Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ชนิดของกระดาษ มีอะไรบ้าง? (Paper type)

ชนิดของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วยเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

กระดาษอาร์ต



กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ 


  • กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษปอนด์

กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด (กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก ) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพง เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนา ในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย



กระดาษถนอมสายตา (Green Read)


เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดยเฉพาะ เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตา ทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตา กระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบา และเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมีความหนา ดูคุ้มค่า คุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้ว สีจะดูสดใสและนวล มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไป เหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามาก เช่น หนังสือประเภทวรรณกรรม

กระดาษปรู๊ฟ


กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูก เนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เน้นจำนวนการผลิตมาก ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน


กระดาษคาร์บอนเลส


เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วย เพื่อทำเป็นสำเนา กระดาษชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน


กระดาษกล่อง และกระดาษลูกฟูก


กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตามชนิดของกระดาษ เนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสี ถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่า แต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท


กระดาษแอร์เมล์


เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว


กระดาษพีวีซี


กระดาษชนิดนี้มีความทนทาน เนื้อเหนียว ส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตร และปกรายงาน

ตัวยึดกระดาษสังเคราะห์

ตัวยึดสังเคราะห์เป็นสารที่ได้จากสารสังเคราะห์มักนิยมใชัในรูปลาเทกซ์   ซึ่งจะมีขนาดเม็ดสารประมาณ 0.1-  0.5  ไมครอน และใช้ผสมในน้ำยาเคลือบในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 10  โดยน้ำหนักต่อเนื้อสารทั้งหมดลาเทกซ์จะมีอิทธิพลต่อสมบัติเกี่ยวกับการพิมพ์ของกระดาษเคลือบ ต้นทุนการผลิต  และความสามารถในการผลิตของเครื่องเคลือบกระดาษ
  • ลาเทกซ์สำหรับอุตสาหกรรมกระดาษเคลือบแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ คือ ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีน พอลิไวนิลอะซิเตต  ลาเทกซ์ไวนิลอะคริลิก และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์  ลาเทกซ์สไตรีนบิวตาไดอีน
  • ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีนเป็นลาเทกซ์ที่มีแรงยึดติดที่แข็งแรงมาก สังเคราะห์ได้จากปฎิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ระหว่างสไตรีนกับบิวตาไดอีนเกิดเป็นพอลิเมอร์ร่วมกระจายตัวในน้ำร่วมกับสารลดแรงตึงผิว ลาเทกซ์ชนิดนี้จะให้ชั้นฟิล์มที่แข็งหรือนิ่มขึ้นกับค่าอุณหภูมิที่ลาเทกซ์เริ่มแข็งตัวกลายเป็นฟิล์มแห้ง( glass transition  temperature,Tg ) ปกติอัตราส่วนของสไตรีนที่น้อย คือ ระหว่างร้อยละ 50-55 จะให้ค่า Tg ต่ำ กล่าวคือ ฟิล์มจะนิ่มหักงอ  อ่อนตัวได้ดีและมีความเหนียวหนึด

โดยทั่วไปลาเทกซ์ชนิดนี้จะมีอัตราส่วนของสไตรีนต่อบิวตาไดอีนเท่ากับ 65  ต่อ  35 โดยน้ำหนักจะให้สมบัติที่ดีในด้านความมันวาว การห้กงออ่อนตัวง่าย  ความเหนียวหนืดต่ำ  และมีแรงยึดติดกับสารอื่นดี  น้ำยาเคลือบกระดาษที่ใช้ลาเทกซ์ชนิดนี้จะออกเป็นสีเหลี่ยมเมื่อถูกแสงแดด
  • ลาเทกซ์ที่ใช้มากเป็นอันดับรองมา  คือ  ลาเทกซ์อะคริลิก  ให้สมบัติด้านการหักงออ่อนตัวดี  แรงยึดติดกับสารอื่นดีคล้ายกับลาเทกซ์ไดรีนบิวตาไดอีนแต่มีราคาแพง  ลาเทกซ์อะคริลิกมีกลิ่นจากพอลิเมอร์ร่วมน้อยต้านทานต่อแสงแดดดีมาก  ปกติจะใช้กับกระดาษเคลือบที่ต้องการคุณภาพสูง


สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ


  สมบัติเชิงกลของกระดาษเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักย์ภาพในการใช้งานกระดาษ ซึ่งหมายถึง การที่กระดาษมีความทนทานต่อการใช้งาน(  durability   ) และความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทำในลักษณะต่างๆเช่น แรงดึง  แรงเฉือน  แรงบิด  และแรงที่ทำให้กระดาษโค้งงอ  ซึ่งแรงเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายขั้นตอนตั้งแต่การผลิตกระดาษ  การแปรรูปจนถึงการใช้งาน  กระดาษจะตอบสนองแรงที่มากระทำเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกระดาษ  ซึ่งสามารถวัดออกมาได้ในรูปของเชิงกลได้ ดังนั้นในการเลือกกระดาษเพื่อนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงสมบัติทางเชิงกลของกระดาษด้วย
            สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ แบ่งเป็น 2  ประเภท คือ
            1.   สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน และ
             2.  สมบัติทางเชิงกลประยุกต์
             สมบัติทางเชิงกลพื้นฐานจะพิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏให้เห็นของกระดาษในขณะรับแรงที่มากระทำซึ่งจะสัมพันธ์กับทฤษฏีว่าด้วยการเสียรูปของกระดาษที่เกิดจากการรับแรง( mechanical  deformation  )  ส่วนสมบัติทางเชิงกลประยุกต์จะพิจารณาจากสมบัติทางเชิงกลต่างๆ ของกระดาษ ซึ่งมีการทดสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป

การผลิตเยื่อกระดาษ

http://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlbs085/interEx/informate/thoub/images/k_prod7.jpg
การผลิตเยื่อกระดาษ
           วัตถุประสงค์ของการผลิตเยื่อก็เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกจากองค์ประกอบอื่นของไม้ การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีทางเคมีและเชิงกล  เยื่อที่ได้จะนำมาผ่านการฟอกขาว  สำหรับทำกระดาษที่ใช้เพื่อการสือสารต่างๆ  ซึ่งจะเห็นได้ว่าขั้นตอนนี้จะต้องประกอบด้วย กรรมวิธีการผลิตเยื่อ (Pulping Process) และการฟอกเยื่อ(Bleaching)







กระบวนการผลิตกระดาษในอุตสาหกรรม

http://www.triple-a.co.th/wysiwyg/uploads/picture00/PAC2.jpg
กระบวนการผลิตกระดาษในอุตสาหกรรม
         กระดาษเป็นแผ่นวสดุที่ได้มาจากการผสมของเส้นใยและสารเติมแต่งต่างๆ  การทำกระดาษจะเริ่มตั้งแต่การนำไม้ไปทำเป็นเยื่อเพื่อให้ได้เส้นใยออกมา  แล้วจึงนำเยื่อไปผสมกับสารเติมแต่งในอัตราส่วนต่างๆกัน เพื่อคุณสมบัติของกระดาษให้ได้ตามความต้องการใช้งาน  แล้วจึงนำไปผลิตกระดาษโดยใช้เครื่องจักรผลิตกระดาษแล้วจึงนำมาแปรรูปใช้งาน   จะเห็นได้ว่ากว่าจะได้มาเป็นแผ่นกระดาษที่ใช้งานได้นั้น จำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการผลิตมากมาย ถึง5 ขั้นตอนด้วยกัน โดยจะเรียงลำดับตามขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงภายในโรงงานดังนี้
  1. การผลิตเยื่อ(Pulping)
  2. การเตรียมน้ำเยื่อ (Stock Preparation)
  3. การทำแผ่นกระดาษ (Papermaking)
  4. การปรับปรังคุณสมบัติกระดาษขณะเดินแผ่น(Web modification)
  5. การแปรรูป(converting)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ

http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/newsimages//01/25040601.jpg

  1.  การผลิตกระดาษในอุตสาหกรรมประกอบด้วย 5 กระบวนการผลิต ซึ่งจะเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติการที่ต่อเนื่องเป็นลำดับ โดยเริ่มต้นจาก การผลิตเยื่อ การเตรียมน้ำเยื้อ  การทำแผ่นกระดาษ การปรับปรุงสมบัติกระดาษขณะเดินแผ่น และการแปรรูป
  2. กระดาษมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนเส้นใยและส่วนไม่ใช่เส้นใย  ส่วนเส้นใยหรือที่เรียกว่าเยื่อ จะประกอบด้วยเซลล์ พืชรูปร่างต่างๆ เช่น เส้นใย เซลล์สำรองอาหารและเซลล์ ลำเลียงน้ำ ส่วนที่ไม่ใช่เส้นใยจะประกอยไปด้วยสารต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างกัน ได้แก่ สารต้านทานการซิมน้ำ ตัวเติมสารเพิ่มความเหนียว  สารสีย้อม และสารฟอกนวล
  3. การจัดประเภทกระพิมพ์ สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา ซึ่งได้แก่ ชนิดของเยื่อที่ใช้เป็นสัดส่วนผสมและลักษณะความแตกต่างของวิธีการปรับปรุงผิวกระดาษ ซึ่งสามารถจัดแบ่งกระดาษพิมพ์ได้เป็น 3 ประเภท คือ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเคลือบผิว และกระดาษไม่เคลือบผิว

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์