Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

หลักการพิมพ์ออฟเซต (The offset printing)

               การพิมพ์ออฟเซตเป็นวิธีการพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้เพื่อการ
พิมพ์เชิงพานิชประเภทสิ่งพิมพ์ทั่วไปและสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่เป็นส่วนใหญ่การพิมพ์ออฟเซตมี
วิวัฒนาการมาจาก “การพิมพ์หินหรือการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ ” (Lithography) ซึ่งเป็นการพิมพ์ทางตรงใน
ลักษณะที่แม่พิมพ์สัมผัสวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยตรง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยส่งผ่านน้าและ
หมึกพิมพ์ไปบนแม่พิมพ์หิน เมื่อทาบวัสดุพิมพ์ซึ่งได้แก่กระดาษลงไปบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกดก็จะได้
ภาพและข้อความปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์ตามต้องการ ภาพและข้อความที่ปรากฏบนแม่พิมพ์จะเป็นภาพ
กลับซ้ายขวากับภาพและข้อความที่ปรากฏบนวัสดุใช้พิมพ์



ผู้คิดค้นการพิมพ์ลิโทกราฟฟี่คือ อลัวส์ เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) บางครั้งอาจเรียก
วิธีการพิมพ์ออฟเซตว่า “ออฟเซตลิโทกราฟฟี่” (Offset Lithography) แต่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า
“ออฟเซต” ค้าว่าออฟเซตมีความหมายว่า “ทางอ้อม” โดยมีที่มาจากการถ่ายทอดภาพทางอ้อมจาก
แม่พิมพ์ผ่านตัวกลางที่เป็นผ้ายางก่อนที่จะสู่วัสดุใช้พิมพ์ แทนการถ่ายทอดโดยตรงจากแม่พิมพ์สู่วัสดุใช้
พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพและข้อความในการพิมพ์ออฟเซตจ้าเป็นจะต้องใช้แรงกดพิมพ์เช่นเดียวกันกับ
การพิมพ์ลิโทกราฟฟี่ และการพิมพ์ระบบอื่น แต่แรงกดที่ใช้ควรน้อยที่สุดที่จะท้าให้เกิดการพิมพ์ได้
การพิมพ์ออฟเซตเป็นการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากสามารถพิมพ์ด้วยชั้นหมึกพิมพ์ที่บางและ
สม่้าเสมอรวมทั้งให้คุณภาพการพิมพ์ที่คมชัด นอกจากการถ่ายทอดภาพและข้อความจากแม่พิมพ์ลงบน
วัสดุใช้พิมพ์ต้องผ่านยางโดยใช้แรงกดพิมพ์ที่พอเหมาะแล้ว การใช้ผ้ายางในการพิมพ์ออฟเซตช่วยให้
เกิดผลดีต่อคุณภาพงานพิมพ์ เนื่องจากผ้ายางมีความหยุ่นและนุ่มจึงสามารถรองรับรายละเอียดของภาพ
และข้อความได้มาก ดังนั้น เมื่อสัมผัสกับวัสดุใช้พิมพ์และใช้แรงกด ผ้ายางจึงสามารถถ่ายทอด
รายละเอียดของภาพและข้อความได้ดี ผลดังกล่าวจะเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพิมพ์ภาพ

สกรีน ความหยุ่นตัวของผ้ายางท้าให้การพิมพ์ภาพสกรีนด้วยวิธีการพิมพ์ออฟเซตมีคุณภาพดี ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากเกิดความผิดเพี้ยนน้อย การพิมพ์ออฟเซตยังยังให้คุณภาพการพิมพ์ที่สวยงามเพราะไม่ก่อให้เกิดรอยเว้าที่ด้านหน้าหรือรอยนูนที่ด้านหลังของแผ่นพิมพ์ ดังเช่นในการพิมพ์เลตเตอร์เพรส อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซตให้มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ที่มีความสามารถและช้านาญงานสามารถปรับความสมดุลระหว่างหมึกและน้้าได้ตลอดระยะการพิมพ์และพิมพ์งานให้มีชั้นหมึกที่บางที่สุดและใช้น้้าน้อยที่สุดที่จะเกิดความอิ่มตัวของสีหมึกพิมพ์ได้มากที่สุด
แม่พิมพ์ออฟเซต เป็นแม่พิมพ์พื้นราบ ส่วนใหญ่ท้าจากอลูมิเนียมที่มีการเคลือบสารไวแสง การถ่ายทอดภาพและข้อความท้าได้โดยอาศัยหลักการทางเคมีที่ไขมันและน้้าจะไม่รวมตัวกันหรือรวมตัวได้น้อย ในระหว่างการพิมพ์จะมีการจ่ายน้้าและหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดบริเวณภาพของแม่พิมพ์ที่มีคุณสมบัติในการรับหมึก ในขณะที่น้้าจะติดเฉพาะบริเวณไร้ภาพซึ่งมีคุณสมบัติรับน้้าและ
ต้านหมึกพิมพ์ น้้าที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซตเป็นน้้ายาฟาวเท่นที่มักเป็นสารละลายที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 5 - 20 เปอร์เซ็นต์
รู

เทคโนโลยีการพิมพ์ระบบ ยูวี เฟล็กโซ| UV Flexo Printing Technology




เทคโนโลยีกระบวนการทำงานในการพิมพ์ ระบบ เฟล็กโซ ยูวี ที่ได้มาตรฐาน

อนาคตของเทคโนโลยีการพิมพ์จะเป็นอย่างไร ? | The Future of Printing Technology



การพิมพ์โดยแม่พิมพ์พื้นแบน (planographic Printing)


               แม่พิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Plate)  การพิมพ์จะอาศัยหลักการทางเคมี  คือ  เมื่อจัดทำภาพบนแผ่นโลหะแบนแล้ว  คุณสมบัติที่ต้องการคือ  เมื่อทาหมึกลงบนแผ่นนั้นส่วนที่เป็นภาพจะดูดหมึกไว้  ส่วนที่ไม่มีภาพคือไม่ต้องการพิมพ์จะไม่ดูดหมึก  เมื่อนำไปกดทับกระดาษหมึกก็จะติดบนกระดาษเป็นภาพที่ต้องการได้  การพิมพ์แบบนี้เป็นที่นิยมมากเรียกว่าระบบออฟเซท (Offset)  เหมาะสำหรบการพิมพ์ตัวหนังสือและภาพหลายเส้น  ลงบนแผ่นกระดาษ  แผ่นโลหะ หรือผ้าก็ได้



วิธีการพิมพ์โดยแม่พิมพ์ร่องลึก (Intaglio Printing)




 วิธีการพิมพ์แบบนี้  จะทำแม่พิมพ์ โดยการกัดแบบให้เป็นร่องลงไปในแม่พิมพ์  ส่วนที่เป็นผิวเรียบด้านหน้าใช้น้ำยาเคลือบผิว เพื่อกันหมึกไหลมาเกาะ เมื่อนำหมึกทางลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะลงไปขังในร่องที่กัดไว้  หลังจากนั้นนำกระดาษที่ต้องการพิมพ์วางทับบน แม่พิมพ์  หมึกก็จะติดออกมาตามต้องการ  งานพิมพ์ประเภทนี้เป็นชนิดที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม  ตัวพิมพ์จะนูนทั้ง  ภาพลายเส้นและ ตัวหนังสือ  นิยมใช้พิมพ์เอกสารสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลงหรือทำเลียนแบบ





หมอบลัดเลย์ บิดาแห่งวงการพิมพ์ของไทย

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)เป็นหมอสอนศาสนา ชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุครคนที่ 5 ของ นายนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเป็นต้นแบบของหมอบลัดเลย์โดยเคยเป็นทั้ง หมอสอนศาสนา ผู้พิพากษา เกษตรกร และบรรณาธิการวารสารทางเกษตรกรรม ดังนั้นจึงสร้างเป็นแนวความคิดให้หมอบลัดเลย์ใฝ่ฝันอยากจะเผยแพร่ศาสนาอย่างผู้เป็นบิดาบ้างจึงตัดสินใจเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ เมื่อจบการศึกษาก็สมัครเป็นมิชชั่นนารีในองค์กร American Board of Commissioners of Foreign Missions(ABCFM) หมอบลัดเลย์เดินทางมาเผยแพร่ ศาสนาในประเทศไทยในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยได้แวะที่สิงคโปร์และได้รับชุดตัวพิมพ์ภาษาไทยที่ American Board of Commissioners of Foreign Missions ในประเทศสิงคโปรได้ซื้อไว้ ก่อนจะเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย

หมอบรัดเลย์บิดาแห่งวงการพิมพ์ไทย
                               ภาพจากหนังสือหมอบรัดเลย์กับการหนังสือพิมพ์แห่งกรุงสยาม(สนพ.ศิลปวัฒนธรรม)



ในระยะแรกหมอบลัดเลย์ได้อาศัยอยู่ในละแวกสัมพันธวงศ์โดยเปิดเป็นร้านจ่ายยา และช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวพระนคร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรี และได้รักษาพยาบาลคนเรื่อยมาโดยผลงานที่สำคัญคือการผ่าตัดผู้ป่วยคนไทยจนสามารถรักษาชีวิตเอาไว้ได้ถือว่าเป็นการผ่าตัดครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่วนในงานเผยแพร่ศาสนานั้นหมอบลัดเลย์ก็ไม่ได้ละเลย ยังคงเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์อยู่เรื่อยมาและการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นั้นจำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อช่วยให้คนเข้าอกเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาใหม่นี้ได้ง่ายขึ้นดังนั้นหมอบลัดเลย์จึงย้ายไปอาศัยอยู่ ข้างวัดประยูรวงศาวาส ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ที่มีทำเลดีและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่ศาสนา และได้ใช้ ตัวอักษรภาษาไทยที่ได้มาจากสิงคโปร์ในคราวที่แวะจอดเรือก่อนจะเข้ามาประเทศไทย งานชิ้นแรกที่ หมอบลัดเลย์พิมพ์เป็นภาษาไทยในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2382 คือ การพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่น ที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำขึ้นจำนวน 9,000 แผ่น ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารราชการไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์

ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่า บางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน 

องค์กรใหม่มีฐานะทางการเงินไม่สู้ดีเท่าทีควรจึงทำให้หมอบลัดเลย์ต้องหารายได้พิเศษโดยการพิมพ์หนังสือขาย เพื่อจุนเจือฐานะทางการเงิน โดยหนังสือที่พิมพ์ในช่วงนี้มีหลายหลายประเภททั้ง ตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมายทั้งยังพิมพ์เรื่องในวรรณคดีต่างๆเช่น ราชาธิราช สามก๊ก เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น เป็นต้นและในช่วงนี้เองที่ทำให้มีการซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเพื่อมาจัดพิมพ์วางจำหน่ายเป็นครังแรกในประเทศไทยเมื่อ หมอบลัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ของหนังสือ นิราศลอนดอนที่เขียนโดย หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เป็นเงิน 400 บาท ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 ทำให้หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยที่มีการซื้อขายลิขสิทธ์ตามแบบอย่างตะวันตก และสำนักพิมพ์ต่างๆก็ยังคงยึดถือหลักการนี้สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ที่มา http://vcharkarn.com/varticle/38234

ประวัติการพิมพ์ของในประเทศไทย

ในอดีตไทยใช้การเขียนบันทึกความรู้ต่างๆลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันระหว่างรุ่นสู่รุ่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ ปรากฎขึ้นในดินแดนสยามเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือว่าเป็นยุคหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้ชีวิตในสยามมากมาย ทั้งจีน แขก และฝรั่ง หนังสือในรูปแบบของการพิมพ์ตัวอักษรมาพร้อมกับหมอสอนศาสนาชาวต่างชาติที่มีเป้าประสงค์หลักคือการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภูมิภาคนี้ บาทหลวงที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในเรื่องการพิมพ์มากที่สุดในยุคนั้นคงไม่พ้นจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสนาม ลาโน (Mgr Laneau) ที่ได้จัดพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้นมาเผยแพร่ จนเป็นที่พอพระทัยในองค์พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในคราวที่ ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นราชทูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการงานพิมพ์ของฝรั่งเศสและแสดงความสนอกสนใจเป็นอย่างมากจนกระทั่งในกาลต่อมาพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้น ที่เมืองลพบุรีอันเป็นสถานที่พระองค์ใช้พำนักอยู่ในช่วงปลายรัชกาล แต่ กิจการงานพิมพ์ของสยามในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเมื่อมีเกิดการผลัดแผ่นดิน เป็นแผ่นดินของพระเพทราชา ที่ไม่ค่อยโปรดพวกมิชชั่นนารีเท่าทีควรเป็นเหตุให้พัฒนาการเกี่ยวกับการพิมพ์ของสยามในช่วงนั้นต้องหยุดชะงัดลงไปด้วย

  หนังสือใบลานในยุคเก่า
                                           ภาพจาก http://kanchanapisek.or.th


บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย


ประวัติความเป็นมาการพิมพ์ของโลก


ก่อนที่เราจะมีหนังสือเป็นแหล่งความรู้หลักอย่างเช่นในปัจจุบันนี้ หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการที่ยาวนานข้ามยุคข้ามสมัยมานานนับพันปี หนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ถือว่าเป็นความบันเทิงอย่างแรกๆของมนุษย์เรา แต่ในปัจจุบันเรามีสื่อที่หลากหลาขึ้น ทั้งในรูปของเสียง เช่น วิทยุ เพลง หรือภาพและเสียงอย่าง โทรทัศน์ DVD หรือสื่ออินเตอร์เนตที่มีเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลก

วิวัฒนาการของหนังสือเกิดขึ้นการจากที่มนุษย์ได้เรียนรู้ สิ่งต่างๆสั่งสมเป็นความรู้และประสบการณ์จนกระทั่งลงมือละเลงวาดสิ่งที่พบเห็นมาและวิถีชีวิตไว้บนผนังถ้ำอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำจึงเป็นทั้งที่อยู่ค่อยคุ้มแดดคุ้มฝนและภัยจากสัตว์ร้ายที่ยังมีอยู่ชุกชุมในอดีต ทั้งยังกลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่คอยบันทึกเรื่องราวผ่านยุคสมัยให้สืบทอดมายังปัจจุบัน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เราพบ ศิลปะภาพพิมพ์บนผนังถ้ำในประเทศฝรั่งเศส และสเปน ทั้งยังมีการค้นพบรูปสลักผนังถ้ำที่มีอายุเก่าแก่ต่างๆมากมายในถ้ำต่างๆ การแกะสลักภาพวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นถือว่าเป็นหลักฐานอย่างแรกในการ แกะแบบพิมพ์ของมนุษย์


42 - Line Bible เอกสารชิ้นแรกของโลกที่ผ่านระบบการพิมพ์
                                                                ภาพจาก http://gotoknow.org


เมื่อโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ราวก่อนคริสตกาลประมาณ 5,000 ปี มนุษย์ในแถบอารายธรรมเมโสโปเตเมียเริ่มรู้จักการใช้ ของแข็งกดลงบนดินเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายและตัวอักษร จนกระทั่งถึงอารยะธรรมกรีกโบราณที่แสนรุ่งโรจน์ใช้วิธีเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ที่ทำจากต้นบีช (Beech) หรือที่เรียกกันในภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า BOC จนเป็นที่มาของคำว่าBookในปัจจุบัน ในขณะที่อีกฟากของอารยะธรรมอย่างในดินแดนตะวันออก ผู้นำอารยะธรรมอย่างจีน ก็เริ่มมีการบันทึกตัวอักษรลงบนแผ่นไม้ และใบลานตั้งแต่ก่อนคริสตกาลประมาณ 1,300 ปี

หลังจากนั้นมนุษย์มีวิวัฒนาการที่นำหนังสัตว์มาใช้แทนกระดาษ โดยผ่านการฟอกและขัดจนเรียบใช้ทำเป็นม้วนบันทึกเรื่องราวต่างๆลงบนแผ่นหนังจนกระทั่ง ในพ.ศ.648( ค.ศ. 105) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) ได้คิดค้นวิธีทำกระดาษจนกระดาษได้กลายเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในการบันทึกเรื่องราวต่างๆอย่างเช่นในปัจจุบัน ในบรรพกาลปราชญ์ชาวจีนคิดค้นสิ่งต่างๆที่มีประโยชน์ได้ ก่อนชาวยุโรปมามกมายหลายสิ่งแต่ขาดการพัฒนาการที่ต่อเนื่องทำให้ล้าหลังและองค์ความรู้ไม่ได้ต่อยอดเท่าทีควร เช่น การที่จีนรู้จักคิดค้นดินประสิวก่อนชาติใดในโลก การสร้างเรือสำเภา กระดาษอันเป็นวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการบันทึกสิ่งต่างๆก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่ปราชญ์ชาวที่จีนได้คิดค้นขึ้น แต่ขาดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม

จนกระทั่งการใช้กระดาษเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ในยุโรปเองก็ต้องการบันทึกความรู้และเรื่องราวต่างๆมากขึ้นจนในราวคริตศตวรรษที่ 15 โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ได้พัฒนาแม่แบบสำหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว ๆ ซึ่งนำมาเรียงต่อกันได้เป็นประโยคและสามารถพัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์ได้จนสำเร็จทำให้การพิมพ์ย่างก้าวเข้าสู่ยุคการพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิวัติครั้งสำคัญของวงการการพิมพ์ ผลงานอันมีชื่อเสียงของกูเต็นเบิร์ก คือ คัมภีร์ 42 บรรทัด (42 - Line Bible) ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1998 (ค.ศ. 1455)

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์