Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ความเป็นมาของการออกธนบัตรและการพิมพ์ธนบัตร

รัฐบาลไทยได้จ้างบริษัทโทมัส เดอ ลา รู ของอังกฤษพิมพ์ธนบัตรไทย และเริ่มนำธนบัตรออกใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และได้หันมาพิมพ์เองในประเทศและให้ญี่ปุ่น จัดพิมพ์ให้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่น ได้ยาตราทัพเข้ามาในประเทศไทย หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ บริษัทโทมัส เดอ ลา รู ได้รับความเสียหายไม่สามารถกลับมาพิมพ์ธนบัตรให้ประเทศไทยได้ รัฐบาลได้ว่าจ้างบริษัททิวดอร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้จัดพิมพ์ให้ จนถึงพ.ศ. ๒๔๙๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรับหน้าที่ในการจัดพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาลจึงได้หวนกลับไปว่าจ้างบริษัทโทมัส เดอ   ลา รู ของอังกฤษ จัดพิมพ์ธนบัตรไทยอีกครั้ง จนกระทั่งมีการตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้เริ่มพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศสืบมาจนทุกวันนี้
          การออกธนบัตรจะต้องเป็นไปตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้ธนบัตรเป็นที่เชื่อถือของประชนชน นั่นคือ เป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติเงินตรา

          ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำธนบัตรออกใช้ได้ใน ๒ กรณี คือ
          ๑. แลกกับธนบัตรชำรุด
          ๒. แลกกับสินทรัพย์ในจำนวนที่เท่ากัน สินทรัพย์จำนวนนี้หมายถึง ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ต่างประเทศ หลักทรัพย์รัฐบาลไทย และหลักทรัพย์อื่น จำนวนสินทรัพย์ทั้งหมดส่วนที่เป็นทองคำ เงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์ต่างประเทศทั้งหมด จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของธนบัตรที่นำออกใช้ทั้งสิ้น

          ธนบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำออกใช้ เป็นธนบัตรของรัฐบาลมีคำว่ารัฐบาลไทยอยู่บนธนบัตร ตามกฎหมายตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกธนบัตรของตนเองได้ เรียกว่า บัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยออกบัตรธนาคารครั้งแรก เป็นธนบัตรฉบับละ  ๖๐ บาท ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ และออกในโอกาสพิเศษ คือ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ บุคคลทั่วไปจึงไม่นำออกใช้ ส่วนธนบัตรชนิดราคาอื่นๆ ยังเป็นธนบัตรของรัฐบาลเช่นเดิม



ที่มา http://guru.sanook.com/

ความหมายและประวัติความเป็นมาของธนบัตร

 

ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้จัดทำ "หมาย" ขึ้นมีราคาต่างๆ กัน ตั้งแต่ ๑ บาท เป็นลำดับลงมาจนใบละเฟื้อง โดยพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษและประทับตราพระราชลัญจกร ๓ ดวง และยังทรงให้สร้างใบ "พระราชทานเงินตรา" อีกแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายเช็คในปัจจุบัน นับได้ว่ามีการใช้เงินตราทำด้วยกระดาษขึ้นในเมืองไทยเป็นครั้งแรกอันเป็นต้นตอของธนบัตร



          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้มีการออกอัฐกระดาษขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงได้เลิกไป จนปี พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงได้ออกธนบัตรชนิดละ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท การจัดพิมพ์ธนบัตรได้จ้างพิมพ์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น คือจ้างบริษัทโทมัส เดอ ลา รู (Thomas de la Rue) จากประเทศอังกฤษ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมติดขัด
          ประกอบกับประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษด้วย ทำให้ไม่สามารถจ้างพิมพ์ธนบัตรที่เดิมได้ จึงได้จ้างพิมพ์จากแหล่งอื่นๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และพิมพ์ขึ้นเองในประเทศไทยธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นเองในยุคนั้น พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก แต่พิมพ์ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน จึงต้องจ้างพิมพ์ในโรงพิมพ์อื่นๆ ทั้งของส่วนราชการและของเอกชนในประเทศด้วย




          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว มีการกลับไปจ้างพิมพ์ธนบัตรจากต่างประเทศอีกและได้มีการเปลี่ยนแหล่งจ้างพิมพ์ การพิมพ์ธนบัตรนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของบ้านเมือง รัฐบาลจึงได้มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการศึกษาและจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรเพื่อพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองในเมืองไทย คือได้มีการสร้างโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นในสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทยและทำพิธีเปิดดำเนินการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยเริ่มพิมพ์ธนบัตรฉบับละ ๕ บาทออกมาก่อนและทยอยพิมพ์ฉบับที่มีมูลค่าสูงๆ ขึ้นไปออกมาตามลำดับและได้พิมพ์ธนบัตรฉบับ ๕๐๐ บาทออกใช้ด้วยในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการจัดพิมพ์บัตรธนาคารออกมาเป็นพิเศษมีมูลค่าฉบับละ ๖๐ บาท เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ




กรรมวิธีพิมพ์ธนบัตรใบละ $100 Dollar US ที่ถูกออกแบบใหม่ด้วยระบบเครื่องจักรสำหรับพิมพ์ธนบัตร

ขั้นตอนพิมพ์แบงค์$20 ของUS ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ธนบัตรโรงพิมพ์ธนบัตรของสหรัฐอเมริกา

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์