คุณสมบิติต่างๆ เหล่านี้โดยสูตรหมึกพิมพ์ก่อนการผลิต แต่ควรมีการตรวจสอบให้แน่นอนหลังการผลิตโดยมีการตรวจสอบเป็นครั้งคราวนั้น การตรวจสอบสมบัติด้านการทนทานต่อไขมัน กรดและด่างจะกระทำโดยการปาดลากหมึกพิมพ์ที่ต้องการลงบนวัสดุพิมพ์ที่กำหนด จากนั้นนำชิ้นวัสดุพิมพ์แช่ในไขมันซึ่งอาจจะเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ตามแต่กำหนดหรือแช่ในน้ำกรดหรือด่างประมาณ 3 ชั่วโมง หลังจากทำการตรวจสอบชิ้นวัีสดุพิมพ์ที่ทดสอบ หากไม่มีลักษณะที่ฟิล์มของหมึกหลุดออกจากวัสดุพิมพ์ แสดงว่าหมึกพิมพ์ที่ผลิตมีคุณสมบัติต่อสิ่งที่ทดสอบ
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site
การทนความร้อนของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 18:08
ในงานพิมพ์วัสดุพิืมพ์สำหรับงานบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไป หมึกพิมพ์ที่ใช้ควรมีคุณสมบัติทนทานต่อความร้อน เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบรรจุซอง ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูง โดยปกติหมึกพิมพ์กาวัวร์กำหนดการทนความร้อนไว้ที่อุณหภูมิ 150 ถึง 200 องศาเซลเซียล การตรวจสอบการทนความร้อนต่อความร้อน อาศัยมาตรทำรอยผนึก (heat seal meter) มีลักษณะเป็นแท่งความร้อนหน้าตัดเรียบ สาืมารถกำหนดระยะเวลา อุณหภูมิและแรงกดในการตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบโดยมาตรวัดทำรอยผนึกแล้วจะพบว่าหมึกพิมพ์ที่ดีนั้น ณ บริเวณรอยผนึกหมึกต้องไม่หลุดออกจากวัสดุพิมพ์อย่างเด็ดขาด
การทนทานต่อการขีดข่วนและการขัดถูกของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:40
การตรวจสอบทำโดยการใช้เล็บของผู้ตรวจสอบเป็นตัววัดโดยการใช้เล็บขีดข่วนไปมาบนผิวฟิล์มของหมึกพิมพ์ที่ตรวจสอบ หมึกพิมพ์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการขีดข่วนจะให้ผิวฟิล์มที่แข็งแรงไม่หลุดลอกเป็นรอยตามการขูดขีดของเล็บ ส่วนคุณสมบัติด้านความทนทานต่อการขัดถูสามารถตรวจสอบโดยใช้คนหรือเครื่องทดสอบความทนทานต่อการขัดถู หมึกพิมพ์ที่ดีเมื่อถูกตรวจสอบความทนทานต่อการขัดถู ผิวฟิล์มของหมึกพิมพ์จะไม่หลุดลอกออกตามการเสียดสีของการถูกไปมาบนผิวฟิล์มนั้น