Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ประเภทของการพิมพ์ มีอะไรบ้าง?


การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์

2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท
คือ
3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม

4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ
4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

รูปแบบของงานที่ได้จากการพิมพ์มีอะไรบ้าง?


ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ 
1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้

การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )


การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป

การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์
4. ผู้พิมพ์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Edition of Print Techniques


Edition
งานพิมพ์ชิ้นๆหนึ่งสามารถพิมพ์จำนวนพิมพ์ ( edition) ได้ตั้งแต่หนึ่งชิ้นของผลงานไปจนถึง หลายพันชิ้น การพิมพ์ผลงานจำนวนมาก อาจทำความเสียหายแก่แม่พิมพ์ได้ ซึ่งทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ดี หรือมีมาตรา ฐานไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อรักษามาตราฐานคุณภาพของผลงาน จึงมีการกำหนดจำนวนพิมพ์ ( edition) ของงานไว้อยู่ในราว หนึ่งร้อยชิ้น แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมพิมพ์กันโดยประมาณ 30-40 ชิ้น ส่วนงานภาพพิมพ์สีที่ใช้แม่ พิมพ์หลายแม่พิมพ์นั้นจะยุ่งยาก และใช้เวลามากในการพิมพ์ กรณีนี้จำนวนพิมพ์ของผลงานจึงกำหนดให้น้อย ลงไปอีก

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Monotype of Print Techniques


Monotype
วิธีการนี้ศิลปินจะวาด ระบายหรือกลิ้งสีบนพื้นผิวหน้าของวัสดุชนิดต่างๆ เช่น แผ่นพลาสติก กระดาษ สังกะสี หรือแผ่นไม้ จากนั้นนำกระดาษมากดทับ หรือนำภาพที่วาดไว้ดังกล่าวไปพิมพ์ผ่านแท่นพิมพ์ วิธีการแบบนี้สามารถสร้างรูปได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น

การทำแม่พิมพ์ระบบออฟเซท

การทำแม่พิมพ์เป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งนักออกแบบต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะได้ออกแบบต้นฉบับ และใช้คำสั่งให้ถูกต้อง เข้าใจตรงกัน ขั้นตอนนี้จะใช้ช่างเทคนิคเฉพาะด้านเรียกว่าช่างทำแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์ของแต่ละระบบพิมพ์จะมีลักษณะและวิธีการทำที่แตกต่างกัน เช่น การพิมพ์แบบกราเวียร์ แม่พิมพ์จะเป็นแบบแท่งกลม การพิมพ์แบบแฟลกโซกราฟี่ แม่พิมพ์จะเป็นแผ่นยาง การพิมพ์แบบซิลค์สกรีน แม่พิมพ์จะเป็นผ้าใยสังเคราะห์ขึงตรึงอยู่บนกรอบไม้ การพิมพ์เลตเตอร์เพรส แม่พิมพ์จะเป็นตัวเรียงโลหะนูนขึ้นมา ส่วนที่เป็นภาพจะเป็นบล็อก และการพิมพ์ระบบออฟเซท แม่พิมพ์จะเป็นแผ่นโลหะผิวเรียบ แม้ว่าแม่พิมพ์จะมีลักษณะแตกต่างกันแต่ก็มีการพัฒนาร่วมกันดังนี้ 

ในปีค.ศ. 888 ชาวจีนค้นคิดแม่พิมพ์จากการแกะสลักตราประจำแผ่นดินและทำแม่พิมพ์จากการแกะสลักไม้ 

ในปีค.ศ. 899 ชาวจีนใช้ประติมากรรมเป็นแม่พิมพ์เพื่อการลอกรูป 

ในปีค.ศ. 1241 ชาวเกาหลีสามารถหล่อตัวเรียงโลหะได้เป็นผลสำเร็จ 

ในปีค.ศ. 1440 โจฮัน กูเต็นเบิร์ก หล่อตัวเรียงโลหะ คิดค้นหมึกพิมพ์และแท่นพิมพ์ระบบเล็ทเตอร์เพลส 

ในปีค.ศ. 1495 อัลเบิร์ด ดูเลอร์ คิดค้นการทำแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้เหล็กแหลมเขียนหรือจานบนแผ่นทองแดง คลึงหมึกและพิมพ์เป็นภาพที่มีความคมชัดมาก 

ในปีค.ศ. 1513 อู การ์ พัฒนาการพิมพ์ระบบแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้กรดกัดแผ่นเหล็กให้เป็นร่อง และพัฒนาไปสู่การพิมพ์ธนบัตร 

ในปีค.ศ. 1520 รูคัส แวน ไลย์เด็น ทำแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้กรดกัดแผ่นทองแดง และพัฒนาเป็นแม่พิมพ์ร่องลึก 

ในปีค.ศ. 1827 โจเซฟ เนียฟฟอร์เนียฟ ชาวฝรั่งเศส ได้ค้นคิดการคงสภาพภาพถ่ายได้เป็นผลสำเร็จเป็นภาพเนกาตีฟ ซึ่งถ่ายจากกล้องออบสคูรา เป็นภาพถ่ายอาคารที่อยู่ตรงกันข้ามกับห้องทำงานของเขา นับเป็นภาพถ่ายที่คงสภาพถาวร ภาพแรกของโลก 

ในปีค.ศ. 1839 หลุย ดาแก ใช้วิธีถ่ายภาพถ่ายลงบนแผ่นบล็อกเป็นแม่พิมพ์แทนการเขียนภาพ เรียกว่ากระบวนการดาแกโรไทป์ 

1. ต้นฉบับหรืออาร์ตเวิร์ค 

หลังจากช่างอาร์ตได้จัดทำต้นฉบับ หรืออาร์ตเวิร์ค เขียนคำสั่ง และตรวจสอบความถูกต้องดีแล้ว ควรเตรียมต้นฉบับให้อยู่ในสภาพที่ดี เรียบร้อย พร้อมใช้งาน เช่นภาพประกอบที่เป็นภาพเล็กควรใส่ซอง ภาพใหญ่ควรม้วนและเขียนเลขหน้าไว้ด้านหลัง ถ้าเป็นสไลด์ควรเก็บไว้ในซองพลาสติก ติดภาพตามตำแหน่งที่ต้องการด้วยเทป นอกจากนี้ต้นฉบับควรติดบนกระดาษแข็ง มีกระดาษบางปะหน้า และมีกระดาษปิดหน้าเป็นปกอีกครั้งหนึ่งเพื่อกันการขีดข่วน จากนั้นจึงส่งต่อไปยังโรงพิมพ์และร้านเพลท เพื่อดำเนินการทำแม่พิมพ์ ช่างทำแม่พิมพ์จะศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นฉบับ และคำสั่งต่างๆอย่างละเอียดจนเข้าใจตรงกับความต้องการของนักออกแบบแล้วจึงส่งไปถ่ายฟิล์มแยกสี ขั้นตอนนี้นับว่าสำคัญเพราะช่างทำแม่พิมพ์จะทำตามคำสั่งในต้นฉบับต้องชัดเจน เข้าใจตรงกัน เช่น การสั่งรหัสสีต้องถูกต้องตรงกับไกด์สี เป้นต้น นอกจากนี้ควรตระหนักเสมอว่า ต้นฉบับที่ดีและสมบูรณ์ งานพิมพ์ที่สำเร็จออกมาก็จะดีด้วย 

2.การถ่ายฟิล์ม 

เป็นการนำต้นฉบับที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อยแล้ว ไปถ่ายฟิล์ม เพื่อเป็นต้นแบบไว้ โดยใช้ฟิล์มลิท (Lith Film) ซึ่งเป็นฟิล์มที่มีความเข้มสูง สามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่าฟิล์มทั่วไป การฟิล์มเพื่อการทำแม่พิมพ์แบ่งออกเป็นสองลักาณะคือ 
2.1 ถ่ายฟิล์มลายเส้น (Line Work) เป็นการถ่ายตัวอักษร ข้อความต่างๆ ภาพเขียนภาพวาดลายเส้นหรือภาพถ่ายทั่วไป บางครั้งเรียว่า ถ่ายสกรีนลายเส้น เมื่อนำไปพิมพ์ภาพที่ปรากฏจะเป็นสองนำหนักคือ ขาว - ดำ บางครั้งนักออกแบบต้องการภาพที่แปลกตาออกไป อาจจะนำภาพถ่ายที่มีหลายนํ้าหนักมาถ่ายสกรีนลายเส้นก็ได้ 
2.2 ถ่ายฟิล์มภาพสกรีน (Screen Work หรือ Half tone)


เป็นการถ่ายฟิล์มจากต้นฉบับที่เป็นรูปถ่ายหรือสไลด์ มีหลายนํ้าหนักต่อเนื่องกันในหนึ่งภาพ (Continuous tome) ตั้งแต่ดำมาก ดำ ปานกลาง นวล ขาว เช่น ภาพถ่ายทั่วไป ในการถ่ายฟิล์มทำแม่พิมพ์จะใช้แผ่นสกรีนช่วยควบคุมแสงให้ตกลงบนฟิล์มในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งปรากฏบนฟิล์มเป็นเม็ดเล็กๆเรียกว่าเม็ดสกรีน ทำให้ภาพที่พิมพ์ออกมา ดูด้วยสายตาปกติจะเห็นเป็นสีเรียบๆ มีลักษณะเป็นนํ้าหนักอ่อนแก่ต่อเนื่องกันเหมือนภาพจริง แต่ถ้าขยายดูจะเห็นเป็นจุดหรือเป็นเม็ดสกรีนเต็มไปทั้งภาพ บริเวณที่มีสีเข้มจะเป็นบริเวณที่มีจำนวนเม็ดสกรีนมาก บริเวณที่มีสีอ่อนจะมีจำนวนเม็ดสกรีนน้อย การถ่ายฟิล์มลักษณะนี้เป็นการถ่ายฟิล์มเพื่อการพิมพ์สีเดียว 
3. การแยกสี (Color Separation) 
เป็นการถ่ายฟิล์มที่แตกต่างไปจาก 2 ลักาณะแรก เพราะเป็นการถ่ายฟิล์มเพื่องานพิมพ์สอดสี (Process Color) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เหมือนหรือใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด (วัตถุสิ่งของต่างๆในธรรมชาติมีสีสรรมากมาย ในขณะที่การพิมพ์มีเพียงสี่สี และสีพิเศษเท่านั้น) การแยกสีจะเริ่มจาการถ่ายฟิล์มแยกสีทีละสี โดยใช้ฟิลเตอร์สีต่างๆ (Fillter )ได้แก่ แดง เขียว นํ้าเงินและนูตรอล (Neutral ) ตามลำดับ ต่อจากนั้นจึงประกอบแผ่นสกรีนลงบนฟิล์มที่แยกสีแล้ว สุดท้ายจะได้ฟิล์มสี 4 ชุดคือ 
3.1 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีแดงบานเย็น (Magenta ) 
3.2 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีฟ้า (Cyan) 
3.3 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีเหลือง (Yellow ) 
3.4 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีดำ (Black ) 

- เมื่อแยกฟิล์มแล้ว นำแต่ละฟิล์มอัดลงบนเพลท แล้วพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ทั้งสี่สีจะได้ภาพเหมือนต้นฉบับทุกประการ แต่ก่อนวงการพิมพ์ของไทยจะแยกสีด้วยฟิลเตอร์ ปัจจุบันแยกสีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า เครื่องสแกนเนอร์ (Electronic Scanner) ซึ่งเป็นระบบการแยกสีโดยใช้โฟรโตเซล (Photo cell ) เป็นตัวแยกสีโดยการจับหมึกของสีและถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์มแยกสีด้วยเครื่องมือทางอีเล็คทรอนิค เป็นตัวแยกสีทำให้ได้งานที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นแบบสะดวกและรวดเร็ว (ขั้นตอนนี้สัมภาษณ์จากผู้ชำนาญการของร้าน เจ.ฟิล์ม ) เริ่มจากนำต้นฉบับเข้าห้องถ่าย เข้าเครื่องคิดเปอร์เซนต์ ถ้าเป็นสไลด์ต้องนำมาติดกับหลอกแก้วของเครื่องสแกนเนอร์ด้วยกาว แล้วป้อนโปรแกรมสี เปอร์เซนต์ ขนาดของฟิล์ม ขนาดของรูป เมื่อเครื่องล้างเสร็จก็จะนำไปล้างที่เครื่องล้างฟิล์ม โดยผ่านนํ้ายา DGV,FIX,NASH แล้วออกมายังที่พักเก็บฟิล์ม นำฟิล์มมาเช็คขนาดกับอาร์ตเวิร์ค จัดเข้าชุดกันแล้วใส่ไว้เป็นซองๆ จากนั้นจึงส่งไปยังช่างประกอบฟิล์มต่อไป 

- เครื่องสแกนเนอร์ที่ใช้ในการแยกสีมีหลายแบบ คุณภาพการทำงานแล้วแต่การโปรแกรมและราคา มีทั้งจับภาพ จับหมึก แล้วเจาะเป็นแม่พิมพ์บนแผ่นโลหะเลย และจับหมึก แยกสี ถ่ายออกมาเป็นฟิล์มพร้อมสกรีนในตัวเสร็จเรียบร้อย ปัจจุบันได้พัฒนาไปถึงการจับหมึก แยกสี พร้อมสกรีนแล้วประกอบฟิล์มได้เลย โดยใช้เครื่องประกอบฟิล์มทำงานควบไปกับเครื่องแยกสี นอกจากนี้ยังสามารถแยกสีจากสไลด์ที่ซ้อนกันหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการในภาพออกได้ด้วย 

- ภาพถ่ายทั่วไปกับภาพจากสไลด์ เมือ่แยกสีด้วยเครื่องจากแสกนเนอร์ จะให้ผลใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับฝีมือช่างถ่ายภาพและความคมชัดของภาพ เครื่องแยกสีสามารถทำได้ทั้งสองอย่างแต่ถ้าภาพที่มีความคมชัดใกล้เคียงกัน ภาพจากสไลด์จะได้คุณภาพที่ดีกว่า สีสันมีความแน่น มีความละเอียด มีชีวิตชีวามากกว่า และสามารถขยายให้ใหญ่ได้ ในขณะที่ภาพถ่ายทั่วไปถ้าขยายใหญ่เกินไป (เกินสองเท่าตัว) เกรนจะใหญ่ขึ้น ทำให้ภาพพล่ามัว ไม่คมชัดเท่าที่ควรหรือที่เรียกว่าแกรนแตก



4. การประกอบฟิล์ม 
-งานพิมพ์สอดสี จะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นภาพ โลโก้ ตัวอักษรและข้อความต่างๆบางครั้งมีสีพิเศษด้วย ทำให้ต้องแยกถ่ายฟิล์ม แยกสีแต่ละส่วนแล้วนำมาประกอบกัน เช่น ส่วนที่เป็นภาพ 4 สี จะแยกเป็นฟิล์มจากเครื่องสแกนเนอร์ ส่วนที่เป็นตัวหนังสือสีเดียวกันหรือสีตายจะได้จากการถ่ายฟิล์มลายเส้น เป็นต้น นำมาประกอบรวมกันเป็นชุด 1 ชุดจะมี 4 สี ส่วนสีพิเศษต้องทำเพลทแยกอีกต่างหาก


5. การเรียงฟิล์มหรือการเลย์ฟิล์ม 
เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจาการประกอบฟิล์ม โดยทำฟิล์มที่ประกอบถูกต้องตามแบบหรือต้นฉบับแล้ว มาจัดวางตามดัมมี ตามอาร์ตเวิร์ค ถ้าเป็นหนังสือ จะจัดวางตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ เพื่อสะดวกแก่การเก็ย หรือการพับยก ก่อนที่จะนำไปอัดลงเพลท 
ดัมมี หมายถึงรูปแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จ จัดทำโดยผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งที่กำหนดว่า ตัวอักษรข้อความ รูปภาพ อยู่ในตำแหน่งใด สีอะไร ในกรณีที่เป็นงานพิมพ์ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก การทำดัมมีอาจทำเพียงคร่าวๆ และจำลองขนาดให้เล็กลงกว่างานจริงก็ได้ตามสะดวกแต่ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ที่ซับซ้อน (มีการเจาะ การตัดบางส่วน) ควรทำดัมมีให้ชัดเจนมีการกำหนดรายละเอียด ตำแหน่งต่างๆที่แน่นอนตายตัว เพื่อผู้ประกอบฟิล์ม ผู้พิมพ์ ผู้จัดเก็บทำรูปสำเร็จจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อันเป็นการลดปํญหา การผิดพลาดในการพิมพ์อีกทางหนึ่งด้วย 
การเรียงฟิล์มต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามต้นฉบับ ขนาดของแท่นพิมพ์ การพับ การเก็บเล่มเป็นหลัก จะทำตามความคิดเห็นของช่างเรียงฟิล์มไมได้ เพราะบางครั้งช่างเรียงเห็นเหมาะสม แต่นักออกแบบต้องการให้แปลกออกไป ดังนั้นเมื่อมีข้อขัดข้องหรือสงสัย ควรสอบถามเจ้าของงานก่อน เพราะถ้าเรียงฟิล์มไม่ถูกต้องสิ่งพิมพ์ก็จะผิดไปหมด เช่น ภาพกลับหัว ตัวหนังสือทับสกรีนไม่ชัดเจน ภาพกลับซ้ายเป็นขวา เป็นต้น 

6. การอัดเพลท 

เพลทเป็นแผ่นบางๆผิวหน้าเรียบ ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ พลาสติก และโลหะต่างๆ เช่น สังกะสี ทองแดง อลูมิเนียม เพลทมี 2 ชนิดคือ 
6.1 เพลทกราเวียร์ เป็นแผ่นเรียบส่วนที่ต้องการพิมพ์จะกัดกรดเป็นนบ่อ เป้นร่องลึก เวลาพิมพ์จะพิมพ์ตรง เพลทแม่พิมพ์และกระดาษและกระดาษจะสัมผัสกันด้วยแรงกด 
6.2 เพลทออฟเซท เป็นแผ่นเรียบ ส่วนใหญ่จะทำด้วยอลูนิเนียม ฉาบและเคลือบด้วยนํ้ายาไวแสง ส่วนที่เป็นภาพจะฉาบไว้ด้วยนํ้ายามีคุณสมบัติรับหมึก ไม่รับนํ้า เมื่อคลึงหมึกลงไปจะติดหมึกเฉพาะส่วนที่เป้นภาพ ไม่ติดพื้น (ซึ่งเคลือบไว้ด้วยนํ้ายาฟลาวเท็น) เวลาพิมพ์จะพิมพ์โดยอ้อมลงบนโมยางก่อนพิมพ์ลงบนกระดาษ เพลทออฟเซทมีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก 21.5 นิ้ว x 25.5 นิ้ว และชนาดใหญ่ 31.5 นิ้ว x 41.5 นิ้ว 

ขั้นตอนการอัดเพลท 


1. นำฟิล์มที่ผ่านการเลย์ และติดบนแผ่นแอสร่อนแล้ว เข้าเครื่องอัดเพลทที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม มีหลอดไฟที่ใช้กระแสไฟประมาณ 4,000 วัตต์อยู่ด้านบน หลอดไฟนนี้จะให้แสงอุลตร้าไวโอเลตที่แรงมาก จึงต้องมีม่านป้องกันแสงไว้รอบๆเครื่องอัดเพลท ภายในเครื่องอัดเพลทจะมีมอเตอร์ ปั้มลม ดูดอากาศภายในเครื่องอัดเพลทออกให้หมด เพื่อให้ฟิล์มแอสร่อนแนบสนิทกับพื้นเพลท เวลาพิมพ์จะได้มีความสมํ่าเสมอสวยงาม ถ้าอัดเพลทไม่แนบสนิทที่เรียกว่าเพลทบวม เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วส่วนที่เป็นสกรีนจะไม่เรียบเสมอเหมือนต้นฉบับ 

2. นำเพลทที่ผ่านการอัดด้วยแสง มาล้างด้วยนํ้ายา โดยเครื่องล้างเพลท ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ ที่เป็นนํ้ายาทำหน้าที่ล้างส่วนที่ไม่ต้องการออกเป็นพื้นเพลทสีขาว หรือสีเนื้อเพลท ส่วนที่เป็นนํ้าจะทำหน้าที่ล้างคราบนํ้ายาออกอีกครั้งหนึ่ง เพลทที่ผ่านกระบวนการออกมาจากเครื่องล้างเพลทจะมีส่วนที่ต้องการพิมพ์เป็นสีเขียว ส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์จะเป็นสีขาว 

3. นำเพลทที่ออกจากเครื่องล้างเพลท ไปยังอ่างล้างนํ้า ลงหมึกดำเพื่อรักษาเนื้อเพลท ให้คงทนต่อการพิมพ์ ก่อนส่งไปยังโรงพิมพ์จะนำเพลทไปทา กาวกรัม เพื่อรักษาหน้าเพลทอีกครั้งหนึ่ง 
สรุปการทำแม่พิมพ์เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการโดยผู้ที่ชำนาญการญฉพาะด้าน ซึ่งส่วนใหญ่เรามอบให้โรงพิมพ์เป็นผู้ดำเนินการหลังจากที่ต้นฉบับเป็นที่พอใจของลูกค้าแล้ว หรืออาจจะดำเนอนการเองที่เรียกว่าวิ่งเพลท โดยไปติดต่อกับร้านทำเพลทโดยตรงก็ได้ 
การทำแม่พิมพ์มี 2 ชนิดคือแม่พิมพ์ขาว-ดำ หรือแม่พิมพ์สีเดียวซึ่งไม่ค่อยยุ่งยากนักและแม่พิมพ์ 4 สี ซึ่งจะได้ผลงานที่มีหลายสีตามธรรมชาติ หรือตามของจริงที่ปรากฏเห็น โดยจะถ่ายเป็นมาสเตอร์แล้วแยกสีออกเป็นสิ่สี คือ สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีดำ ต่อจากนั้นจึงนำมาประกอบฟิล์ม เรียงพิมพ์ให้ได้สีตามต้นฉบับ เลย์ฟิล์มตามหน้าต่างๆ เมือ่ถูกต้องตามต้นฉบับแล้วจึงอัดลงเพลท พิมพ์ปรู๊ฟตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งจึงนำส่งโรงพิมพ์ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลดีจาก http://www.epccorps.com/lesson09.htm

วิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับสำหรับงานพิมพ์



การส่งไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์

หลังจากที่จัดทำไฟล์ต้นฉบับเสร็จและจัดเตรียมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งไฟล์ที่ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ซึ่งก็ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยมีหลักการเลือกใช้วิธีส่งไฟล์ดังต่อไปนี้ 

บันทึกลงแผ่น CD/DVD


วิธีบันทึกไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์ลงแผ่นเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกส่งไฟล์ได้ครั้งละมากๆ ราคา CD/DVD สำหรับไรท์ไม่แพง และทำสำเนาได้มากเท่าที่ต้องการ การบันทึกไฟล์ต้นฉบับด้วยการบันทึกลงแผ่น CD/DVD สามารถบันทึกไฟล์โดยตรงก็ได้ หรือจะเลือกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip หรื WinRAR เพื่อลดขนาดไฟล์ก่อนก็ได้ (กรณีที่บีบอัดไฟล์ทางผู้รับงานจะต้องมีโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR ด้วย เพื่อคลายไฟล์ออก) 

บันทึกใส่สื่อดิจิตอลอื่นๆ


นอกจากการบันทึกไฟล์ต้นฉบับลงแผ่น CD/DVD แล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอื่น อีกเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External Harddisk) แฟลชไดร์ฟหรือทัมฟ์ไดร์ฟ (Flash Drive or Thumb Drive) หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook) โดยสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถโอนไฟล์ต้นฉบับด้วยวิธีเหมาะสำหรับ กรณีที่เจ้าของอุปกรณ์นำงานไปส่งเอง แต่มีจุดด้วยเพราะไม่เหมาะกับการเก็บไฟล์งานแบบถาวร 

ส่งไฟล์ทางอินเตอร์เน็ต


การส่งไฟล์ต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ได้ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีรองรับ เช่น มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขนาดพื้นที่อีเมล์ใหญ่ขึ้น และแนบไฟล์ได้มากขึ้น มีบริการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล แบบออนไลน์ มีโปรแกรมลดขนาดไฟล์ และที่สำคัญมีไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์มาตรฐานสำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงและขนาดไฟล์เล็ก จากองค์ประกอบเหล่านี้ จึงทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ที่ต้องเดินทางไปส่งไฟล์เองมาก


เทคนิคการสร้างบล็อกแม่พิมพ์สกรีนเสื้อยืดง่ายๆแบบไม่ต้องใช่ฟิล์มและน้ำยาให้ยุ่งยาก

diy วิธีทำบล็อกสกรีนเสื้อยึดแบบง่ายๆ

สาธิตวิธีการเอาภาพที่สร้างขึ้นลงบนบล็อกสกรีน (Screen Exposure)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวพิมพ์

     ตัวพิมพ์มีการพัฒนารูปลักษณ์มาจากเค้าโครงตัวเขียนของภาษาต่างๆ ดังเช่นในกรณ๊ตัวพิมพ์ไทยตัวพิมพ์แบบแรกๆ ที่ใช้พิมพ์หนังสือในประเทศไทย คือ "บรัดเลย์เหลี่ยม" หรือตัวพิมพ์ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์"บางกอกรีคอร์เดอร์" นั้น  สันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาจากลายมือแบบอาลักษณ์  ที่พบปรากฎตามเอกสารในยุคต้นรัตนโกสินทร์ตัวพิมพ์ในรุ่นต่อมาได้พัฒนาลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบให้เหมาะสมกับเทคนิคการพิมพ์  คือ การแยกช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว  มีลำตัวตั้งตรง  แทนเส้นเอน  และมีความต่อเนื่องดังที่มักปรากฏในตัวเขียนอันเนื่องมาจากความถนัดในการใช้มือ

ตัวพิมพ์แบบ"บรัดเลย์เหลี่ยม" ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์

หลังจากได้สร้างประวัติศาสตร์การผ่าตัดไว้ให้ไทยแล้ว นพ.แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ก็ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ที่บ้านพักหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยซื้อแท่นพิมพ์ต่อจาก ร.ท.โลว์ นายทหารอังกฤษ ผู้เข้ามาศึกษาภาษาไทยอยู่หลายปี และประดิษฐ์แม่พิมพ์ตัวอักษรไทยขึ้น พิมพ์เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่สิงคโปร์ เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการและพ่อค้าชาวอังกฤษที่จะมาติดต่อกับเมืองไทย

เมื่อตั้งโรงพิมพ์ขึ้นแล้ว หมอบรัดเลย์ก็พิมพ์หนังสือสำหรับเผยแพร่ศาสนา และรับงานพิมพ์ทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ทรงให้พิมพ์ใบปลิวห้ามการสูบฝิ่น จำนวน ๙,ooo ฉบับ แจกจ่ายราษฎรนับเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่ใช้การพิมพ์ และ ยังพิมพ์ปฏิทินไทยเป็นครั้งแรก กับพิมพ์ตำราปืนใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

ต่อมาหมอบรัดเลย์เห็นว่า ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจำนวนมาก อยากจะรู้ข่าวสารบ้านเมืองบ้าง จึงได้ปรึกษาคณะมิชชันนารี ออกเป็นหนังสือข่าวขึ้น ให้ชื่อว่า The Bangkok Recorder มีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการได้อ่านด้วย โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นรายปักษ์ทำให้ไทยมีหนังสือพิมพ์ก่อนประเทศญี่ ปุ่นถึง ๑๗ ปี หมอบรัดเลย์เรียกหนังสือพิมพ์ของเขาว่า “จดหมายเหตุ” บ้าง “นิวสะเปเปอ” บ้าง และ “หนังสือพิมพ์” บ้าง ต่อมาคำว่า “หนังสือพิมพ์” ได้รับการยอมรับจนใช้มาถึงวันนี้

เนื้อหามีการนำเสนอเป็นรายงานข่าวและบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเน้นให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์มีคุณค่าต่อประชาชน เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของเขา

“บางกอกรีคอร์เดอร์” ออกไปถึงปีก็หยุดกิจการ เพราะสังคมชั้นสูงไทยรับไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่บางครั้งเอาไปรวมกับฉบับภาษาอังกฤษจนในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ “บางกอกรีคอร์เดอร์ ” ก็ออกใหม่อีกครั้งเสนอทั้งข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ครั้งนี้ออกอยู่ได้ ๒ ปีก็เกิดเรื้องอีก

สาเหตุมาจากการปักปันเขตแดนสยามกับอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน ฝรั่งเศสซึ่งเล่นบทหมาป่ากับลูกแกะพยายามเอาเปรียบทุกทาง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ไม่ยอมอ่อนข้อให้ ม.กาเบรียล ออบาเรต์ กงสุลฝรั่งเศสขุ่นเคือง จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้ปลดเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ออกจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน แต่ รัชกาลที่ ๔ ไม่โปรดตามคำทูล ม.ออบาเรต์ จึงทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไปยื่นดักรออยู่หน้าวัง ยื่นถวายพร้อมกับคำขู่ว่า ถ้าไม่ทำตามประสงค์ของเขา สัมพันธไมตรีระหว่างไทย กับฝรั่งเศสจะต้องขาดสะบั้น เกิดสงครามขึ้นเป็นแน่ พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ตรัสตอบแต่อย่างใด เสด็จเข้าวังไป

หมอบรัดเลย์เอาเรื่องนี้มาตีแผ่ใน “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทั้งยังออกความเห็นด้วยว่า การกระทำของทูตฝรั่งเศสนี้ผิดวิธีการทูต และดักคอว่าการไม่ยอมปลดสมุหกลาโหม กงสุลฝรั่งเศสอาจพยายามแปลความเป็นว่า ในหลวงได้ทรงหยามเกียรติพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียน และอ้า งเอาเป็นเหตุทำสงครามกับสยามก็เป็นได้

การตีแผ่ของ “บางกอกรีคอร์เดอร์” ทำให้สงสุลฝรั่งเศสไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หันไปฟ้องหมอบรัดเลย์ต่อศาลกงสุลในข้อหาหมิ่นประมาท

คดีนี้ทั้งคนไทยและฝรั่งในบางกอกต่างก็สนับสนุนหมอบรัดเลย์กงสุลอังกฤษเสนอเป็นทนายให้กงสุลอเมริกันเป็นผู้พิพากษา แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กงสุลฝรั่งเศสอีก จึงห้ามข้าราชการไทยที่รู้เห็นเหตุการณ์ไปเป็นพยานในศาล ผลจึงปรากฎว่าหมอบรัดเลย์แพ้คคี ถูกปรับเป็นเงิน ๔๐๐ เหรียญอเมริกันและให้ประกาศขอขมากงสุลฝรั่งเศสในบางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทย และชาวต่างประเทศได้เรี่ยไรกันออกค่าปรับให้ ส่วนเรื่องขอขมานั้น หมอบรัดเลย์ได้ตอบโต้ ม.ออบาเรต์อย่างสะใจโดยหยุดออกบางกอกรีคอร์เดอร์ เลยไม่รู้จะเอาหนังสือพิมพ์ที่ไหนขอขมา

เมื่อเรื่องราวสงบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ ๒,๐๐๐ เหรียญเป็นค่ารักษาข้าราชสำนักฝ่ายใน “ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่าปลอบใจเรื่องนี้นั่นเอง.

กระแสงานของงานก่อนพิมพ์

         งานก่อนพิมพ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาและภาพ    เพื่อจัดทำเป็นองค์ประกอบของหน้างานพิมพ์   และการดำเนินการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แม่พิมพ์มีความถูกต้องและคุณภาพ  พร้อมที่จะนำข้อมูลไปสู่การพิมพ์ตามระบบการพิมพ์ต่างๆ  กระแสงานของงานพิมพ์ที่สำคัญๆ  ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. งานนำเข้าข้อมูล (INPUT) เพื่อนำข้อมูลไปสู่การทำงานก่อนพิมพ์ เป็นการนำเข้าข้อมูลเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อความหรือตัวอักษรมาจัดเรียงตัวพิมพ์  และนำภาพต้นฉบับมาดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดประกอบหน้าสิ่งพิมพ์  โดยอาจเป็นการกราดภาพจากต้นฉบับ  หรือการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลได้เป็นไฟล์ภาพ  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการนำเข้าข้อมูลต่างๆ
  2. งานประมวลผลข้อมูล(PROCESS) เพื่อจัดทำข้อมูลงานก่อนพิมพ์ให้สำเร็จ  เป็นการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดรายละเอียดหน้างานพิมพ์  เช่น  ขนาดหน้างานพิมพ์  ระยะขอบหน้างานพิมพ์  จากนั้นทำการจัดวางตัวพิมพ์และลงภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้มีความลงตัวและสวยงาม  รวมทั้งกำหนดองคืประกอบต่างๆ  ที่ตอ้งการให้ครบถ้วน  เช่น  สี  กรอบ  ลายเส้น  เป็นต้น
  3. งานส่งออกข้อมูล (OUTPUT) เพื่อทำการพิมพ์  เมื่องานในขั้นตอนการจัดประกอบหน้าสำเร็จลุล่วงและได้มีการตรวจสอบอย่างรอบครอบแล้ว  ก็จะส่งข้อมูลเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานพิมพ์  โดยเกี่ยวข้องกับการวางหน้างานพิมพ์  การพรีไฟลต์  ทำปรู๊ฟสี  และการส่งออกข้อมูลงานวางหน้าเพื่อจัดทำแม่พิมพ์หรืองานตรวจสอบข้อมูลที่จะส่งออกเพื่อแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ดิจิทัล  ทั้งนี้งานดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมที่จะนำไปจัดทำแม่พิมพ์หรือพิมพ์ผลออกตามระบบการพิมพ์ที่จะใช้พิมพ์ในแต่ละงาน  การทำงานอาศัยคอมพิวเตอร์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการส่งออกข้อมูล  รวมทั้งเครื่องประเภทต่างๆ  ง
                  กระแสงานของงานก่อนพิมพ์ที่กล่าวข้างต้น  เป็นกระแสงานก่อนพิมพ์ในระบบการพิมพ์ดิจิทัลมากกว่างานก่อนพิมพ์ในระบบแอนะล็อก  และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กัยอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เทคโนโลยีเกี่ยวกับตัวพิมพ์

1. ตัวพิมพ์เป็นรูปลักษณ์ของภาษาเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมันมีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของแต่ละภาษาแตกต่างกัน แบบตัวพิมพ์มักได้รับการออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นและความลาดเอนต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการเลือกใช้งาน เรียกชุดตัวพิมพ์นี้ว่า  ครอบครัวตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งได้เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา  ตัวหนาตัว  ตัวบาง  ตัวเอน  เป็นต้น
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน  เช่น  จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์  ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน  เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน  คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน  และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์

ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน  ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง  การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์  การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์  จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล  ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร  ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา  แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป  กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน  ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์  ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน  จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ  เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด

เทคโนโลยีเกี่ยวกับด้วยพิมพ์และเทคโนโลยีการจัดการข้อความ



  • ตัวพิมพ์ที่เป็นรูปลักษณะของภาษเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ) มีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบแตกต่างกัน  แบบตัวพิมพ์มักถูกออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นหรือความลาดเอียงแตกต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการนำไปใช้งาน  ชุดครอบครัวตัดพิมพ์  แบ่งเป็นตัวธรรมดา  ตัวหนา  ตัวบาง  ตังเอน  สำหรับการจัดกลุ่มตัวพิมพ์วิธีการจัดการต่างๆกัน เช่น  แบ่งตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ แบ่งตามรูปลักษณ์  และแบ่งตามการใช้งาน  ความรู้ในการจัดกลุ่มตัวพิมพ์นี้ จะในการเลือกแบบตัวพิมพ์ไปใช้ในงานได้ดี
  • เทคโนโลยีการจัดการข้อความเป็นเทคโนโลยีการนำข้อมูลตัวอักขระต่างๆ เข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบบรรณาธิกรให้เหมาะสมในงานเตรียมการก่อนพิมพ์หรืองานเตรียมการก่อนผลิตสื่อต่างๆ  ด้วยกรรมวิธีทางดิจิทัลหรืออิเลกทรอนิกส์  ส่วนแรกคือ  เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับนำตัวอักษรของเนื้อหาเข้าคอมพิวเตอร์ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัลด้วยวิธีต่างๆ  และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบรรณาธิกร  คือ  การแก้ไขปรับปรุงตัวอักษรและเน้อหาข้อความให้เหมาะสมตามที่ต้องการสำหรับการนำข้อความนั้นไปใช้งานต่อไป


การตรวจปรู๊ฟ

             เนื่องจากงานก่อนพิมพ์มีความเกี่ยวข้องกับรายละเอียดมาก  และมีขั้นตอนที่ทำงานมาก  งานที่ทำมีโอกาศผิดพลาดได้  และความผิดพลาดที่ซ้อนอยู่ในเนื่้องาน  หากตรวจไม่พบ  จะส่งผลไปยังขั้นตอนต่อๆไป ในกระบวนการพิมพ์  ยิ่งปล่อยให้ความผิดพลาดผ่านกระบวนการไปมากเท่าใด  ความเสียหายและความยุ่งยากในการแก้ไขก็จะมากตามไปด้วย  จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการตรวจสอบงานในแต่ละขั้นตอนอย่างรัดกุม
              สิ่งที่จะต้องมีการตรวจปรู๊ฟอย่างละเอียด  ได้แก่ความถูกต้องของเนื้อหา ความถูกต้องของภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและการบรรยายภาพ  ความถูกต้องของการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในหน้างานพิมพ์ ความถูกต้องของการวางหน้างานพิมพ์  ความถูกต้องของสี  ความครบถ้วนของเครื่องหมายควบคุมคุณภาพการพิมพ์  เป็นต้อน  โดยผู้ปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนที่ทำการตรวจปรู๊ฟ  จะต้องไม่ส่งต่อการทำงานโดยปล่อยให้ความผิดพลาดยังคงอยู่ในเนื้องานพิมพ์ แต่จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องทันที

ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการวางหน้า

   การวางหน้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วางหน้าเป็นเท๕โนโ,ยีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันในการวางหน้า  เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็ว  และมีความถูกต้องในการทำงานสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับการวางหน้าระบบอื่น  ขั้นตอนการวางหน้าทั้งหมดสามารถกำหนดและดำเนินการได้ด้วยคำสั่งที่มีอยู๋ในโปรแกรม  ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่ใช้ในการวางหน้ามีอยู่มากมาย  อาทิเช่น
Preps,

Impostrip, 


 Signastation 


และอื่นๆ  อีกมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วความสามารถและวิธีการทำงานจะมีพื้นฐานและแนวคิดเดียวกัน  ซึ่งจำลองมาจากการวางหน้าด้วยมือ  ดังนั้น  ผู้ที่มีพื้นฐานในการวางหน้าด้วยมือ  สามารถใช้แนวคิดและประสบการณ์มาปรับใช้งานกับโปรแกรมการวางหน้าได้

ความหมายและความสำคัญของงานก่อนพิมพ์




        งานก่อนพิมพ์เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการพิมพ์   โดยเป็นกระบวนการที่ต่อจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์  เป็นการดำเนินการให้ได้แม่พิมพ์และปรู๊ฟงานพิมพ์  ก่อนที่จะส่งงานนั้นสู่งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์ต่อไป งานก่อนพิมพ์จึงหมายถึง บรรดางานต่างๆที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการต่อเนื่องจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์  เพื่อนำไปจัดทำแม่พิมพ์ หรือให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมจะนำไปพิมพ์ตามระบบการพิมพ์แบบต่างๆ โดยที่ข้อมูลหรือการทำงานก่อนพิมพ์ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงการทำงานขั้นตอนอื่นในกระบวนการพิมพ์  ได้แก่ งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์