Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

หลักการพิมพ์ออฟเซต (The offset printing)

               การพิมพ์ออฟเซตเป็นวิธีการพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้เพื่อการ
พิมพ์เชิงพานิชประเภทสิ่งพิมพ์ทั่วไปและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่เป็นส่วนใหญ่การพิมพ์ออฟเซตมี
วิวัฒนาการมาจาก “การพิมพ์หินหรือการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ ” (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์ทางตรงใน
ลักษณะที่แม่พิมพ์สัมผัสวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยตรง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยส่งผ่านน้าและ
หมึกพิมพ์ไปบนแม่พิมพ์หิน เมื่อทาบวัสดุพิมพ์ซึ่งได้แก่กระดาษลงไปบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกดก็จะได้
ภาพและข้อความปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์ตามต้องการ ภาพและข้อความที่ปรากฏบนแม่พิมพ์จะเป็นภาพ
กลับซ้ายขวากับภาพและข้อความที่ปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์



ผู้คิดค้นการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่คือ อลัวส์ เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) บางครั้งอาจเรียก
วิธีการพิมพ์ออฟเซตว่า “ออฟเซตลิโทกราฟฟี่” (Offset Lithography) แต่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า
“ออฟเซต” ค้าว่าออฟเซตมีความหมายว่า “ทางอ้อม” โดยมีที่มาจากการถ่ายทอดภาพทางอ้อมจาก
แม่พิมพ์ผ่านตัวกลางที่เป็นผ้ายางก่อนที่จะสู่วัสดุใช้พิมพ์ แทนการถ่ายทอดโดยตรงจากแม่พิมพ์สู่วัสดุใช้
พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพและข้อความในการพิมพ์ออฟเซตจ้าเป็นจะต้องใช้แรงกดพิมพ์เช่นเดียวกันกับ
การพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ และการพิมพ์ระบบอื่น แต่แรงกดที่ใช้ควรน้อยที่สุดที่จะท้าให้เกิดการพิมพ์ได้
การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถพิมพ์ด้วยชั้นหมึกพิมพ์ที่บางและ
สม่้าเสมอรวมทั้งให้คุณภาพการพิมพ์ที่คมชัด นอกจากการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบน
วัสดุใช้พิมพ์ต้องผ่านยางโดยใช้แรงกดพิมพ์ที่พอเหมาะแล้ว การใช้ผ้ายางในการพิมพ์ออฟเซตช่วยให้
เกิดผลดีต่อคุณภาพงานพิมพ์ เนื่องจากผ้ายางมีความหยุ่นและนุ่มจึงสามารถรองรับรายละเอียดของภาพ
และข้อความได้มาก ดังนั้น เมื่อสัมผัสกับวัสดุใช้พิมพ์และใช้แรงกด ผ้ายางจึงสามารถถ่ายทอด
รายละเอียดของภาพและข้อความได้ดี ผลดังกล่าวจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพิมพ์ภาพ

สกรีน ความหยุ่นตัวของผ้ายางท้าให้การพิมพ์ภาพสกรีนด้วยวิธีการพิมพ์ออฟเซตมีคุณภาพดี ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเกิดความผิดเพี้ยนน้อย การพิมพ์ออฟเซตยังยังให้คุณภาพการพิมพ์ที่สวยงามเพราะไม่ก่อให้เกิดรอยเว้าที่ด้านหน้าหรือรอยนูนที่ด้านหลังของแผ่นพิมพ์ ดังเช่นในการพิมพ์เลตเตอร์เพรส อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซตให้มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ที่มีความสามารถและช้านาญงานสามารถปรับความสมดุลระหว่างหมึกและน้้าได้ตลอดระยะการพิมพ์และพิมพ์งานให้มีชั้นหมึกที่บางที่สุดและใช้น้้าน้อยที่สุดที่จะเกิดความอิ่มตัวของสีหมึกพิมพ์ได้มากที่สุด
แม่พิมพ์ออฟเซต เป็นแม่พิมพ์พื้นราบ ส่วนใหญ่ท้าจากอลูมิเนียมที่มีการเคลือบสารไวแสง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยอาศัยหลักการทางเคมีที่ไขมันและน้้าจะไม่รวมตัวกันหรือรวมตัวได้น้อย ในระหว่างการพิมพ์จะมีการจ่ายน้้าและหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดบริเวณภาพของแม่พิมพ์ที่มีคุณสมบัติในการรับหมึก ในขณะที่น้้าจะติดเฉพาะบริเวณไร้ภาพซึ่งมีคุณสมบัติรับน้้าและ
ต้านหมึกพิมพ์ น้้าที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซตเป็นน้้ายาฟาวเท่นที่มักเป็นสารละลายที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 5 - 20 เปอร์เซ็นต์
รู

เทคโนโลยีการพิมพ์ระบบ ยูวี เฟล็กโซ| UV Flexo Printing Technology




เทคโนโลยีกระบวนการทำงานในการพิมพ์ ระบบ เฟล็กโซ ยูวี ที่ได้มาตรฐาน

การพิมพ์โดยแม่พิมพ์พื้นแบน (planographic Printing)


               แม่พิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Plate)  การพิมพ์จะอาศัยหลักการทางเคมี  คือ  เมื่อจัดทำภาพบนแผ่นโลหะแบนแล้ว  คุณสมบัติที่ต้องการคือ  เมื่อทาหมึกลงบนแผ่นนั้นส่วนที่เป็นภาพจะดูดหมึกไว้  ส่วนที่ไม่มีภาพคือไม่ต้องการพิมพ์จะไม่ดูดหมึก  เมื่อนำไปกดทับกระดาษหมึกก็จะติดบนกระดาษเป็นภาพที่ต้องการได้  การพิมพ์แบบนี้เป็นที่นิยมมากเรียกว่าระบบออฟเซท (Offset)  เหมาะสำหรบการพิมพ์ตัวหนังสือและภาพหลายเส้น  ลงบนแผ่นกระดาษ  แผ่นโลหะ หรือผ้าก็ได้



คลิปวิดีโอกระบวนการผลิตของธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่รูปแบบการพิมพ์ที่ครบวงจร




วิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับสำหรับงานพิมพ์



การส่งไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์

หลังจากที่จัดทำไฟล์ต้นฉบับเสร็จและจัดเตรียมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งไฟล์ที่ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ซึ่งก็ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยมีหลักการเลือกใช้วิธีส่งไฟล์ดังต่อไปนี้ 

บันทึกลงแผ่น CD/DVD


วิธีบันทึกไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์ลงแผ่นเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกส่งไฟล์ได้ครั้งละมากๆ ราคา CD/DVD สำหรับไรท์ไม่แพง และทำสำเนาได้มากเท่าที่ต้องการ การบันทึกไฟล์ต้นฉบับด้วยการบันทึกลงแผ่น CD/DVD สามารถบันทึกไฟล์โดยตรงก็ได้ หรือจะเลือกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip หรื WinRAR เพื่อลดขนาดไฟล์ก่อนก็ได้ (กรณีที่บีบอัดไฟล์ทางผู้รับงานจะต้องมีโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR ด้วย เพื่อคลายไฟล์ออก) 

บันทึกใส่สื่อดิจิตอลอื่นๆ


นอกจากการบันทึกไฟล์ต้นฉบับลงแผ่น CD/DVD แล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอื่น อีกเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External Harddisk) แฟลชไดร์ฟหรือทัมฟ์ไดร์ฟ (Flash Drive or Thumb Drive) หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook) โดยสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถโอนไฟล์ต้นฉบับด้วยวิธีเหมาะสำหรับ กรณีที่เจ้าของอุปกรณ์นำงานไปส่งเอง แต่มีจุดด้วยเพราะไม่เหมาะกับการเก็บไฟล์งานแบบถาวร 

ส่งไฟล์ทางอินเตอร์เน็ต


การส่งไฟล์ต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ได้ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีรองรับ เช่น มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขนาดพื้นที่อีเมล์ใหญ่ขึ้น และแนบไฟล์ได้มากขึ้น มีบริการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล แบบออนไลน์ มีโปรแกรมลดขนาดไฟล์ และที่สำคัญมีไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์มาตรฐานสำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงและขนาดไฟล์เล็ก จากองค์ประกอบเหล่านี้ จึงทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ที่ต้องเดินทางไปส่งไฟล์เองมาก


โปรแกรมกราฟิกและการเตรียมไฟล์แต่ละชนิดของงานพิมพ์



ขั้นตอนการเตรียมไฟล์และการส่งไฟล์ต้นฉบับ


ขั้นตอนที่เป็นการเริ่มต้นอยู่ในส่วนของฝ่ายผลิตต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การเริ่มต้นขึ้นอยู่กับชิ้นงานว่าเป็นงานชนิดใด เพราะงานแต่ละประเภทจะผ่านขั้นตอนการผลิตต้นฉบับไม่เหมือนกัน หากเป็นงานโฆษณาจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ตีโจทย์ วางคอนเซ็ปต์ คิดคำประกอบ ถ่ายภาพประกอบ ถ่ายภาพประกอบ เขียนเนื้อเรื่อง และจัดทำต้นฉบับผ่านคอมพิวเตอร์




จากข้อมูลที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าทั้งงานโฆษณาและงานหนังสือ เมื่อมาถึงขั้นตอนสุดท้ายจะต้องมาจบที่คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อผลิตต้นฉบับให้เป็นไฟล์ชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ได้แก่ Adobe InDesign, Illustrator, Photoshop, Acrobat, PageMaker, Ouark และ Word



โปรแกรมกราฟิกและการเตรียมไฟล์แต่ละชนิด


สำหรับไฟล์ที่ได้จากโปรแกรมแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติและวิธีการเตรียมไฟล์ที่แตกต่างกัน โดยมีข้อมูลสำหรับแต่ละโปรแกรมดังนี้



Adobe InDesign

เป็นโปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับงานประเภทจัดหน้าทำหนังสือ หรืองานสิ่งพิมพ์บางชนิด การทำงานคล้ายกับมีโปรแกรม PageMaker และ IIIustrator มารวมกัน หากใครเคยใช้ทั้งสองโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว ก็จะปรับตัวมาใช้ได้ไม่ยาก สำหรับ InDesign นั้นมีโปรแกรมประเภทเดียวกันคือ PageMaker แต่ InDesign นั้นมีโปรแกรมที่กล่าวมาแล้วก็จะปรับตัวมาใช้ได้ไม่ยาก สำหรับ Indesign มีข้อดีเหนือกว่า PageMaker หลายด้าน เพราะมีการพัฒนาให้รองรับการวาดภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีกว่า ส่วนข้อด้อยที่กำลังได้รับการแก้ไข ก็คือเรื่องฟอนต์ภาษาไทย ซึ่งอีกไม่นานน่าจะหมดปัญหานี้




ส่วนวิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับของ InDesign สะดวกมาก เพราะมีคำสั่ง Package สำหรับรวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับงานชิ้นที่ต้องการ ตั้งแต่ไฟล์ภาพ ฟอนต์ที่ต้องใช้มารวมในที่เดียว หลังจากนั้นก็สามารถไรท์ต้นฉบับลงแผ่นส่งได้ทันที โดยไม่ต้องห่วงว่าจะลืมไฟล์ที่จำเป็น



Adobe Illustrator

Illustrator เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการวาดภาพ ผลิตไฟล์ต้นฉบับบรรจุภัณฑ์ ปกหนังสือ และสิ่งพิมพ์หลายชนิด การเตรียมไฟล์ควรเลือกใช้โหมด CMYK เป็นมาตรฐาน ส่วนภาพที่นำมาประกอบ (ภาพถ่าย ไฟล์ภาพอื่นที่ไม่ได้เกิดจาก Illustrator) การนำมาใช้ควรเลือกแบบ Link เพื่อลดขนาดของไฟล์ ส่วนตัวอักษรถ้าไม่มีการแก้ไขแล้วควรจะ Create Outline ให้เป็นลายเส้นป้องกันปัญหาฟอนต์ เมื่อตันฉบับเสร็จแล้วให้รวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไรที่ส่งฝ่ายผลิต



Adobe Photoshop

Photoshop คือหนึ่งในโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องมีติดตั้งไว้ Photoshop เป็นโปรแกรมมากความสามารถด้านจัดการแก้ไขและ เป็นโปรแกรมที่ในวงการผลิตสิ่งพิมพ์นิยมใช้ สำหรับผู้ทำต้นฉบับด้วย Photoshop มีสิ่งที่ต้องเน้นคือเรื่อง Resolution ซึ่งจะต้องใช้ค่า 300 Pixels/Inch ขึ้นไปเพื่อความคมชัด และใช้โหมดสี CMYK กับไฟล์ต้นฉบับ ส่วนเรื่องอื่นก็แล้วแต่ว่าผลิตต้นฉบับอะไร เช่น ถ้าทำต้นฉบับโปสเตอร์ก็ต้องมีการเผื่อตัดตกด้วย




สุดท้าย หลังจากที่ออกแบบไฟล์ต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็สามารถส่งไฟล์ที่เป็นไฟล์ PSD (ไฟล์เฉพาะของ Photoshop) หรือไฟล์ Tiff ไปให้ฝ่ายผลิตได้ โดยแนะนำให้บันทึก (Save) แบบรวมเลเยอร์ไป เพื่อป้องกันผู้อื่นนำงานของเรา ไปดัดแปลง ส่วนไฟล์ที่ไม่ได้รวมเลเยอร์ก็ให้เราเก็บไว้ เผื่อต้องการแก้ไขในภายหลัง



Adobe Acrobat Professional / distilier

โปรแกรม สำหรับแปลงไฟล์ต้นฉบับจากโปรแกรมอื่นให้เป็นไฟล์ PDF ที่เป็นไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานสากล ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง โดยเฉพาะงานสิ่งพิมพ์ เมื่อทำเป็นไฟล์ PDF แล้วขนาดไฟล์จะเล็กลงจนสามารถส่งต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องฟอนต์และภาพ (เมื่อทำทุกขั้นตอนถูกต้อง) แถมป้องกันการนำไฟล์ต้นฉบับไปแก้ไขได้ในระดับหนึ่งด้วย



Adobe PageMaker

โปรแกรม ด้านการจัดหน้าที่คุ้นเคยกับนักออกแบบมานาน PageMaker เป็นโปรแกรมจัดหน้าที่ใช้งานง่าย มีความสามารถในระดับที่ดี แต่ไม่มีการพัฉนาต่อมานานแล้วตั้งแต่เวอร์ชั่น 7 ดังนั้นการใชเทคนิคบางอย่างจึงต้องอาศัยโปรแกรม Photoshop และ Illustrator มาร่วมทำงานก็จะได้ผลงานที่สวยสมใจ โปรแกรมนี้เหมาะกับงานผลิตต้นฉบับหนังสือ แต่ก็สามารถทำงานสิ่งพิมพ์อื่นได้บ้าง ในส่วนของการส่งไฟล์ทำได้ 2 วิธี คือ การส่งเป็นไฟล์ PageMaker โดยตรง ซึ่งต้องรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดส่งไปด้วย เช่น ฟอนต์ ภาพที่ใช้ในงาน (ไม่แนะนำวิธีไม่ลิงก์ภาพ) หรือจะเลือกวิธีแปลงเป็นไฟล์ PDF ก็ได้



Quark Express Quark

โปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์ที่นิยมใช้ออกแบบหน้าหนังสือ เป็นโปรแกรมที่ใช้มากในฝั่งยุโรปและแคนาดา สำหรับในไทยไม่ค่อยนิยมจะเห็นใช้บ้าง ในวงการโฆษณาและหนังสือพิมพ์



Microsoft Word

เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่นักเขียนนิยมใช้ ส่วนมากใช้พิมพ์ต้นฉบับแล้วส่งไปให้ทีมออกแบบพัฒนาต้นฉบับให้สวยงาม แต่ถ้าหากไม่มีผู้ออกแบบให้ และไม่ถนัดการใช้โปรแกรมกราฟิกก็สามารถตกแต่งเองใน Word แล้วส่งพิมพ์ก็ได้ ซึ่งในผู้ชำนาญ Word บางกลุ่มก็สามารถทำให้งานออกมาดูสวยงามไม่แพ้ผลิตต้นฉบับจากโปรแกรมกราฟิกเลย



EPS

EPS เป็นชื่อไฟล์ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้เป็นไฟล์ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ได้มีคุณภาพสูง การแสดงผลบางโปรแกรมจะไม่ชัด แต่เมื่อพิมพ์จริงจะชัด (ยกเว้นภาพต้นฉบับที่ไม่ชัด) ไฟล์ชนิดนี้นิยมแปลงจาก Illustrator























diy วิธีการพิมพ์สกรีนภาพ4สี ลงบนเสื้อยืด (4 Color Process Print)

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์