Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้น มีที่มาจากหลายบริษัท ดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมีความ แตกต่างกันได้ เช่น ในเรื่องของความชื้น การรับน้ำหมึก ความขาว ความหนา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิต ทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้
  1. น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง
  2. ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษ เนื่องจากกระดาษจะถูกดึง และกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทาน กระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้
  3. ความต้านทานต่อน้ำและความชื้น กระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสม และไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษที่เลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบาง หมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร
  4. ความชื้นของกระดาษ กระดาษที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลง
  5. สีสันของเนื้อกระดาษ การเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวล เป็นต้น
  6. ความทึบของกระดาษ เนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่ง หรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือก หากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้
  7. ลักษณะผิวกระดาษ ผิวกระดาษจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น ไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษ
  8. การเรียงตัวของเยื่อกระดาษ / เส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน





ชนิดของกระดาษ มีอะไรบ้าง? (Paper type)

ชนิดของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วยเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

กระดาษอาร์ต



กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ 


  • กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษปอนด์

กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด (กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก ) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพง เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนา ในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย



กระดาษถนอมสายตา (Green Read)


เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดยเฉพาะ เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตา ทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตา กระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบา และเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมีความหนา ดูคุ้มค่า คุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้ว สีจะดูสดใสและนวล มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไป เหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามาก เช่น หนังสือประเภทวรรณกรรม

กระดาษปรู๊ฟ


กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูก เนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เน้นจำนวนการผลิตมาก ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน


กระดาษคาร์บอนเลส


เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วย เพื่อทำเป็นสำเนา กระดาษชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน


กระดาษกล่อง และกระดาษลูกฟูก


กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตามชนิดของกระดาษ เนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสี ถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่า แต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท


กระดาษแอร์เมล์


เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว


กระดาษพีวีซี


กระดาษชนิดนี้มีความทนทาน เนื้อเหนียว ส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตร และปกรายงาน

ทำไมถึงเรียกกระดาษเป็น แกรม ?



กระดาษใช้หน่วย "แกรม" มาจากภาษาอังกฤษว่า "grams" ภาษาไทยเราควรใช้คำว่า "กรัม" มากกว่า แต่คิดว่ามันดูไม่เท่ ผู้ผลิตจึงเรียกว่า "แกรม" แทน

กระดาษ 80 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 80 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น
กระดาษ 70 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 70 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องระบุขนาดของกระดาษเป็นหน่วยกรัม เพราะถ้ากำหนดเป็นความหนา จะทำได้ยากกว่าครับ จึงอาศัยน้ำหนักมาเป็นค่ามาตรฐานแทน







เมื่อพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรม กับ 60 แกรม คงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรม ที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง คำว่า แกรม นี้ก็คือ กรัม ( gram ) นั้นเอง เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวลกระดาษว่าเมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่งๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตร มาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม ( แกรม ) ฉะนั้น กระดาษขนาด 120 แกรม จึงหมายถึง กระดาษที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร 





ในทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย ( บาง ) จะทำให้แสงส่องผ่าน ได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้ามทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดีด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนด้วย ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดนึง แต่ก็จะทำให้หนังสือไมบางจนเกินไปดูแล้วสวยงาม แกรมที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรม 

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็นหน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก 


จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่างๆ

ใบเสร็จ สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary40 - 60 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด70 - 80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์120 - 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า210 - 300 แกรม




เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในงานพิมพ์ (Paper Story)

ทุกวันนี้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขนาด A เป็นขนาดมาตรฐานของ ISO 
ไอเดียของการออกแบบเริ่มต้นมีดังนี้ ในระบบมาตรฐาน ISO นั้น ขนาดกระดาษที่เรียกว่าได้มาตรฐาน จะมีอัตราส่วน ด้านยาว : ด้านกว้าง เป็น 1 : 1.4142 หรือ 1 ต่อ square-root 2 ด้วยอัตราส่วนนี้ จะทำให้การ คำนวนขนาดกระดาษ size ต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวก เพราะว่าถ้านำกระดาษที่มีอัตราส่วนนี้สองแผ่นมาวางต่อกันในด้านยาวแล้ว ก็จะได้กระดาษแผ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงอัตราส่วนเดิมอยู่คือ 1 ต่อ 1.4142 

ความแตกต่างระหว่างชนิด A,B,C

ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/ DIN ในขนาด มิลลิเมตร และ นิ้ว 

แบบกระดาษชนิด Aแบบกระดาษชนิด Bแบบกระดาษชนิด C
ขนาดมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้ว
0841 × 118933.1 × 46.81000 × 141439.4 × 55.7917 × 129736.1 × 51.1
1594 × 84123.4 × 33.1707 × 100027.8 × 39.4648 × 91725.5 × 36.1
2420 × 59416.5 × 23.4500 × 70719.7 × 27.8458 × 64818.0 × 25.5
3297 × 42011.7 × 16.5353 × 50013.9 × 19.7324 × 45812.8 × 18.0
4210 × 2978.3 × 11.7250 × 3539.8 × 13.9229 × 3249.0 × 12.8
5148 × 2105.8 × 8.3176 × 2506.9 × 9.8162 × 2296.4 × 9.0
6105 × 1484.1 × 5.8125 × 1764.9 × 6.9114 × 1624.5 × 6.4
774 × 1052.9 × 4.188 × 1253.5 × 4.981 × 1143.2 × 4.5
852 × 742.0 × 2.962 × 882.4 × 3.557 × 812.2 × 3.2
937 × 521.5 × 2.044 × 621.7 × 2.440 × 571.6 × 2.2
1026 × 371.0 × 1.531 × 441.2 × 1.728 × 401.1 × 1.6


a1 b1 c1





สารเติมแต่งกระดาษ

สารเติมแต่งที่ใช้ในน้ำยาเคลือบส่วนมากเป็นสารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อน  และมีหน้าที่เฉพาะที่ใช้กันในน้ำยาเคลือบ  ตัวอย่างเช่น  สารที่ช่วยทำให้กระจาย  สารช่วยอุ้มน้ำหรือสารปรับความหนืด  สารหล่อลื่น  สารป้องกันการละลายน้ำ  หรือสารช่วยให้เกิดพันธะระหว่างโซ่  สารกันบูด  สารปรับความเป็นกรด-ด่าง  สารต้านทานการซึมน้ำสารเพิ่มความขาวสว่าง  สีย้อม  และสารควบคุมการเกิดฟอง ส่วนสารอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วจะมีการใช้ในน้ำยาเคลือบน้อยมาก  เช่น  สารช่วยจับตัวที่มีประจุบวก   สารต้านการออกซิไดส์  พอลิเมอร์จับประจุ และพลาสติกไซเซอร์

  1. สารที่ช่วยทำให้กระจาย  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินดิเคต( indicate ) ใช้สำหรับกระจายตัวผงสีขาวและช่วยให้ผงสีกระจายตัวได้ในน้ำ มีทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โซเดียมพอลิอะคริลิก( sodium polyacrylic ) และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต ( tetra  sodium  polyphosphate,TSPP) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium polyacrylic )และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดืยมพอลิฟอสเฟต ( tera sodium polyphosphate,TSPP ) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium  hexameta phosphate ) สารที่ช่วยทำให้กระจายชนิดสารอนินทรีย์จะมีสมบัติการกระจายตัวที่ดีกว่าสารอนินทรีย์ โดยเฉพาะสารอินทรีย์จะทนต่อการกระจายตัวที่อุณหภูมิสูงและเวลาที่ปั่นนานได้ดี  แต่มีราคาแพงกว่าสารอนินทรีย์
  2. สารปรับความหนืด  ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อไปควบคุมความหนืด โดยเฉพาะการวัดความหนืดด้วยเครื่องวัดความหนืด  สารปรับความหนืดนี้จะเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของน้ำยาเคลือบทำให้ยาเคลือบหนืดขึ้น  สารที่ใช้ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(  carboxymethyl cellulose,CMC ) ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส( hydroxyetyl cellulose,HEC) หรือโซเดียมอัลจิเนต ( sodium alginate )แป้งที่มีความหนืดสูง และสารสังเคราะห์ประเภทอะคริลิก
  3.  สารหล่อลืน สารที่ใช้เป็นสารเคมีประเภทแคลเซียมสเตียเรต ( calcium  stearate ) นิยมใช้กันมากและสารประเภทนี้ยังช่วยควบคุมการเกิดฝุ่นในระหว่างที่มีการขัดผิวกระดาษด้วย  สารเคมีอื่นที่ใช้ คือ อิมัลชันพอลิเอทิลีน  แอมโมเนียมสเตียเรต พอลิเอทิลีนไกลคอล อิมัลชันไขและน้ำมันที่ผสมซัลเฟอร์( sulfonated oil )
  4. สารป้องกันการละลายน้ำ สารนี้จะใช้สายพอลิเมอร์ยึดเกาะกัน พบมากในน้ำยาเคลือบที่ใช้แป้งเป็นตัวยึดสำหรับการพิมพ์ประเภทออฟเซต  และในน้ำยาเคลือบที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองผสมอยู่ สารประเภทนี้จะช่วยป้องกันการขัดถูที่ผิวเมื่อเปียกได้ดี แต่ก่อนนิยมใช้สารประเภทเมลามีนหรือยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ต่อมาพบว่าสารทั้งสองจะปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารพวกแอมโมเนียมเซอร์โคเนียมคาร์บอเนตมาใช้งาน
  5. สารกันบูด ในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดธรรมชาติ เช่น แป้ง จำเป็นต้องใส่สารกันบูดเพื่อยึดอายุการใช้งานแต่จะพบน้อยในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีป้องกันเชื้อแบคทีเรีย  สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ฟีเนต (phenate)คลอโรฟีเนต( chlorophenate )
  6. สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ที่ใช้มาก คือ แอมโมเนีย และโซดาไฟ
  7. สารต้านทานการซึมน้ำและสารทำให้แยกตัว เป็นสารเคมีประเภทซิลิโคน สารเชิงซ้อนที่มีโครเมียม( chromium compiex ) และสารที่มีฟลูออไรด์ ( fluorochemical )
  8. ส่ารเพิ่มความขาวสว่าง ใช้เพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารเคมีประเภทอนุพันธ์ของสติวบีน ( stilbene derivative ) อนุพันธ์ของเบนโซฟีโนน( benzophenone derivative) และไดบิวทิลไดไทโอคาร์บาร์เมต ( dibtyldithio carbamate )สารเหล่านี้ใช้มากเพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง มีความขาวสว่างสูงขึ้น
  9. สีย้อม ที่ใช้มากจะเป็นประเภทสีฟ้าและสี่ม่วง เพื่อให้กระดาษเคลือบมองดูขาวขึ้น
  10. สารควบคุมการเกิดฟอง มีทั้งสารป้องกันการเกิดฟอง และสารลดฟอง( defoaming agent ) ในปัจจุบันการใช้งานจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก สารควบคุมการเกิอฟองมีทั้งประเภทละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการเกิดฟองดีมาก แต่ถ้าใช้สารควบคุมการเกิดฟองชนิดไม่ละลายน้ำมากเกินไปอาจมีปัญหาที่เรียกว่า ตกปลา ( fish eyes ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำมันบนกระดาษดั้งนั้นก่อนใช้น้ำยาเคลือบสามารถตรวจสอบปัญหาตาปลาได้โดยการนำน้ำยาเคลือบมาทดลองเคลือบลงบนแผ่นกระจกแล้วสังเกตการเกิดตาปลาบนผิวกระจก      

สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน

     เป็นสมบัติทางเชิงกลที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมของกระดาษที่เกิดขึ้นในขณะที่ได้รับแรงดึงซึ่งกระดาษแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันซึ่งสามารถอธิบายได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด( stress-strain plot ) ความเค้นในที่นี้ หมายถึง แรงที่กระทำให้วัตถุเกิดการยึดตัว ยกตัวอย่างเช่น แขวนตุ้มน้ำหนักไว้ที่ปลายลวด ลวดจะได้รับแรงดึงทำให้เกิดการยึดตัวขึ้น แรงที่กระทำเรียกว่า เทนไซล์สเตรส(tensile stress) มีหน่วยเป็นแรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น นิวตันต่อตารางเมตร( N/m2) ความเครียดในที่นี้ หมายถึง การยึดตัวของวัตถุเมื่อถูกแรงดึง หน่วยที่ใช้เป็นร้อยละ โดยคิดจากความยาวที่เพิ่มขึ้นต่อความยาวเดิมของวัตถุ เช่น วัตถุเดิมยาว 100 มิลลิเมตร หลังได้รับแรงดึงมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 105 มิลลิเมตร ดังนั้นวัตถุนี้จะมีความเครียดหรือความยึดเท่ากับร้อยละ 5 พฤติกรรมของกระดาษอธิบายจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดได้ ดังภาพที่ 9.27 จากภาพจะเห็นว่าค่าแรงดึงของแนวขนานเครื่องจะสูงกว่าแนวขวางเครื่องและความยึดตัวของแนวขวางเครื่องจะสูงกว่าแนวขนานเครื่องอันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียงตัวของเส้นใย ที่ระดับความยึดร้อยละ 0.005 ของกระดาษทุกชนิด ค่าความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงและความยึด จะเป็นสมการเส้นตรง โดยเมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะมีการยึดตัวออกและสามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกเรียกพฤติกรรมนี้กระดาษว่าพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นได้( elastic behavier ) แต่ที่ระดับความยึดตัวสูงกว่านี้กระดาษจะแสดงสมบัติคล้ายพลาสติก คือ เมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะยึดตัวออกแล้วไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออก ซึ่งเป็นลักษณะการยึดตัวของพลาสติก ที่ระดับความยึดร้อยละ0.022และ0.03 ซึ่งเป็นวงจรที่สองและสามของการยึดตัวและหดตัวของกระดาษ( straining-destrining cycles ) ในช่วงวงจรนี้กระดาษยึดตัวออกโดยมีแรงกระทำที่คงที่ แต่ไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกจะเห็นได้ว่ากระดาษสามารถแสดงสมบัติทั้งของยางและพลาสติกได้เมื่อได้รับแรงดึง( viscoselastic) จากเส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยึดต้ว สามารถจัดสมบัติเชิงกลพื้นฐาน โดยพิจารณาจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งของแรงดึงและความยึดตัวหรือทีอีเอ ( tensilr energy absorption,TEA) มีหน่วยเป็นพลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เช่น จูลต่อตารางเมตร(j/m2)กระดาษแต่ละชนิดจะมีพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยืดตัวต่างกัน ยกตัวอย่างดังภาพที่9.28 กระดาษ2 ตัวอย่างaและbจะมีค่าTEA ไม่เท่ากัน กระดาษA มีค่าแรงดึงสูงกว่ากระดาษb แต่กระดาษ Bจะมีค่า TEA สูงกว่ากระดาษ A ซึ่งมีค่าแรงดึงสูงกว่าทั้งนี้เป็นเพราะกระดาษ B มีค่าความยึดสูงกว่า A มาก จึงให้ค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากค่าแรงดึงและความยึดตัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น

การผลิตเยื่อกระดาษ

http://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlbs085/interEx/informate/thoub/images/k_prod7.jpg
การผลิตเยื่อกระดาษ
           วัตถุประสงค์ของการผลิตเยื่อก็เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกจากองค์ประกอบอื่นของไม้ การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีทางเคมีและเชิงกล  เยื่อที่ได้จะนำมาผ่านการฟอกขาว  สำหรับทำกระดาษที่ใช้เพื่อการสือสารต่างๆ  ซึ่งจะเห็นได้ว่าขั้นตอนนี้จะต้องประกอบด้วย กรรมวิธีการผลิตเยื่อ (Pulping Process) และการฟอกเยื่อ(Bleaching)







กระดาษทางการพิมพ์

http://www.wongtawan.com/wp-content/uploads/se_color.jpg
  1. กระดาษได้มาจากการนำเอาเส้นและส่วนที่ไม่ใช่ใยมาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ ให้เข้ากันแล้วนำไปทำแผ่นด้วยเครื่องจักรผลิตกระดาษ การผลิตกระดาษในอุตสาหกรรมนั้นประกอบไปด้วย5ขั้นตอน คือ เริ่มจากการผลิตเยื่อ การเตรียมน้ำเยื่อ  การทำแผ่นกระดาษ การปรับปรุงคณสมบัติกระดาษและการแปรรูป
  2. การเลือกกระเพื่อนำไปใช้ในงานต่างๆ ให้เหมาะสม ควรพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ ของกระดาษ เช่น ลักษณทางโครงสร้าง  สมบัติเชิงกล สมบัติด้านทัศนศาสตร์ และสมบัติด้านการกีดกันและต้านทานของกระดาษ
  3. กระดาษจะมีคุณภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการบดเยื่อ และระดับคุณภาพขององค์ประกอบที่ใช้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยเฉพาะความชื้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านมิติและสมบัติต่างๆ ของกระดาษ

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์