Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

หลักการพิมพ์ออฟเซต (The offset printing)

               การพิมพ์ออฟเซตเป็นวิธีการพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้เพื่อการ
พิมพ์เชิงพานิชประเภทสิ่งพิมพ์ทั่วไปและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่เป็นส่วนใหญ่การพิมพ์ออฟเซตมี
วิวัฒนาการมาจาก “การพิมพ์หินหรือการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ ” (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์ทางตรงใน
ลักษณะที่แม่พิมพ์สัมผัสวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยตรง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยส่งผ่านน้าและ
หมึกพิมพ์ไปบนแม่พิมพ์หิน เมื่อทาบวัสดุพิมพ์ซึ่งได้แก่กระดาษลงไปบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกดก็จะได้
ภาพและข้อความปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์ตามต้องการ ภาพและข้อความที่ปรากฏบนแม่พิมพ์จะเป็นภาพ
กลับซ้ายขวากับภาพและข้อความที่ปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์



ผู้คิดค้นการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่คือ อลัวส์ เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) บางครั้งอาจเรียก
วิธีการพิมพ์ออฟเซตว่า “ออฟเซตลิโทกราฟฟี่” (Offset Lithography) แต่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า
“ออฟเซต” ค้าว่าออฟเซตมีความหมายว่า “ทางอ้อม” โดยมีที่มาจากการถ่ายทอดภาพทางอ้อมจาก
แม่พิมพ์ผ่านตัวกลางที่เป็นผ้ายางก่อนที่จะสู่วัสดุใช้พิมพ์ แทนการถ่ายทอดโดยตรงจากแม่พิมพ์สู่วัสดุใช้
พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพและข้อความในการพิมพ์ออฟเซตจ้าเป็นจะต้องใช้แรงกดพิมพ์เช่นเดียวกันกับ
การพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ และการพิมพ์ระบบอื่น แต่แรงกดที่ใช้ควรน้อยที่สุดที่จะท้าให้เกิดการพิมพ์ได้
การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถพิมพ์ด้วยชั้นหมึกพิมพ์ที่บางและ
สม่้าเสมอรวมทั้งให้คุณภาพการพิมพ์ที่คมชัด นอกจากการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบน
วัสดุใช้พิมพ์ต้องผ่านยางโดยใช้แรงกดพิมพ์ที่พอเหมาะแล้ว การใช้ผ้ายางในการพิมพ์ออฟเซตช่วยให้
เกิดผลดีต่อคุณภาพงานพิมพ์ เนื่องจากผ้ายางมีความหยุ่นและนุ่มจึงสามารถรองรับรายละเอียดของภาพ
และข้อความได้มาก ดังนั้น เมื่อสัมผัสกับวัสดุใช้พิมพ์และใช้แรงกด ผ้ายางจึงสามารถถ่ายทอด
รายละเอียดของภาพและข้อความได้ดี ผลดังกล่าวจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพิมพ์ภาพ

สกรีน ความหยุ่นตัวของผ้ายางท้าให้การพิมพ์ภาพสกรีนด้วยวิธีการพิมพ์ออฟเซตมีคุณภาพดี ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเกิดความผิดเพี้ยนน้อย การพิมพ์ออฟเซตยังยังให้คุณภาพการพิมพ์ที่สวยงามเพราะไม่ก่อให้เกิดรอยเว้าที่ด้านหน้าหรือรอยนูนที่ด้านหลังของแผ่นพิมพ์ ดังเช่นในการพิมพ์เลตเตอร์เพรส อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซตให้มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ที่มีความสามารถและช้านาญงานสามารถปรับความสมดุลระหว่างหมึกและน้้าได้ตลอดระยะการพิมพ์และพิมพ์งานให้มีชั้นหมึกที่บางที่สุดและใช้น้้าน้อยที่สุดที่จะเกิดความอิ่มตัวของสีหมึกพิมพ์ได้มากที่สุด
แม่พิมพ์ออฟเซต เป็นแม่พิมพ์พื้นราบ ส่วนใหญ่ท้าจากอลูมิเนียมที่มีการเคลือบสารไวแสง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยอาศัยหลักการทางเคมีที่ไขมันและน้้าจะไม่รวมตัวกันหรือรวมตัวได้น้อย ในระหว่างการพิมพ์จะมีการจ่ายน้้าและหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดบริเวณภาพของแม่พิมพ์ที่มีคุณสมบัติในการรับหมึก ในขณะที่น้้าจะติดเฉพาะบริเวณไร้ภาพซึ่งมีคุณสมบัติรับน้้าและ
ต้านหมึกพิมพ์ น้้าที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซตเป็นน้้ายาฟาวเท่นที่มักเป็นสารละลายที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 5 - 20 เปอร์เซ็นต์
รู

ระบบพรินท์ออนดิมานด์ คืออะไร?

ในแวดวงธุรกิจสิ่งพิมพ์ หากย้อนกลับไปสัก 9-10ปีก่อน หากมีใครเอ่ยออนดิมานด์
ขึ้นมาก็คงไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่

สาเหตุที่มันไม่คุ้นหูไม่ใช่ว่ามันยังไม่เริ่มมี แต่คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ยังไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เหมือนกับงานพิมพ์ออฟเซ็ททั่วไปจึงทำให้ออนดิมานด์ยังคงรอการพัฒนาขีดความสามารถต่อไปถ้าเป็นหนังจีนกำลังภายในก็ต้องบอกว่าไปออกไปฝึกวิทยายุทธกับอาจารย์ก่อน แต่ภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน พรินท์ออนดิมานด์เหมือนได้อาจารย์ดีเ พราะผ่านการฝีกวิทยายุทธมาอย่างแก่กล้า

คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จักเครื่องพรินท์ออนดิมานด์ เพราะเป็นระบบพรินท์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท และที่สำคัญระบบพรินท์ออนดิมานด์ยังผลิตงานได้เร็วตามความต้องการลูกค้าอีกด้วย

หลาย ๆ ค่ายของผู้ผลิตเครื่องพรินท์ พยายามที่จะงัดกลยุทธิ์ และนำเสนอขีดความสามารถของเครื่องอย่างเข้มข้น ซึ่งก็ต้องบอกว่ามันเป็นผลดีต่อวงการพิมพ์บ้านเราทำให้เรามีความหลากหลายในการเลือกใช้สินค้าและบริการมากขึ้นด้วย
หากคนที่ไม่ได้อยู่ใน แวดวงการพิมพ์แล้ว บางครั้งเราแทบแยกไม่ออกได้ว่างานพิมพ์ที่อยู่เบื้องหน้านี้พิมพ์ด้วยระบบอะไร? เพราะเทคโนโลยีของเครื่องปรินท์ออนดิมานด์นั้นต้องเรียกได้ว่าก๊อปปี้มาจากระบบงานพิมพ์ออฟเซ็ทเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี เครื่องพิมพ์บางตัวหากใช้กล้องขยายส่องดูจะเห็นเป็นเม็ดสกรีนเช่นเดียวกับระบบพิมพ์ออฟเซ็ตก็มี

ในส่วนของการทำงานหลังการพิมพ์เสร็จสิ้น (post press) ไม่ว่าจะเป็นการเคลือบ การเข้าเล่ม,การทำ Spot uv ,ทำบล็อกใบมีดตัดพับ ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับงานออฟเซ็ท เรียกได้ว่าหากคุณกำลังมองหางานพิมพ์อะไรสักอย่างที่ยอดพิมพ์ไม่มากนัก ออนดิมานด์ น่าจะตอบโจทย์ได้บ้าง เพราะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปได้มาก

กลับมาที่คำถามว่า ออนดิมานด์คืออะไร ทำไมเราต้องพรินท์ออนดิมานด์
สาเหตุหลัก ๆที่ทำให้ปัจจุบันคนนิยมหันมาพิมพ์ออนดิมานด์กันมากขึ้นก็เพราะ

1. ระบบพรินท์ออนดิมานด์มีความสวยงามเทียบเท่ากับออฟเซ็ท

2. มีความรวดเร็วไม่ต้องรอนานหลายวันเหมือนเมื่อก่อน

3. ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไปได้มาก เมื่อเทียบกับระบบออฟเซ็ท
(ในกรณีพิมพ์ยอดจำนวนน้อย ๆ )

4. ไม่ต้องเก็บสต็อกสินค้าไว้นาน สามารถพิมพ์เท่ายอดที่จำเป็นก็ได้ ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ พิมพ์ยอดน้อย ๆ ได้ราคาถูก และเร็วน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ออนดิมานด์ กินขาดออฟเซ็ทไปหลายช่วงตัว

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

การแยกสีในระบบ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์งานออฟเซ็ททั่วไป

สำหรับเฉดของสีแม่พิมพ์ทั้ง 4 สี คือ
1. C = Cyan สีฟ้า
2. M = Magenta สีแดง (แดงชมพู)
3. Y = Yellow สีเหลือง
4. K = Black สีดำ
5. Spot Color (ในกรณีที่พิมพ์มากกว่า 4 สีปกติ)

สีของระบบ CMYK สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักกับระบบสี CMYK เลย หรือยังนึกภาพไม่ออกว่า เพลทนั้นแยกสีอย่างไรให้ลองเปิดรูปอะไรก็ได้สักรูปในโปรแกรม Photoshop แล้วเข้าไปที่เมนู Image แล้วเลือก Mode CMYK จากนั้นก็ไปที่เมนู Windows แล้วเลือก Channels เราจะพบว่าภาพที่ได้นั้นเกิดจากการรวมตัวของ cmyk ซึ่งในระบบเพลทนั้นก็จะแยกสีโดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน

ภาพวงกลม เป็นการรวมสีของ cmyk ซึ่งมีน้ำหนักการลงสีเท่ากันแต่หากจะมีเฉดสีอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นเป็นเพราะว่าการลงน้ำหนักของสีของ
แต่ละสีไม่เท่ากัน อย่างเช่นว่า พิมพ์สีเหลืองน้ำหนักที่ 100% และสีฟ้าที่ 100%ก็จะได้สีเขียวเข้ม แต่หากลดสีฟ้าลงครึ่งหนึ่ง เป็น Y100 C50 เราก็จะได้สีเขียวอ่อนดังภาพ



ภาพด้านบน แสดงการรวมสี CMYK น้ำหนักที่ 100% เท่ากัน / น้ำหนัก Y100
+ C50 จะได้สีเขียวอ่อน

กรณีที่ต้องแยกสีพิเศษจากรูปภาพทำอย่างไร?

ในงานพิมพ์บางชิ้นงาน การพิมพ์เพียง 4 สีปกติ ทำให้ภาพที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะทำให้การควบคุมสีตอนพิมพ์ไม่ได้ตามที่ต้องการจึงต้องแยกสีออกมาเป็นสีพิเศษต่างหาก ในการแยกสีนั้น หากเป็นไฟล์ที่เป็นกราฟฟิคส์อย่าง .ai ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะเกิดกับไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ซึ่งต้องทำงานในโหมด Channels ของโปรแกรม Photoshop หลักสำคัญก็คือต้องแยกเอาสีเฉพาะที่ต้องการมาทำอีก Channels ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากเพราะหากการแยกสีทำได้ไม่ถูกต้องแล้ว การพิมพ์นั้นก็จะได้สีที่ไม่เป็นที่ต้องการส่วนขั้นตอน และวิธีการทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวในบทต่อไป

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ขนาดของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต



ออฟเซตเล็ก

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์กระดาษได้ขนาด 10 x15 นิ้ว ถึงขนาด 13 x 17 นิ้ว
โดยประมาณ เครื่องชนิดนี้มีอุปกรณ์ประกอบในการทํางานน้อยไม่ยุ่งยาก ใช้ง่าย
เหมาะสําหรับ งานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น หัวจดหมาย โฆษณาเผยแพร่เล็กๆ แต่ก็มีข้อ
จำกัดบางอย่าง เช่นระบบฉากพิมพ์ยังไม่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำทำให้การพิมพ์สอดสีทำได้ไม่ดี
พอ จึงทำให้งานที่ออกมายังมีความเหลื่อมล้ำของสีให้เห็นชัดเจน

ตัดสี่

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ขนาดใหญ่กว่าออฟเซ็ตเล็ก สามารถพิมพ์ได้ขนาดประมาณ 15 x 21 นิ้ว หรือ 18 x 25 นิ้ว มีระบบช่วยให้การทำงานและระบบน้ําดีขึ้นกว่าเดิม สามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีเดียวหรือหลายสี เหมาะสําหรับพิมพ์หนังสือยก เป็นเล่ม ภาพโปสเตอร์ขนาดกลาง งานพิมพ์ทั่วไป สาเหตุที่เรียกเครื่องพิมพ์ขนาดตัดสี่นั้น เพราะใช้กระดาษพิมพ์จากการแบ่งกระดาษขนาดใหญ่คือ 31 x 43 นิ้ว ตัดเป็น 4 ส่วนพอดี

ตัดสอง

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดตัดสี่เกือบเท่าตัว สามารถพิมพ์ได้ 25 x 36 นิ้ว หรือบางแม่พิมพ์ สามารถพิมพ์ขนาด 28 x 40 นิ้วได้ เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์ประกอบในการช่วยพิมพ์ดี ฉากพิมพ์แม่นยํา และความเร็วสูงเหมาะสําหรับใช้พิมพ์งานทั่วไป เช่น หนังสือยก โปสเตอร์ขนาดใหญ่ แผ่นโฆษณา และงานพิมพ์ทุกชนิด

ตัดหนึ่ง

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ที่สามารถพิมพ์กระดาษ 30 x 40 นิ้ว หรือใหญ่กว่าได้ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกันหมดเพียงแต่สามารถพิมพ์งานที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างเช่นกล่องบรรจุภัณฑ์ หรือโปสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ แต่เครื่องพิมพ์ขนาดตัดหนึ่งในเมืองไทย ก็มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับ ขนาดตัดสี่ และตัดสอง
เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต คืออะไร?

การพิมพ์ offset เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

หมึกของระบบออฟเซ็ตจะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพแล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ต่อไปการพิมพ์ระบบออฟเซ็ทนั้น สามารถพิมพ์ได้ตั้งแต่ 1 สี จนถึง 5 สี หรือมากกว่านั้นก็ได้ถ้าหากมีความต้องการ


หลักในการถ่ายทอดภาพของระบบออฟเซ็ต

ออฟเซ็ตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปใน ระบบ 3 โม คือ

1. โมแม่พิมพ์

2. โมผ้ายาง

3. โมแรงกด

พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แก่แม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้นแล้วจึงไปรับหมึก
เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้ว จะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายางแล้วจึงถ่ายลงวัสดุพิมพ์โดยมีโมกดพิมพ์เป็นตัวควบคุมน้ำหนักแรงกดทับ

ในส่วนของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เล็กหรือเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ ก็มีหลักการทำงาน คล้าย ๆ กันดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันจัดได้ว่าระบบการพิมพ์ออฟเซต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดเพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมากเหมาะสําหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์