Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

โมรับส่งกระดาษโมแรก สำหรับเครื่องพิมพ์


โมรับส่งกระดาษของเครื่องพิมพ์ออฟเซตสามารถจ้าแนกตามลักษณะการป้องกันการเกิดรอย ขูดขีด ได้ 6 แบบดังต่อไปนี้
1. แบบใช้วงล้อกลับกระดาษหรือวงล้อพากระดาษ
2. แบบใช้วงล้อเล็กๆ
3. แบบใช้ผ้ากันเลอะหรือผ้ามุ้ง
4. แบบใช้กระดาษกันเลอะ
5. แบบใช้ลมพ่นออกจากโม
6. แบบใช้แขนเหวี่ยง

โมรับส่งกระดาษ คือ อะไร ?


เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น จะมีโมรับส่งกระดาษอยู่ระหว่างหน่วยพิมพ์ยิ่งมีหลายสี ก็จะมี โมรับส่งกระดาษมากขึ้นตามไป เครื่องพิมพ์บางแบบใช้โซ่รับส่งกระดาษแทนโมรับส่งกระดาษ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่น้อยมาก
โมรับส่งกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น ท้าหน้าที่รับส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วจากหน่วยพิมพ์หน่วยหนึ่งไปยังหน่วยพิมพ์อีกหน่วยหนึ่งหรือจากโมกดพิมพ์โมหนึ่งไปยังโมกดพิมอีกโมหนึ่งไปเรื่อยๆจนกว่ากระดาษจะถูกพิมพ์เรียบร้อยและยังท้าหน้าที่รับส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วส่งต่อไปยังส่วนรองรับกระดาษ ดังนั้น โมรับส่งกระดาษจึงมีความจ้าเป็นและมีส่วนส้าคัญต่อเครื่องพิมพ์ออฟเซต
ป้อนแผ่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากการรังส่งกระดาษของโมรับส่งกระดาษไม่ดีจะมีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ท้าให้เกิดภาพซ้อนอีกอย่างหนึ่งที่มักจะพบคือ การเลอะของหมึกหรือพบรอยขีดข่วนบนภาพพิมพ์ เนื่องจากช่วงที่โมรับส่งกระดาษท้าการจับกระดาษส่งต่อไปโมพิมพ์อื่นๆนั้น ผิวของภาพจะกระทบหรือแนบกับผิวของโมรับส่งกระดาษ ท้าให้เกิดรอบดังกล่าว ดังนั้น ช่างพิมพ์ต้องรู้จักวิธีการปรับตั้งอุปกรณ์ของโมรับส่งกระดาษให้เหมาะสมด้วย

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบใช้โมกดพิมพ์ร่วมที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์

แบบใช้โมกดพิมพ์ร่วมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงมาจากแรก ดังนั้น จึงสามารถพิมพ์ได้ที่ความเร็วมากกว่าแบบแรก เพราะโมหมุนที่โมกดพิมพ์ที่การทดรอบเหลือครึ่งหนึ่ง เช่น เมื่อเครื่องหมุน 12,000 รอบต่อชั่วโมง โมกดพิมพ์จะหมุนเพียง 12,000/2 เท่ากับ 6,000 รอบต่อชั่งโมงเท่านั้น

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบใช้โมกดพิมพ์ร่วมที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันกับโมแม่พิมพ์


ประเภทที่ใช้โมกดพิมพ์ร่วม มีอะไรบ้าง?



โครงสร้างของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้โมกดพิมพ์เพียง 1 ลูกต่อการพิมพ์ 2 สี โดยจะมี โมแม่พิมพ์ 2 ลูก โมยาง 2 ลูก แต่มีโมกดพิมพ์เพียง 1 ลูก ดังนั้น ถ้าเครื่องพิมพ์ 4 สี ก็จะใช้โมกดพิมพ์เพียง 2 ลูก
โครงสร้างแบบใช้โมกดร่วมนี้ ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 แบบตามขนาดของโมกดพิมพ์ต่อขนาดโมแม่พิมพ์ คือ
1 แบบใช้โมกดพิมพ์ร่วมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเท่ากันกับโมแม่พิมพ์ หรือขนาดเป็น 1 เท่าของโมแม่พิมพ์
2 แบบใช้โมกดพิมพ์ร่วมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไป ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 3 เท่าของโมแม่พิมพ์


เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไป ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์


แบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์ เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระดาษหนาๆ

เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไป ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันกับโมแม่พิมพ์


โมกดพิมพ์แบบทั่วไป | เครื่องพิมพ์ออฟเซต

เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่นที่ใช้โมกดพิมพ์ทั่วไป(unit type)นี้ หน่วยพิมพ์จะมีโมกดพิมพ์เฉพาะเป็นหน่วยๆไปโครงสร้างของเครื่องพิมพ์แบบนี้ เป็นโครงสร้างที่ใช้โมกดพิมพ์คู่กับโมยาง และโมแม่พิมพ์อย่างละ 1 ลูกตลอด ดังนั้น ถ้าเป็นเครื่องพิมพ์ 4 สีก็จะต้องมีโมแม่พิมพ์ โมยางรวมทั้งโมกดพิมพ์ด้วยอย่างละ 4 ลูก


โครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างที่ใช้กันแพร่หลายเป็นอย่างมากเพราะท้างานสะดวกและง่ายต่อการสร้างเครื่องพิมพ์ของแต่ละโรงงานผู้ผลิต อย่างไรก็ตามในโครงสร้างของเครื่องพิมพ์แบบนี้ยังสามารถแบบออกอีกเป็น 3 แบบตามขนาดของโมกดพิมพ์ต่อขนาดของโมพิมพ์ คือ
1 แบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเท่ากันกับโมแม่พิมพ์หรือขนาดเป็น 1 เท่าของโมแม่พิมพ์
2 แบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 2 เท่าของโมแม่พิมพ์ เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระดาษหนาๆ
รูป
3 แบบใช้โมกดพิมพ์แบบทั่วไปที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตเป็น 3 เท่าของโมแม่พิมพ์

โมกดพิมพ์ | เครื่องพิมพ์

โมกดพิมพ์ (impression cylinder) เป็นโลหะทรงกระบอกส้าหรับรองรับวัสดุพิมพ์มีต้าแหน่ง ประชิดกับโมยาง ท้าหน้าที่กดวัสดุพิมพ์ให้สัมผัสกับโมยาง โดยมีวัสดุพิมพ์แทรกอยู่ระหว่างกลาง


หลักการพิมพ์ออฟเซต (The offset printing)

               การพิมพ์ออฟเซตเป็นวิธีการพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้เพื่อการ
พิมพ์เชิงพานิชประเภทสิ่งพิมพ์ทั่วไปและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่เป็นส่วนใหญ่การพิมพ์ออฟเซตมี
วิวัฒนาการมาจาก “การพิมพ์หินหรือการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ ” (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์ทางตรงใน
ลักษณะที่แม่พิมพ์สัมผัสวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยตรง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยส่งผ่านน้าและ
หมึกพิมพ์ไปบนแม่พิมพ์หิน เมื่อทาบวัสดุพิมพ์ซึ่งได้แก่กระดาษลงไปบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกดก็จะได้
ภาพและข้อความปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์ตามต้องการ ภาพและข้อความที่ปรากฏบนแม่พิมพ์จะเป็นภาพ
กลับซ้ายขวากับภาพและข้อความที่ปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์



ผู้คิดค้นการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่คือ อลัวส์ เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) บางครั้งอาจเรียก
วิธีการพิมพ์ออฟเซตว่า “ออฟเซตลิโทกราฟฟี่” (Offset Lithography) แต่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า
“ออฟเซต” ค้าว่าออฟเซตมีความหมายว่า “ทางอ้อม” โดยมีที่มาจากการถ่ายทอดภาพทางอ้อมจาก
แม่พิมพ์ผ่านตัวกลางที่เป็นผ้ายางก่อนที่จะสู่วัสดุใช้พิมพ์ แทนการถ่ายทอดโดยตรงจากแม่พิมพ์สู่วัสดุใช้
พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพและข้อความในการพิมพ์ออฟเซตจ้าเป็นจะต้องใช้แรงกดพิมพ์เช่นเดียวกันกับ
การพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ และการพิมพ์ระบบอื่น แต่แรงกดที่ใช้ควรน้อยที่สุดที่จะท้าให้เกิดการพิมพ์ได้
การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถพิมพ์ด้วยชั้นหมึกพิมพ์ที่บางและ
สม่้าเสมอรวมทั้งให้คุณภาพการพิมพ์ที่คมชัด นอกจากการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบน
วัสดุใช้พิมพ์ต้องผ่านยางโดยใช้แรงกดพิมพ์ที่พอเหมาะแล้ว การใช้ผ้ายางในการพิมพ์ออฟเซตช่วยให้
เกิดผลดีต่อคุณภาพงานพิมพ์ เนื่องจากผ้ายางมีความหยุ่นและนุ่มจึงสามารถรองรับรายละเอียดของภาพ
และข้อความได้มาก ดังนั้น เมื่อสัมผัสกับวัสดุใช้พิมพ์และใช้แรงกด ผ้ายางจึงสามารถถ่ายทอด
รายละเอียดของภาพและข้อความได้ดี ผลดังกล่าวจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพิมพ์ภาพ

สกรีน ความหยุ่นตัวของผ้ายางท้าให้การพิมพ์ภาพสกรีนด้วยวิธีการพิมพ์ออฟเซตมีคุณภาพดี ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเกิดความผิดเพี้ยนน้อย การพิมพ์ออฟเซตยังยังให้คุณภาพการพิมพ์ที่สวยงามเพราะไม่ก่อให้เกิดรอยเว้าที่ด้านหน้าหรือรอยนูนที่ด้านหลังของแผ่นพิมพ์ ดังเช่นในการพิมพ์เลตเตอร์เพรส อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซตให้มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ที่มีความสามารถและช้านาญงานสามารถปรับความสมดุลระหว่างหมึกและน้้าได้ตลอดระยะการพิมพ์และพิมพ์งานให้มีชั้นหมึกที่บางที่สุดและใช้น้้าน้อยที่สุดที่จะเกิดความอิ่มตัวของสีหมึกพิมพ์ได้มากที่สุด
แม่พิมพ์ออฟเซต เป็นแม่พิมพ์พื้นราบ ส่วนใหญ่ท้าจากอลูมิเนียมที่มีการเคลือบสารไวแสง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยอาศัยหลักการทางเคมีที่ไขมันและน้้าจะไม่รวมตัวกันหรือรวมตัวได้น้อย ในระหว่างการพิมพ์จะมีการจ่ายน้้าและหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดบริเวณภาพของแม่พิมพ์ที่มีคุณสมบัติในการรับหมึก ในขณะที่น้้าจะติดเฉพาะบริเวณไร้ภาพซึ่งมีคุณสมบัติรับน้้าและ
ต้านหมึกพิมพ์ น้้าที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซตเป็นน้้ายาฟาวเท่นที่มักเป็นสารละลายที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 5 - 20 เปอร์เซ็นต์
รู

เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยเก่าและเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ



เครื่องพิมพ์แบบที่สามารถพิมพ์สีได้ไม่ว่าจะแบบเลเซอร์หรือหมึกพ่น ตลับหมึกที่ใช้ในขั้นพื้นฐาน โดยมากจะมีทั้งหมดสี่ตลับ แต่ละตลับก็ต่างสีกัน โดยสีที่มีคือ ดำ เหลือง ฟ้า (cyan) สีม่วงแดงเข้ม (magenta) ตัวเครื่องก็จะทำการประมวลผลในการผสมสีให้ได้สีออกมาตามภาพหรือเอกสารแบบสีที่ถูกผู้ใช้งานสั่งให้พิมพ์ออกมา

ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์และหมึกพ่นถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องพิมพ์ในลักษณะ Multi-function ที่สามารถเป็นเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องสแกนเอกสารได้ในตัว บางรุ่นสามารถเป็นเครื่องโทรสารได้อีกด้วย มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามบ้านและสำนักงาน

พล็อตเตอร์ (Plotter) คือ อะไร ?



พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่าง ๆ

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer) คือ อะไร ?


เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer) การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร มีแต่การพิมพ์แบบขาว-ดำเท่านั้น และต้องใช้กระดาษเฉพาะสำหรับเครื่องพิมพ์แบบนี้เท่านั้น โดยตัวกระดาษจะมี3ชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าที่จะพิมพ์ปกติ ชั้นที่2เป็นไส้ในที่เป็นกระดาษคาร์บอนสีดำ และชั้นสุดท้ายเป็นกระดาษปกติสำหรับใช้สำหรับสำเนาสิ่งที่พิมพ์ ซึ่งสำเนาจากการพิมพ์ด้วยกระดาษแบบนี่เรียกว่า สำเนาคาร์บอน ด้านข้างกระดาษจะมีรูเป็นแถวตามยาวไว้สำหรับล็อกเข้ากับเขี้ยวของเฟืองที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการป้อนกระดาษเข้าตัวเครื่องพิมพ์ประเภทนี้

เครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก Inkjet Printer คือ อะไร ?


เครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมาก ๆ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

===เครื่องพิมพ์ระบบใช้ความร้อน === บองเช เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดนการให้ความร้อนแก่กระดาษโดยไม่ต้องใช้หมึก เช่นแบบที่ใช้ในการพิมพ์ใบเสร็จจากเครื่องATM เครื่องคิดเงินในห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ เครื่องคิดเลขแบบตั้งโต๊ะบางประเภท รวมถึงเครื่องโทรสารในสมัยก่อนก็ใช้ระบบการพิมพ์แบบนี้

เครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์ (Laser printer) | ความหมายและหน้าที่



เครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์ (Laser printer หรือ Toner-based printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือการยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก ยุคแรกเริ่มเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ มีราคาสูงมาก แต่ปัจจุบันมีการแข่งขันของผู้ผลิตค่อนข้างสูง จึงทำให้หาซื้อได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึก โดยในปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ LED แทนเทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดเดิม เนื่องจากเลเซอร์แบบ LED จะมีความคมชัดและประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น

ความหมายและหน้าที่ของ เครื่องพิมพ์ | Computer printer คือ อะไร ?



เครื่องพิมพ์ (อังกฤษ: Computer printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความหรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใส

เครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่าเครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะเป็นแลนไร้สายและ/หรืออีเทอร์เน็ต

วิธีการออกแบบโบชัวร์สวยๆสำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ทำได้ด้วยโปรแกรมPhotoshop



nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์