Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้น มีที่มาจากหลายบริษัท ดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมีความ แตกต่างกันได้ เช่น ในเรื่องของความชื้น การรับน้ำหมึก ความขาว ความหนา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิต ทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้
  1. น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง
  2. ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษ เนื่องจากกระดาษจะถูกดึง และกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทาน กระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้
  3. ความต้านทานต่อน้ำและความชื้น กระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสม และไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษที่เลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบาง หมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร
  4. ความชื้นของกระดาษ กระดาษที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลง
  5. สีสันของเนื้อกระดาษ การเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวล เป็นต้น
  6. ความทึบของกระดาษ เนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่ง หรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือก หากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้
  7. ลักษณะผิวกระดาษ ผิวกระดาษจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น ไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษ
  8. การเรียงตัวของเยื่อกระดาษ / เส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน





ชนิดของกระดาษ มีอะไรบ้าง? (Paper type)

ชนิดของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วยเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

กระดาษอาร์ต



กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ 


  • กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษปอนด์

กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด (กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก ) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพง เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนา ในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย



กระดาษถนอมสายตา (Green Read)


เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดยเฉพาะ เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตา ทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตา กระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบา และเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมีความหนา ดูคุ้มค่า คุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้ว สีจะดูสดใสและนวล มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไป เหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามาก เช่น หนังสือประเภทวรรณกรรม

กระดาษปรู๊ฟ


กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูก เนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เน้นจำนวนการผลิตมาก ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน


กระดาษคาร์บอนเลส


เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วย เพื่อทำเป็นสำเนา กระดาษชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน


กระดาษกล่อง และกระดาษลูกฟูก


กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตามชนิดของกระดาษ เนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสี ถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่า แต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท


กระดาษแอร์เมล์


เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว


กระดาษพีวีซี


กระดาษชนิดนี้มีความทนทาน เนื้อเหนียว ส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตร และปกรายงาน

ทำไมถึงเรียกกระดาษเป็น แกรม ?



กระดาษใช้หน่วย "แกรม" มาจากภาษาอังกฤษว่า "grams" ภาษาไทยเราควรใช้คำว่า "กรัม" มากกว่า แต่คิดว่ามันดูไม่เท่ ผู้ผลิตจึงเรียกว่า "แกรม" แทน

กระดาษ 80 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 80 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น
กระดาษ 70 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 70 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องระบุขนาดของกระดาษเป็นหน่วยกรัม เพราะถ้ากำหนดเป็นความหนา จะทำได้ยากกว่าครับ จึงอาศัยน้ำหนักมาเป็นค่ามาตรฐานแทน







เมื่อพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรม กับ 60 แกรม คงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรม ที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง คำว่า แกรม นี้ก็คือ กรัม ( gram ) นั้นเอง เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวลกระดาษว่าเมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่งๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตร มาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม ( แกรม ) ฉะนั้น กระดาษขนาด 120 แกรม จึงหมายถึง กระดาษที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร 





ในทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย ( บาง ) จะทำให้แสงส่องผ่าน ได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้ามทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดีด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนด้วย ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดนึง แต่ก็จะทำให้หนังสือไมบางจนเกินไปดูแล้วสวยงาม แกรมที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรม 

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็นหน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก 


จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่างๆ

ใบเสร็จ สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary40 - 60 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด70 - 80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์120 - 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า210 - 300 แกรม




คลิปขั้นตอนการผลิตหมึกพิมพ์ (How Ink Is Made)


เป็นคลิปแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตหมึกพิมพ์ในระบบอุตสาหกรรมงานพิมพ์ (How Ink Is Made)   ด้วยเทคโนโลยีการผลิตของ PrintingInkCompany

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์