Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ปัญหาจากการทำแม่พิมพ์ออฟเซตแห้ง

2. ปัญหาด้านมลพิษจากการทำแม่พิมพ์ออฟเซตแห้ง
  การทำแม่พิมพ์ออฟเซตแห้งจะสร้างปัญหามลพิษ เช่นเดียวกับการทำแม่พิมพ์สำหรับระบบการพิมพ์อื่นหากไม่ควบคุมหรือบำบัดสารที่เหลือจากกระบวนการทำแม่พิมพ์ โดยปัญหามลพิษจากการทำแม่พิมพ์โลหะจะมีมากกว่าการทำแม่พิมพ์พอลิเมอร์ ดังนี้
  2.1 ปัญหาด้านมลพิษจากการทำแม่พิมพ์โลหะ การทำแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งสร้างภาพจากการกัดด้วยกรด จะสร้างปัญหาด้านมลพิษมากน้อยต่างกันตามชนิดของโลหะที่ใช้ โดยเฉพาะการกัดชั้นโครเมียม จะสร้างมลพิษมากที่สุด เนื่องจากโครเมียมเป็นโลหะหนัก และไม่สลายตัวตามธรรมชาติ หากสะสมในร่างกายมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ได้รับสารนั้น ปัญหาต่างๆได้แก่
  1) ปัญหาไอระเหยจากการกัดด้วยกรด ไอระเหยดังกล่าวมีทั้งไอระเหยจากกรดเกลือที่ใช้เอง และไอระเหยจากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดกับโลหะ คือ ไฮโดรเจน ซึ่งถ้ามีในปริมาณที่มากเกินไปในห้องปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติงานได้รับสารในปริมาณที่มาก ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
  วิธีการแก้ไขปัญหานี้ ทำได้โดยให้ไอระเหยผ่านน้ำ ส่วนที่เป็นกรดเกลือสามารถนำกลับไปใช้ได้ แต่ไฮโดรเจนต้องปล่อยให้กระจายไปในอวกาศที่โล่งแจ้ง
  2) ปัญหาของเหลวจากการกัดด้วยกรด ของเหลวที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระหว่างการกัดโลหะด้วยกรด จะประกอบด้วยโลหะในรูปสารละลายและยังมีฤทธิ์เป็นกรด
  วิธีการแก้ไขปัญหานี้ ทำโดยทำให้ของเหลวมีสภาพที่เป็นกลางก่อนด้วยด่างที่เหมาะสมเพื่อให้ส่วนของโลหะที่ถูกกัดด้วยกรด และอยู่ในรูปของสารละลายเปลี่ยนสภาพเป็นสารประกอบซึ่งมีน้ำหนักมากขึ้น และตกตะกอน โดยเฉพาะสารประกอบของโครเมียม จากนั้นจึงกรองตะกอนนี้ออกด้วยฟิลเตอร์( filter press ) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้กรองหลายชั้น ส่วนที่กรองทำจากวัสดุประเภทผ้าและกระดาษ การกรองจะใช้แรงอัด เมื่อกรองตะกอนออกแล้วค่อยนำไปฝังในที่ปลอดภัย
  สำหรับการทำแม่พิมพ์จากการกัดชั้นทองแดง จะสร้างปัญหาด้านมลพิษน้อยที่สุดในกลุ่มของการทำแม่พิมพ์โลหะ อย่างไรก็ดี การบำบัดน้ำจากกระบวนการก่อนทิ้งสู่ภายนอก ต้องกระทำด้วย ซึ่งหากใช้เครื่องกัดด้วยกรดแบบอัตโนมัติที่มีระบบหมุนเวียน การใช้กรดที่ใช้จากเฟอร์ริกคลอไรด์ผสมน้ำจะมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากน้ำยายังคงหมุนเวียนในเครื่องตลอดเวลา เมื่อใช้นานครั้งน้ำยาจะเริ่มข้น และหน่วงปฏิกิริยาการกัดทองแดง แต่ก็แก้ไขได้โดยเติมน้ำยาเจือจางลงลงและใช้ได้เช่นเดิมจนถึงระยะเวลาหนึ่งที่การกัดทองแดงต้องใช้เวลานานมากแม้จะเพิ่มอุณหภูมิจนสูงสุด และลดความเร็วในการกัดให้ต่ำสุดแล้วก็ตาม นั่นแสดงว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายน้ำยาทิ้งทั้งนี้ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวจะสกัดทองแดงที่สะสมในน้ำยา ให้ไปจับที่ขั้วไฟฟ้าคาโทดและกรองน้ำยาทิ้งทั้งนี้ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวจะสกัดทองแดงที่สะสมในน้ำยา ให้ไปจับที่ขั้วไฟฟ้าคาโทดและกรองน้ำยากลับมาใช้ได้บางส่วน ส่วนทองแดงสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ต่อได้ กรณีไม่ใช้เครื่องอัตโนมัติเนื่องจากปริมาณการใช้น้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน ก็สามารถบำบัดน้ำทิ้งจากการล้างสร้างภาพซึ่งเป็นด่างผสมกับน้ำทิ้งจากการกัดทองแดงซึ่งเป็นกรดแล้วเติมด่างเพิ่มเติมจนสารละลายเป็นกลาง จากนั้นทิ้งให้ส่วนที่เป็นของแข็งตกตะกอนและกรองออกด้วยฟิลเตอร์เพรสส์ เพื่อไปฝังในที่ที่เหมาะสมเช่นเดียวกับการฝังการจากอุตสาหกรรมเคมี
2.2 ปัญหาด้านมลพิษจากการทำแม่พิมพ์พอลิเมอร์ การทำแม่พิมพ์พอลิเมอร์ชนิดล้างสร้างภาพด้วยแอลกอฮอล์ มีอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานมากกว่าชนิดล้างสร้างภาพด้วยน้ำ อีกทั้งน้ำทิ้งจากกระบวนการต้องบำบัดก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำสาธารณะ ในขณะที่น้ำทิ้งจากการล้างสร้างภาพด้วยน้ำจะมีสารที่ไม่ตกตะกอนเป็นของแข็งและสามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพตามธรรมชาติ ไม่มีโลหะหนักซึ่งอาจมาจากพอลิเมอร์ที่ใช้โลหะเป็นฐานและสารปะปนอื่นที่ไม่สามารถย่อยสลายได้

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์