Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ระบบการพิมพ์ Offset (ออฟเซต)


อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) 
Offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้น ลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึก และผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน 

ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หิน ได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์ จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้ง โอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ้์ (plate cylinder) โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder) กับโมกดพิมพ์ (imoression cylinder)

ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า "ลิโธกราฟี" (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ "ออฟเซต" (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า "ออฟเซตลิโธกราฟี" (offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ 


สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับ Offset

ระบบออฟเซต เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบันเพราะให้งานพิมพ์ที่สวยงามมีความคล่องตัวในการจัดอาร์ตเวอร์ค และไม่ว่าจะออกแบอย่างไรการพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไปประกอบกับ ความก้าวหน้าในการทำฟิล์มและการแยกสีในปัจจุบัน ทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งถูกลง สิ่งพิมพ์ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซตควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 

สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ Offset
  1. มีจำนวนพิมพ์ตั้งแต่ 3,000 ชุด ขึ้นไป
  2. มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟ มาก
  3. ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์
  4. ต้องการความประณีต สวยงาม
  5. เป็นการพิมพ์ หลายสี หรือภาพ สี่สีที่ต้องการความสวยงามมากๆ
  6. มีงานอาร์ตเวอร์คที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก
  7. มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ

ระบบการพิมพ์ Digital (ดิจิทัล)


แต่เดิมเราอยากจะทำสื่อสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือที เป็นเรื่องใหญ่ ไหนจะต้องหาโรงพิมพ์ หาคนจัดทำหน้า หอบไฟล์งานไปโรงพิมพ์ นั่งรอเป็นวันกว่าจะได้แผ่นงานออกมาพรูฟดูความถูกต้อง รอผลิตงานเป็นอาทิตย์ และที่สำคัญเราไม่สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนน้อย หรือตามจำนวนที่เราต้องการจริงได้ บางทีพิมพ์งานออกมาจำนวนมหาศาลทำลายกระดาษมากมายแล้วก็เอามาทิ้งเพราะไม่ได้ใช้งาน

ปัจจุบันปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้หมดไป โดยระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล การพิมพ์แบบดิจิตอล คือ การพิมพ์จากไฟล์งานโดยตรงผ่านเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย ไม่ต้องมานั่งสร้างเพลทแยกสีในการพิมพ์เหมือนการพิมพ์แบบออฟเซต
ดังนั้นการพิมพ์แบบดิจิตอลจึงลดขบวนการทำที่ยุ่งยากไปได้มาก




• ประหยัดเวลา
แค่นำไฟล์งานไปเข้าเครื่องพิมพ์ ระบบก็จะทำการพรูฟออกมาให้เห็นทางหน้าจอ และรอที่จะผลิตได้เลย ขบวนการทั้งหมดในการพิมพ์ใช้เวลาไม่กี่วัน

• ประหยัดทรัพยากร
ต้องการ 100 เล่ม ก็พิมพ์แค่ 100 เล่ม ไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ

ระบบการพิมพ์ Inkjet (อิ้งเจ็ท)



เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามความต้องการของเรา

ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

Inkjet Indoor

Inkjet Indoor เป็นงานติดตั้งภายในอาคารหรือที่ที่แดดไม่ส่อง เน้นรายละเอียดความขมชัดของงาน ความละเอียดสูงถึง1200 Dpi เป็นงานใกล้สายตา เหมาะสำหรับงานโฆษณา โปรโมชั่น งานตกแต่งหน้าร้าน นิทรรศการ หรือ เปิดตัวสินค้า

Inkjet Outdoor

Inkjet Outdoor เป็นงานติดตั้งภายนอกอาคาร มีความละเอียด 720 Dpi – 1400 Dpi
700 Dpi เหมาะกับงานลักษณะเป็นตัวหนังสือและขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 ตารางเมตร สำหรับระยะการมองที่ 2 เมตรเป็นต้นไป
1400 Dpi เหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงมองในระยะใกล้ได้อย่างคมชัด
Inkjet Outdoor เหมาะสำหรับงานป้ายภายนอกอาคาร ที่มีความคงทน เช่น ป้าย Billboard ขนาดใหญ่ และ โฆษณาติดข้างรถต่างๆ

แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี




ประวัติความเป็นมาของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี กล่าวว่าในปี พ.ศ.2313 หรือ ค.ศ.1770 มีนักเคมีชาวอังกฤษ


ชื่อว่า โจเซฟ เพรสเลย์ (Joseph Presley) ค้นพบว่าลาเทกซ์หรือน้ำยางที่แข็งตัวด้วยความร้อนนั้นสามารถนำมาลบรอยดินสอได้ เขาจึงตั้งชื่อว่า ยางลบ (rubber)


อีก 69 ปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2382 หรือ ค.ศ. 1893 นายชาร์ลส กูดเยียร์ (Charles Goodyear) ได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้ยางดิบแข็งขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยได้ทำการทดลองผสมยางดิบกับกำมะถันหรือซัลเฟอร์ และหยดลงบนเตาในครัว และเฝ้าดูปฏิกริยาการแข็งตัวที่เกิดขึ้นของยาง เขาพบว่ายางที่ได้แข็งขึ้น เขาเรียกปฏิกิริยานี้ว่า วัลคาโนเซชัน(Vulcanization) หลังจากการค้นพบนี้ก็ได้เกิดเป็นอุตสาหกรรมการทำยางขึ้น

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์