Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การสอนทฤษฎีการวาดภาพแผนภูมิวงล้อสีผสม olor wheel chart mixing theory painting




ทฤษฎีสี: ความจริงเกี่ยวกับวงล้อสี(The Colour Wheel)






กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

การแยกสีในระบบ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์งานออฟเซ็ททั่วไป

สำหรับเฉดของสีแม่พิมพ์ทั้ง 4 สี คือ
1. C = Cyan สีฟ้า
2. M = Magenta สีแดง (แดงชมพู)
3. Y = Yellow สีเหลือง
4. K = Black สีดำ
5. Spot Color (ในกรณีที่พิมพ์มากกว่า 4 สีปกติ)

สีของระบบ CMYK สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักกับระบบสี CMYK เลย หรือยังนึกภาพไม่ออกว่า เพลทนั้นแยกสีอย่างไรให้ลองเปิดรูปอะไรก็ได้สักรูปในโปรแกรม Photoshop แล้วเข้าไปที่เมนู Image แล้วเลือก Mode CMYK จากนั้นก็ไปที่เมนู Windows แล้วเลือก Channels เราจะพบว่าภาพที่ได้นั้นเกิดจากการรวมตัวของ cmyk ซึ่งในระบบเพลทนั้นก็จะแยกสีโดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน

ภาพวงกลม เป็นการรวมสีของ cmyk ซึ่งมีน้ำหนักการลงสีเท่ากันแต่หากจะมีเฉดสีอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นเป็นเพราะว่าการลงน้ำหนักของสีของ
แต่ละสีไม่เท่ากัน อย่างเช่นว่า พิมพ์สีเหลืองน้ำหนักที่ 100% และสีฟ้าที่ 100%ก็จะได้สีเขียวเข้ม แต่หากลดสีฟ้าลงครึ่งหนึ่ง เป็น Y100 C50 เราก็จะได้สีเขียวอ่อนดังภาพ



ภาพด้านบน แสดงการรวมสี CMYK น้ำหนักที่ 100% เท่ากัน / น้ำหนัก Y100
+ C50 จะได้สีเขียวอ่อน

กรณีที่ต้องแยกสีพิเศษจากรูปภาพทำอย่างไร?

ในงานพิมพ์บางชิ้นงาน การพิมพ์เพียง 4 สีปกติ ทำให้ภาพที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะทำให้การควบคุมสีตอนพิมพ์ไม่ได้ตามที่ต้องการจึงต้องแยกสีออกมาเป็นสีพิเศษต่างหาก ในการแยกสีนั้น หากเป็นไฟล์ที่เป็นกราฟฟิคส์อย่าง .ai ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะเกิดกับไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ซึ่งต้องทำงานในโหมด Channels ของโปรแกรม Photoshop หลักสำคัญก็คือต้องแยกเอาสีเฉพาะที่ต้องการมาทำอีก Channels ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากเพราะหากการแยกสีทำได้ไม่ถูกต้องแล้ว การพิมพ์นั้นก็จะได้สีที่ไม่เป็นที่ต้องการส่วนขั้นตอน และวิธีการทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวในบทต่อไป

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ทฤษฎีสีของระบบสี Lab







ระบบสีแบบ Lab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’ Eclarirage) เพื่อให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่
   L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
    A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
    B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง 

ทฤษฎีสีของระบบสี HSB


ระบบสีแบบ HSB
      เป็นระบบสีพื้นฐานในการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ ประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ คือ
      
    - Hue คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา  0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง
    - Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด   
    - Brightness คือ ระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด ยิ่งมีค่า Brightness มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น

ทฤษฎีสีของระบบสี CMYK



  

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน แต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน

ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง หรือ ระบบสี

RGB คือ

แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)

แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง (Magenta)

แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow)

สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ

มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี
โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK )
ระบบการพิมพ์สี่ส ี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ
ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละส ี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ
ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด
การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน
ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง 100 %


CYAN
MAGENTA
YELLOW
BLACK

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan)สีม่วงแดง (Magenta)สีเหลือง (Yellow), และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ (Black)  แต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color”  หรือการผสมสีแบบลบ หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนสีจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB




ทฤษฎีสีของระบบสี RGB

ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม 
จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด 
เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา 
สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง 
เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง 
ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ 
กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก 
แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สี
ของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน
และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา
ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์
การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น

RED
BLUE
GREEN

เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red)เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue)  ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นได้โดยปกติ และจุดที่สีทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่าแบบ “Additive” หรือการผสมสีแบบบวก ซึ่งเป็นการผสมสีขั้นที่ 1 หรือถ้านำเอา Red Green Blue มาผสมครั้งละ 2 สี ก็จะทำให้เกิดสีใหม่ เช่น

Blue     +     Green     =     Cyan
Red     +     Blue       =     Magenta
Red     +     Green     =     Yellow 

       แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องสว่างทั้งบนจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากการให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง

ข้อมูล อ้างอิงจาก
 http://color.prc.ac.th/newart/webart/colour08.html
http://lprusofteng.blogspot.com/2012/04/blog-post_04.html

ระบบสีมีกี่ประเภท มีประกอบด้วยอะไรบ้าง ?




      โดยทั่วไปสีที่มีอยู่ในธรรมชาติและสีที่ถูกสร้างขึ้นนั้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสี ที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบ คือ
1. ระบบสีแบบ RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบสีแบบ CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3. ระบบสีแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4. ระบบสีแบบ Lab ตามมาตรฐานของ CIE ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ





nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์