Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

คลิปวิดีโอกระบวนการผลิตของธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่รูปแบบการพิมพ์ที่ครบวงจร




การออกแบบโปสเตอร์ (Poster)


โปสเตอร์ คือ ใบปิดประกาศเพื่อแจ้งข่าวประกาศประชาสัมพันธ์ของข้อมูลข่าวสารเพื่อออกสู่สาธารณะ ดังนั้นโปสเตอร์ จึงเป็นงานพิมพ์ด้านเดียว

ขนาดของโปสเตอร์มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และการดีไซต์แต่ส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างมีขนาดมาตรฐาน นั่นก็เพราะว่านักออกแบบจะออกแบบให้รองรับกับกระดาษที่จะใช้พิมพ์เพื่อต้องการจะใช้พื้นที่กับกระดาษให้คุ้มค่าที่สุด โดยไม่ต้องเจียนกระดาษทิ้ง

ลักษณะของโปสเตอร์ในงาน Design ไม่ควรมีขนาดเล็กจนเกินไป มีเนื้อหาที่กระชับ ตรงประเด็นรัดกุม และชัดเจน



องค์ประกอบที่ดีของโปสเตอร์

- พาดหัว เป็นหัวข้อหลัก โดดเด่น และชัดเจน
- รูปภาพ ภาพแนวคิดหรือลูกเล่นที่ต้องการจะสื่อ ในตัวสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
- เนื้อหา เป็นถ้อยคำที่เป็นตัวอักษรประกอบ ซึ่งโดยมากเป็นข้อความที่ไม่ยาวนัก
- ภาพสินค้า จะเป็นภาพสินค้าหรือบริการ หรือเป็นชื่อของผู้ที่ผลิตโปสเตอร์นั้น สำหรับโปสเตอร์โฆษณาสินค้า ในบางครั้งก็อาจเพิ่มเครื่องหมายการค้า (trade mark)หรือคำขวัญเข้าไปด้วยก็ได้

กระดาษที่ใช้พิมพ์โปสเตอร์

1. กระดาษอาร์ตมัน 130 - 160 แกรม

2. กระดาษอาร์ตมัน 190 - 310 แกรม

3. กระดาษปอนด์ 80 - 120 แกรม



ขนาดกระดาษที่พิมพ์โปสเตอร์มาตรฐาน

- ขนาด 297 x420 mm (A3)

- ขนาด 420 x 594 mm (A2)

- ขนาด 594 x 840 mm (A1)

- ขนาด 31 x 21 inch

- ขนาด 15.5 x 21 inch

นี่คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบงานประเภทโปสเตอร์ในวงการสิ่งพิมพ์

แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว สิ่งสำคัญจะสื่อสารอย่างไรให้โดนใจต่อผู้พบเห็น ซึ่งก็ต้องบอกว่าอยู่ที่เทคนิคลูกเล่น (witty) และสไตล์ของนักออกแบบแต่ละคนด้วยเช่นกัน

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

การออกแบบแผ่นพับ โบว์ชัวร์

แผ่นพับ หมายถึง กระดาษที่พิมพ์ข้อมูลลงไป อาจจะเป็น 1 ด้าน หรือ 2 ด้านก็แล้วแต่การดีไซต์จะเป็นการพิมพ์งาน 1 สี 2 สี 4 สี หรือมากกว่านั้นก็ได้ การพับจะเป็นการพับ 1 ตอน 2 ตอนก็ได้เช่นเดียวกัน

แผ่นพับโดยส่วนใหญ่แล้วจะนำมาใข้เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ด้านการตลาดซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของธุรกิจก็มักนิยมทำแผ่นพับโบว์ชัวร์ เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับการทำหนังสือซึ่งเป็นรูปเล่มและมีความยุ่งยากมากกว่า อีกทั้งในระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทหากพิมพยอดที่เป็นจำนวนมากด้วยแล้ว ทำให้ราคายิ่งถูกลงไปอีก และผลงานที่ได้จากการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ท ก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจสำหรับงานโฆษณา
ส่วนประกอบของแผ่นพับ / โบว์ชัวร์

- ปกหน้า
- เนื้อใน

ขนาดแผ่นพับมีกี่ขนาด?
- ขนาดแผ่นพับที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นขนาด A4กางออก แล้วพับ 2 พับเป็น
3 ตอน หรือจะเป็นขนาด A4 แล้วพับครึ่งก็หลากหลายเช่นกัน
- ขนาดกางออก A3 (297 x 420) พับครึ่งเป็น A4
- ขนาด A4 ทำเป็น 3 ตอนยาว

การวางแผนการออกแบบแผ่นพับ / โบว์ชัวร์

- กำหนดขนาดและรูปแบบของแผ่นพับ
- กำหนดลักษณะการเผยแพร่
- กำหนดลำดับการอ่าน

ประโยชน์ของแผ่นพับ / โบว์ชัวร์

- เป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางในการตลาด
- สร้างความน่าเชื่อถือในองค์กร
- ลดต้นทุนในการตอบคำถามต่าง ๆ

กระดาษที่ใช้ในงานแผ่นพับ / โบว์ชัวร์

- กระดาษปอนด์

ราคาถูก ไม่เน้นความสวยงามมากนัก แต่เน้นเนื้อหาเพื่อโฆษณา กระดาษที่ใช้พิมพ์มีตั้งแต่ 60 -100 แกรม แต่ข้อควรระวังก็คือหากกระดาษมีความบางมากเกินไป จะมีปัญหาสำหรับการพิมพ์ 2 ด้าน เพราะจะมองทะลุ หากงานที่ต้องพิมพ์ 2 หน้าควรจะใช้กระดาษที่มีความหนาขึ้นมาหน่อย

- กระดาษอาร์ตมัน

หากต้องการงานที่มีความสวยงามแต่ราคาก็จะสูงกว่ากระดาษปอนด์อยู่บ้างแต่ก็เพื่อแลกกับภาพลักษณ์ ขององค์กร กระดาษที่นิยมใช้พิมพ์ก็จะอยู่ที่ 85-160 แกรม นอกจากนั้นกระดาษชนิดอื่น ๆ สามารถ เลือกพิมพ์ได้เช่นเดียวกัน โดยราคาก็จะปรับขึ้นลงตามราคาของกระดาษ

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคหลังการพิมพ์อีกเล็กน้อยเพื่อทำให้งานแผ่นพับพิมพ์ออกมามีความสวยงาม อย่างเช่น การเคลือบเงา, เคลือบด้าน,เคลือบ pvc หรือการทำ Spot uvบางจุดเพื่อเน้นความสวยงาม ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ระบบพรินท์ออนดิมานด์ คืออะไร?

ในแวดวงธุรกิจสิ่งพิมพ์ หากย้อนกลับไปสัก 9-10ปีก่อน หากมีใครเอ่ยออนดิมานด์
ขึ้นมาก็คงไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่

สาเหตุที่มันไม่คุ้นหูไม่ใช่ว่ามันยังไม่เริ่มมี แต่คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ยังไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เหมือนกับงานพิมพ์ออฟเซ็ททั่วไปจึงทำให้ออนดิมานด์ยังคงรอการพัฒนาขีดความสามารถต่อไปถ้าเป็นหนังจีนกำลังภายในก็ต้องบอกว่าไปออกไปฝึกวิทยายุทธกับอาจารย์ก่อน แต่ภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน พรินท์ออนดิมานด์เหมือนได้อาจารย์ดีเ พราะผ่านการฝีกวิทยายุทธมาอย่างแก่กล้า

คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จักเครื่องพรินท์ออนดิมานด์ เพราะเป็นระบบพรินท์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท และที่สำคัญระบบพรินท์ออนดิมานด์ยังผลิตงานได้เร็วตามความต้องการลูกค้าอีกด้วย

หลาย ๆ ค่ายของผู้ผลิตเครื่องพรินท์ พยายามที่จะงัดกลยุทธิ์ และนำเสนอขีดความสามารถของเครื่องอย่างเข้มข้น ซึ่งก็ต้องบอกว่ามันเป็นผลดีต่อวงการพิมพ์บ้านเราทำให้เรามีความหลากหลายในการเลือกใช้สินค้าและบริการมากขึ้นด้วย
หากคนที่ไม่ได้อยู่ใน แวดวงการพิมพ์แล้ว บางครั้งเราแทบแยกไม่ออกได้ว่างานพิมพ์ที่อยู่เบื้องหน้านี้พิมพ์ด้วยระบบอะไร? เพราะเทคโนโลยีของเครื่องปรินท์ออนดิมานด์นั้นต้องเรียกได้ว่าก๊อปปี้มาจากระบบงานพิมพ์ออฟเซ็ทเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี เครื่องพิมพ์บางตัวหากใช้กล้องขยายส่องดูจะเห็นเป็นเม็ดสกรีนเช่นเดียวกับระบบพิมพ์ออฟเซ็ตก็มี

ในส่วนของการทำงานหลังการพิมพ์เสร็จสิ้น (post press) ไม่ว่าจะเป็นการเคลือบ การเข้าเล่ม,การทำ Spot uv ,ทำบล็อกใบมีดตัดพับ ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับงานออฟเซ็ท เรียกได้ว่าหากคุณกำลังมองหางานพิมพ์อะไรสักอย่างที่ยอดพิมพ์ไม่มากนัก ออนดิมานด์ น่าจะตอบโจทย์ได้บ้าง เพราะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปได้มาก

กลับมาที่คำถามว่า ออนดิมานด์คืออะไร ทำไมเราต้องพรินท์ออนดิมานด์
สาเหตุหลัก ๆที่ทำให้ปัจจุบันคนนิยมหันมาพิมพ์ออนดิมานด์กันมากขึ้นก็เพราะ

1. ระบบพรินท์ออนดิมานด์มีความสวยงามเทียบเท่ากับออฟเซ็ท

2. มีความรวดเร็วไม่ต้องรอนานหลายวันเหมือนเมื่อก่อน

3. ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไปได้มาก เมื่อเทียบกับระบบออฟเซ็ท
(ในกรณีพิมพ์ยอดจำนวนน้อย ๆ )

4. ไม่ต้องเก็บสต็อกสินค้าไว้นาน สามารถพิมพ์เท่ายอดที่จำเป็นก็ได้ ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ พิมพ์ยอดน้อย ๆ ได้ราคาถูก และเร็วน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ออนดิมานด์ กินขาดออฟเซ็ทไปหลายช่วงตัว

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

การแยกสีในระบบ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์งานออฟเซ็ททั่วไป

สำหรับเฉดของสีแม่พิมพ์ทั้ง 4 สี คือ
1. C = Cyan สีฟ้า
2. M = Magenta สีแดง (แดงชมพู)
3. Y = Yellow สีเหลือง
4. K = Black สีดำ
5. Spot Color (ในกรณีที่พิมพ์มากกว่า 4 สีปกติ)

สีของระบบ CMYK สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักกับระบบสี CMYK เลย หรือยังนึกภาพไม่ออกว่า เพลทนั้นแยกสีอย่างไรให้ลองเปิดรูปอะไรก็ได้สักรูปในโปรแกรม Photoshop แล้วเข้าไปที่เมนู Image แล้วเลือก Mode CMYK จากนั้นก็ไปที่เมนู Windows แล้วเลือก Channels เราจะพบว่าภาพที่ได้นั้นเกิดจากการรวมตัวของ cmyk ซึ่งในระบบเพลทนั้นก็จะแยกสีโดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน

ภาพวงกลม เป็นการรวมสีของ cmyk ซึ่งมีน้ำหนักการลงสีเท่ากันแต่หากจะมีเฉดสีอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นเป็นเพราะว่าการลงน้ำหนักของสีของ
แต่ละสีไม่เท่ากัน อย่างเช่นว่า พิมพ์สีเหลืองน้ำหนักที่ 100% และสีฟ้าที่ 100%ก็จะได้สีเขียวเข้ม แต่หากลดสีฟ้าลงครึ่งหนึ่ง เป็น Y100 C50 เราก็จะได้สีเขียวอ่อนดังภาพ



ภาพด้านบน แสดงการรวมสี CMYK น้ำหนักที่ 100% เท่ากัน / น้ำหนัก Y100
+ C50 จะได้สีเขียวอ่อน

กรณีที่ต้องแยกสีพิเศษจากรูปภาพทำอย่างไร?

ในงานพิมพ์บางชิ้นงาน การพิมพ์เพียง 4 สีปกติ ทำให้ภาพที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะทำให้การควบคุมสีตอนพิมพ์ไม่ได้ตามที่ต้องการจึงต้องแยกสีออกมาเป็นสีพิเศษต่างหาก ในการแยกสีนั้น หากเป็นไฟล์ที่เป็นกราฟฟิคส์อย่าง .ai ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะเกิดกับไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ซึ่งต้องทำงานในโหมด Channels ของโปรแกรม Photoshop หลักสำคัญก็คือต้องแยกเอาสีเฉพาะที่ต้องการมาทำอีก Channels ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากเพราะหากการแยกสีทำได้ไม่ถูกต้องแล้ว การพิมพ์นั้นก็จะได้สีที่ไม่เป็นที่ต้องการส่วนขั้นตอน และวิธีการทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวในบทต่อไป

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ขนาดของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต



ออฟเซตเล็ก

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์กระดาษได้ขนาด 10 x15 นิ้ว ถึงขนาด 13 x 17 นิ้ว
โดยประมาณ เครื่องชนิดนี้มีอุปกรณ์ประกอบในการทํางานน้อยไม่ยุ่งยาก ใช้ง่าย
เหมาะสําหรับ งานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น หัวจดหมาย โฆษณาเผยแพร่เล็กๆ แต่ก็มีข้อ
จำกัดบางอย่าง เช่นระบบฉากพิมพ์ยังไม่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำทำให้การพิมพ์สอดสีทำได้ไม่ดี
พอ จึงทำให้งานที่ออกมายังมีความเหลื่อมล้ำของสีให้เห็นชัดเจน

ตัดสี่

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ขนาดใหญ่กว่าออฟเซ็ตเล็ก สามารถพิมพ์ได้ขนาดประมาณ 15 x 21 นิ้ว หรือ 18 x 25 นิ้ว มีระบบช่วยให้การทำงานและระบบน้ําดีขึ้นกว่าเดิม สามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีเดียวหรือหลายสี เหมาะสําหรับพิมพ์หนังสือยก เป็นเล่ม ภาพโปสเตอร์ขนาดกลาง งานพิมพ์ทั่วไป สาเหตุที่เรียกเครื่องพิมพ์ขนาดตัดสี่นั้น เพราะใช้กระดาษพิมพ์จากการแบ่งกระดาษขนาดใหญ่คือ 31 x 43 นิ้ว ตัดเป็น 4 ส่วนพอดี

ตัดสอง

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดตัดสี่เกือบเท่าตัว สามารถพิมพ์ได้ 25 x 36 นิ้ว หรือบางแม่พิมพ์ สามารถพิมพ์ขนาด 28 x 40 นิ้วได้ เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์ประกอบในการช่วยพิมพ์ดี ฉากพิมพ์แม่นยํา และความเร็วสูงเหมาะสําหรับใช้พิมพ์งานทั่วไป เช่น หนังสือยก โปสเตอร์ขนาดใหญ่ แผ่นโฆษณา และงานพิมพ์ทุกชนิด

ตัดหนึ่ง

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ที่สามารถพิมพ์กระดาษ 30 x 40 นิ้ว หรือใหญ่กว่าได้ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกันหมดเพียงแต่สามารถพิมพ์งานที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างเช่นกล่องบรรจุภัณฑ์ หรือโปสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ แต่เครื่องพิมพ์ขนาดตัดหนึ่งในเมืองไทย ก็มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับ ขนาดตัดสี่ และตัดสอง
เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต คืออะไร?

การพิมพ์ offset เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

หมึกของระบบออฟเซ็ตจะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพแล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ต่อไปการพิมพ์ระบบออฟเซ็ทนั้น สามารถพิมพ์ได้ตั้งแต่ 1 สี จนถึง 5 สี หรือมากกว่านั้นก็ได้ถ้าหากมีความต้องการ


หลักในการถ่ายทอดภาพของระบบออฟเซ็ต

ออฟเซ็ตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปใน ระบบ 3 โม คือ

1. โมแม่พิมพ์

2. โมผ้ายาง

3. โมแรงกด

พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แก่แม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้นแล้วจึงไปรับหมึก
เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้ว จะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายางแล้วจึงถ่ายลงวัสดุพิมพ์โดยมีโมกดพิมพ์เป็นตัวควบคุมน้ำหนักแรงกดทับ

ในส่วนของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เล็กหรือเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ก็มีหลักการทำงาน คล้าย ๆ กันดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันจัดได้ว่าระบบการพิมพ์ออฟเซต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดเพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมากเหมาะสําหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

วิธีการใช้งานเครื่องเคลือบงานพิมพ์แบบเย็น(cold laminator)





ตัวอย่างการเกิดลักษณะเหลื่อมล้ำของสีในงานพิมพ์ เกิดจากอะไร?

            ระบบการพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม หากภาพพิมพ์ที่ออกมามีความเหลื่อมของสี หรือพิมพ์ไม่ตรงแล้ว ภาพพิมพ์นั้นก็หมดความหมายและลดความสวยงามลงไปทันที ในบทนี้จะคุยกันในเรื่องการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ต
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ตก็คล้าย ๆ กันงานพิมพ์อื่น ๆ คือต้องใช้แม่พิมพ์สีแต่ละสีพิมพ์ภาพซ้อนทับกัน งาน 4 สีก็ต้องใช้เพลท 4 แผ่นพิมพ์ภาพซ้อนทับกันหมุนไปเรื่อยๆ ตามโมแม่พิมพ์แต่ละสี ซึ่งการแยกสีของเพลทหรือระบบที่เรียกว่า cmyk ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้
ในตัวอย่างภาพด้านล่างต่อไปนี้ จะแสดงให้ดูว่าการพิมพ์เหลื่อมหรือพิมพ์ไม่ตรงนั้น ภาพที่ออกมาจะเป็นอย่างไร
ภาพที่1 ภาพแสดงการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต 4 สี (CMYK) โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของสี
ภาพที่สอง เป็นการแสดงภาพพิมพ์เพลทแม่พิมพ์สีฟ้า และสีแดง

ภาพที่สาม แสดงการพิมพ์ภาพด้วยเพลทสีแดงและสีเหลือง


ภาพนี้แสดงภาพพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต ทั้ง 4 สี สังเกตุว่าภาพพิมพ์ที่ได้นั้นเกิดความเหลื่อมล้ำของสี ภาพพิมพ์ตรงหรือไม่นั้นให้สังเกตุที่ฉากพิมพ์ซ้ายและขวามือ ซึ่งปกติแล้วจะติดไว้ที่เพลทแม่พิมพ์ทุกเพลท เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งเครื่อง และสามารถตรวจสอบความตรงของภาพได้ง่ายขึ้น

การพิมพ์ภาพไม่ตรงนั้นก็มีหลายสาเหตุ อย่างเช่น อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการพิมพ์ การตั้งเครื่องพิมพ์ของช่างพิมพ์ หรือไม่ก็เพลทไม่ตรงอยู่แล้ว อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการทำเพลทแม่พิมพ์ เพราะหากเพลทแต่ละสีไม่ตรงกันแล้วก็ยากที่ช่างพิมพ์จะพิมพ์ภาพให้ตรงกันได้ ซึ่งต้องหาต้นตอของปัญหาก่อนจึงจะแก้ไขได้

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

วิธีการออกแบบข้อความที่มีเงาเป็นส่วนประกอบหลักให้มีประสิทธิภาพด้วยโปรแกรมPhotoshop

วิธีแต่งภาพไข่ให้มีสีสันเฉพาะใบที่แตกเห็นไข่แดงแค่ชิ้นเดียวส่วนนอกนั้นจะเป็นขาวดำทั้งหมดด้วยเทคนิคColor Splash Effect จากโปรแกรม Photoshop Cs5

วิธีการทำตัวอักษรข้อความเป็นสีทอง Gold Text Effect ในโปรแกรม Photoshop

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์