หมายถึง ความสามารถของกระดาษที่จะทนแรงดันได้สูงสุด เมื่อได้รับแรงกระทำในทิศทางตั้งฉากต่อผิวหน้ากระดาษ มีหน่วยเป็น กิโลปาสกาล(kPa) หรือ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรหรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว ความต้านแรงดันทะลุมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความต้านแรงดึงในแนวขนานเครื่อง ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการกระจายตัวของแรงที่มากระทำต่อชิ้นทดสอบอธิบายได้ดังนี้ จากการที่พื้นที่ทดสอบมีลักษณะเป็นวงกลม ในการทดสอบเมื่อเครื่องทดสอบทำงาน แผ่นไดอะแฟรมจะถูกดันให้โป่งขึ้นจนทำให้กระดาษแตกทะลุ ก่อนที่กระดาษจะแตกออก กระดาษจะเกิดการยึดตัวออกไปในทุกทิศทุกทาง แต่เนื่องจากกระดาษมีความยึดในแต่ละทิศทางไม่เท่ากัน ดังนั้นความสามารถในการรับแรงที่มากระทำจึงไม่เท่ากันทุกทิศทางไม่เท่ากันทุกทิศทาง แนวรอยแตกของชิ้นทดสอบที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะตั้งฉากกับแนวขนานเครื่องของกระดาษเพราะกระดาษมีการยึดตัวในแนวนี้ต่ำกว่าแนวขวางเครื่อง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถบอกได้ว่า แนวรอยแตกเป็นแนวเดียวกันกับแนวขนานเครื่องของกระดาษ กระดาษที่จำเป็นต้องตรวจสอบความต้านแรงดันทะลุ จะเกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ กระดาษผิวกล่อง ( linerboard )ซึ่งจะนำใช้ผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก ( corrugated board) หรือกล่องที่ใช้เพื่อการขนส่ง( shipping container ) หลักการในการตรวจสอบความต้านแรงทะลุ วางชิ้นทดสอบระหว่างปากจับบนและล่าง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นกลมมีช่องกลมตรงกลางแล้วเดินเครื่องทำงาน กลีเซอลีน( อยู่ภายในตัวเครื่อง) จะดันแผ่นยางไดอะแฟรมจนโป่งขึ้นดันจนกระดาษแตกทะลุ
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site
แผ่นกระดาษลูกฟูก
Posted by Ok-Workshop
Posted on 08:29
อุตสาหกรรมกระดาษได้มีการผลิตกระดาษชนิดต่างๆ ขึ้นมามากมายหลายชนิด เพื่อตอบสนองการใช้งานในด้านต่างๆแผ่นกระดาษลูกฟูกนับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษชนิดหนึ่งที่มีปริมาณการผลิตสูงที่สุด เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้ใช้แผ่นกระดาษลูกฟูกเป็นวัตถุดิบในการทำกล่องกระดาษลูกฟูก เพื่อใช้บรรจุ และขนส่งสินค้าต่างๆ เช่น สินค้าเพื่อการบริโภค สินค้าทางการเกษตร เสื้อผ้า ของเล่น และสารเคมีต่างๆ
การทำกระดาษลูกฟูกได้มีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2414 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยนาย โจนส์(Albert L. Jones) เพื่อใช้ห่อสินค้า เช่น พวกขวดแก้วเล็กๆ ซึ่งสิทธิบัตรนี้ควบคลุมเฉพาะกระดาษลูกฟูกซึ่งใม่มีผิวนอกปิดทับ ในปี พ.ศ. 2417 นายลอง (Oliver Long) ได้จดสิทธิบัตรกระดาษลูกฟูกซึ่งมีกระดาษผิวนอกปิดทับเพื่อใช้สำหรับห่อขวดและขวดโหลต่างๆ ต่อมาได้มีการใช้กระดาษลูกฟูกเพื่อใช้ห่อของกันอย่างแพร่หลายและมีการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูกในเชิงอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำกล่องกระดาษลูกฟูกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2437 โดยนายทอมสัน (Robert H. Thomson) และนายนอร์ริส(Henny D. Norris) สำหรับบรรจุและขนส่งสินค้าพอกตะเกียงและโคมไฟ
การทำกระดาษลูกฟูกได้มีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2414 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยนาย โจนส์(Albert L. Jones) เพื่อใช้ห่อสินค้า เช่น พวกขวดแก้วเล็กๆ ซึ่งสิทธิบัตรนี้ควบคลุมเฉพาะกระดาษลูกฟูกซึ่งใม่มีผิวนอกปิดทับ ในปี พ.ศ. 2417 นายลอง (Oliver Long) ได้จดสิทธิบัตรกระดาษลูกฟูกซึ่งมีกระดาษผิวนอกปิดทับเพื่อใช้สำหรับห่อขวดและขวดโหลต่างๆ ต่อมาได้มีการใช้กระดาษลูกฟูกเพื่อใช้ห่อของกันอย่างแพร่หลายและมีการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูกในเชิงอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำกล่องกระดาษลูกฟูกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2437 โดยนายทอมสัน (Robert H. Thomson) และนายนอร์ริส(Henny D. Norris) สำหรับบรรจุและขนส่งสินค้าพอกตะเกียงและโคมไฟ
แผ่นกระดาษลูกฟูกที่นำไปใช้ขึ้นรูปกล่องจะต้องผ่านขั้นตอนการพิมพ์เพื่อระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวสินค้าปริมาณบรรจุ ตลอดจนรูปภาพสินค้าต่างๆ เพื่อทำให้กล่องกระดาษมีความสวยงาม ดึงดูดผู้พบเห็น ปริมาณการใช้กล่องกระดาลูกฟูกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ดังนั้นปริมาณการใช้แผ่นกระดาษลูกฟูกจึงเพิ่มมากขึ้นตาม ในปัจจุบันแผ่นกระดาษลูกฟูกนับได้ว่าเป็นวัสดทางการพิมพ์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในวงการพิมพ์ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก