Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การเตรียมเซรามิกเพื่อการพิมพ์

  การเตรียมเซรามิกเพื่อพิมพ์จะผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกระบวนการผลิตเซรามิก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมส่วนผสมของเนื้อผลิตภัณฑ์( body preparation )
2. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์( forming)
3. การอบแห้ง( drying )
4. การเผาดิบ( bisque firing )
5. การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ( underglaze decoration )
6.การเคลือบ( glazing )
7.การเผาเคลือบ( glost  firiin )
8.การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ( overglaze decoration )
9.การอบสี( decorating fire )
10.การตรวจสอบคุณภาพ ( inspection )
  การเตรียมเนื้อผลิตภัณฑ์ เป็นการนำวัตถุดิบต่างๆ เช่น ดินขาว ดินเหนียว หินฟันม้า ทรายแก้ว ผสมกับน้ำบดให้ได้ความละเอียดตามต้องการ ผ่านตะแกรงกรองเข้าเครื่องแยกสารเหล็ก จากนั้นเข้าสู่บ่อพัก สารที่ได้เรียกว่า น้ำดิน น้ำดินที่ได้ในขั้นนี้สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อแบบในขั้นตอนต่อไปได้ หรือนำน้ำดินเข้าเครื่องอัดไล่น้ำออกจากดิน ได้ดินออกมาเป็นแผ่น และเข้าเครื่องนวดจะได้ดินที่มีความเหนียวเหมาะกับการขึ้นรูป บางวิธีนำน้ำดินเข้าเครื่องพ่นให้เป็นเม็ดฝุ่น( spray dryer ) ซึ่งนิยมใช้ในการทำกระเบื้องโดยจะนำเม็ดฝุ่นเข้าเครื่องอัดเป็นแผ่นในการขั้นการขึ้นรูป ส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ ข้างต้นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันนั้น โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า เนื้อดินปั้นหรือเนื้อผลิตภัณฑ์( body )ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นรูปต่อไป
  การขึ้นรูป คือ การนำผลิตภัณฑ์มาปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามตามต้องการ การขึ้นรูปมีหลายวิธีเช่น การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การหล่อแบบ และการอัด
  การอบแห้ง นั้นจะกระทำหลังจากการขึ้นรูปแล้ว จะมีการตกแต่งให้มีความเรียบร้อย เช่น ลบรอยตะเข็บ ส่วนเกินออก หรือมีการแกะลวดลายลงในผลิตภัณฑ์ดิบ จากนั้นจะนำไปผึ่งให้แห้งหรือนำเข้าเตาอบ เพื่อไล่ความชิ้นออกไปก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
  การเผาดิบ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เซรามิกบางประเภท หรือผลิตภัณฑ์ดิบบางชนิดจะผ่านขั้นตอนการเผาดิบก่อนการเคลือบ เนื่องจากการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์หรือดินปั้น ทำให้ลดปริมาณการสูญเสียลงจากการแตกเสียหายเวลานำไปเคลือบ และการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดินที่ได้มีความพรุนตัวดีจึงสามารถดูดซึมน้ำยาเคลือบได้ดีขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์โอ่งราชบุรี จะไม่นำไปเผาดิบ แต่จะนำไปอบให้แห้งหรือถ้าไม่เข้าอบก็จะต้องทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งสนิทจึงนำไปเคลือบได้
  การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ เป็นการตกแต่งให้เกิดสีลวดลายต่างๆโดยการเขียนด้วยมือ ใช้รูปลอกการพิมพ์ การตกแต่งลวดลายนี้จะทำก่อนการเคลือบ จึงเรียกว่า การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ
  การเคลือบ เป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้วเคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภํณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ลงในถังน้ำยาเคลือบ การพ่นเคลือบ การเทราด แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์
  การเผาเคลือบจะกระทำหลังจากผ่านขั้นตอนการเคลือบแล้ว ผลิตภัณฑ์จะถูกลำเลียงเข้าสู่เตาเผา เพื่อเผาเคลือบ อุณหภูมิการเผาเคลือบจะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ผลิตภัณฑ์บางชนิดต้องการลวดลายต่างๆบนเคลือบอีกชั้น หรือต้องการมีสีสันสดใสต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ จะมีสีหลายสีและเป็นลวดลสายต่างๆ สวยงาม เกิดจากการเขียนลวดลายด้วยสีเซรามิกตามแบบที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ถ้วย จาน อาจจะมีการพิมพ์ลาย ติดรูปลอกหรือเขียนด้วยมือ บนผิวเคลือบอีกครั้ง
  การตรวจสอบคุณภาพ ในการผลิตควรมีการตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมวิธีการผลิตแล้ว ก่อนนำไปบรรจุหีบห่อ และส่งขายต่อไปนั้น ควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบการทำงาน การชำระล้าง การรั่วซึม ถ้าเป็นกระเบื้องควรมีการตรวจสอบขนาดด้วย การบิดเบี้ยว การดูดซึมน้ำ การทนทานต่อสารเคมี ความแข็งแกร่ง
  การอบสี หลังจากตกแต่งลวดลายบนเคลือบแล้วจะนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้เข้าอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ700-1200 องศาเซสเซียส อุณหภูมิการอบสีแล้วแต่ชนิดของสีที่ใช้ เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ หรือสุกตัวอยู่ในเคลือบ

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์