Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้น มีที่มาจากหลายบริษัท ดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมีความ แตกต่างกันได้ เช่น ในเรื่องของความชื้น การรับน้ำหมึก ความขาว ความหนา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิต ทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้
  1. น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง
  2. ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษ เนื่องจากกระดาษจะถูกดึง และกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทาน กระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้
  3. ความต้านทานต่อน้ำและความชื้น กระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสม และไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษที่เลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบาง หมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร
  4. ความชื้นของกระดาษ กระดาษที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลง
  5. สีสันของเนื้อกระดาษ การเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวล เป็นต้น
  6. ความทึบของกระดาษ เนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่ง หรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือก หากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้
  7. ลักษณะผิวกระดาษ ผิวกระดาษจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น ไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษ
  8. การเรียงตัวของเยื่อกระดาษ / เส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน





ทำไมถึงเรียกกระดาษเป็น แกรม ?



กระดาษใช้หน่วย "แกรม" มาจากภาษาอังกฤษว่า "grams" ภาษาไทยเราควรใช้คำว่า "กรัม" มากกว่า แต่คิดว่ามันดูไม่เท่ ผู้ผลิตจึงเรียกว่า "แกรม" แทน

กระดาษ 80 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 80 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น
กระดาษ 70 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 70 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องระบุขนาดของกระดาษเป็นหน่วยกรัม เพราะถ้ากำหนดเป็นความหนา จะทำได้ยากกว่าครับ จึงอาศัยน้ำหนักมาเป็นค่ามาตรฐานแทน







เมื่อพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรม กับ 60 แกรม คงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรม ที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง คำว่า แกรม นี้ก็คือ กรัม ( gram ) นั้นเอง เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวลกระดาษว่าเมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่งๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตร มาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม ( แกรม ) ฉะนั้น กระดาษขนาด 120 แกรม จึงหมายถึง กระดาษที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร 





ในทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย ( บาง ) จะทำให้แสงส่องผ่าน ได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้ามทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดีด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนด้วย ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดนึง แต่ก็จะทำให้หนังสือไมบางจนเกินไปดูแล้วสวยงาม แกรมที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรม 

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็นหน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก 


จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่างๆ

ใบเสร็จ สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary40 - 60 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด70 - 80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์120 - 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า210 - 300 แกรม




เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในงานพิมพ์ (Paper Story)

ทุกวันนี้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขนาด A เป็นขนาดมาตรฐานของ ISO 
ไอเดียของการออกแบบเริ่มต้นมีดังนี้ ในระบบมาตรฐาน ISO นั้น ขนาดกระดาษที่เรียกว่าได้มาตรฐาน จะมีอัตราส่วน ด้านยาว : ด้านกว้าง เป็น 1 : 1.4142 หรือ 1 ต่อ square-root 2 ด้วยอัตราส่วนนี้ จะทำให้การ คำนวนขนาดกระดาษ size ต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวก เพราะว่าถ้านำกระดาษที่มีอัตราส่วนนี้สองแผ่นมาวางต่อกันในด้านยาวแล้ว ก็จะได้กระดาษแผ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงอัตราส่วนเดิมอยู่คือ 1 ต่อ 1.4142 

ความแตกต่างระหว่างชนิด A,B,C

ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/ DIN ในขนาด มิลลิเมตร และ นิ้ว 

แบบกระดาษชนิด Aแบบกระดาษชนิด Bแบบกระดาษชนิด C
ขนาดมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้ว
0841 × 118933.1 × 46.81000 × 141439.4 × 55.7917 × 129736.1 × 51.1
1594 × 84123.4 × 33.1707 × 100027.8 × 39.4648 × 91725.5 × 36.1
2420 × 59416.5 × 23.4500 × 70719.7 × 27.8458 × 64818.0 × 25.5
3297 × 42011.7 × 16.5353 × 50013.9 × 19.7324 × 45812.8 × 18.0
4210 × 2978.3 × 11.7250 × 3539.8 × 13.9229 × 3249.0 × 12.8
5148 × 2105.8 × 8.3176 × 2506.9 × 9.8162 × 2296.4 × 9.0
6105 × 1484.1 × 5.8125 × 1764.9 × 6.9114 × 1624.5 × 6.4
774 × 1052.9 × 4.188 × 1253.5 × 4.981 × 1143.2 × 4.5
852 × 742.0 × 2.962 × 882.4 × 3.557 × 812.2 × 3.2
937 × 521.5 × 2.044 × 621.7 × 2.440 × 571.6 × 2.2
1026 × 371.0 × 1.531 × 441.2 × 1.728 × 401.1 × 1.6


a1 b1 c1





nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์