Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การผลิตหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

             หมึกพิมพ์ข้นเหนียวทั้งหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์และหมึกพิมพ์ออฟเซตมีกระบวนการผลิตที่เหมือนกันตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

การผสมก่อนบด
    การผสมก่อนบดเป็นขั้นตอนในการนำผงสีทั้งหมด  บางส่วนของวานิช สารเติมแต่ง และตัวทำละลายมาผสมกันในภาชนะโลหะโยใช้เครื่องผสมที่มีความเร็วสูงเพื่อให้อนุภาคของผงสีมีขนาดเล็กลงและน้อยลงและทำให้ถูกเป๊ยกด้วยวานิช วานิชมีลักษณะเป็นของเหลวเตรียมได้โยนำเรซิ่นมาทำปฏิกริยาหรือละลายกับน้ำมันและตัวทำละลาย
         
             ผงสีโดยทั่วไปถ้าพิจารณาจากอนุภาค สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ


อนุภาคเดี่ยว(primary particle)
เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กสุดและมีพันธะเคมีที่มีความแข็งแรงมาก ผงสีอนุภาคเดี่ยวมีรูปร่างโมเลกุลเป็น 3 แบบ คือ อสัณฐานหรือไม่เป็นผลึก (amorphous) สเฟียริเคิลหรือทรงกลม(sherical) และเป็นผลึก (crystalline)


อนุภาคปานกลาง (aggregat)
อนุภาคที่มีขนาดปานกลางเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคเดี่ยว โดยการยึดติดกันด้วยพันธะเคมีระหว่างพื้นผิวของอนุภาคเดี่ยว ซึ่งพันธะเคมีที่ยึดติดกันนี้มีความแข็งแรงมากเช่นกัน


อนุภาคใหญ่ (agglomerate)
อนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเกิดจากพันธะอย่างอ่อนระหว่างโมเลกุลของอนุภาคปานกลาง

การบด
การบดเป็นขั้นตอนที่ทำให้โมเลกุลของผงสีมีขนาดเล็กจนเป็นอนุภาคเดี่ยวซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งได้รับการทำให้เปียกและกระจายตัวในวานิชโดยใช้เครื่องบด เครื่องบดที่นิยมใช้สำหรับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวมีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องบดชนิดลูกกลิ้ง 3 ลูก (three roll mill ) และเครื่องบดชนิดชอต (shot mill)


การผสมสี
     ในขั้นตอนนี้จะมีการเติมส่วนที่เหลือให้ครบสูตรและมีการเติมแต่งระดับคล้ำสีให้ได้ตามต้องการ  ดดยการเติมผงสีหรือแม่สีลงไปในเครื่องบดชนิดลูกกลิ้ง 3 ลูกโดยตรง ซึ่งเหมาะกับการทำหมึกพิมพ์ข้นเหนียวในปริมาณที่เหมาะสม  ส่วนการทำหมึกในปริมาณที่มาก มักนิยมผสมสีในภาชนะโลหะโดยใช้เครื่องผสมที่มีความสูง 

การตรวจสอบคุณภาพ 
        หลังจากผสมสีให้ได้ระดับคล้ำสีตามที่ต้องการแล้วก่อนบรรจุภาชนะจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหมึกให้ได้ตามมาตารฐานตามที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งรายละเอียดในเรื่องการควบคุมคุณภาพจะได้กล่าวต่อไป

การกรอง
        หลังจากตรวจสอบคุณภาพแล้วจะบรรจุจะต้อวเอาสิ่งสกปรกหรือฝุ่นออกเสียก่อนโดยถุงกรองชนิดพิเศษ  ซึ่งจะทำการกรองเฉพาะการบดด้วยเครื่องบดหมึกชนิดชอตและต้องเป็นหมึกเหลวพอสมควร

การบรรจุภาชนะ
        ภาชนะที่บรรจุมีหลายชนิด คือ 1  2  5  16  20  และ180 กิโลกรัม

ประเภทของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

              หมึกพิมพ์หมึกข้นเหนียวมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ประเภทที่รู้จักกันดี คือ หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ และหมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟีหรือหมึกพิมพ์ออฟเซต
 
หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
           
               หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เป็นหมึกพิมพ์ที่ใช้กับระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ซึ่งเป็นงานพิมพ์ที่มีหลักการ คือ เริ่มด้วยการจ่ายหมึกให้กับผิวส่วนที่เป็นภาพของแม่พิมพ์ (แม่พิมพ์เป็นแบบพื้นนูน) จากนั้นป้อนแผ่นกระดาษที่วางอยู่บนแม่พิมพ์ มีแรงกดช่วยให้หมึกพิมพ์สามารถถ่ายทอดไปยังกระดาษนั้นให้ติดแน่นได้ หลักการคล้ายกับการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟีซึ่งมีแม่พิมพ์เป็นแบบพื้นนูนเช่นเดียวกัน  แต่หมึกที่ใช้ของระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์จะเป็นหมึกพิมพ์ข้นเหนียว ไม่ใช่หมึกพิมพ์เหลวเหมือนระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

หลักการของระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์

หมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟี
               หมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟีหรือเรียกสั้นๆว่า หมึกพิมพ์ออฟเซต หรือในต่างประเทศนิยมเรียกว่า หมึกลิโธกราฟี เป้นหมึกพิมพ์ที่ใช้กับระบบการพิมพ์ออฟเซตซึ่งเป็นระบบที่มีหลักการ คือ หมึกจะถ่ายทอดจากรางหมึกไปยังแม่พิมพ์  และจากแม่พิมพ์จะถ่ายทอดไปยังวัสดุที่ใช้พิมพ์  โดยผ่านผ้ายาง(Blanket) แม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบพื้นราบ (planographic) แม่พิมพ์จะเคลือบด้วยสารเคมีซึ่งทำให้เกิดเป็นบริเวณภาพและบริเวณไร้ภาพได้  โดยบริเวณไร้ภาพหรือบริเวณที่ไม่ต้องการพิมพ์จะรับน้ำจากรางน้ำและไม่รับหมึกทำให้ไม้เกิดภาพพิมพ์ขึ้นเกิด
หลักการของระบบการพิมพ์ออฟเซต

การไหลของหมึกพิมพ์เหลว

คุณสมบัติที่สำคัญมากของหมึกพิมพ์เหลว คือ คุณสมบัติด้านการไหล การไหลที่มีผลดีโดยตรงต่อคุณภาพงานพิมพ์แต่ละระบบ การไหลของหมึกพิมพ์เหลวใช้วัดโยอ้อมจากความหนืดซึ่งวัดจากถ้วนตวงมาตราฐาน เช่น ซาห์นคัพ ฟอร์ดคัพ หรืออาจวัดจากเครื่องมือวัดความหนืดแบบโรเทชันนัล การไหลและความหนืดมีความสัมพันธ์กันแบบสมการผกผัน กล่าวคือ หมึกที่มีการไหลที่ดี จะมีความหนือต่ำ ส่วนหมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีจะมีความหนืดสูง ความหนืดของหมึกพิมพ์เำหลวจะเหลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กันองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่เลือกใช้โดยเฉพาะผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

อิทธิพลขององค์ประกอบที่มีผลต่อการไหล
   หมึกพิมพ์จะมีการไหลดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่ใช้ ได้แก ผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

  1. ผงสี ผงสีที่ใช้ในการผลิตหมึกพิมพ์มี 2 ชนด คือ ผงสีอินทรีและผงสีอนินทรี ผงสีทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันแตกต่างกัน โดยผงสีที่มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันสูง เมื่อนำมาผลิตหมึกพิมพ์จะได้หมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีหรือมีความหนืดสูง โดยปกติผงสีอินทรีย์ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันสูงกว่าผงสีอนินทรีย์มาก แต่ผงสีอินทรีย์ในCIเดียวกันที่ผลิตจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละบริษัทก็ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันที่แตกต่างกัน
  2. เรซิ่น ผู้ผลิตหมึกควรเลือใช้เรซิ่นที่มีค่าการไหลที่ดีไม่ว่าจะอยู่ในอุณภูมิที่แตกต่างกันเพียงใด เรซิ่นบางตัวในอุณภูมิต่ำ เรซิ่นประเภทนี้ได้แก่ พอลิเอไมด์ วิธีการป้องกัน คือ การหลีกเลี่ยงที่จะใช้เรซินเหล่านี้
  3. ตัวทำละลาย ตัวทำละลายแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายเรซิ่นที่แตกต่างกัน ตัวทำละลายใดที่เป็นตัวทำลัลายหลักของเรซิ่นตัวที่เลือกใช้จะให้ค่าการไหลที่ดี แต่ตัวทำละลายที่ดีนั้นอาจมีอัตราการระเหยเร็ว ซึ่งมีผลทำให้การไหลลดลง จึงต้องมีตัวทำละลายอื่นผสม ดังนั้นในสูตรหมึกพิมพ์แต่ละสูตรที่มีเรซิ่นเป็นองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิดจึงมักจะมีตัวทำละลายหลายชนิดเพื่อรักษาสมบัติการไหลให้ดีที่สุด 
  4. สารเติมแต่ง สารเติมแต่งมีผลต่อการไหลของหมึกพิมพ์หลายชนิด เช่น ทำให้ผงสีกระจายตัวในวานิชได้ดี  หมึกพิมพ์มีการไหลดี ช่วยเพิ่มความหนืดของหมึกพิมพ์ที่ผลิตได้ต่ำกว่ามาตราฐาน
ผลกระทบของการไหลของหมึกพิมพ์เหลวที่มีต่อคุณภาพงานพิมพ์
          คุณภาพของงานพิมพ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์เหลวไม่ว่าจะเป็นเฟล็กโซกราฟีหรือกราวัวร์ มีผลโดยตรงจากสมบัติการไหลของหมึกพิมพ์เหลว หมึกพิมพ์ที่มีการไหลจะช่วยให้สภาพพิมพ์ได้ (printabillity) ดี กล่าวคือ เมื่อบริเวณที่เป็นพื้นตาย งานพิมพ์จะเรียบเนียน ไม่เป็นร้อยด่าง เป็นจ้ำหรือเป็นดวง หรือเมื่อบริเวณที่เปฯสกรีนหรือฮาล์ฟโทน การถ่ายโอนภาพที่ได้สวยเต็มทุกเม็ดสกรีน

    nn

    คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์