Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวพิมพ์

     ตัวพิมพ์มีการพัฒนารูปลักษณ์มาจากเค้าโครงตัวเขียนของภาษาต่างๆ ดังเช่นในกรณ๊ตัวพิมพ์ไทยตัวพิมพ์แบบแรกๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือในประเทศไทย คือ "บรัดเลย์เหลี่ยม" หรือตัวพิมพ์ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์"บางกอกรีคอร์เดอร์" นั้น  สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากลายมือแบบอาลักษณ์  ที่พบปรากฎตามเอกสารในยุคต้นรัตนโกสินทร์ตัวพิมพ์ในรุ่นต่อมาได้พัฒนาลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบให้เหมาะสมกับเทคนิคการพิมพ์  คือ การแยกช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว  มีลำตัวตั้งตรง  แทนเส้นเอน  และมีความต่อเนื่องดังที่มักปรากฏในตัวเขียนอันเนื่องมาจากความถนัดในการใช้มือ

ตัวพิมพ์แบบ"บรัดเลย์เหลี่ยม" ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย

เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์ ” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกันและให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญเป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.

เทคโนโลยีเกี่ยวกับตัวพิมพ์

1. ตัวพิมพ์เป็นรูปลักษณ์ของภาษาเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมันมีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของแต่ละภาษาแตกต่างกัน แบบตัวพิมพ์มักได้รับการออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นและความลาดเอนต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการเลือกใช้งาน เรียกชุดตัวพิมพ์นี้ว่า  ครอบครัวตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งได้เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา  ตัวหนาตัว  ตัวบาง  ตัวเอน  เป็นต้น
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน  เช่น  จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์  ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน  เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน  คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน  และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์

ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน  ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง  การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์  การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์  จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล  ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร  ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา  แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป  กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน  ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์  ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ  เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด

เทคโนโลยีเกี่ยวกับด้วยพิมพ์และเทคโนโลยีการจัดการข้อความ



  • ตัวพิมพ์ที่เป็นรูปลักษณะของภาษเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ) มีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบแตกต่างกัน  แบบตัวพิมพ์มักถูกออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นหรือความลาดเอียงแตกต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการนำไปใช้งาน  ชุดครอบครัวตัดพิมพ์  แบ่งเป็นตัวธรรมดา  ตัวหนา  ตัวบาง  ตังเอน  สำหรับการจัดกลุ่มตัวพิมพ์วิธีการจัดการต่างๆกัน เช่น  แบ่งตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ แบ่งตามรูปลักษณ์  และแบ่งตามการใช้งาน  ความรู้ในการจัดกลุ่มตัวพิมพ์นี้ จะในการเลือกแบบตัวพิมพ์ไปใช้ในงานได้ดี
  • เทคโนโลยีการจัดการข้อความเป็นเทคโนโลยีการนำข้อมูลตัวอักขระต่างๆ เข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบบรรณาธิกรให้เหมาะสมในงานเตรียมการก่อนพิมพ์หรืองานเตรียมการก่อนผลิตสื่อต่างๆ  ด้วยกรรมวิธีทางดิจิทัลหรืออิเลกทรอนิกส์  ส่วนแรกคือ  เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับนำตัวอักษรของเนื้อหาเข้าคอมพิวเตอร์ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัลด้วยวิธีต่างๆ  และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบรรณาธิกร  คือ  การแก้ไขปรับปรุงตัวอักษรและเน้อหาข้อความให้เหมาะสมตามที่ต้องการสำหรับการนำข้อความนั้นไปใช้งานต่อไป


nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์