หมายถึง ความสามารถในการรับแรงดึงสูงสุดที่กระดาษจะทนได้ก่อนจะขาดออกจากกัน มีหน่วยเป็นแรงต่อความกว้างฃองกระดาษที่ใช้ทดสอบ เช่น กิโลนิวตันต่อเมตร(KN/m) หรือปอนด์ต่อนิ้ว( lb/in ) ค่าที่วัดได้จะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความทนทานและศ้กยภาพในการใช้งานของกระดาษ ซึ่งต้องรับแรงในขณะใช้งาน เช่น เพื่อการห่อของ ทำถุง ทำม้วนเทป โดยทั่วไปแล้วค่าต่ำสุดของความต้านแรงดึงของกระดาษแต่ละชนิดต้องการเพียงเพื่อไม่ให้แผ่นกระดาษฉีกขาดระหว่างการแปรรูปเพื่อใช้งาน เช่น การใช้กระดาษม้วนป้อนงานพิมพ์ นอกจากนี้ยังนำไปใช้สำหรับกระดาษที่ต้องการความต้านแรงดึงขาดเมื่อเปียก ( wet-tensile strength ) เพื่อให้แน่ใจว่ากระดาษไม่ยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำในขณะใช้งาน โดยการตรวจสอบความต้านแรงดึงขาดขณะที่กระดาษยังเปียกอยู่ หลักการในการตรวจสอบความต้านแรงดึง นำกระดาษที่ได้รับการต้ดแล้วตามมาตรฐานทดสอบโดยยึดไว้ ระหว่างปากจับชิ้นทดสอบ ปากจับชิ้นทดสอบจะเคลื่อนที่ดึงจนชิ้นทดสอบขาด โดยดึงด้วยตวามเร็วคงที่ เครื่องทดสอบแบบนี้เรียกว่า แบบลูกตุ้ม( pendulum type )เป็นการดึงให้กระดาษขาดด้วยอัตราการยึดตัวคงที่( constant straining rate) ที่วัดโดยปากจับข้างหนึ่งจะตรึงนิ่งอยู่กับที่ ส่วนอีกข้างหนึ่งเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วคงที่ เครื่องทดสอบแบบนี้เรียกว่า เครื่องทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ สมบัติการยึดตัวของกระดาษนับว่ามีความสำคัญมากดังที่ได้กล่าวในสมบัติทางเชิงกลพื้นฐานเกี่ยวกับค่า TEA ของกระดาษแล้ว ค่าตวามยึดที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการเพิ่ม TEA ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกศักย์ภาพการใช้งานของกระดาษชนิดพิเศษที่ต้องการมีความสูงมากพอที่จะทนแรงที่มากระทำได้ เช่น กระดาษที่ใช้ทำถุงหลายชั้น เพราะกระดาษที่มีความยึดสูงจะไม่แตกเปราะง่าย การที่กระดาษมีค่าแรงดึงสูงเพียงอย่างเดียวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะการใช้งานของกระดาษชนิดนี้ เพราะกระดาษจะเกิดการแตกเนื่องจากไม่มีความแข็งแรงพอจะรับแรงมากระทำให้เกิดยึดตัวได้ ความยึดของกระดาษสามารถเพิ่มได้โดยเพิ่มการบดเยื่อ แต่ถ้าต้องการเพิ่มความยึดของกระดาษให้สูงขึ้นอีสามารถทำได้โดยการทำให้กระดาษย่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดรอยย่นขนาดเล็ก ( microcrepe ) บนผิวกระดาษ กระดาษยึดพิเศษ ( extensible paper ) กระดาษชนิดนี้จะให้ค่า TAE สูง เปรียบเทียบค่า TEA ของกระดาษทำถุงหลายชั้น และกระดาษยึดพิเศษจะสูงกว่ากระดาษทำถุงหลายชั้น
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site