Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การแห้งตัวของหมึกพิมพ์เหลว

   การแห้งตัวของหมึกพิมพ์แตกต่างกันตามระบบการพิมพ์และวัสดุพิมพ์ หมึกพิมพ์ในระบบการพิมพ์แบบเฟล็กโซกราฟีและกราวัวร์ มีการแห้งตัวแบบระเหยของตัวทำละลาย เพื่อให้เกิดการสร้างชั้นฟิล์มของหมึกบนวัสดุพิมพ์ โดยทั่วไปตัวทำละลายในหมึกพิมพ์เป็นตัวกำหนดอัตราการแห้งตัวเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วในการพิมพ์
   
      หมึกพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟีและกราวัวร์ เป็นหมึกพิมพ์ที่ใช้ตัวทำละลายระเหยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับวัสดุพิมพ์ที่เป็นพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ และเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วในการพิมพ์ หากหมึกพิมพ์มีอัตราการแห้งตัวช้าจะส่งผลต่อการเกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ ความล้มเหลวในการพิมพ์สีต่อเนื่อง มีการสะสมของตัวทำละลาย หรือมีการตกค้างของตัวทำละลายในวัสดุพิมพ์ และเกิดปัญหาการติดกันของวัสดุพิมพ์ในม้วน
   
      ในทางตรงกันข้ามหมึกพิมพ์มีอัตราการแห้งตัวเร็วเกินไป จะส่งผลต่อการเกิดปัญหาเช่นกัน ได้แก่ การพิมพ์ภาพฮาล์ฟโทนขาดความสวยงาม และมีการตกค้างของตัวทำละลายในวัสดุพิมพ์สูง เนื่องจากเรซิ่นมีการเซตตัวหรือมาดตัวสร้างชั้นฟิล์มขึ้นบนวัสดุพิมพ์ก่อนที่ตัวทำละลายในหมึกพิมพ์จะระเหยออกไป
 
         ความเร็วในการแห้งตัวของหมึกพิมพ์สัมพันธ์โดยตรงกับปัจจัยหลัก 3 อย่าง

  1. ชนิดของตัวทำละลาย ตัวทำละลายที่มีอัตราการระเหยตัวสูงจะให้อัตราความเร็วในการแห้งตัวสูง
  2. ชนิดของเรซิ่น การเลือกใช้เรศิ่นและตัวทำละลายที่เหมาะสมรวมทั้งความสามารถในการสร้างชั้นฟิล์มของเรซิ่น ล้วนมีผลต่อการแห้งตัวของหมึกพิมพ์
  3. ชนิดของวัสดุพิมพ์ การพิมพ์บนวัสดุพิมพ์ที่มีรูพรุน เช่น กระดาษ ย่อมให้ความเร้วในการแห้งตัวเร็วกว่าการพิมพ์บนวัสดุพิมพ์ที่มีผิวเรียบ เช่น พลาสติก

เรซิ่นในหมึกพิมพ์เหลว

    เรซิ่นเป็นองค์ประกอบที่มีหน้าที่หลักในการสร้างชั้นฟิล์มของหมึกให้ยึดติตกับวัสดุพิมพ์  ส่วนหน้าที่รอง คือ การให้ความเงา และการทำให้ฟิล์มของหมึกพิมพ์มีความแข็งแรง  การเลือกเรซิ่นในหมึกพิมพ์ขึ้นอยู่กับชนิดของหมึกพิมพ์ที่ต้องการ ระบบการพิมพ์ การนำไปใช้งาน และสมบัติเฉพาะตัวของเรซิ่น

ดัชนีของผงสีและสีย้อม

  ดัชนีสี (Colour Index หรือ CI) เป็นค่ามาตรฐานในการแยกระดับสีต่างๆ ของทั้งผงสีและสีย้อม ผู้ผลิืตหมึกต้องรู้จักและเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี  โดยปกติจะกำหนดเป็นตัวย่อของสีภาษาอังกฤษ  เช่น สีแดง (red) ใช้ตัวย่อว่า R  แล้วตามด้วยค่าตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึงหลักร้อย ค่าตัวเลขต่างๆ เป็นค่าตัวเลขตามประเภทของผงสีและสีย้อมที่ใช้ต่างๆกัน
            ค่า CI ของสีที่ใข้เป็นมาตรฐานในการผลิตหมึกพิมพ์เหลวทั่วไป มีดังนี้

  • สีแดง    R-48  R-52  R-57 
  • สีส้ม      O-13  O-19
  • สีเหลือง  Y-1  Y-12  Y-13  Y-83
  • สีเขียว   G-7
  • สีน้ำเงิน  B-1  B-15
  • สีม่วง  V-3  V-23  V-27
  • สีขาว  Wt-6
  • สีดำ  Bk-7
     นอกจากยังมีตัวเลขดัชนีสี (colour index number หรือ CI No.) ของผงสีและสีย้อม ซึ่งเป็นตัวเลข 5 หลัก เช่น CI No.45380 ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่มีกำหนดไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบถึงการผลิตและที่มาของหมึกนั้นๆ  ซึ่งจะไม่ของกล่าวในรายละเอียดในที่นี้  เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนิยมระบุดัชนีสีหรือ CI ซึ่งจะจำได้ง่ายกว่า

การไหลของหมึกพิมพ์เหลว

คุณสมบัติที่สำคัญมากของหมึกพิมพ์เหลว คือ คุณสมบัติด้านการไหล การไหลที่มีผลดีโดยตรงต่อคุณภาพงานพิมพ์แต่ละระบบ การไหลของหมึกพิมพ์เหลวใช้วัดโยอ้อมจากความหนืดซึ่งวัดจากถ้วนตวงมาตราฐาน เช่น ซาห์นคัพ ฟอร์ดคัพ หรืออาจวัดจากเครื่องมือวัดความหนืดแบบโรเทชันนัล การไหลและความหนืดมีความสัมพันธ์กันแบบสมการผกผัน กล่าวคือ หมึกที่มีการไหลที่ดี จะมีความหนือต่ำ ส่วนหมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีจะมีความหนืดสูง ความหนืดของหมึกพิมพ์เำหลวจะเหลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กันองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่เลือกใช้โดยเฉพาะผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

อิทธิพลขององค์ประกอบที่มีผลต่อการไหล
   หมึกพิมพ์จะมีการไหลดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่ใช้ ได้แก ผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

  1. ผงสี ผงสีที่ใช้ในการผลิตหมึกพิมพ์มี 2 ชนด คือ ผงสีอินทรีและผงสีอนินทรี ผงสีทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันแตกต่างกัน โดยผงสีที่มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันสูง เมื่อนำมาผลิตหมึกพิมพ์จะได้หมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีหรือมีความหนืดสูง โดยปกติผงสีอินทรีย์ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันสูงกว่าผงสีอนินทรีย์มาก แต่ผงสีอินทรีย์ในCIเดียวกันที่ผลิตจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละบริษัทก็ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันที่แตกต่างกัน
  2. เรซิ่น ผู้ผลิตหมึกควรเลือใช้เรซิ่นที่มีค่าการไหลที่ดีไม่ว่าจะอยู่ในอุณภูมิที่แตกต่างกันเพียงใด เรซิ่นบางตัวในอุณภูมิต่ำ เรซิ่นประเภทนี้ได้แก่ พอลิเอไมด์ วิธีการป้องกัน คือ การหลีกเลี่ยงที่จะใช้เรซินเหล่านี้
  3. ตัวทำละลาย ตัวทำละลายแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายเรซิ่นที่แตกต่างกัน ตัวทำละลายใดที่เป็นตัวทำลัลายหลักของเรซิ่นตัวที่เลือกใช้จะให้ค่าการไหลที่ดี แต่ตัวทำละลายที่ดีนั้นอาจมีอัตราการระเหยเร็ว ซึ่งมีผลทำให้การไหลลดลง จึงต้องมีตัวทำละลายอื่นผสม ดังนั้นในสูตรหมึกพิมพ์แต่ละสูตรที่มีเรซิ่นเป็นองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิดจึงมักจะมีตัวทำละลายหลายชนิดเพื่อรักษาสมบัติการไหลให้ดีที่สุด 
  4. สารเติมแต่ง สารเติมแต่งมีผลต่อการไหลของหมึกพิมพ์หลายชนิด เช่น ทำให้ผงสีกระจายตัวในวานิชได้ดี  หมึกพิมพ์มีการไหลดี ช่วยเพิ่มความหนืดของหมึกพิมพ์ที่ผลิตได้ต่ำกว่ามาตราฐาน
ผลกระทบของการไหลของหมึกพิมพ์เหลวที่มีต่อคุณภาพงานพิมพ์
          คุณภาพของงานพิมพ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์เหลวไม่ว่าจะเป็นเฟล็กโซกราฟีหรือกราวัวร์ มีผลโดยตรงจากสมบัติการไหลของหมึกพิมพ์เหลว หมึกพิมพ์ที่มีการไหลจะช่วยให้สภาพพิมพ์ได้ (printabillity) ดี กล่าวคือ เมื่อบริเวณที่เป็นพื้นตาย งานพิมพ์จะเรียบเนียน ไม่เป็นร้อยด่าง เป็นจ้ำหรือเป็นดวง หรือเมื่อบริเวณที่เปฯสกรีนหรือฮาล์ฟโทน การถ่ายโอนภาพที่ได้สวยเต็มทุกเม็ดสกรีน

    องค์ประกอบของหมึกพิมพ์เหลว

       หมึกพิมพ์เหลวแบ่งออกเป็น2ประเภทตามลักษณะของระบบการพิมพ์ คือ หมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟี
    สำหรับระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี และหมึกพิมพ์กราวัวร์ สำหรับระบบพิมพ์กราวัวร์ หมึกพิมพ์เหลวทั้ง2ประเภท
    มีองค์ประกอบหลัก4ชนิด คือ ผงสี เรซิน สารเติมแต่ง และตัวทำละลาย

    1. ผงสีและสีย้อมเป็นองค์ประกอบหลักอันหนึงในแม่พิมพ์ทุกชนิด  มีหน้าที่เป็นสารให้สีหรือสารกำหนดสี  การเลือกใช้ผงสีหรือสีย้อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวผงสีหรือสีย้อม เช่นค่าดัชนีสี การดูดซึมน้ำมัน การไหล การทนทานต่อสารเคมี
    2. เรซินเป็นองค์ประกอบที่มีหน้าหลักในด้านการสร้างชั้นฟิล์มของหมึกให้ยึดติดกับวัสดุพิมพ์ส่วนหน้าที่รอง คือ การให้ความเงาและการทำให้ฟิล์มของหมึกมีความแข็งแรง การเลือกใช้เรซินในหมึกพิมพ์ทุกชนิดขึ้นกับระบบการพิมพ์ วัสดุพิมพ์ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของเรซิน 
    3. สารเติมแต่งเป็นสารที่ทำหน้าที่แก้ไขข้อบกพร่องของเรซิน และช่วยปรับปรุงให้หมึกพิมพ์ที่ได้มีสมบัติที่ดีขึ้นเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้ เช่น สารทำให้เปียก สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน สารที่ทำให้เสถียร
    4. ตัวทำละลาย เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของการผลิตหมึกพิมพ์ มีหน้าที่ละลายเรซินและช่วยสร้างชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ การเลือกใช้ตัวทำละลายแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงค่าการละลาย อัตราการระเหย จุดเดือด สี กลิ่น จุดวาบไฟ

    nn

    คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์