Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในงานพิมพ์ (Paper Story)

ทุกวันนี้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขนาด A เป็นขนาดมาตรฐานของ ISO 
ไอเดียของการออกแบบเริ่มต้นมีดังนี้ ในระบบมาตรฐาน ISO นั้น ขนาดกระดาษที่เรียกว่าได้มาตรฐาน จะมีอัตราส่วน ด้านยาว : ด้านกว้าง เป็น 1 : 1.4142 หรือ 1 ต่อ square-root 2 ด้วยอัตราส่วนนี้ จะทำให้การ คำนวนขนาดกระดาษ size ต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวก เพราะว่าถ้านำกระดาษที่มีอัตราส่วนนี้สองแผ่นมาวางต่อกันในด้านยาวแล้ว ก็จะได้กระดาษแผ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงอัตราส่วนเดิมอยู่คือ 1 ต่อ 1.4142 

ความแตกต่างระหว่างชนิด A,B,C

ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/ DIN ในขนาด มิลลิเมตร และ นิ้ว 

แบบกระดาษชนิด Aแบบกระดาษชนิด Bแบบกระดาษชนิด C
ขนาดมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้ว
0841 × 118933.1 × 46.81000 × 141439.4 × 55.7917 × 129736.1 × 51.1
1594 × 84123.4 × 33.1707 × 100027.8 × 39.4648 × 91725.5 × 36.1
2420 × 59416.5 × 23.4500 × 70719.7 × 27.8458 × 64818.0 × 25.5
3297 × 42011.7 × 16.5353 × 50013.9 × 19.7324 × 45812.8 × 18.0
4210 × 2978.3 × 11.7250 × 3539.8 × 13.9229 × 3249.0 × 12.8
5148 × 2105.8 × 8.3176 × 2506.9 × 9.8162 × 2296.4 × 9.0
6105 × 1484.1 × 5.8125 × 1764.9 × 6.9114 × 1624.5 × 6.4
774 × 1052.9 × 4.188 × 1253.5 × 4.981 × 1143.2 × 4.5
852 × 742.0 × 2.962 × 882.4 × 3.557 × 812.2 × 3.2
937 × 521.5 × 2.044 × 621.7 × 2.440 × 571.6 × 2.2
1026 × 371.0 × 1.531 × 441.2 × 1.728 × 401.1 × 1.6


a1 b1 c1





สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ


  สมบัติเชิงกลของกระดาษเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักย์ภาพในการใช้งานกระดาษ ซึ่งหมายถึง การที่กระดาษมีความทนทานต่อการใช้งาน(  durability   ) และความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทำในลักษณะต่างๆเช่น แรงดึง  แรงเฉือน  แรงบิด  และแรงที่ทำให้กระดาษโค้งงอ  ซึ่งแรงเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายขั้นตอนตั้งแต่การผลิตกระดาษ  การแปรรูปจนถึงการใช้งาน  กระดาษจะตอบสนองแรงที่มากระทำเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกระดาษ  ซึ่งสามารถวัดออกมาได้ในรูปของเชิงกลได้ ดังนั้นในการเลือกกระดาษเพื่อนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงสมบัติทางเชิงกลของกระดาษด้วย
            สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ แบ่งเป็น 2  ประเภท คือ
            1.   สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน และ
             2.  สมบัติทางเชิงกลประยุกต์
             สมบัติทางเชิงกลพื้นฐานจะพิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏให้เห็นของกระดาษในขณะรับแรงที่มากระทำซึ่งจะสัมพันธ์กับทฤษฏีว่าด้วยการเสียรูปของกระดาษที่เกิดจากการรับแรง( mechanical  deformation  )  ส่วนสมบัติทางเชิงกลประยุกต์จะพิจารณาจากสมบัติทางเชิงกลต่างๆ ของกระดาษ ซึ่งมีการทดสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์