Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

หลักสูตรการอบรมของสถาบันการพิมพ์ไทย




Competency Structure
1.
Follow OH&S practices and identify environmental hazards
14.
Printing problem
2.
Apply knowledge requirements of printing
15.
Print length
3.
Prepare machine for operation basic
16.
Colour Matching
4.
Set up basic lithographic printing
17.
Colour separation - screen
5.
Print chemistry - ink and water balance
18.
Measuring tool
6.
Produce basic lithographic print single colour
19.
Paper manufacture
7.
Printing plate care
20.
Produce complex lithographic print - 4 colour process
8.
Make ready book
21.
Inspecquality against required standards - densitometry
9.
Produce complex Lithographic print 4 colour line
22.
Quick change over
10.
Operate and monitor machines - registration23.Set up basic coating (varnish)
11.
Perfacting24.On-demand printing (digital printing)
12.Blanket and packing25.Printing costing and estimating
13.Imposition26.Web - Basic


โครงการฝึกอบรมทางด้านการพิมพ์ Lithographic Printing เป็นโครงการหลักสูตรเกียรติบัตร ระดับ 3 มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคนิค และการผลิต ตลอดจนการจัดกระบวนการฝึกทักษะในองค์กร เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึง หลักทฤษฎีและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิมพ์อันหลากหลาย รวมถึงหมึก และน้ำยาเคมีต่างๆเป็นต้น เตรียมรับมือกับปัญาหาทางด้านเทคนิคต่างๆ รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการผลิต ตลอดจนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์และได้ฝึกผนจากกระบวนการทำงานจริงที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออีกด้วย
เวลาเรียน
14 กรกฎาคม 2551 – 24 ตุลาคม 2551
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. ถึง 16.30 น.
สถานที่เรียน
Thai Print Academy (นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร)
ผู้สอน
จาก RMIT และสมาคมการพิมพ์ไทย
ภาษา
บทเรียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยจะมีการแปลเป็นภาษาไทยในบางวิชา
ค่าใช้จ่าย
150,000 บาท ต่อ 1 ท่าน
เกียรติบัตร
RMIT Certificate III Printing and Graphic Arts


คุณสมบัติของผู้เรียน

1. ควรจะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษพอสมควร เนื่องจากการเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแปลเป็นภาษาไทยเพียงบางวิชา

2. ชาย/หญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป

3. ผู้เรียนต้องมีชั่วโมงเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของตารางเรียนทั้งหมด มิฉะนั้นทาง RMIT และทาง Thai Print Academy ขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะไม่มอบใบ Certificate III
เครื่องที่ใช้สำหรับการฝึกอบรม
Machine
Brand
Model
Printing machine
Mitsubishi
D 3000 LS-4
CTP
Kodak
Trendsetter 800 II
Folding Machine
Shoei
SPK 74 – 4 KTL
Stitching Machine
Muller Martini
Valore
Perfect Binding
Muller Martini
AmigoPlus
Cutter+Jogger
Polar
115+R4


ข้อมูลจาก http://www.thaiprintacademy.com/

สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย: Thailand Printing Federation



สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เกิดขึ้นจากความต้องการของกลุ่มสมาคมต่างๆ ที่ประกอบการเกี่ยวข้องกับการพิมพ์ เพื่อต้องการเข้า ไปช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่จะซ้ำซ้อนเหลื่อมล้ำกันมาตลอดระหว่างสมาชิก ของผู้ประกอบการ และในช่วงเวลาที่ผ่านมา บทบาทของการแก้ปัญหาระหว่างภาครัฐกับเอกชน ส่วนใหญ่รัฐบาลจะยอมรับฟังผ่าน ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นหลัก กลุ่มสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเห็นว่า ควรจะมีการทำงานร่วมกันเป็นแนวทางเดียวกัน และควรนำปัญหาต่างๆ นำเสนอผ่านทางกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อยู่แล้ว ให้เป็นผู้ดำเนินการประกอบกับระหว่างนั้นได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งภาคของอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอชีย / เอเชียอาคเนย์ การพิมพ์และสิ่งพิมพ์หนังสือก็รวมอยู่ในข่ายที่จะต้องจัดตั้งเป็นภาคีของภูมิภาคด้วย โดยสาขาของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้ถูกจัดให้ เป็นแกนนำของการพิมพ์ของประเทศที่จะเข้าไปร่วมจัดตั้งเป็นภาคี (printing and Publishing Club) 


จากสาเหตุดังกล่าว ประกอบกับความต้องการของผู้ประกอบทางด้านการพิมพ์ที่จะร่วมกันแก้ปัญหาของบรรดาสมาชิกจึงได้นำรูปแบบ การทำงานของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (ของสภาอุตสาหกรรมฯ) มาศึกษาและปรับโครงสร้างให้เข้ากับการทำงานของกลุ่มการพิมพ์ ดังนั้นในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2536 จึงมีมติจัดตั้งเป็นสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นแกนกลางประกอบด้วยสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวม 7 กลุ่ม โดยให้นายกทุกสมาคมทำหน้าที่เป็นมนตรีและทำการเลือกประธานมนตรีและจัดแบ่งการทำงานเป็น รูปแบบองค์กรชัดเจน โดยประธานมนตรีจะมีวาระการทำงานครั้งละ 1 ปี และจะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนให้นายกของแต่ละกลุ่มเข้าทำหน้าที่ประธาน ซึ่งวันที่ 7 มกราคม 2536 เป็นวันกำเนิด สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ (สอกพ.) โดยได้เชิญนายกสมาคม ประธานกลุ่มและชมรม มาทำความตกลงในการเข้ารับตำแหน่งด้วยวิธีการจับฉลาก เพื่อมาทำหน้าที่ประธานคณะมนตรีท่านละ 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณอร่าม อามรดิษ พาไปลงสัตยาบันที่สโมสรรัฐสภา


วัตถุประสงค์

ผดุงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ร่วมกันในการประกอบอาชีพของมวลสมาชิก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเข้าทำความตกลงกับรัฐบาลและองค์กรของประเทศในกรณีที่มีส่วนเกี่ยวพันและมีผล
กระทบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง 


ประสานงานและปฏิบัติงานโดยพลันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง
ทางด้านภาษี บุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอื่น
ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ทั้งในทางปฏิบัติและในทางวิชาการ 


ให้การช่วยเหลือมวลสมาชิกที่มีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

สมาชิกของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์


1. สมาคมการพิมพ์ไทย

2. กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3. สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

4. สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

5. สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

6. สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

7. ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย

8. สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

9. สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

คณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระปี 2556-2557


รายนามอดีตคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์










การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )

การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป








การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์ 
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป 
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์ 
4. ผู้พิมพ์

ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ 
1.ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
2.สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้

ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้ 

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์ 
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์ 

2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
2.1ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย 
2.2ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
3.1ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป 
3.2ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม





4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 
4.1แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 
4.2แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 
4.3แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

ที่มาจาก http://www.mew6.com/composer/art/printing.php

ตลาดหนังสือในปัจจุบัน




อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในปัจจุบันนี้มีสำนักพิมพ์มากมายที่เปิดรับต้นฉบับในรูปแบบของก็เช่าลิขสิทธิ์เพื่อนำมาจัดจำหน่าย มีสำนักพิมพ์เกิดขึ้นอย่างมากมาย การพิมพ์เผยหลายในเมืองไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งกลายเป็นสากลในยุคปัจจุบัน จากข้อมูลของ สมาคมผู้จัดพิมพ์ที่ทำขึ้นเมื่อราว ต้นปี พ.ศ.2551 ระบุว่าใน ปี พ.ศ. 2550 มีสำนักพิมพ์ที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้จัดพิมพ์อยู่ถึง491 สำนักพิมพ์ มีการผลิตหนังสือใหม่ออกสู่ท้องตลาดเดือนละ 955 เล่ม ต่อเดือนเลยทีเดียว หรืออีกนัยหนึ่งคือจะมีหนังสือใหม่ออกสู่ท้องตลาดราว 32 เล่มต่อวัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังสือใหม่ถูกเบียดตกแผงไปอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้อัตราการผลิตหนังสือดังกล่าวยังเทียบว่าน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วถึง5- 10 เท่าโดย ตลาดเมืองไทยมีมูลค่ารวมในปี 2550 ประมาณ 18,000 ล้านบาท และในปี 2551 นี้คาดการณ์กันว่า ตลาดหนังสือมีมูลค่าถึง 19,200 ล้านบาท โดยกว่า 88 เปอร์เซ็นต์ของยอดจำหน่าย จะถูกแชร์อยู่ในสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง 


การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน

หมอบลัดเลย์ บิดาแห่งวงการพิมพ์ของไทย

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)เป็นหมอสอนศาสนา ชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุครคนที่ 5 ของ นายนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเป็นต้นแบบของหมอบลัดเลย์โดยเคยเป็นทั้ง หมอสอนศาสนา ผู้พิพากษา เกษตรกร และบรรณาธิการวารสารทางเกษตรกรรม ดังนั้นจึงสร้างเป็นแนวความคิดให้หมอบลัดเลย์ใฝ่ฝันอยากจะเผยแพร่ศาสนาอย่างผู้เป็นบิดาบ้างจึงตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ เมื่อจบการศึกษาก็สมัครเป็นมิชชั่นนารีในองค์กร American Board of Commissioners of Foreign Missions(ABCFM) หมอบลัดเลย์เดินทางมาเผยแพร่ ศาสนาในประเทศไทยในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยได้แวะที่สิงคโปร์และได้รับชุดตัวพิมพ์ภาษาไทยที่ American Board of Commissioners of Foreign Missions ในประเทศสิงคโปรได้ซื้อไว้ ก่อนจะเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย

หมอบรัดเลย์บิดาแห่งวงการพิมพ์ไทย
                               ภาพจากหนังสือหมอบรัดเลย์กับการหนังสือพิมพ์แห่งกรุงสยาม(สนพ.ศิลปวัฒนธรรม)



ในระยะแรกหมอบลัดเลย์ได้อาศัยอยู่ในละแวกสัมพันธวงศ์โดยเปิดเป็นร้านจ่ายยา และช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวพระนคร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรี และได้รักษาพยาบาลคนเรื่อยมาโดยผลงานที่สำคัญคือการผ่าตัดผู้ป่วยคนไทยจนสามารถรักษาชีวิตเอาไว้ได้ถือว่าเป็นการผ่าตัดครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่วนในงานเผยแพร่ศาสนานั้นหมอบลัดเลย์ก็ไม่ได้ละเลย ยังคงเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์อยู่เรื่อยมาและการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นั้นจำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อช่วยให้คนเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาใหม่นี้ได้ง่ายขึ้นดังนั้นหมอบลัดเลย์จึงย้ายไปอาศัยอยู่ ข้างวัดประยูรวงศาวาส ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีทำเลดีและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนา และได้ใช้ ตัวอักษรภาษาไทยที่ได้มาจากสิงคโปร์ในคราวที่แวะจอดเรือก่อนจะเข้ามาประเทศไทย งานชิ้นแรกที่ หมอบลัดเลย์พิมพ์เป็นภาษาไทยในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2382 คือ การพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่น ที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำขึ้นจำนวน 9,000 แผ่น ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารราชการไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์

ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่า บางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน 

องค์กรใหม่มีฐานะทางการเงินไม่สู้ดีเท่าทีควรจึงทำให้หมอบลัดเลย์ต้องหารายได้พิเศษโดยการพิมพ์หนังสือขาย เพื่อจุนเจือฐานะทางการเงิน โดยหนังสือที่พิมพ์ในช่วงนี้มีหลายหลายประเภททั้ง ตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมายทั้งยังพิมพ์เรื่องในวรรณคดีต่างๆเช่น ราชาธิราช สามก๊ก เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น เป็นต้นและในช่วงนี้เองที่ทำให้มีการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเพื่อมาจัดพิมพ์วางจำหน่ายเป็นครังแรกในประเทศไทยเมื่อ หมอบลัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือ นิราศลอนดอนที่เขียนโดย หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เป็นเงิน 400 บาท ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 ทำให้หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยที่มีการซื้อขายลิขสิทธ์ตามแบบอย่างตะวันตก และสำนักพิมพ์ต่างๆก็ยังคงยึดถือหลักการนี้สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ที่มา http://vcharkarn.com/varticle/38234

ประวัติการพิมพ์ของในประเทศไทย

ในอดีตไทยใช้การเขียนบันทึกความรู้ต่างๆลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันระหว่างรุ่นสู่รุ่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ ปรากฎขึ้นในดินแดนสยามเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือว่าเป็นยุคหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้ชีวิตในสยามมากมาย ทั้งจีน แขก และฝรั่ง หนังสือในรูปแบบของการพิมพ์ตัวอักษรมาพร้อมกับหมอสอนศาสนาชาวต่างชาติที่มีเป้าประสงค์หลักคือการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภูมิภาคนี้ บาทหลวงที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเรื่องการพิมพ์มากที่สุดในยุคนั้นคงไม่พ้นจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสนาม ลาโน (Mgr Laneau) ที่ได้จัดพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้นมาเผยแพร่ จนเป็นที่พอพระทัยในองค์พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในคราวที่ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นราชทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการงานพิมพ์ของฝรั่งเศสและแสดงความสนอกสนใจเป็นอย่างมากจนกระทั่งในกาลต่อมาพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้น ที่เมืองลพบุรีอันเป็นสถานที่พระองค์ใช้พำนักอยู่ในช่วงปลายรัชกาล แต่ กิจการงานพิมพ์ของสยามในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเมื่อมีเกิดการผลัดแผ่นดิน เป็นแผ่นดินของพระเพทราชา ที่ไม่ค่อยโปรดพวกมิชชั่นนารีเท่าทีควรเป็นเหตุให้พัฒนาการเกี่ยวกับการพิมพ์ของสยามในช่วงนั้นต้องหยุดชะงัดลงไปด้วย

  หนังสือใบลานในยุคเก่า
                                           ภาพจาก http://kanchanapisek.or.th


บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย


ประวัติความเป็นมาการพิมพ์ของโลก


ก่อนที่เราจะมีหนังสือเป็นแหล่งความรู้หลักอย่างเช่นในปัจจุบันนี้ หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการที่ยาวนานข้ามยุคข้ามสมัยมานานนับพันปี หนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ถือว่าเป็นความบันเทิงอย่างแรกๆของมนุษย์เรา แต่ในปัจจุบันเรามีสื่อที่หลากหลาขึ้น ทั้งในรูปของเสียง เช่น วิทยุ เพลง หรือภาพและเสียงอย่าง โทรทัศน์ DVD หรือสื่ออินเตอร์เนตที่มีเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลก

วิวัฒนาการของหนังสือเกิดขึ้นการจากที่มนุษย์ได้เรียนรู้ สิ่งต่างๆสั่งสมเป็นความรู้และประสบการณ์จนกระทั่งลงมือละเลงวาดสิ่งที่พบเห็นมาและวิถีชีวิตไว้บนผนังถ้ำอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำจึงเป็นทั้งที่อยู่ค่อยคุ้มแดดคุ้มฝนและภัยจากสัตว์ร้ายที่ยังมีอยู่ชุกชุมในอดีต ทั้งยังกลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่คอยบันทึกเรื่องราวผ่านยุคสมัยให้สืบทอดมายังปัจจุบัน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เราพบ ศิลปะภาพพิมพ์บนผนังถ้ำในประเทศฝรั่งเศส และสเปน ทั้งยังมีการค้นพบรูปสลักผนังถ้ำที่มีอายุเก่าแก่ต่างๆมากมายในถ้ำต่างๆ การแกะสลักภาพวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นถือว่าเป็นหลักฐานอย่างแรกในการ แกะแบบพิมพ์ของมนุษย์


42 - Line Bible เอกสารชิ้นแรกของโลกที่ผ่านระบบการพิมพ์
                                                                ภาพจาก http://gotoknow.org


เมื่อโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ราวก่อนคริสตกาลประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ในแถบอารายธรรมเมโสโปเตเมียเริ่มรู้จักการใช้ ของแข็งกดลงบนดินเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายและตัวอักษร จนกระทั่งถึงอารยะธรรมกรีกโบราณที่แสนรุ่งโรจน์ใช้วิธีเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ที่ทำจากต้นบีช (Beech) หรือที่เรียกกันในภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า BOC จนเป็นที่มาของคำว่าBookในปัจจุบัน ในขณะที่อีกฟากของอารยะธรรมอย่างในดินแดนตะวันออก ผู้นำอารยะธรรมอย่างจีน ก็เริ่มมีการบันทึกตัวอักษรลงบนแผ่นไม้ และใบลานตั้งแต่ก่อนคริสตกาลประมาณ 1,300 ปี

หลังจากนั้นมนุษย์มีวิวัฒนาการที่นำหนังสัตว์มาใช้แทนกระดาษ โดยผ่านการฟอกและขัดจนเรียบใช้ทำเป็นม้วนบันทึกเรื่องราวต่างๆลงบนแผ่นหนังจนกระทั่ง ในพ.ศ.648( ค.ศ. 105) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) ได้คิดค้นวิธีทำกระดาษจนกระดาษได้กลายเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆอย่างเช่นในปัจจุบัน ในบรรพกาลปราชญ์ชาวจีนคิดค้นสิ่งต่างๆที่มีประโยชน์ได้ ก่อนชาวยุโรปมามกมายหลายสิ่งแต่ขาดการพัฒนาการที่ต่อเนื่องทำให้ล้าหลังและองค์ความรู้ไม่ได้ต่อยอดเท่าทีควร เช่น การที่จีนรู้จักคิดค้นดินประสิวก่อนชาติใดในโลก การสร้างเรือสำเภา กระดาษอันเป็นวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการบันทึกสิ่งต่างๆก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่ปราชญ์ชาวที่จีนได้คิดค้นขึ้น แต่ขาดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม

จนกระทั่งการใช้กระดาษเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ในยุโรปเองก็ต้องการบันทึกความรู้และเรื่องราวต่างๆมากขึ้นจนในราวคริตศตวรรษที่ 15 โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ได้พัฒนาแม่แบบสำหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว ๆ ซึ่งนำมาเรียงต่อกันได้เป็นประโยคและสามารถพัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์ได้จนสำเร็จทำให้การพิมพ์ย่างก้าวเข้าสู่ยุคการพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิวัติครั้งสำคัญของวงการการพิมพ์ ผลงานอันมีชื่อเสียงของกูเต็นเบิร์ก คือ คัมภีร์ 42 บรรทัด (42 - Line Bible) ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1998 (ค.ศ. 1455)

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์