Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Silksceen of Print Techniques


Silksceen
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Serigraph วิธีการที่ง่ายที่สุดของเทคนิคนี้ก็คือ ศิลปินจะกันส่วนต่างๆที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพของแม่พิมพ์ที่ขึงจากตะแกรงผ้า (ส่วนใหญ่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ คล้ายผ้าไหม) ขึงบนกรอบเฟรม จากนั้นหมึกพิมพ์จะถูกปาดด้วยยางปาดผ่านแม่พิมพ์ลงสู่กระดาษด้านล่าง โดยหมึกจะสามารถผ่านพื้นที่แม่พิมพ์ที่ไม่ได้ถูกกันเท่านั้นลงปรากฎบนกระดาษเป็นภาพ งานซิลค์สกรีนที่ใช้หลายๆสี สามารถทำได้โดยการพิมพ์ผ่านแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ คือแม่พิมพ์แต่ละแม่พิมพ์สำหรับสีแต่ละสี นอกจากวิธีนี้ศิลปินสามมารถเขียนภาพลงบนแผ่นฟิล์มใสด้วยหมึกที่มีความทึบแสง หรือแสงไม่สามารถส่องผ่านได้ ถ้าเป็นงานภาพพิมพ์สี ศิลปินจะ ต้องแยกสีโดยการ เขียนแยกลงบนแผ่นฟิล์มแต่ละแผ่น ซึ่งต้องทับซ้อนให้พอดีกัน จากนั้นภาพบนฟิล์มจะถูกถ่าย ทอดลง บนแม่พิมพ์โดย กระบวนการฉายแสง คือใช้น้ำยาไวแสงผสมกับกาวอัดเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์ นำแผ่น ฟิล์มที่เขียนไว้วางทับแม่พิมพ์ แล้วนำไปฉายด้วยแสงไฟ จากนั้นนำไปฉีดน้ำ พื้นที่ที่ศิลปินไม่ได้เขียน ด้วยหมึกทึบแสงจะถูกกันไว้ด้วยน้ำยาไวแสงที่แข็งตัวและติดแน่น เมื่อนำไปพิมพ์หมึกพิมพ์จะไม่สามารถผ่านได้ การพิมพ์เทคนิคนี้เริ่มแพร่หลายในยุโรป เมื่อปลายทศวรรษที่ 1940 นี้เอง

คลิปวิดีโอแสดงวิธีการพิมพ์สกรีนสีโลหะลงบนเสื่อยึดคอกลมสีดำด้วยเครื่องพิมพ์รีดร้อน(Heat Transfers) Transfer Foil On Black T Shirts

ประเภทการพิมพ์สกรีน (Type: Screen Printing)

นอกเหนือจากการทอ การย้อม การเพ้นต์แล้ว การตกแต่งลวดลายลงบนผ้าโดยการพิมพ์สกรีนก็ถือเป็นอีกหนึ่งในหลากหลาย กรรมวิธีที่นำมาใช้ในการทำให้เกิดลวดลายบนผ้า โดยผ้าที่ถูกนำมาใช้ในการพิมพ์สกรีนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ผ้าหลา(ผ้าม้วน)และผ้าชิ้น(รวมถึงเสื้อสำเร็จรูป) ซึ่งกระบวนการที่ถูกนำมาในการพิมพ์ผ้ามีทั้งที่เป็นแบบใช้เครื่องจักร อัตโนมัติโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรมการพิมพ์ผ้าขนาดใหญ่และตามโรงงาน เช่นเครื่องพิมพ์แบบ Rotary Screen, Roller Screen, Flat Bed Screen , Digital Printing เป็นต้น และการพิมพ์ผ้าโดยอาศัยแรงงานคน (Hand Printing ) โดยประเภทการพิมพ์สกรีนลงบนผ้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.การพิมพ์โดยตรง (Direct Printing) จะใช้แป้งพิมพ์ซึ่งผสมกับหมึกพิมพ์ตามประเภทที่เหมาะกับเนื้อผ้าและผสมสาร เคมีอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความคมชัดของลายและความเข้มของสี แล้วจึงทำการพิมพ์ตรงลงไปบนเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยตรงยังสามารถจำแนกตามเทคนิคได้ดังนี้ 

1.1 การพิมพ์ดิสชาร์จ (Discharge Printing) เทคนิคนี้ใช้กับการพิมพ์ลวดลายบนผ้าที่ถูกย้อมสีมาก่อนแล้ว โดยใช้สารกำจัดสี(Discharging agent) เพื่อทำลายสีพื้นของผ้าที่ถูกย้อมทำให้เกิดเป็นลวดลายสีขาว(White discharge) ในกรณีที่ต้องการให้เกิดลวดลายสีอื่น ๆ (color discharge) จะเติมสีซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อสารกำจัดสีผสมลงไป เมื่อทำการพิมพ์ ลวดลายสีพื้นของผ้าย้อมจะถูกทำลายแต่สีที่เติมลงไปคงอยู่และเข้าไปแทนที่สี ที่ถูกกัด เมื่อไปผ่านกระบวนการอบและซักแห้งแล้วจึงจะเห็นเป็นลวดลายปรากฏ



1.2 การพิมพ์รีซิส (Resist Printing) เป็นการพิมพ์ลายโดยผสมสารกันสี (Resisting agent) ลงในแป้งพิมพ์เพื่อป้องกันสีย้อมซึ่งจะถูกย้อมหรือพิมพ์ทับในภายหลัง หลังจากย้อมและนำไปซักจะเห็นเป็นลวดลายพิมพ์สีขาว (White Resist) ตรงส่วนที่พิมพ์ลายกันสีไว้ และหากต้องการให้เกิดลวดลายสี (Color Resist) จะเติมสีที่ต้องการผสมลงไปในแป้งพิมพ์พร้อมสารกันสีแล้วจึงพิมพ์ลายก่อนนำไป ย้อม วิธีการนี้นิยมใช้กันในการทำผ้าบาติก


1.3 การพิมพ์เบิร์นเอ๊าท์ (Burn-Out Printing) เป็นการทำให้เกิดลวดลายบนเนื้อผ้าที่มีเส้นใยผสม 2 ชนิด ด้วยการผสมสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำลายเส้นใยของผ้าลงในแป้งพิมพ์ เพื่อทำให้เส้นใยชนิดใดชนิดหนึ่งที่ถูกทำลายเกิดเป็นลวดลาย



1.4 การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital printing) เป็นการพิมพ์ผ้าโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการเดียวกับการพิม์กระดาษ ด้วยเครื่อง Printer ทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้า ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า



2. การพิมพ์แบบอ้อม (Indirect Print) หรือ แบบถ่ายโอนความร้อน Heat Transfer เป็นเทคนิคการพิมพ์โดยวิธีการพิมพ์ลายลงบนกระดาษ แล้วนำไปผ่านกระบวนการกดหรือรีดด้วยความร้อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ



แบบที่ 1 อาศัยหลักการระเหิดของหมึก (Dye sublimation) การพิมพ์วิธีนี้จะใช้การพิมพ์ลายลงบนกระดาษโฟโต้อิงค์เจ็ทที่ใช้สำหรับพิมพ์ ภาพถ่ายทั่วไป โดยใช้หมึกดูราซับ (Durasub) ซึ่งเป็นหมึกประเภทที่มีคุณสมบัติในการระเหิดของสีเมื่อโดนความร้อน (Sublimation Ink) ส่วนเครื่องพิมพ์จะต้องเป็นเครื่องอิงค์เจ็ทที่รองรับหมึกที่มีความเข้มข้น สูงอย่าง Sublimation ink เมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษแล้วนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดความร้อนหมึกจะระเหิด กลายเป็นไอเกาะติดและย้อมลงไปบนเส้นใยผ้าเกิดเป็นลวดลาย โดยหมึกประเภทนี้จะมีคุณสมบัติทนต่อการซักล้างและทนแดด เหมาะกับการพิมพ์ผ้าที่มีสีอ่อนและผ้าใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์หรือไนล่อน
แบบที่ 2 อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิลม์โดยมีกาวเคลือบ เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต , งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และ งานพิมพ์อิงค์เจ็ต ซึ่งแต่ล่ะประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100 %

diy วิธีการพิมพ์สกรีนภาพ4สี ลงบนเสื้อยืด (4 Color Process Print)

DIY สร้างเครื่องพิมพ์สำหรับสกรีนเสื้อใช้งบประมานน้อยแค่ไม่เกิน600บาท

วิธีการสร้างเครื่องพิมพ์สกรีนเสื้อแบบ4สี DIY 4 color screen printing press

วิธีการพิมพ์กรีนเสื้อแบบ2สีด้วยหลักการส่งผ่านความร้อน

วิธีการสกรีนสีกราฟิกลงบนวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆได้แก่ สติกเกอร์,โลหะ,และอื่นๆ

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์