มากมาย การผลิตแก้วให้เบาเหมือนไม้คอร์ก หรือหนักเหมือนเหล็ก แข็งแรงเหมือนเหล็กกล้า เปราะง่ายเหมือนเปลือกไข่ อ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย หรือแข็งเหมือนเพชรพลอย ก็สามารถจะกระทำได้ทั้งสิน โดยทั่วไปแก้วมีลักษณะแข็ง โปร่งแสง เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวลง สามารถงอไปมาได้ ดังนั้นจึงสามารถใช้แก้วในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาปัตรกรรม โทรคมนาคม วิศวกรรม และยังขยายวงกว้างออกไปโดยไม่มีขอบเขตมีการพัฒนาแก้วชนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  แก้วสามารถจำแนกออกตามส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แก้วได้หลายชนิด ได้แก่ แก้วโซดาไลม์ แก้วตะกั่ว แก้วโบโรซิลิเกต วิตเทรียสซิลิก้า แอลคาไลน์ซิลิเกต และแก้วชนิดพิเศษ โดยแก้วละชนิดจะมีส่วนผสมหลัก คือซิลิก้า และแตกต่างกันไปสารอนินทรีย์อื่น
1. แก้วโซดาไลม์
  แก้วโซดาไลม์ ( soda lime glass ) เป็นแก้วที่มีส่วนผสมของโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมออกไซด์ผสมอยู่ด้วย เนื้อแก้วชนิดนี้มีราคาถูก หลอมละลายง่ายเมื่อเทียบกับแก้วประเภทอื่น มีประมาณร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์แก้วทั้งหมด แก้วประเภทนี้ได้แก่ ขวดต่างๆทั้งชนิดใส และมีสี เช่น ถ้วยแก้ว กระจกแผ่น จานชามข้อเสียสำหรับแก้วประเภทนี้ คือ ถ้วยแก้วต่างๆ ผิวบาง มักจะไม่ทนทานในการใช้งาน เกิดการแตกร้าวระหว่างการใช้งานบ่อยๆ เนื่องจากการขยายตัวและหดตัวสูง คำแนะนำในการใช้งานที่เหมาะสม คือ เมื่อนำไปใช้กับน้ำร้อนก็ไม่ควรไปใส่น้ำเย็น หากนำไปใช้สลับทั้งน้ำร้อน และน้ำเย็น อาจทำให้เกิดการแตกได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำเอาแก้วประเภทนี้ไปผลิตเป็นแก้วนิรภัยซึ่งใช้เป็นกระจกรถยนต์ แก้วกระสุน และลูกถ้วยไฟฟ้า ( glass insulator )ได้อีกด้วย
2. แก้วตะกั่ว
  แก้วตะกั่ว ( lead glass ) เป็นแก้วที่มีตะกั่วออกไซด์ สมบัติพิเศษของแก้วประเภทนี้มีความมันแวววาว สุกใสการหลอมแก้วโดยการใช้ตะกั่วเป็นตัวลดจุดหลอมละลายตัวของแก้วให้ต่ำลง หลอมง่าย และสวยงาม จึงนิยมนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทงานศิปละ และเนื่องจากแก้วชนิดนี้มีความต้่านทานไฟฟ้าดี จึงนำไปใช้ผลิตอุปกรณ์วิทยุเรดาร์ หลอดโทรทัศน์ และหลอดชนิดต่างๆด้วย
3. แก้วโบโรซิลิเกต
  แก้วโบโรซิลิเกต( borosilicate glass ) เป็นแก้วที่มีบอแรกซ์ด้วย แก้วประเภทนี้มีลักษณะดีเด่นเป็นพิเศษหลายประการ กล่าวคือ สามารถทนความร้อนได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนทางเคมี การหลอมตัวใช้บอแรกซ์เป็นสารลดจุดหลอมละลายตัวของแก้วให้ต่ำลง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้วประเภทนี้ ได้แก่ แก้วที่เข้าเตาอบได้ แก้วที่ใช้ประจำห้องทดลอง ทำท่อในอุสาหกรรม และทำส่วนประกอบการสูบน้ำ กล้องดูดาว
4. วิตเทรียสซิลิก้า
  วิตเทรียสซิลิก้า ( vitreous silica )หรือแก้วซิลิก้า เป็นแก้วที่มีส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96 จึงหลอมตัวยากต้องใช้อุณหภูมิสูงพิเศษ ขณะหลอมมีฟองเกิดขึ้นมาก จึงนิยมทำการหลอมในสุญญากาศ มีความหนืดสูงมาก เป็นแก้วที่มีความคงทนทางเคมี และทนไฟ้ได้ดี สัมประสิทธิ์การขยายตัวต่ำ มีความแข็งแกร่งดี ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน มีความต้านทานที่ผิวดีมาก มีราคาแพง โดยมากจะใช้ในกรณีที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานต่อความร้อนสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียส
5. แอลคาไลน์ซิลิเกต
  แอลคาไลน์ซิลิเกต( alkaline silicate ) เป็นแก้วที่มีโซเดียมออกไซด์และออกไซดือื่นอยู่ในส่วนผสม ทำให้เกิดการละลายตัวในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าวิตเทรียสซิลิก้ามาก การหลอมละลายแก้วชนิดนี้เกิดได้ยากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของออกไซด์ หากไม่พอเหมาะจะไม่เกิดเนื้อแก้ว ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่นิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์แก้วโดยตรงแต่จะใช้เป็นส่วนผสมในกรณีที่ต้องการให้เกิดการยึดติดของสารให้มากขึ้น เช่น กาว
  นอกจากนี้จะมีแก้วชนิดพิเศษอื่นที่มีลักษณะแตกต่างไปจากที่กล่าวข้างต้น เช่น แก้วโซดาไลม์มีการตกแต่งให้เกิดเป็นสีต่างๆ เพื่อใช้ในงานเฉพาะกิจ บางประเภทต้องการให้เกิดสีสวยงามในเนื้อแก้ว บางประเภทก็ต้องปรับปรุงคุณภาพโดยเฉพาะให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลันโดยไม่แตกหรือมีความคงทนต่อแรงกระทบกระแทรก ดังจะพบว่าจากบางประเภทผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศล หรือ อิตาลี สามารถทดลองโยนลงจากที่สูงให้กระทบพื้นโดยไม่แตกร้าวประการใด

ประเภทของแก้ว


  แก้ว คืออะไร แก้ว คือ สลารชนิดหนึ่ง แต่ในกรณีของสสารทั่วไปมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ในสภาวะที่เป็นก๊าซเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นของเหลว และเมื่อเย็นตัวต่อไปก็จะกลายเป็นของแข็ง เช่น น้ำเป็นของเหลว เมื่อร้อนขึ้นจะกลายเป็นไอ เมื่อเย็นจัดจะกลายเป็นน้ำแข็ง แต่ในกรณีของแก้วนั้น ถึงแม้เมื่อมีอุณหภูมิสูงก็ยังมีสถานะเป็นของเหลวโดยไม่กลายสภาพเป็นก๊าซ ความหนืดของน้ำแก้วในขณะหลอมละลายหรือที่เรียกว่า น้ำแก้ว ( molten glass ) และเมื่ออุณหภูมิต่ำลงเป็นของแข็งที่ไม่เป็นผลึกหรือในรูปอสัณฐาน และมีความแข็งแรงในเนื้อ แต่มีความเปราะของเนื้อแก้ว
  แก้วเป็นสารประกอบซิลิก้าหรือซิลิกอนไดออกไซด์( SiO2 ) ที่มีสารโลหะออกไซด์อื่นหรือมีสารอนินทรีย์บางชนิดอยู่ด้วย มีลักษณะเป็นของแข็งใส มองผ่านทะลุได้ แต่มีความเปราะอยู่ในตังเอง เมื่อนำมาเผาให้ถึงจุดหลอมละลายที่อุณหภูมิสูง และเย็นตัวลงจะได้วัตถุใสโปร่งตา มีความแวววาวสุกใส
  แก้วมีทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์สร้างขึ้น ในยุคหินที่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ไฟในการหุงต้มตรงเชิงตะกอนเตาเมื่อได้รับความร้อนสูงพออาจทำให้เกิดการหลอมละลายที่ผิวกลายเป็นลูกปัดแก้ว แก้วธรรมชาติเกิดจากการหลอมตัวของทรายหรือทรายแก้ว ซึ่งทางเคมี เรียกว่า ซิลฺกอนไดออกไซด์ ( silicon dioxide ) ซึ่งเกิดในลักษณะของหิน หรือแร่ โดยธรรมชาติ เช่น หินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งในทางธรรมชาติจะใช้เวลานานมากกว่าจะได้แก้วดังนั้นมนุษย์จึงคิดค้นหาวิธีการผลิตแก้วให้ได้โดยไม่ใช้เวลานาน โดยนำมาหลอมที่อุณหภูมิสูงและมีวัตถุดิบเพื่อให้เกิดแก้วตามที่ต้องการ แก้วที่ได้โดยฝีมือมนุษย์สามารถจำแนกได้ 2ลักษณะ คือ ประเภทแก้วที่จำแนกตามลักษณะส่วนผสมและตามลักษณะการใช้งาน

มวลโลหะทีเคลือบ


  ลักษณะและสมบัติของโลหะที่ใช้เป็นวัสดุพิมพ์มีทั้งทางเคมีและทางกายภาพ ทางเคมีมีส่วนใหญ่จะเน้นที่ความสามารถของโลหะในด้านความทนทานต่อการกัดกร่อนซึ่งจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดมากนักในที่นี้ลักษณะและสมบัติของโลหะที่จะเน้นจะเป็นทางด้านกายภาพ โลหะที่จะกล่าวถึงโดยส่วนใหญ่ คือ แผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุก ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณการใช้ที่นิยมมาก
  มวลดังกล่าวนี้เป็นมวลโลหะที่ใช้เคลือบ การระบุในรูปที่เป็นมวลโลหะที่ใช้เคลือบทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าการเคลือบของโลหะสม่ำเสมอตลอดทั้งนี้แผ่นโลหะที่เป็นฐานรองรับ ไม่นิยมที่จะวัดความหนาเนื่องจากแผ่นโลหะที่เป็นฐานรองรับอาจมีความหนาที่ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ซึ่งจะมีผลทำให้โลหะที่เคลือบมีความหนาในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไปและจะมีผลต่อการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเคลือบที่บางและไม่ทั่วจากมวลที่ได้สามารถนำค่าตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณหาความหนาโดยเฉลี่ยได้ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ โดยปกติถ้ามวลของโลหะที่เคลือบมาก ความหนาจะมากตามด้วย มวลของโลหะที่เคลือบมาก ความหนาจะมากตามด้วย มวลของโลหะที่ใช้เคลือบสามารถแบ่งได้ตามแผ่นโลหะที่ใช้ 2 ประเภท คือ มวลของดีบุกที่เคลือบ และมวลของโครเมียมที่เคลือบ
1. มวลดีบุกที่เคลือบ
  มวลดีบุกที่เคลือบ ( tin-coating mass ) โดยปกติเหล็กกล้าเคลือบดีบุกจะมีลักษณะของดีบุกที่เคลือบเป็น 2 ลักษณะ คือ เคลือบดีบุกเท่ากันทั้งสองด้าน และเคลือบดีบุกไม่เท่ากันทั้งสองด้าน มวลของดีบุกไม่เท่ากันทั้งสองด้าน มวลของดีบุกที่ใช้เคลือบโดยทั่วไปมี 5 ระดับ คือ 2.8.5.6.8.4.11.2 และ 15.1 กรัมต่อตารางเมตร
  การเคลือบทั้งสองด้าน คือ ด้านบนและด้านล่างนั้น ด้านบนในที่นี้หมายถึงด้านที่เป็นด้านสัมผัสกับการพิมพ์หรือเป็นด้านที่พิมพ์ ส่วนด้านล่างจะเป็นด้านที่อยู่ในกระป๋องจะสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ เช่น อาหาร ในการระบุการเคลือบจะแสดงเป็นการเคลือบด้านบนและด้านล่าง คือ บน/ล่าง เช่น 2.8/2.8 หมายถึง การเคลือบดีบุกให้มวลเคลือบด้านบนเท่ากับด้านล่าง เป็น 2.8 กรัมต่อตารางเมตรโดยปกติจะมีการใช้สัญลักษณ์ E กำกับด้วยเช่น E 2.8/2.8 ในกรณีที่เคลือบไม่เท่ากันก็จะมีตัวเลขที่แสดงต่างกัน เช่น 5.6/2.8
  การเคลือบที่แตกต่างกันสองด้านของดีบุกจะกระทำได้เฉพาะเป็นการเคลือบด้วยไฟฟ้าเท่านั้น ถ้าเป็นการเคลือบด้วยการจุ่มดีบุกร้อน จะให้การเคลือบของน้ำหนักดีบุกสองเท่ากัน ในการเคลือบดีบุกที่มีน้ำหนักของดีบุกที่เคลือบสองด้านต่างกัน จะมีการระบุให้ผู้ใช้หรือโรงพิมพ์ทราบว่าด้านใดหนาบางต่างกัน โดยระบุเป็นเครื่องหมายแสดงการเคลือบที่ต่างกัน ( tinplate coating weigh mark ) มีลักษณะเป็นเส้นหลายแบบ เช่น เส้นตรงต่อเนื่องตามความยาวของแผ่นเหล็กกล้า เส้นทแยง เส้นวงกลม ส่วนใหญ่ที่นิยมจะเป็นหลายแบบ เช่น เส้นตรงต่อเนื่องตามความยาวของแผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุก จะใช้สำหรับระบุให้ทราบว่าแผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุกนี้มีการเคลือบสองด้านต่างกัน
  ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นมีสัญลักษณ์ที่ใช้ 2 แบบ คือ D และ A ซึ่งต่างกันที่ขนาดของเส้น คือ D เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงเส้นหนาหรือความกว้างของเส้น 2 มิลลิเมตร และลักษณะของเส้นที่ใช้เป็นตรงลากขนานกันไปในทางเดียวกับทิศทางของแนวรีดตลอดทั้งแผ่น
  ส่วนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น มีลักษณะของการแสดงเครื่องหมายที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ มีสัญลักษณ์ที่ใช้เป็น D ซึ่งหมายถึง เส้นที่แสดงความแตกต่าง ( differential line ) ของการเคลือบที่มีน้ำหนักต่างๆกันลักษณะของเส้นที่ใช้ลากขนานกันและไปทางเดียวกันกับทิศทางแนวรีดตลอดทั้งแผ่นเช่นเดียวกันตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่น แต่เส้นที่ใช้จะมีความกว้างของเส้นเพียง 1 มิลลิเมตรและไม่พบว่ามีการใช้เครื่องหมายที่มีสัญลักษณ์ A
  ลักษณะของเส้นที่เกิดมีสีขาว ได้จากการปล่อยสารเคมีผ่านท่อเล็กๆ ที่ปลายท่อหุ้มด้วยผ้าสักหลาดที่สัมผัสบนแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก สารเคมีที่ใช้ คือ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้นประมาณ 20 กรัมต่อลิตร การกำหนดสัญลักษณ์เพื่อทำเส้นอาจเป็นด้านบนหรือด้านล่างแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่นิยมเป็นด้านที่พิมพ์เพื่อเมื่อพิมพ์หมึกพิมพ์แล้วจะมองไม่เห็นลวดลายของเส้น แต่ในบางครั้งถ้าการพิมพ์ต้องการแสดงผิวของโลหะ ลายเส้นที่แสดงควรกำหนดให้อยู่ด้านล่าง ระยะห่างระหว่างเส้นขนานจะแตกต่างกันไป
  ความถี่ห่างของเส้นที่กำหนดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานของแผ่นโลหะ เช่น ลำตัว ขนาดของแต่ละชิ้นที่ใช้จะใหญ่เล็กไม่เท่ากัน การตัดแบ่งแผ่นโลหะไปใช้จะไม่เท่ากัน ถ้ามีการใช้ไม่เหมาะสมอาจมีผลทำให้เส้นที่แสดงเครื่องหมายไม่ถูกตัดแบ่งไปด้วย ทำให้ไม่ทราบชัดเจนว่าด้านใดเป็นด้านที่เคลือบหนาบางต่างกัน
2. มวลโครเมียมที่เคลือบ
  เหล็กกล้าปลอดดีบุกเป็นแผ่นเหล็กกล้าที่เคลือบด้วยชั้นโครเมียมออกไซด์ ชั้นเคลือบของโครเมียมและโครเมียมออกไซด์จะมีหน่วยน้ำหนักเป็นมิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อด้าน มวลโครเมียมที่เคลือบจะไม่หลากหลายเหมือนมวลดีบุกที่เคลือบ มวลโครเมียมที่เคลือบโดยเฉลี่ยที่น้อยที่สุดประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อต้าน และมวลสำหรับชั้นโครเมียมออกไซด์เฉลี่ยที่น้อยที่สุดประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อด้าน

อะลูมิเนียมที่ใช้ในทางการพิมพ์

  อะลูมิเนียมจัดเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบาและขึ้นรูปได้ง่ายกว่าเหล็กกล้า อะลูมิเนียมมีสภาพนำไฟฟ้าและความร้อนดี ความสามารถในการสะท้อนแสงสูง และมีความต้านทานการออกซิไดส์ อะลูมิเนียมได้จากการถลุงแร่จากสินแร่ออกไซด์ หรือ บอกไซด์ ( bauxite ) ซึ่งเป็นสินแร่ที่นิยมใช้ในการผลิตอะลูมิเนียม สารที่ได้จากบอกไซด์ คือ อะลูมินา ( alumina ) ซึ่งเป็นออกไซด์ของอะลูมิเนียมที่มีน้ำอยู่ด้วย ( hydrated  aluminiumoxide,AI2O.H2O ) ในการแยกเพื่อให้ได้อะลูมิเนียมจะทำโดยการอิเลกโตกไลด์ในการละลายโพแทสเซียมอะลูมิเนียมฟลูออไรด์ ( potassium aluminium fluoride ) บอกไซด์เป็นสินแร่ที่หายากกว่าสินแร่เหล็กกล้า บอกไซด์ประมาณ 4 กิโลกรัม สามารถให้อะลูมิเนียมได้เพียง 1 กิโลกรัม จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตเป็นโลหะอะลูมิเนียมมีราคาแพง จึงมีการนำอะลูมิเนียมมาหมุนเวียนใช้ใหม่
  อะลูมิเมียมเป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหล็กกล้า เป็นโลหะที่สามารถปั๊มยึดได้ง่ายกว่าเหล็กกล้า เป็นโลหะที่สามารถปั๊มยึดได้ง่ายกว่าเหล็กกล้า แผ่นอะลูมิเนียมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นโลหะผสมระหว่างอะลูมิเนียมกับแมงกานีส อะลูมิเนียมมีปริมาณการใช้เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมกระป๋องโดยเฉพาะกระป๋องชนิด 2 ชิ้น และนิยมเป็นฐานรองรับที่ดีสำหรับการพิมพ์
  อะลูมิเนียมจะมีชั้นป้องกันผิวหน้าด้วยชั้นของออกไซด์เหมือนกับเหล็กกล้าปลอดดีบุกที่มีโครเนียมออกไซด์ อะลูมิเนียมมีสมบัติเหมือนกับเหล็กกล้าเคลือบโครเมียมหรือเหล็กกล้าปลอดดีบุก คือ ไม่สามารถบัดกรีได้ อะลูมิเนียมสำหรับการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์มีข้อดี คือ ความหนาแน่นประมาณ 2.70 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีความอ่อนซึ่งช่วยให้ขึ้นรูปเป็นกระป๋องแและหลอดได้โดยการดึงยึดที่อุณหภูมิปกติหรือการทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือฟอยล์ ( aluminium foil )
  การใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ที่นิยม คือ ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ( flexible packaging ) โดยลามินเนตฟอยล์ติดกับวัสดุอื่น เช่น กระดาษ พลาสติก ตัวอย่างการใช้ เช่น ซองใส่อาหารสำเร็จรูป ใช้เป็นแผ่นปิดบนปากถ้วยโยเกิร์ต ขวดนม ความหนาบางของฟอยล์ขึ้นกับความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน กล่าวคือ ถ้าใช้เพื่อลามิเนต ความหนาจะอยู่ระหว่าง 0.006-0.009 มิลลิเมตร แต่ถ้าใช้เพื่อปิดปากถ้วยและขวด ความหนาจะอยู่ระหว่าง 0.1- 0.2 มิลลิเมตร ซึ่งจะเป็นแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมกึ่งแข็ง ไม่อ่อนเหมือนแบบแรกที่บาง การพิมพ์อาจมีทั้งการพิมพ์บนฟอยล์โดยตรงและบนวัสดุอื่น เช่น กระดาษ พลาสติก ที่ลามิเนตด้วยฟอยล์ นอกจากที่กล่าวแล้วใช้งานของฟอยล์ก็ยังมีเช่น ซองยา แผงยาที่มีฟอยล์พิมพ์อยู่ด้านหลังเพื่อกดเอายาออกมา
  อะลูมิเนียมที่ใช้สำหรับผลิตกระป๋องชนิด 2 ชิ้น จะนิยมผลิตใช้รูปม้วนหรือคอยล์ส่งไปยังโรงงานผลิตกระป๋อง ลักษณะของคอยล์อะลูมิเนียมที่ผลิตส่วนใหญ่จะมีความหนา 0.29-0.33 มิลลิเมตร และมีหน้ากว้างอยู่ในช่วง 600-1,750 มิลลิเมตร น้ำหนักของคอยล์หนักถึง 10 ตัน อะลูมิเนียมจะต้องได้รับการทำให้ลื่นด้วยน้ำมันเพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการขึ้นรูปเป็นกระป๋อง 2 ชิ้นแบบรีดยึดลำตัว

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวพิมพ์

     ตัวพิมพ์มีการพัฒนารูปลักษณ์มาจากเค้าโครงตัวเขียนของภาษาต่างๆ ดังเช่นในกรณ๊ตัวพิมพ์ไทยตัวพิมพ์แบบแรกๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือในประเทศไทย คือ "บรัดเลย์เหลี่ยม" หรือตัวพิมพ์ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์"บางกอกรีคอร์เดอร์" นั้น  สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากลายมือแบบอาลักษณ์  ที่พบปรากฎตามเอกสารในยุคต้นรัตนโกสินทร์ตัวพิมพ์ในรุ่นต่อมาได้พัฒนาลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบให้เหมาะสมกับเทคนิคการพิมพ์  คือ การแยกช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว  มีลำตัวตั้งตรง  แทนเส้นเอน  และมีความต่อเนื่องดังที่มักปรากฏในตัวเขียนอันเนื่องมาจากความถนัดในการใช้มือ

ตัวพิมพ์แบบ"บรัดเลย์เหลี่ยม" ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย

เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์ ” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกันและให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญเป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.

กระแสงานของงานก่อนพิมพ์

         งานก่อนพิมพ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาและภาพ    เพื่อจัดทำเป็นองค์ประกอบของหน้างานพิมพ์   และการดำเนินการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แม่พิมพ์มีความถูกต้องและคุณภาพ  พร้อมที่จะนำข้อมูลไปสู่การพิมพ์ตามระบบการพิมพ์ต่างๆ  กระแสงานของงานพิมพ์ที่สำคัญๆ  ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. งานนำเข้าข้อมูล (INPUT) เพื่อนำข้อมูลไปสู่การทำงานก่อนพิมพ์ เป็นการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อความหรือตัวอักษรมาจัดเรียงตัวพิมพ์  และนำภาพต้นฉบับมาดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดประกอบหน้าสิ่งพิมพ์  โดยอาจเป็นการกราดภาพจากต้นฉบับ  หรือการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลได้เป็นไฟล์ภาพ  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการนำเข้าข้อมูลต่างๆ
  2. งานประมวลผลข้อมูล(PROCESS) เพื่อจัดทำข้อมูลงานก่อนพิมพ์ให้สำเร็จ  เป็นการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดรายละเอียดหน้างานพิมพ์  เช่น  ขนาดหน้างานพิมพ์  ระยะขอบหน้างานพิมพ์  จากนั้นทำการจัดวางตัวพิมพ์และลงภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้มีความลงตัวและสวยงาม  รวมทั้งกำหนดองคืประกอบต่างๆ  ที่ตอ้งการให้ครบถ้วน  เช่น  สี  กรอบ  ลายเส้น  เป็นต้น
  3. งานส่งออกข้อมูล (OUTPUT) เพื่อทำการพิมพ์  เมื่องานในขั้นตอนการจัดประกอบหน้าสำเร็จลุล่วงและได้มีการตรวจสอบอย่างรอบครอบแล้ว  ก็จะส่งข้อมูลเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานพิมพ์  โดยเกี่ยวข้องกับการวางหน้างานพิมพ์  การพรีไฟลต์  ทำปรู๊ฟสี  และการส่งออกข้อมูลงานวางหน้าเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานตรวจสอบข้อมูลที่จะส่งออกเพื่อแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ดิจิทัล  ทั้งนี้งานดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมที่จะนำไปจัดทำแม่พิมพ์หรือพิมพ์ผลออกตามระบบการพิมพ์ที่จะใช้พิมพ์ในแต่ละงาน  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการส่งออกข้อมูล  รวมทั้งเครื่องประเภทต่างๆ  ง
                  กระแสงานของงานก่อนพิมพ์ที่กล่าวข้างต้น  เป็นกระแสงานก่อนพิมพ์ในระบบการพิมพ์ดิจิทัลมากกว่างานก่อนพิมพ์ในระบบแอนะล็อก  และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กัยอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย


  การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย( glaze and decoration ) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน ลวดลายที่สวยงาม และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
  การตกแต่งลวดลายทำได้ 2 วิธี คือ การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ( under giaze decoration ) และการตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ( overglaze decoration )
  5.1 การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ หมายถึง การทำลวดลายต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การเขียนด้วยมือ การใช้ตรายางประทับบนผิว การใช้รูปลอกการพิมพ์ หลังจากทำการตกแต่งลวดลายแล้ว จึงทำการเคลือบทับ และนำไปเผาเคลือบต่อไป
  5.2 การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผ่านการเคลือบและเผาเคลือบแล้วจึงนำมาตกแต่งลวดลาย เช่น การเขียน การใช้รูปลอก( transfer paper ) การพิมพ์ฉลุลายผ้า เพื่อทำให้ได้ลวดลายรูปแบบต้องการ แล้วจึงนำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ การตกแต่งบนเคลือบจะให้สีที่สดใสกว่า แต่จะมีความคงทนน้อยกว่าการตกแต่งใต้เคลือบ
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ สามารถกระทำโดยนำผลิตภัณฑ์ดิบที่ผ่านการอบแห้ง งบประมาณ 100 องศาเซลเซียส มาผ่านการเคลือบ และเข้าสู่การพิมพ์ฉลุลายผ้าเลย โดยไม่ต้องมีการเผาหลังการเคลือบก่อน แต่จะเผาเคลือบหลังจากพิมพ์ฉลุลายผ้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการเผาครั้งเดียว วิธีนี้นิยมใช้ในการผลิตกระเบื้องเซรามิก อุณหภูมิที่ใช้สำหรับการเผากระเบื้องประมาณ 1150 องศาเซลเซียส จะได้เป็นภาพพิมพ์บนกระเบื้องตามต้องการ
  สรุปได้ว่า การตกแต่งลวดลายบนผลิตภัณฑ์เซรามิก สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ ก่อนการเคลือบ และหลังการเคลือบ
  ถ้าเป็นการตกแต่งลวดลายก่อนการเคลือบ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเคลือบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการเผาเคลือบ( glost firing ) อุณหภูมิการเผาเคลือบแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้ แต่ถ้าเป็นการตกแต่งหลังเคลือบผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วจะผ่านการอบสีอีกครั้ง จากนั้นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้จะนำมาตรวจสอบคูณภาพตามมาตรฐานกำหนดแล้วนำไปบรรจุหีบห่อ รอการจำหน่ายต่อไป เป็นการสิ้นสุดกระบวนการผลิต
   

การเตรียมน้ำยาเคลือบ


  ขั้นตอนในการเตรียมน้ำยาเคลือบ สามารถแบ่งเป็นขั้นๆ ได้ ดังนี้
  1) ชั่งส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ ตามสูตร
  2) ใส่ส่วนผสมลงในหม้อบดซึ่งมีลูกบดอยู่ เติมน้ำลงไป การบดใช้เวลาประมาณ 8-14 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ความละเอียดตามที่ต้องการ
  3) กรองผ่านตะแกรงที่มีความละเอียดตามกำหนด
  4) ผ่านเครื่องดูดสารแม่เหล็กเพื่อแยกสารเหล็กออก ทำให้น้ำเคลือบปราศจากมลพิษ และมีสีตามต้องการ
  5) เก็บใส่ถุงน้ำยาเคลือบรอการใช้งานต่อไป
4. การเตรียมผลิตภํณฑ์ดิบก่อนเคลือบ
  หลังจากผลิตภัณฑ์ดิบมีการขึ้นรูปตกแต่งและแห้งแล้วโดยการตากแห้งตามธรรมชาติหรือเข้าอบก็ได้ ถ้านำผลิตภัณฑ์ดิบเข้าอบจะทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งเร็วขึ้น แต่ต้องทำการควบคุมความร้อนให้พอเหมาะกับชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากแต่ละชนิดจะมีขนาดและความหนาต่างกัน การทำให้แห้งเร็วเกินไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์แตกเสียได้ การนำเข้าเตาอบ ควรเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆ จนอุณหภูมิ 110-120 องศาเซลเซียส
  ผลิตภัณฑ์ที่แห้งดีแล้ว บางชนิดจะเข้าสู่ขั้นตอนของการเผาดิบ ก่อนการเคลือบ จุดประสงค์ในการเผาดิบเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้มีความแข็งแกร่งขึ้น การเผาดิบจะทำการเผาที่อุณหภูมิประมาณ 800-1200 องศาเซลเซียส แล้วแต่ละชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ หรือชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  ก่อนชุบหรือฉาบน้ำยาเคลือบควรทำความสะอาดผิวผลิตภัณฑ์ดิบก่อน โดยการปัดหรือเป่าฝุ่นออก หรืออาจใช้ฟองน้ำชื้นๆ เช็ดผิว แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบต่อไป

เทคโนโลยีเกี่ยวกับตัวพิมพ์

1. ตัวพิมพ์เป็นรูปลักษณ์ของภาษาเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมันมีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของแต่ละภาษาแตกต่างกัน แบบตัวพิมพ์มักได้รับการออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นและความลาดเอนต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการเลือกใช้งาน เรียกชุดตัวพิมพ์นี้ว่า  ครอบครัวตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งได้เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา  ตัวหนาตัว  ตัวบาง  ตัวเอน  เป็นต้น
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน  เช่น  จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์  ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน  เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน  คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน  และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์

ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน  ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง  การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์  การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์  จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล  ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร  ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา  แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป  กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน  ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์  ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ  เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด

เทคโนโลยีเกี่ยวกับด้วยพิมพ์และเทคโนโลยีการจัดการข้อความ



  • ตัวพิมพ์ที่เป็นรูปลักษณะของภาษเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ) มีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบแตกต่างกัน  แบบตัวพิมพ์มักถูกออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นหรือความลาดเอียงแตกต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการนำไปใช้งาน  ชุดครอบครัวตัดพิมพ์  แบ่งเป็นตัวธรรมดา  ตัวหนา  ตัวบาง  ตังเอน  สำหรับการจัดกลุ่มตัวพิมพ์วิธีการจัดการต่างๆกัน เช่น  แบ่งตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ แบ่งตามรูปลักษณ์  และแบ่งตามการใช้งาน  ความรู้ในการจัดกลุ่มตัวพิมพ์นี้ จะในการเลือกแบบตัวพิมพ์ไปใช้ในงานได้ดี
  • เทคโนโลยีการจัดการข้อความเป็นเทคโนโลยีการนำข้อมูลตัวอักขระต่างๆ เข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบบรรณาธิกรให้เหมาะสมในงานเตรียมการก่อนพิมพ์หรืองานเตรียมการก่อนผลิตสื่อต่างๆ  ด้วยกรรมวิธีทางดิจิทัลหรืออิเลกทรอนิกส์  ส่วนแรกคือ  เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับนำตัวอักษรของเนื้อหาเข้าคอมพิวเตอร์ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัลด้วยวิธีต่างๆ  และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบรรณาธิกร  คือ  การแก้ไขปรับปรุงตัวอักษรและเน้อหาข้อความให้เหมาะสมตามที่ต้องการสำหรับการนำข้อความนั้นไปใช้งานต่อไป


วัตถุดิบที่ใช้ในการเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาเคลือบหรือใช้ในการเคลือบ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ดังนี้
  2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
  2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
  2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
  การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
  1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
  2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
  3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง

การเคลือบผลิตภัณฑ์

การเคลือบเซรามิกเป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้ว เคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ดินลงในถังน้ำยาเคลือบหรือการพ่นน้ำยาเคลือบหรือการราดด้วยน้ำยาเคลือบ จากนั้นปล่อยให้เย็นลงจะเกิดเป็นลักษณะเหมือนแก้วติดบนผิวผลิตภัณฑ์นี้ ชั้นของสารที่เคลือบอยู่บนเซรามิกเป็นชั้นของเนื้อแก้วบางๆ ที่เกิดจากส่วนผสมของซิลิก้ากับสารที่ช่วยให้เกิดการหลอมละลายสารเคลือบที่ได้จะมีสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีเหมือนกัน สมบัติทางฟิสิกส์ คือมีความแข็ง ทนทานต่อการขัดสีเป็นฉนวนไฟฟ้า สมบัติทางเคมี คือ ไม่ละลายหรือละลายในสารเคมีได้น้อยมาก ยกเว้น กรดแก้วหรือกรดไฮโดรฟลูออริก(HF)และด่างแก่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ความสะอาดได้สะดวกและให้ความสวยงามอีกด้วย
1. ชนิดของน้ำยาเคลือบ
  การจำแนกชนิดของน้ำยาเคลือบ สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าจะพิจารณาสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก
  อาจจำแนกน้ำยาเคลือบได้ตามอุณหภูมิการเผาเคลือบหรือตามส่วนผสมของน้ำยาเคลือบหรือตามลักษณะที่ได้หลังการเผา หรือตามกรรมวิธีการเตรียม อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเคลือบชนิดใด จะต้องมีซิลิก้าเป็นองค์ประกอบหลักเสมอ
1.1 น้ำยาเคลือบตามอุณหภูมิของการเผาเคลือบ สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบไฟต่ำ ( low temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิเหมาะกับเซรามิกสำหรับการเผาอยู่ระหว่าง 700-900 องศาเซลเซียส
  2) น้ำยาเคลือบไฟกลาง( medium temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิการเผาเคลือบอยู่ระหว่าง 900-1450 องศาเซลเซียส
1.2 น้ำยาเคลือบตามส่วนผสม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบตะกั่ว( lead glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม สมบัติของตะกั่วจะเป็นสารที่ช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ ตะกั่วที่ใช้อยู่ในรูปสารประกอบของตะกั่ว เช่น ออกไซด์ของตะกั่วคาร์บอเนตของตะกั่ว ตัวอย่างเช่น ตะกั่วแดง( Pb3O4) ตะกั่วขาว( 2PbCO3,Pb( OH2))
  2) น้ำยาเคลือบไม่มีตะกั่ว( leadless glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ไม่ใส่ตะกั่ว แต่จะมีสารตัวอื่นเป็นตัวช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ เช่น หินฟันม้า บอแร็กซ์
1,3 น้ำยาเคลือบตามลักษณะที่ได้หลังการเผา น้ำยาเคลือบชนิดนี้จำแนกตามลักษณะของเคลือบที่ปรากฎให้เห็นหลังการเผา ซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลายชนิดด้วยกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางชนิด ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบใส( Clear glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งให้เคลือบผลิตภัณฑ์ดินหรือเนื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ปั้นและเผาแล้วมีลักษณะใสเหมือนแก้ว สามารถมองเห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์ใต้เคลือบ
  2) น้ำยาเคลือบด้าน( opaque glaye ) คือ น้ำยาเคลือบซึงเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีแสงส่องผ่านได้น้อย หรือไม่ผ่านเลย เคลือบจะช่วยปิดบังผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากน้ำยาเคลือบชนิดนี้มีสารทำให้เกิดความเคลือบทึบผสมอยู่ เช่น เซอร์โคเนียมซิลิเกต( ZrSio4)ออกไซด์ของดีบุก(SnO2)
  3) น้ำยาเคลือบด้าน( matt glaze )คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะผิวด้าน เนื่องจากเกิดผลึกเล็กๆที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ผิวเคลือบ เช่น การเติมสารประเภทออกไซด์ของสังกะสี(ZnO)หินปูน( Cao) หรือเคลือบด้านที่เกิดจากการเติมวัสดุทนไฟ เช่น อะลูมินา(AI2O3)
  4) น้ำยาเคลือบผลึก( crystalline glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีผลึกขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตา รูปผลึกอาจเป็นรูปพัด รูปเข็ม หรือเป็นดอก เนื่องจากการตกผลึกของน้ำยาเคลือบระหว่างที่มีความหนืดต่ำ ขณะที่ถูกเผา ณ อุณหภูมิสูง และเมื่อทำให้สารเคลือบเย็นตัวลงช้าๆอย่างเหมาะสมแล้ว จะเกิดเป็นผลึกขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น ผลึกที่เกิดจากการใช้ออกไซด์ของสังกะสี(Zno )
  5) น้ำยาเคลือบสี( colored glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีสีต่างๆเกิดจากการใส่สารที่ให้สีประเภทออกไซด์ของธาตุที่ทำให้เกิดสี( coloring oxide ) หรือ ผงสีเซรามิกสำเร็จรูปที่เรียกว่าสเตน( stain ) ลงในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ
  สีของสารเคลือบซึ่งเกิดจากสารให้สีที่ผสมลงในน้ำยาเคลือบจากสารให้สีตามนั้นจะเห็นว่าออกไซด์บางตัวสามารถเกิดสีได้มากกว่าหนึ่งสี เช่น คอปเปอร์ออกไซด์ สามารถให้สีแดงหรือสีเขียวได้ ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในการเผาต่างกัน การเผาเพื่อให้เกิดสีแดง บรรยากาศในการเตาเผาจะต้องเป็นแบบสันดาบไม่สมบูรณ์ ส่วนสีเขียวเกิดจากบรรยากาศการเผาแบบสมบูรณ์ นอกจากสีเคลือบจะขึ้นอยู่กับสภาพการเผาแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่นส่วนผสมของน้ำยาเคลือบ อุณหภูมิการเผาปริมาณสารให้สีที่ใช้และอาจใช้ออกไซด์ที่ให้สีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปผสมกัน เพื่อให้เกิดสีต่างๆได้ หลายสี อีกด้วย
  ในอุตสาหกรรม นิยมใช้สีสำเร็จรูปหรือสเตนแทนออกไซด์ที่ให้สี เนื่องจากเป็นสีที่มีมาตรฐานให้สีคงที่สามารถให้สีต่างๆ หลากหลาย เช่น สีแดง ชมพู่ ส้ม เทา ดำ
1.4 น้ำยาเคลือบตามกรรมวิธีการเตรียม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบดิบ( raw glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ มาชั่งตามสูตร ใส่น้ำบดในหม้อบดจนละเอียดแล้วนำไปกรองและเก็บไว้ใช้งานต่อไป
  2) น้ำยาเคลือบฟริต( fritted glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีส่วนผสมบางตัวสามารถละลายได้ เช่น บอแร็กซ์หรือมีสารที่เป็นพิษ ได้แก่ สารตะกั่ว สารเหล่านี้จะถูกนำมาหลอมเป็นแก้วที่เรียกว่า ฟริต(frit )ซึ่งจะไม่ละลายน้ำและไม่เป็นพิษ ส่วนผสมของเคลือบจึงประกอบด้วยฟริตและวัตถุดิบอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกหลอม นำมาบดผสมกันเป็นน้ำยาเคลือบต่อไป
  นอกจากการจำแนกตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ยังมีแบบอื่นๆอีก เช่น การจำแนกตามชื่อของวัตถุดิบ หรือสารเคมีที่ใช้ผสมในน้ำยาเคลือบ เช่น น้ำยาเคลือบหินฟันม้า น้ำยาเคลือบหินปูน หรือน้ำยาเคลือบดีบุก

การเตรียมเซรามิกเพื่อการพิมพ์

  การเตรียมเซรามิกเพื่อพิมพ์จะผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกระบวนการผลิตเซรามิก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมส่วนผสมของเนื้อผลิตภัณฑ์( body preparation )
2. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์( forming)
3. การอบแห้ง( drying )
4. การเผาดิบ( bisque firing )
5. การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ( underglaze decoration )
6.การเคลือบ( glazing )
7.การเผาเคลือบ( glost  firiin )
8.การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ( overglaze decoration )
9.การอบสี( decorating fire )
10.การตรวจสอบคุณภาพ ( inspection )
  การเตรียมเนื้อผลิตภัณฑ์ เป็นการนำวัตถุดิบต่างๆ เช่น ดินขาว ดินเหนียว หินฟันม้า ทรายแก้ว ผสมกับน้ำบดให้ได้ความละเอียดตามต้องการ ผ่านตะแกรงกรองเข้าเครื่องแยกสารเหล็ก จากนั้นเข้าสู่บ่อพัก สารที่ได้เรียกว่า น้ำดิน น้ำดินที่ได้ในขั้นนี้สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อแบบในขั้นตอนต่อไปได้ หรือนำน้ำดินเข้าเครื่องอัดไล่น้ำออกจากดิน ได้ดินออกมาเป็นแผ่น และเข้าเครื่องนวดจะได้ดินที่มีความเหนียวเหมาะกับการขึ้นรูป บางวิธีนำน้ำดินเข้าเครื่องพ่นให้เป็นเม็ดฝุ่น( spray dryer ) ซึ่งนิยมใช้ในการทำกระเบื้องโดยจะนำเม็ดฝุ่นเข้าเครื่องอัดเป็นแผ่นในการขั้นการขึ้นรูป ส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ ข้างต้นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันนั้น โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า เนื้อดินปั้นหรือเนื้อผลิตภัณฑ์( body )ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นรูปต่อไป
  การขึ้นรูป คือ การนำผลิตภัณฑ์มาปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามตามต้องการ การขึ้นรูปมีหลายวิธีเช่น การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การหล่อแบบ และการอัด
  การอบแห้ง นั้นจะกระทำหลังจากการขึ้นรูปแล้ว จะมีการตกแต่งให้มีความเรียบร้อย เช่น ลบรอยตะเข็บ ส่วนเกินออก หรือมีการแกะลวดลายลงในผลิตภัณฑ์ดิบ จากนั้นจะนำไปผึ่งให้แห้งหรือนำเข้าเตาอบ เพื่อไล่ความชิ้นออกไปก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
  การเผาดิบ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เซรามิกบางประเภท หรือผลิตภัณฑ์ดิบบางชนิดจะผ่านขั้นตอนการเผาดิบก่อนการเคลือบ เนื่องจากการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์หรือดินปั้น ทำให้ลดปริมาณการสูญเสียลงจากการแตกเสียหายเวลานำไปเคลือบ และการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดินที่ได้มีความพรุนตัวดีจึงสามารถดูดซึมน้ำยาเคลือบได้ดีขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์โอ่งราชบุรี จะไม่นำไปเผาดิบ แต่จะนำไปอบให้แห้งหรือถ้าไม่เข้าอบก็จะต้องทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งสนิทจึงนำไปเคลือบได้
  การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ เป็นการตกแต่งให้เกิดสีลวดลายต่างๆโดยการเขียนด้วยมือ ใช้รูปลอกการพิมพ์ การตกแต่งลวดลายนี้จะทำก่อนการเคลือบ จึงเรียกว่า การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ
  การเคลือบ เป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้วเคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภํณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ลงในถังน้ำยาเคลือบ การพ่นเคลือบ การเทราด แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์
  การเผาเคลือบจะกระทำหลังจากผ่านขั้นตอนการเคลือบแล้ว ผลิตภัณฑ์จะถูกลำเลียงเข้าสู่เตาเผา เพื่อเผาเคลือบ อุณหภูมิการเผาเคลือบจะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ผลิตภัณฑ์บางชนิดต้องการลวดลายต่างๆบนเคลือบอีกชั้น หรือต้องการมีสีสันสดใสต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ จะมีสีหลายสีและเป็นลวดลสายต่างๆ สวยงาม เกิดจากการเขียนลวดลายด้วยสีเซรามิกตามแบบที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ถ้วย จาน อาจจะมีการพิมพ์ลาย ติดรูปลอกหรือเขียนด้วยมือ บนผิวเคลือบอีกครั้ง
  การตรวจสอบคุณภาพ ในการผลิตควรมีการตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมวิธีการผลิตแล้ว ก่อนนำไปบรรจุหีบห่อ และส่งขายต่อไปนั้น ควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบการทำงาน การชำระล้าง การรั่วซึม ถ้าเป็นกระเบื้องควรมีการตรวจสอบขนาดด้วย การบิดเบี้ยว การดูดซึมน้ำ การทนทานต่อสารเคมี ความแข็งแกร่ง
  การอบสี หลังจากตกแต่งลวดลายบนเคลือบแล้วจะนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้เข้าอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ700-1200 องศาเซสเซียส อุณหภูมิการอบสีแล้วแต่ชนิดของสีที่ใช้ เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ หรือสุกตัวอยู่ในเคลือบ

เซรามิกแบบใหม่

ตั้งแต่ปีค.ศ 1940 มาจนปัจจุบัน วิทยาการด้านวัสดุมีการค้นคว้าและพัฒนาอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ นิวเคลียร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการพัฒนาวัสดุใหม่ๆขึ้น มีการศึกษาวิจัยและนำเซรามิกไปใช้ในงานเหล่านี้ จึงเกิดเซรามิกชนิดใหม่ชนิดใหม่ขึ้น เรียกกันว่า เซรามิกแบบใหม่( new ceramics )หรือเนื้อละเอียด( fine ceramics )หรือเซรามิกแบบเทคโนโลยีขั้นสูง( high-technology ceramics )เซรามิกชนิดนี้มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสูง มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นผลิตเซรามิกแบบใหม่เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปขายต่างประเทศ จึงมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

  เซรามิกแบบใหม่ ผลิตจากสารที่มีความบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์แร่หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติภายใต้การควบคุมพิเศษด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ให้ได้สารที่มีคุณภาพและสมบัติพิเศษตามต้งการ นำสารบริสุทธิ์ที่มีอนุภาคเล็กมากมาขึ้นรูปโดยวิธีใช้แรงดันอัด และเผาที่อุณหภูมิสูง ให้เกิดการรวมตัวของอนุภาคได้เนื้อละเอียดและแข็ง กระบวนการผลิตทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสูงเพื่อให้ได้เซรามิกที่มีคุณภาพเฉพาะนั้นๆ
  เซรามิกแบบใหม่ มีอยู่หลายชนิดในปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีความตื่นตัวและพยายามพัฒนาวัสดุเซรามิกชนิดต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเซรามิกจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโยีทั้งทางด้านอวกาศ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น การใช้เคเบิลใยแก้วในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันการสื่อสารสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เรียกกันว่า เป็นยุคของข่าวสารไร้พรมแดนขึ้น การค้นพบตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด หรือซุปเปอร์คอนดักเตอร์อุณหภูมิสูง( high-temperperature supercon-ductor) ซึ่งทำจากสารเซรามิกมีสภาพการนำไฟฟ้าได้โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กพลังมหาศาลออกมาได้ หากสามารถนำประยุกต์ใช้งานได้จะเกิดประโยชน์มหาศาล เช่น ใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปัจจุบันมาก ใช้ในอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆของการแพทย์ทางอวกาศ พัฒนารถไฟเหาะ แม่เหล็ก ตลอดจนใช้ในปฎิกริยานิวเคลืยร์ การใช้งานของเซรามิกแบบใหม่สามารถสรุปได้
  ชนิดของเซรามิกแบบใหม่ สามารถจัดแบ่งได้โดยอาศัยการแบ่งตามลักษณะการทำงานตามตารางข้างต้นนอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดของเซรามิกแบบใหม่ตามประเภทของสารประกอบ เช่น ออกไซด์ ไนไตรล์  คาร์ไบด์ บอไรด์ ฟลูออไรด์และซัลไฟด์
  เซรามิกแบบใหม่มีการใช้ในวงการพิมพ์บ้าง โดยส่วนใหญ่งานพิมพ์จะเป็นตัวเลขหรือข้อความ ไม่ค่อยมีการใช้พิมพ์ภาพสกรีนหรือภาพฮาล์ฟโทน

ประเภทของเซรามิกที่แบ่งตามลักษณะของเนื้อดิน

  การจำแนกประเภทเซรามิกแบบเดิมตามลักษณะของเนื้อดิน เป็นที่นิยมใช้มาก เซรามิกชนิดนี้ ได้แก่
2.1 เทอราคอดตา( terra cotta )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อดินเป็นสี(ไม่ขาว) เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลืองอ่อนเกิดจากการใช้ดินเหนียวที่มีเหล็กปนอยู่ ทำให้เมื่อเผาแล้วจะเกิดเป็นสีขึ้น เผาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำประมาณ900-1050 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์มีความพรุนตัวและดูดซึมน้ำได้ เช่น กระถางต้นไม้ หม้อดิน
2.2 เอิตเทนเวร์(earthen ware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อละเอียด มีสีขาวหรือขาวอมเทา ผลิตภัณฑ์มีความพรุนตัวและดูดซึมน้ำได้สูงประมาณร้อยละ 10-15 เนื้อผลิตภัณฑ์ จึงมักจะได้รับการเคลือบผิว เช่น ภาชนะ จาน ชาม กระเบื้อง เครื่องประดับ ของตกแต่ง
2.3 สโตนแวร์( stone ware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแน่น สีเนื้อดิน อาจมีสีขาวหรือสีอื่นๆได้ มีความแข็งแกร่งทึบแสง การดูดซึมน้ำต่ำมาก หรือไม่ดูดซึมน้ำ เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาค่อนข้างสูงประมาณ 1100-1300 องศาเซสเซียส ทำให้ผลิตภัณฑ์ถูกเผาถึงจุดสุกตัว เช่น ถ้วย จาน ชาม ชุดน้ำชา กาแฟ ซึ่งผลิตภัตฑ์ที่ได้จะมีความแข็งแกร่งกว่าเอิทเทนแวร์
2.4 พอร์สเลน(porcelain)เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแน่นเนียนละเอียด มีสีขาว โปร่งแสง เคาะมีเสียงดังกังวาลเผาที่อุณหภูมิตั้งแต่ 1200องศาเซลเซียส ขึ้นไป ทำให้ถึงจุดสุกตัว ไม่ดูดซึมน้ำ มีความแข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์พอร์สเลนมีมากมาย เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ ฉนวนไฟฟ้า ภาชนะสำหรับงานทดลองทางเคมี
2.5 โบนไชน่า( bone china )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางโปร่งแสงมาก เนื่องจากการใช้เถ้ากระดูกสัตว์( boneash )เป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญของส่วนผสมเนื้อผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์โบนไชนามีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแกร่งนิยมผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น ถ้วย จาน ชาม ชุดน้ำชา กาแฟ
เซรามิกแบบเดิมนี้มักใช้เป็นวัสดุสำหรับการพิมพ์

ประเภทของเซรามิกที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

 ผลิตภัณฑ์ของเซรามิกแบบเดิม มักผลิตขึ้นเพื่อใช้ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ทำภาชนะสำหรับใส่น้ำ อาหาร ยารักษาโรคทำวัตถุก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัย ดังนั้นการจำแนกประเภทของเซรามิกแบบเดิมตามลักษณะการใช้งาน มีดังนี้
1.1 เซรามิกที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง( structural ceramics )ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องบุผนัง กระเบื้องโมเสก กระเบื้องมุงหลังคา อิฐธรรมดา หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า อิฐมอญ อิฐปูพื้น อิฐประดับ อิฐกลวง ท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์
  นอกจากนี้ซีเมนต์( cement )ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการก่อสร้าง ก็จัดเป็นเซรามิกด้วย เนื่องจากซีเมนต์ได้จากการเผาส่วนผสมที่มีวัตถุดิบประเภท ดิน หิน ปูน
1.2 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องสุขภัณฑ์(sanitary ware)เช่น อ่างล้างหน้า โถส้วม
1.3 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร( tableware )เช่น จาน ชาม ถ้วย ชุดน้ำชา กาแฟ
1.4 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องใช้ในครัว(kichen ware) เป็นภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร หรือหุงค้ม อาจใช้กับเตาอบ หรือเปลวไฟ มีสมบัติทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความร้อนอย่างรวดเร็ว หรือทนทานต่อความร้อนที่เกิดจากเปลวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้โดยตรง
1.5 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ( novelty )
1.6 เซรามิกที่ใช้เป็นวัตถุทนไฟ ( refactory )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติด้านทนความร้อนได้สูงกว่า(สูงกว่า 1580 องศาเซสเซียส ขึ้นไป) มีความแข็งแรงทนต่อแรงกด ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ผลิตภัณฑ์ประเภทวัตถุทนไฟ เช่น อิฐทนไฟ วัสดุทนไฟ ส่วนใหญ่วัตถุไฟใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ทำเตาเผา เตาหลอมเหล็ก และยังใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมเคมี
1.7 เซรามิกที่ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า( electrical insulator )เช่น ลูกถ้วยไฟฟ้า หัวเทียน ที่ตัดไฟ
1.8 เซรามิกที่ใช้เป็นโลหะเคลือบ( enamel )สารที่ใช้เคลือบบนผิวโลหะ คือ เซรามิก เช่น การเคลือบบนผิว ทอง เงิน เหล็ก ตัวอย่างเช่น จานสังกะสี
1.9 เซรามิกที่ใช้เป็นแก้ว( glass) แก้วจัดเป็นเซรามิก ได้จากการนำทรายที่เป็นวัตถุดิบหลักมาโดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ต้องใชัความร้อน
  นอกจากนี้ยังมีเซรามิกชนิดอื่นๆเช่น เซรามิกที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ขัดหรือตัด ภาชนะสำหรับใช้งานเคมีในห้องปฎิบัติการ

เซรามิกแบบเดิม

เซรามิก( ceramic )มาจากภาษากรีกว่าเครามอส(Keramos)ซึ่งมีความหมายว่าของแข็งที่ได้จากการเผาในที่นี้จึงขอให้คำนิยามของเซรามิก ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบประเภทสารอนินทรีย์ เช่น แร่ หิน ดินที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติมารวมกันและเผาด้วยความร้อนสูงให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็ง เซรามิกบางชนิดจะเป็นเซรามิกที่ผลิตจากดินล้วนๆเซรามิกบางชนิดจะเตรียมจากวัตถุดิบหลายชนิดผสมกัน เช่น ดิน หิน ส่วนผสมที่เตรียมขึ้นนี้จะถูกเรียกว่าเนื้อดิน
  ผลิตภัณฑ์เซรามิก ประกอบด้วยลักษณะเฉพาะ 2 ประการ คือ ใช้สารอนินทรีย์และผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ใช้ความร้อนสูง
  ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งมีประวัติการพัฒนามายาวนาน  มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์ได้มีการทำผลิตเซรามิกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินกลาง มีการทำภาชนะเซรามิกประเภทหม้อหุงต้ม ภาชนะใส่น้ำดื่ม และภาชนะที่ใช้ในพิธีการต่างๆ จากยุคหินกลางเข้ามาสู่ยุคประวัติศาสตร์ได้มีการผลิตภัณฑ์เซรามิกขึ้นมาหลากหลายประเภท เป็นการใช้ทั้งศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นำเอาวัตถุดิบที่องค์ประกอบหลักเป็นสารประเภทอนินทรีย์สาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิลิก้ามาใช้ในการผลิต พัฒนาเนื้อส่วนผสมกรรมวิธีการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติตามต้องการ เซรามิกประเภทนี้ เรียกว่า เซรามิแบบเดิม( classical ceramic)หรือเซรามิกแบบทั่วไป( conventional ceramic )ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานและตามลักษณะของเนื้อดิน

สารเติมแต่งกระดาษ

สารเติมแต่งที่ใช้ในน้ำยาเคลือบส่วนมากเป็นสารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อน  และมีหน้าที่เฉพาะที่ใช้กันในน้ำยาเคลือบ  ตัวอย่างเช่น  สารที่ช่วยทำให้กระจาย  สารช่วยอุ้มน้ำหรือสารปรับความหนืด  สารหล่อลื่น  สารป้องกันการละลายน้ำ  หรือสารช่วยให้เกิดพันธะระหว่างโซ่  สารกันบูด  สารปรับความเป็นกรด-ด่าง  สารต้านทานการซึมน้ำสารเพิ่มความขาวสว่าง  สีย้อม  และสารควบคุมการเกิดฟอง ส่วนสารอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วจะมีการใช้ในน้ำยาเคลือบน้อยมาก  เช่น  สารช่วยจับตัวที่มีประจุบวก   สารต้านการออกซิไดส์  พอลิเมอร์จับประจุ และพลาสติกไซเซอร์

  1. สารที่ช่วยทำให้กระจาย  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินดิเคต( indicate ) ใช้สำหรับกระจายตัวผงสีขาวและช่วยให้ผงสีกระจายตัวได้ในน้ำ มีทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โซเดียมพอลิอะคริลิก( sodium polyacrylic ) และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต ( tetra  sodium  polyphosphate,TSPP) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium polyacrylic )และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดืยมพอลิฟอสเฟต ( tera sodium polyphosphate,TSPP ) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium  hexameta phosphate ) สารที่ช่วยทำให้กระจายชนิดสารอนินทรีย์จะมีสมบัติการกระจายตัวที่ดีกว่าสารอนินทรีย์ โดยเฉพาะสารอินทรีย์จะทนต่อการกระจายตัวที่อุณหภูมิสูงและเวลาที่ปั่นนานได้ดี  แต่มีราคาแพงกว่าสารอนินทรีย์
  2. สารปรับความหนืด  ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อไปควบคุมความหนืด โดยเฉพาะการวัดความหนืดด้วยเครื่องวัดความหนืด  สารปรับความหนืดนี้จะเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของน้ำยาเคลือบทำให้ยาเคลือบหนืดขึ้น  สารที่ใช้ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(  carboxymethyl cellulose,CMC ) ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส( hydroxyetyl cellulose,HEC) หรือโซเดียมอัลจิเนต ( sodium alginate )แป้งที่มีความหนืดสูง และสารสังเคราะห์ประเภทอะคริลิก
  3.  สารหล่อลืน สารที่ใช้เป็นสารเคมีประเภทแคลเซียมสเตียเรต ( calcium  stearate ) นิยมใช้กันมากและสารประเภทนี้ยังช่วยควบคุมการเกิดฝุ่นในระหว่างที่มีการขัดผิวกระดาษด้วย  สารเคมีอื่นที่ใช้ คือ อิมัลชันพอลิเอทิลีน  แอมโมเนียมสเตียเรต พอลิเอทิลีนไกลคอล อิมัลชันไขและน้ำมันที่ผสมซัลเฟอร์( sulfonated oil )
  4. สารป้องกันการละลายน้ำ สารนี้จะใช้สายพอลิเมอร์ยึดเกาะกัน พบมากในน้ำยาเคลือบที่ใช้แป้งเป็นตัวยึดสำหรับการพิมพ์ประเภทออฟเซต  และในน้ำยาเคลือบที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองผสมอยู่ สารประเภทนี้จะช่วยป้องกันการขัดถูที่ผิวเมื่อเปียกได้ดี แต่ก่อนนิยมใช้สารประเภทเมลามีนหรือยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ต่อมาพบว่าสารทั้งสองจะปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารพวกแอมโมเนียมเซอร์โคเนียมคาร์บอเนตมาใช้งาน
  5. สารกันบูด ในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดธรรมชาติ เช่น แป้ง จำเป็นต้องใส่สารกันบูดเพื่อยึดอายุการใช้งานแต่จะพบน้อยในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีป้องกันเชื้อแบคทีเรีย  สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ฟีเนต (phenate)คลอโรฟีเนต( chlorophenate )
  6. สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ที่ใช้มาก คือ แอมโมเนีย และโซดาไฟ
  7. สารต้านทานการซึมน้ำและสารทำให้แยกตัว เป็นสารเคมีประเภทซิลิโคน สารเชิงซ้อนที่มีโครเมียม( chromium compiex ) และสารที่มีฟลูออไรด์ ( fluorochemical )
  8. ส่ารเพิ่มความขาวสว่าง ใช้เพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารเคมีประเภทอนุพันธ์ของสติวบีน ( stilbene derivative ) อนุพันธ์ของเบนโซฟีโนน( benzophenone derivative) และไดบิวทิลไดไทโอคาร์บาร์เมต ( dibtyldithio carbamate )สารเหล่านี้ใช้มากเพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง มีความขาวสว่างสูงขึ้น
  9. สีย้อม ที่ใช้มากจะเป็นประเภทสีฟ้าและสี่ม่วง เพื่อให้กระดาษเคลือบมองดูขาวขึ้น
  10. สารควบคุมการเกิดฟอง มีทั้งสารป้องกันการเกิดฟอง และสารลดฟอง( defoaming agent ) ในปัจจุบันการใช้งานจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก สารควบคุมการเกิอฟองมีทั้งประเภทละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการเกิดฟองดีมาก แต่ถ้าใช้สารควบคุมการเกิดฟองชนิดไม่ละลายน้ำมากเกินไปอาจมีปัญหาที่เรียกว่า ตกปลา ( fish eyes ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำมันบนกระดาษดั้งนั้นก่อนใช้น้ำยาเคลือบสามารถตรวจสอบปัญหาตาปลาได้โดยการนำน้ำยาเคลือบมาทดลองเคลือบลงบนแผ่นกระจกแล้วสังเกตการเกิดตาปลาบนผิวกระจก      

ตัวยึดกระดาษสังเคราะห์

ตัวยึดสังเคราะห์เป็นสารที่ได้จากสารสังเคราะห์มักนิยมใชัในรูปลาเทกซ์   ซึ่งจะมีขนาดเม็ดสารประมาณ 0.1-  0.5  ไมครอน และใช้ผสมในน้ำยาเคลือบในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 10  โดยน้ำหนักต่อเนื้อสารทั้งหมดลาเทกซ์จะมีอิทธิพลต่อสมบัติเกี่ยวกับการพิมพ์ของกระดาษเคลือบ ต้นทุนการผลิต  และความสามารถในการผลิตของเครื่องเคลือบกระดาษ
  • ลาเทกซ์สำหรับอุตสาหกรรมกระดาษเคลือบแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ คือ ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีน พอลิไวนิลอะซิเตต  ลาเทกซ์ไวนิลอะคริลิก และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์  ลาเทกซ์สไตรีนบิวตาไดอีน
  • ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีนเป็นลาเทกซ์ที่มีแรงยึดติดที่แข็งแรงมาก สังเคราะห์ได้จากปฎิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ระหว่างสไตรีนกับบิวตาไดอีนเกิดเป็นพอลิเมอร์ร่วมกระจายตัวในน้ำร่วมกับสารลดแรงตึงผิว ลาเทกซ์ชนิดนี้จะให้ชั้นฟิล์มที่แข็งหรือนิ่มขึ้นกับค่าอุณหภูมิที่ลาเทกซ์เริ่มแข็งตัวกลายเป็นฟิล์มแห้ง( glass transition  temperature,Tg ) ปกติอัตราส่วนของสไตรีนที่น้อย คือ ระหว่างร้อยละ 50-55 จะให้ค่า Tg ต่ำ กล่าวคือ ฟิล์มจะนิ่มหักงอ  อ่อนตัวได้ดีและมีความเหนียวหนึด

โดยทั่วไปลาเทกซ์ชนิดนี้จะมีอัตราส่วนของสไตรีนต่อบิวตาไดอีนเท่ากับ 65  ต่อ  35 โดยน้ำหนักจะให้สมบัติที่ดีในด้านความมันวาว การห้กงออ่อนตัวง่าย  ความเหนียวหนืดต่ำ  และมีแรงยึดติดกับสารอื่นดี  น้ำยาเคลือบกระดาษที่ใช้ลาเทกซ์ชนิดนี้จะออกเป็นสีเหลี่ยมเมื่อถูกแสงแดด
  • ลาเทกซ์ที่ใช้มากเป็นอันดับรองมา  คือ  ลาเทกซ์อะคริลิก  ให้สมบัติด้านการหักงออ่อนตัวดี  แรงยึดติดกับสารอื่นดีคล้ายกับลาเทกซ์ไดรีนบิวตาไดอีนแต่มีราคาแพง  ลาเทกซ์อะคริลิกมีกลิ่นจากพอลิเมอร์ร่วมน้อยต้านทานต่อแสงแดดดีมาก  ปกติจะใช้กับกระดาษเคลือบที่ต้องการคุณภาพสูง


ตัวยึดกระดาษ

ตัวยึด
ที่อยู่ในน้ำยาเคลือบจะช่วยยึดผงสีขาวให้ติดกับกระดาษรองรับได้ดีขึ้น ตัวยึดสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ตัวยึดธรรมชาติ และตัวยึดสังเคราะห์

 1. ตัวยึดธรรมชาติ ตัวยึดธรรมชาติ ได้แก่ แป้งและโปรตีนจากถั่วเหลือง แป้งเป็นตัวยึดธรรมชาติที่นิยมใช้มาก
           

                                        1.1  แป้ง  ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นแป้งที่ได้จากข้าวโพด ในยุโยปจะเป็นแป้งที่ได้จากมันฝรั่ง  ส่วนในเอเชียจะเป็นแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง  แป้งที่ใช้ส่วนใหญ่ในน้ำยาเคลือบปัจจุบันเป็นแป้งที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งให้เป็นแป้งปรุงแต่งที่มีสมบัติที่ดีขึ้น  แป้งปรุงแต่งที่มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับน้ำยาเคลือบกระดาษในประเทศสหรัฐอเมริกาคือ  แป้งข้าวโพดชนิดไฮดรอกซีเอทิเลต( hydroxy  ethylated  corn starch ) หรือแป้งเอทิเลตแป้งข้าวโพดชนิดออกซิไดส์( oxidized  corn starch ) และแป้งแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟต( ammonium  persulfate  starch)
                                        การนำแป้งมาใช้งานจะต้มเพื่อให้แป้งมีการกระจายตัวที่ดี  โดยปกติแป้งจะมีสมบัติที่ละลายน้ำได้ดี คือชอบน้ำ  จึงจำเป็นต้องใช้ร่วมกับสารป้องกันการละลายน้ำด้วยโดยเฉพาะกระดาษเคลือบที่นำไปพิมพ์ด้วยระบบการพิมพ์ออฟเซต
                                        แป้งปรุงแต่งที่ใช้ในน้ำยาเคลือบจะมีความหนืดที่แตกต่างกัน  แป้งที่มีความหนืดต่ำโดยเฉพาะแป้งเอทิเลตสามารถใช้ปริมาณที่มากกับน้ำยาเคลือบที่มีปริมาณเนื้อสารมากได้ ขณะเดียวกันแป้งที่มีความหนึดสูงจะใช้กับเครื่องฉาบผิว( size press) ในกรณีที่ต้องการให้กระดาษนั้นมีความต้านทานการซึมน้ำและผิวเรียบขึ้น
                                        แป้งที่ใช้เป็นตัวยึดในน้ำยาเคลือบกระดาษจะต้องมีสมบัติที่มีแรงยึดติดสูง ความหนืดต่ำ มีสมบัติการไหลที่ดี  มีความหนืดเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อถูกทำให้มีอุณหภูมิต่ำ  ไม่มีการเปลี่ยนไป มีความสามารถในการอุ้มน้ำ  และสมบัติทางการพิมพ์ที่ดี   สมบัติต่างๆ ยังขึ้นอยู่กับชนิดของแป้ง  การปรุงแต่ง  และระดับของการปรุงแต่ง
                                        โดยปกติแป้งเป็นสารที่เป็นสารที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์ธรรมชาติ 2 ชนิด  คือ  อะไมโลส  และอะไมโลเพคตินโมเลกุลของอะไมโลและอะไมโลเพคตินต่างก็ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลจำนวนมากจึงอยู่ในสถานะที่ละลายน้ำได้ดี  แต่โมเลกุลอะไมโลสเป็นแบบเส้นตรงจึงมีความหนืดเพิ่มขึ้นเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นลงและจนเปลี่ยนสภาพเป็นเจลถาวรเกิดการยึดติดได้  ส่วนโมเลกุลอะไมโลเพคตินจะมีความหนืดที่ต่ำกว่า  และมีแนวโน้มที่เป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดเป็นเจลที่ถาวร
                                        แป้งมีลักษณะเป็นเซลล์หรือเม็ดละเอียดมาก  โดยมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน  ถ้าต้มแป้งให้ร้อนถึงระดับหนึ่ง เม็ดแป้งจะพองตัวพร้อมกับแปรสภาพไปเป็นของผสมที่ประกอบด้วยเม็ดแป้งที่พองตัวเต็มที่  เศษที่เหลือจากแป้ง  และสารละลายน้ำได้  สมบัติของแป้งจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของแป้ง  ระดับการพองตัวของแป้งความต้านทานของเม็ดแป้งที่พองต่อการแตกหักเชิงกล  และปริมาณของโมเลกุลอะไมโลส
                                       โดยปกติแรงยึดติดของแป้งที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งจะมีแรงยึดติดดีกว่าแป้งที่ปรุงแต่งแล้ว  แต่ในธรรมชาติแป้งมีความหนืดสูงมากถึงแม้ว่าจะมีความเข้มข้นต่ำก็ยังมีแน้วโน้มที่จะเป็นเจลได้ง่าย  ทำให้น้ำยาเคลือบกระดาษมีการไหล่ไม่ดีเท่าที่ควร  จึงจำเป็นแป้งธรรมชาติมาปรุงแต่งเป็นแป้งชนิดต่างๆ ปกติโมเลกุลของแป้งจะทำปฏิกิริยากับสารต่างๆ ที่หมู่ไฮดรอกซิล โดยจะเปลี่ยนแปลงหมู่ไฮโดรเจนในหมู่ไฮดรอกซิลไปเป็นหมู่อื่นๆเช่น อีเทอร์  เอสเทอร์  อะซิเตต  พอลิยูริเทน และเมทิลแอลกอฮอล์
                                        แป้งปรุงแต่งที่ต้ม  แล้วเก็บในถังเก็บจะมีความหนืดสูงขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของโมเลกุลอะไมโลส  ถ้าใส่สารประเภทเอสเทอร์และอีเทอร์ลงในสารละลายแป้งก่อนที่แป้งจะเปลี่ยนเป็นเจล แล้วนำไปต้มก็จะได้สารละลายแป้งที่มีความหนืดลดลงและเก็บไว้ได้โดยที่ความหนืดไม่เปลี่ยนแปลง
                                        1.2  โปรตีนจากถั่วเหลือง  เป็นโปรตีนธรรมชาติ  เมื่อนำมาไฮโดรไลซีสจะได้พอลิเมอร์ของโปรตีนถั่วเหลืองจากนั้นนำมาปรุงแต่งด้วยวิธีการเฉพาะเพื่อให้เหมาะกับการใช้เป็นตัวยึดในน้ำยาเคลือบกระดาษสำหรับเครื่องเคลือบที่ทันสมัยซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน
                                      พอลิเมอร์จากถั่วเหลืองสามารถเตรียมได้ 2 วิธี  เตรียมเป็นสารละลายแล้วนำไปผสมกับผงสีที่เตรียมเป็นของเหลวข้นไว้แล้ว อีกวิธีหนึ่ง  คือ เตรียมโดยใส่พอลิเมอร์ลงไปโดยตรงในขณะที่เตรียมผงสี  การที่จะใช้วิธีการเตรียมพอลิเมอร์แบบใดขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของใบมีดในถังผสมและอุปกรณ์ที่ใชัในผสม  น้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์  และความข้นของน้ำยาเคลือบที่ต้องการ
                                       ในกรณีที่เลือกวิธีการเตรียมโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ผงสีมีความชื้นสูง  เป็นผลให้พอลิเมอร์จับกันเป็นเม็ดที่เรียกว่า โปรตีนช็อค( protenin shock)
                                        การเตรียมเป็นสารละลายของโปรตีนจากถั่วเหลืองทำได้โดยต้มน้ำให้มีอุณหภูมิระหว่าง 40 - 70  องศาเซลเซียส  โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมด้วยน้ำที่ร้อนก็ได้  เปิดใบพัดพร้อมทั้งเติมแอมโมเนียที่มีความเข้มข้น  26  องศาโบเม่  จะทำให้พอลิเมอร์ละลายได้ดีขึ้น  ปกติเนื้อพอลิเมอร์จะละลายได้ตั้งแต่ร้อยละ 10-25  เวลาที่ใช้โดยปกติประมาณ  15-20 นาที ถ้าต้องการเพิ่มคุณภาพของพอลิเมอร์ในด้านการป้องกันการขัดถูเมื่อเปียก และการถอนผิวกระดาษเมื่อเปียกสำหรับการพิมพ์ระบบออฟเซต  ก็ควรจะใช้สารป้องกันการละลายน้ำ  เช่น แอมโมเนียมเซอร์โคเนียมคาร์บอเนต( ammonium zirconium carbonate,AZC ) เรซินเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์( melamine formaldehyde resin ) ช่วยในการยึดติด
                                       ปกติโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษอยู่ในรูปผงเท่านั้น จึงสามารถเก็บรักษาในที่เก็บได็ประมาณ 1 ปี และเมื่อเตรียมเป็นสารละลายจึงจำเป็นต้องใส่สารกันบูดช่วยป้องกันแบคทีเรียและราด้วย ปริมาณการใช้พอลิเมอร์ในสูตรน้ำยาเคลือบกระดาษจะขึ้นอยู่กับเครื่องเคลือบเป็นหลัก  ปกติปริมาณที่ใช้จะเท่ากับร้อยละ 2-6  ของน้ำหนักผงสีขาวทั้งหมด
             

     

องค์ประกอบของน้ำยาเคลือบกระดาษ

ผงสีขาว 
  1. ดินขาว ในบรรดาผงสีขาวชนิดต่างๆ ดินขาว เป็นผงสีที่มีโครงสร้างผลึกเป็นแผ่นหกเหลี่ยม ส่วนใหญ่ดินขาวจะเป็นผงสีหลักที่ใช้มากสำหรับช่วยให้กระดาษเคลือบมีความมันวาวและความเรียบสูง พร้อมทั้งมีความสามารถในการรับหมึกที่ดีหลังจากที่ขัดผิวหน้าด้วยเครื่องขัดพิเศษ ขนาดเม็ดของดินขาวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของกระดาษเคลือบ เช่น ความขาวสว่าง ความโปร่งใส ความมันวาว และการแห้งตัวของหมึก ถ้ามีขนาดเม็ดยิ่งเล็กก็จะทำให้เพิ่มสมบัติดังกล่าวของกระดาษเคลือบดี ทำให้น้ำยาเคลือบมีแนวโน้มที่จะมีความหนึดมากขึ้น และอาจมีผลเสียต่อการเตรียมน้ำยาเคลือบ ดินขาวส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบมากในรัฐจอร์เจีย( Georgia ) และในประเทศอังกฤษ ในประเทศไทยประมาณร้อยละ 80 ของดินขาวจะนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา

 2. แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้เป็นผงสีขาวในน้ำยาเคลือบมีรูปแบบการใช้ 2 แบบ คือ แบบบดและแบบตกตะกอน( precipitated ) ปัจจุบันการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตให้มีจำนวนเม็ดสารที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน มีมากกว่าร้อยละ 80 สามารถทำการผลิตได้โดยกระบวนการบดแบบเปียก( wet grinding process ) แม้ว่าแคลเซียมคาร์บอเนตจะมีสมบัติที่ด้อยกว่าดินขาวในด้านความมันวาว ความเรียบ และความสามารถในการรับหมึก แต่จะมีสมบัติที่เด่นกว่าดินขาวสว่าง ความแข็งแรงของผิวหน้า สมบัติการไหล และต้นทุนที่ต่ำกว่าไททาเนียมไดออกไซด์

3. ไททาเนียมไดออกไซด์ ในบรรดาผงสีขาวที่ใช้เคลือบกระดาษ ไททาเนียมไดออกไซด์จะมีค่าด้ชนีห้กเหแสงผนึกสูงสุดที่สุด จึงให้สมบัติในด้านความทึบแสงดีที่สุด จึงให้สมบัติในด้านความทึบแสงดีที่สุด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดผลึกของไททาเนียมไดออกไซด์ด้วย ไททาเนียมไดออกไซด์จะมีค่าดัชนีหักเหแสงเท่ากับ 2.70 สำหรับโครงสร้างผลึกที่เป็นแบบรูไทล์ ส่วนโครงสร้างผลึกที่เป็นแบบแอนนาเทส จะมีค่าดัชนีหักเหแสงเท่ากับ 2.55 ปกติจะใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ในปริมาณมากเนื่องจากไททาเนียมไดออกไซด์จะให้คุณภาพในด้านความทึบแสงที่สม่ำเสมอหลังจากการเคลือบด้วยไข (waxing)หรือการอาบมันด้วยวานิชไททาเนียมไดออกไซด์จะให้ความขาวสว่างที่สูง ไททาเนียมไดออกไซด์จะมีขนาดเม็ดสารที่เล็กและมีพื้นที่ผิวหน้ามาก ทำให้ต้องใช้ปริมาณตัวยึดมาก ไททาเนียมไดออกไซด์จะมีราคาที่แพงกว่าผงสีขาวชนิดอื่นๆ จึงไม่นิยมใช้ในน้ำยาเคลือบกระดาษทั่วไปจะใช้เฉพาะกระดาษเคลือบที่ต้องการคุณภาพในด้านความทึบแสงสูงมากๆ

 4. อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ( aluminium hydroxide ) หรืออะลูมินาไตรไฮเดรต ( alumina trihydrate ) เป็นผงสีขาวที่มีความขาวสว่างที่สูง แต่ก็ยังน้อยกว่าของไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีผลึกแบบแอนนาเทส มีขนาดเม็ดสารตั้งแต่เล็กมากถึงหยาบมาก แต่ที่ใช้ในน้ำยาเคลือบกระดาษต้องการขนาดเม็ดสารที่เล็กมากๆ การผลิตอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์มีทั้งแบบผงและแบบเหลวข้น( slurry form ) เรียกกันโดยทั่วไปว่า แบบน้ำ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ที่มีขนาดเล็กมากๆ มีขนาดเม็ดสารโดยเฉลี่ย 1 ไมครอน ต้องการตัวยึดใกล้เคียงกับไททาเนียมไดออกไซด์ ส่วนขนาดที่หยาบมากจะต้องการตัวยึดใกล้เคียงกับดินขาวเบอร์ 2 จากสมบัติของอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ที่มีขนาดเม็ดสารที่เล็กมากและให้ความขาวสว่างสูง จึงช่วยให้กระดาษเคลือบมีความมันวาวก่อนพิมพ์และหลังพิมพ์สูงมาก บางครั้งกระดาษเคลือบที่ทนไฟก็ใช้อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ผสมในน้ำยาเคลิอบ

ความทรงรูปของกระดาษ

     ความสามารถของกระดาษที่จะต้านทานแรงที่มาแรงที่มากระทำให้กระดาษโค้งงอด้วยน้ำหนักกระดาษจากภายนอก หน่วยที่ใช้เป็น นิวตัน-เมตร หรือ นิวตัน หรือหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง ความต้องการค่าความทรงรูปของผู้ใช้งานอาจสูงหรือต่ำก็ได้ตามความเหมาะสมของกระดาษ เช่น กระดาษสำหรับพิมพ์ระบบป้อนเป็นแผ่น กระดาษแข็งชนิดต่างๆ เช่น กระดาษแฟ้มปกแข็ง กระดาษการ์ดต่างๆ เช่น กระดาษโปสเตอร์ กระดาษทำถ้วย นอกจากนี้สมบัติด้านความทรงรูปของกระดาษนับเป็นสมบัติทางเชิงกลที่สำคัญที่สุดของกระดาษบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้บรรจุภัณฑ์สามารถต้านทานการเสียรูป หรือการโป่งพองของสินค้า( bulging ) ในขณะบรรจุและตั้งวางอยู่บนชั้นสินค้า หลักการในการตรวจสอบ ใส่ชิ้นทดสอบลงในการจับ ทำการทดสอบโดยแรงกระทำจะทำให้กระดาษโค้งงอไปเป็นมุม 7.5 องศาหรือ 15 องศา แลัวแต่ชนิดกระดาษ

ความทนต่อการพับขาดของกระดาษ

หมายถึง จำนวนการพับไปพับมา( double folds ) ของชิ้นทดสอบจนกระทั่งชิ้นทดสอบขาดออกจากกันภายใต้แรงที่กำหนด หน่วยที่ใช้เป็น จำนวนครั้ง หรือ log 10 ค่าความทนทานต่อการพับขาดในแนวขนานเครื่องสูงกว่าแนวขวางเครื่อง ความทนต่อการพับขาดจะเป็นการวัดที่รวมความต้านแรงดึงการยืดตัว การแยกชั้นของกระดาษ และความต้านทานแรงกด ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงอายุการใช้งานของกระดาษ เช่น กระดาษปก หลักการในการตรวจสอบความทนต่อการพับขาดจะทำโดยยึดปลายข้างหนึงของชิ้นทดสอบด้วยแรงคงที่ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งถูกจับด้วยปากจับแล้วพับไปมาด้วยความเร็วคงที่และองศาตามมาตรฐานกำหนด จนกระทั่งชิ้นทดสอบขาด

ความต้านแรงฉีกขาด

หมายถึง ความสามารถของกระดาษที่จะต้านแรงกระทำซึ่งจะทำซึ่งจะทำให้ชิ้นทดสอบหนึ่งชิ้นขาดออกจากรอยฉีกนำเดิม หน่วยที่วัดได้เป็นมิลลินิวตัน( mN )หรือ กรัม ( gram ) กระดาษที่จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบความต้านแรงฉีกขาด ได้แก่ กระดาษทำถุง กระดาษพิพม์และเขียน หลักการในการตรวจสอบความต้านแรงฉีกขาดทำโดย ใส่ชิ้นทดสอบที่มีขนาดตามมาตรฐานกำหนด ในระหว่างปากจับบนแท่นเครื่องและบนลูกต้ม ซึ่งเคลื่อนที่ได้ ใช้ใบมีดตัดชิ้นทดสอบเป็นการฉีกนำยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ทำการทดสอบโดยปล่อยให้ลูกตุ้มเคลื่อนที่ ชิ้นทดสอบจะฉีกขาด

ความต้านแรงดันทะลุ

     หมายถึง ความสามารถของกระดาษที่จะทนแรงดันได้สูงสุด เมื่อได้รับแรงกระทำในทิศทางตั้งฉากต่อผิวหน้ากระดาษ มีหน่วยเป็น กิโลปาสกาล(kPa) หรือ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรหรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว ความต้านแรงดันทะลุมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความต้านแรงดึงในแนวขนานเครื่อง ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการกระจายตัวของแรงที่มากระทำต่อชิ้นทดสอบอธิบายได้ดังนี้ จากการที่พื้นที่ทดสอบมีลักษณะเป็นวงกลม ในการทดสอบเมื่อเครื่องทดสอบทำงาน แผ่นไดอะแฟรมจะถูกดันให้โป่งขึ้นจนทำให้กระดาษแตกทะลุ ก่อนที่กระดาษจะแตกออก กระดาษจะเกิดการยึดตัวออกไปในทุกทิศทุกทาง แต่เนื่องจากกระดาษมีความยึดในแต่ละทิศทางไม่เท่ากัน ดังนั้นความสามารถในการรับแรงที่มากระทำจึงไม่เท่ากันทุกทิศทางไม่เท่ากันทุกทิศทาง แนวรอยแตกของชิ้นทดสอบที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะตั้งฉากกับแนวขนานเครื่องของกระดาษเพราะกระดาษมีการยึดตัวในแนวนี้ต่ำกว่าแนวขวางเครื่อง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถบอกได้ว่า แนวรอยแตกเป็นแนวเดียวกันกับแนวขนานเครื่องของกระดาษ กระดาษที่จำเป็นต้องตรวจสอบความต้านแรงดันทะลุ จะเกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ กระดาษผิวกล่อง ( linerboard )ซึ่งจะนำใช้ผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก ( corrugated board) หรือกล่องที่ใช้เพื่อการขนส่ง( shipping container ) หลักการในการตรวจสอบความต้านแรงทะลุ วางชิ้นทดสอบระหว่างปากจับบนและล่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นกลมมีช่องกลมตรงกลางแล้วเดินเครื่องทำงาน กลีเซอลีน( อยู่ภายในตัวเครื่อง) จะดันแผ่นยางไดอะแฟรมจนโป่งขึ้นดันจนกระดาษแตกทะลุ

ความต้านแรงดึงและการยืดตัว

หมายถึง ความสามารถในการรับแรงดึงสูงสุดที่กระดาษจะทนได้ก่อนจะขาดออกจากกัน มีหน่วยเป็นแรงต่อความกว้างฃองกระดาษที่ใช้ทดสอบ เช่น กิโลนิวตันต่อเมตร(KN/m) หรือปอนด์ต่อนิ้ว( lb/in ) ค่าที่วัดได้จะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความทนทานและศ้กยภาพในการใช้งานของกระดาษ ซึ่งต้องรับแรงในขณะใช้งาน เช่น เพื่อการห่อของ ทำถุง ทำม้วนเทป โดยทั่วไปแล้วค่าต่ำสุดของความต้านแรงดึงของกระดาษแต่ละชนิดต้องการเพียงเพื่อไม่ให้แผ่นกระดาษฉีกขาดระหว่างการแปรรูปเพื่อใช้งาน เช่น การใช้กระดาษม้วนป้อนงานพิมพ์ นอกจากนี้ยังนำไปใช้สำหรับกระดาษที่ต้องการความต้านแรงดึงขาดเมื่อเปียก ( wet-tensile strength ) เพื่อให้แน่ใจว่ากระดาษไม่ยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำในขณะใช้งาน โดยการตรวจสอบความต้านแรงดึงขาดขณะที่กระดาษยังเปียกอยู่ หลักการในการตรวจสอบความต้านแรงดึง นำกระดาษที่ได้รับการต้ดแล้วตามมาตรฐานทดสอบโดยยึดไว้ ระหว่างปากจับชิ้นทดสอบ ปากจับชิ้นทดสอบจะเคลื่อนที่ดึงจนชิ้นทดสอบขาด โดยดึงด้วยตวามเร็วคงที่ เครื่องทดสอบแบบนี้เรียกว่า แบบลูกตุ้ม( pendulum type )เป็นการดึงให้กระดาษขาดด้วยอัตราการยึดตัวคงที่( constant straining rate) ที่วัดโดยปากจับข้างหนึ่งจะตรึงนิ่งอยู่กับที่ ส่วนอีกข้างหนึ่งเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วคงที่ เครื่องทดสอบแบบนี้เรียกว่า เครื่องทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ สมบัติการยึดตัวของกระดาษนับว่ามีความสำคัญมากดังที่ได้กล่าวในสมบัติทางเชิงกลพื้นฐานเกี่ยวกับค่า TEA ของกระดาษแล้ว ค่าตวามยึดที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการเพิ่ม TEA ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกศักย์ภาพการใช้งานของกระดาษชนิดพิเศษที่ต้องการมีความสูงมากพอที่จะทนแรงที่มากระทำได้ เช่น กระดาษที่ใช้ทำถุงหลายชั้น เพราะกระดาษที่มีความยึดสูงจะไม่แตกเปราะง่าย การที่กระดาษมีค่าแรงดึงสูงเพียงอย่างเดียวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะการใช้งานของกระดาษชนิดนี้ เพราะกระดาษจะเกิดการแตกเนื่องจากไม่มีความแข็งแรงพอจะรับแรงมากระทำให้เกิดยึดตัวได้ ความยึดของกระดาษสามารถเพิ่มได้โดยเพิ่มการบดเยื่อ แต่ถ้าต้องการเพิ่มความยึดของกระดาษให้สูงขึ้นอีสามารถทำได้โดยการทำให้กระดาษย่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดรอยย่นขนาดเล็ก ( microcrepe ) บนผิวกระดาษ กระดาษยึดพิเศษ ( extensible paper ) กระดาษชนิดนี้จะให้ค่า TAE สูง เปรียบเทียบค่า TEA ของกระดาษทำถุงหลายชั้น และกระดาษยึดพิเศษจะสูงกว่ากระดาษทำถุงหลายชั้น

สมบัติทางเชิงกลประยุกต์

สมบ้ติทางเชิงกลประยุกต์เป็นสมบัติเชิงกลของกระดาษที่บ่งชี้ถึงค่าความต้านทานแรงที่มากระทำต่อกระดาษในหลายลักษณะจนกระดาษขาด ได้แก่ แรงดึง แรงฉีก และแรงเฉือน สมบัติทางเชิงกลของกระดาษได้แก่ ความต้านแรงดึง และการยึดตัว ความต้านแรงดันทะลุ ความต้านแรงฉีกขาด ความทนต่อการพับขาดและความทรงรูป สมบัติทางเชิงกลเหล่านี้ยกเว้นความต้านแรงดันทะลุจะขึ้นกับทิศทางการเรียงตัวของเส้นใยว่าจะเป็นแนวขนานเครื่อง( MD ) หรือแนวขวางเครื่อง ( CD ) โดยทิศทางของเส้นใยจะทำให้ค่าสมบัติทางเชิงกลของกระดาษตามแนวขนานเครื่องและขวางเครื่องแตกต่างกัน เช่น ความต้านแรงดึงขาดในแนวขนานเครื่องจะมีค่ามากกว่าแนวขวางเครื่อง หรือความต้านแรงฉีกขาดในแนวขนานเครื่องมีค่าน้อยกว่าแนวขวางเครื่อง นอกจากนี้ความชิ้นก็มีผลต่อสมบัติเหล่านี้ด้วยเช่นกัน การทดสอบสมบัติทางเชิงกลเหล่านี้ มีความหมายต่อการนำไปใช้งาน และการตรวจสอบด้านคุณภาพ

สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน

     เป็นสมบัติทางเชิงกลที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมของกระดาษที่เกิดขึ้นในขณะที่ได้รับแรงดึงซึ่งกระดาษแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันซึ่งสามารถอธิบายได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด( stress-strain plot ) ความเค้นในที่นี้ หมายถึง แรงที่กระทำให้วัตถุเกิดการยึดตัว ยกตัวอย่างเช่น แขวนตุ้มน้ำหนักไว้ที่ปลายลวด ลวดจะได้รับแรงดึงทำให้เกิดการยึดตัวขึ้น แรงที่กระทำเรียกว่า เทนไซล์สเตรส(tensile stress) มีหน่วยเป็นแรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น นิวตันต่อตารางเมตร( N/m2) ความเครียดในที่นี้ หมายถึง การยึดตัวของวัตถุเมื่อถูกแรงดึง หน่วยที่ใช้เป็นร้อยละ โดยคิดจากความยาวที่เพิ่มขึ้นต่อความยาวเดิมของวัตถุ เช่น วัตถุเดิมยาว 100 มิลลิเมตร หลังได้รับแรงดึงมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 105 มิลลิเมตร ดังนั้นวัตถุนี้จะมีความเครียดหรือความยึดเท่ากับร้อยละ 5 พฤติกรรมของกระดาษอธิบายจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดได้ ดังภาพที่ 9.27 จากภาพจะเห็นว่าค่าแรงดึงของแนวขนานเครื่องจะสูงกว่าแนวขวางเครื่องและความยึดตัวของแนวขวางเครื่องจะสูงกว่าแนวขนานเครื่องอันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียงตัวของเส้นใย ที่ระดับความยึดร้อยละ 0.005 ของกระดาษทุกชนิด ค่าความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงและความยึด จะเป็นสมการเส้นตรง โดยเมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะมีการยึดตัวออกและสามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกเรียกพฤติกรรมนี้กระดาษว่าพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นได้( elastic behavier ) แต่ที่ระดับความยึดตัวสูงกว่านี้กระดาษจะแสดงสมบัติคล้ายพลาสติก คือ เมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะยึดตัวออกแล้วไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออก ซึ่งเป็นลักษณะการยึดตัวของพลาสติก ที่ระดับความยึดร้อยละ0.022และ0.03 ซึ่งเป็นวงจรที่สองและสามของการยึดตัวและหดตัวของกระดาษ( straining-destrining cycles ) ในช่วงวงจรนี้กระดาษยึดตัวออกโดยมีแรงกระทำที่คงที่ แต่ไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกจะเห็นได้ว่ากระดาษสามารถแสดงสมบัติทั้งของยางและพลาสติกได้เมื่อได้รับแรงดึง( viscoselastic) จากเส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยึดต้ว สามารถจัดสมบัติเชิงกลพื้นฐาน โดยพิจารณาจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งของแรงดึงและความยึดตัวหรือทีอีเอ ( tensilr energy absorption,TEA) มีหน่วยเป็นพลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เช่น จูลต่อตารางเมตร(j/m2)กระดาษแต่ละชนิดจะมีพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยืดตัวต่างกัน ยกตัวอย่างดังภาพที่9.28 กระดาษ2 ตัวอย่างaและbจะมีค่าTEA ไม่เท่ากัน กระดาษA มีค่าแรงดึงสูงกว่ากระดาษb แต่กระดาษ Bจะมีค่า TEA สูงกว่ากระดาษ A ซึ่งมีค่าแรงดึงสูงกว่าทั้งนี้เป็นเพราะกระดาษ B มีค่าความยึดสูงกว่า A มาก จึงให้ค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากค่าแรงดึงและความยึดตัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์