Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ขั้นตอนแยกสีCMYK สำหรับกระบวนการในการพิมพ์ ด้วยโปรแกรม Photoshop CMYK Separations for Process Printing









สาธิตตัวอย่างการใช้เครื่องมือปรับค่าสี CMYK And RGB Color Modes?








กระบวนการแยกสีของเพลทแม่พิมพ์

การแยกสีในระบบ CMYK เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์งานออฟเซ็ททั่วไป

สำหรับเฉดของสีแม่พิมพ์ทั้ง 4 สี คือ
1. C = Cyan สีฟ้า
2. M = Magenta สีแดง (แดงชมพู)
3. Y = Yellow สีเหลือง
4. K = Black สีดำ
5. Spot Color (ในกรณีที่พิมพ์มากกว่า 4 สีปกติ)

สีของระบบ CMYK สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักกับระบบสี CMYK เลย หรือยังนึกภาพไม่ออกว่า เพลทนั้นแยกสีอย่างไรให้ลองเปิดรูปอะไรก็ได้สักรูปในโปรแกรม Photoshop แล้วเข้าไปที่เมนู Image แล้วเลือก Mode CMYK จากนั้นก็ไปที่เมนู Windows แล้วเลือก Channels เราจะพบว่าภาพที่ได้นั้นเกิดจากการรวมตัวของ cmyk ซึ่งในระบบเพลทนั้นก็จะแยกสีโดยใช้หลักการเช่นเดียวกัน

ภาพวงกลม เป็นการรวมสีของ cmyk ซึ่งมีน้ำหนักการลงสีเท่ากันแต่หากจะมีเฉดสีอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นเป็นเพราะว่าการลงน้ำหนักของสีของ
แต่ละสีไม่เท่ากัน อย่างเช่นว่า พิมพ์สีเหลืองน้ำหนักที่ 100% และสีฟ้าที่ 100%ก็จะได้สีเขียวเข้ม แต่หากลดสีฟ้าลงครึ่งหนึ่ง เป็น Y100 C50 เราก็จะได้สีเขียวอ่อนดังภาพ



ภาพด้านบน แสดงการรวมสี CMYK น้ำหนักที่ 100% เท่ากัน / น้ำหนัก Y100
+ C50 จะได้สีเขียวอ่อน

กรณีที่ต้องแยกสีพิเศษจากรูปภาพทำอย่างไร?

ในงานพิมพ์บางชิ้นงาน การพิมพ์เพียง 4 สีปกติ ทำให้ภาพที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะทำให้การควบคุมสีตอนพิมพ์ไม่ได้ตามที่ต้องการจึงต้องแยกสีออกมาเป็นสีพิเศษต่างหาก ในการแยกสีนั้น หากเป็นไฟล์ที่เป็นกราฟฟิคส์อย่าง .ai ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะเกิดกับไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ซึ่งต้องทำงานในโหมด Channels ของโปรแกรม Photoshop หลักสำคัญก็คือต้องแยกเอาสีเฉพาะที่ต้องการมาทำอีก Channels ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากเพราะหากการแยกสีทำได้ไม่ถูกต้องแล้ว การพิมพ์นั้นก็จะได้สีที่ไม่เป็นที่ต้องการส่วนขั้นตอน และวิธีการทำอย่างไรนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวในบทต่อไป

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ตัวอย่างการเกิดลักษณะเหลื่อมล้ำของสีในงานพิมพ์ เกิดจากอะไร?

            ระบบการพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นระบบไหนก็ตาม หากภาพพิมพ์ที่ออกมามีความเหลื่อมของสี หรือพิมพ์ไม่ตรงแล้ว ภาพพิมพ์นั้นก็หมดความหมายและลดความสวยงามลงไปทันที ในบทนี้จะคุยกันในเรื่องการพิมพ์ในระบบออฟเซ็ต
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ตก็คล้าย ๆ กันงานพิมพ์อื่น ๆ คือต้องใช้แม่พิมพ์สีแต่ละสีพิมพ์ภาพซ้อนทับกัน งาน 4 สีก็ต้องใช้เพลท 4 แผ่นพิมพ์ภาพซ้อนทับกันหมุนไปเรื่อยๆ ตามโมแม่พิมพ์แต่ละสี ซึ่งการแยกสีของเพลทหรือระบบที่เรียกว่า cmyk ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้
ในตัวอย่างภาพด้านล่างต่อไปนี้ จะแสดงให้ดูว่าการพิมพ์เหลื่อมหรือพิมพ์ไม่ตรงนั้น ภาพที่ออกมาจะเป็นอย่างไร
ภาพที่1 ภาพแสดงการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต 4 สี (CMYK) โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของสี
ภาพที่สอง เป็นการแสดงภาพพิมพ์เพลทแม่พิมพ์สีฟ้า และสีแดง

ภาพที่สาม แสดงการพิมพ์ภาพด้วยเพลทสีแดงและสีเหลือง


ภาพนี้แสดงภาพพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ต ทั้ง 4 สี สังเกตุว่าภาพพิมพ์ที่ได้นั้นเกิดความเหลื่อมล้ำของสี ภาพพิมพ์ตรงหรือไม่นั้นให้สังเกตุที่ฉากพิมพ์ซ้ายและขวามือ ซึ่งปกติแล้วจะติดไว้ที่เพลทแม่พิมพ์ทุกเพลท เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งเครื่อง และสามารถตรวจสอบความตรงของภาพได้ง่ายขึ้น

การพิมพ์ภาพไม่ตรงนั้นก็มีหลายสาเหตุ อย่างเช่น อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการพิมพ์ การตั้งเครื่องพิมพ์ของช่างพิมพ์ หรือไม่ก็เพลทไม่ตรงอยู่แล้ว อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนการทำเพลทแม่พิมพ์ เพราะหากเพลทแต่ละสีไม่ตรงกันแล้วก็ยากที่ช่างพิมพ์จะพิมพ์ภาพให้ตรงกันได้ ซึ่งต้องหาต้นตอของปัญหาก่อนจึงจะแก้ไขได้

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ทฤษฎีสีของระบบสี CMYK



  

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน แต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน

ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง หรือ ระบบสี

RGB คือ

แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)

แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง (Magenta)

แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow)

สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ

มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี
โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK )
ระบบการพิมพ์สี่ส ี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ
ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละส ี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ
ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด
การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน
ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง 100 %


CYAN
MAGENTA
YELLOW
BLACK

ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan)สีม่วงแดง (Magenta)สีเหลือง (Yellow), และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ (Black)  แต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color”  หรือการผสมสีแบบลบ หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนสีจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB




หลักการพื้นฐานของทฤษฎีสีCMYK Printing ในระบบการพิมพ์สี












แอนิเมชั่น3D หลักการของเครื่องพิมพ์ออฟเซตกับระบบสี CMYK 4 Color Offset Printing



เป็นการจำลองการทำงานของระบบสีCMYKของเครื่องพิมพ์ออฟเซต ด้วยรูปแบบแอนิเมชั่น3มิติ






nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์