Custom Search

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวพิมพ์

inkjet printing company inkjet printing service inkjet printing services label printing companies label printing services latest 3d printing technology latest in printing technology latest offset printing technology latest printing technology latest technology in printing latest technology in printing industry magazine printing company magazine printing services manufacturers of 3d printers manufacturing 3d printer 3d printing in business 3d printing in manufacturing 3d printing latest technology 3d printing manufacturers 3d printing manufacturing 3d printing manufacturing companies 3d printing manufacturing industry
     ตัวพิมพ์มีการพัฒนารูปลักษณ์มาจากเค้าโครงตัวเขียนของภาษาต่างๆ ดังเช่นในกรณ๊ตัวพิมพ์ไทยตัวพิมพ์แบบแรกๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือในประเทศไทย คือ "บรัดเลย์เหลี่ยม" หรือตัวพิมพ์ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์"บางกอกรีคอร์เดอร์" นั้น  สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากลายมือแบบอาลักษณ์  ที่พบปรากฎตามเอกสารในยุคต้นรัตนโกสินทร์ตัวพิมพ์ในรุ่นต่อมาได้พัฒนาลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบให้เหมาะสมกับเทคนิคการพิมพ์  คือ การแยกช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว  มีลำตัวตั้งตรง  แทนเส้นเอน  และมีความต่อเนื่องดังที่มักปรากฏในตัวเขียนอันเนื่องมาจากความถนัดในการใช้มือ

ตัวพิมพ์แบบ"บรัดเลย์เหลี่ยม" ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย

เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์ ” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกันและให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญเป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.
3d manufacturing 3d manufacturing technology 3d printer business 3d printer for business 3d printer for manufacturing 3d printer manufacturers 3d printer manufacturing companies 3d printer manufacturing process 3d printers for business 3d printers for manufacturing 3d printers manufacturers 3d printing and manufacturing 3d printing and manufacturing industry 3d printing manufacturing process 3d printing manufacturing technology 3d printing service

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์