Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ระบบพรินท์ออนดิมานด์ คืออะไร?

ในแวดวงธุรกิจสิ่งพิมพ์ หากย้อนกลับไปสัก 9-10ปีก่อน หากมีใครเอ่ยออนดิมานด์
ขึ้นมาก็คงไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่

สาเหตุที่มันไม่คุ้นหูไม่ใช่ว่ามันยังไม่เริ่มมี แต่คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ยังไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เหมือนกับงานพิมพ์ออฟเซ็ททั่วไปจึงทำให้ออนดิมานด์ยังคงรอการพัฒนาขีดความสามารถต่อไปถ้าเป็นหนังจีนกำลังภายในก็ต้องบอกว่าไปออกไปฝึกวิทยายุทธกับอาจารย์ก่อน แต่ภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน พรินท์ออนดิมานด์เหมือนได้อาจารย์ดีเ พราะผ่านการฝีกวิทยายุทธมาอย่างแก่กล้า

คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จักเครื่องพรินท์ออนดิมานด์ เพราะเป็นระบบพรินท์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท และที่สำคัญระบบพรินท์ออนดิมานด์ยังผลิตงานได้เร็วตามความต้องการลูกค้าอีกด้วย

หลาย ๆ ค่ายของผู้ผลิตเครื่องพรินท์ พยายามที่จะงัดกลยุทธิ์ และนำเสนอขีดความสามารถของเครื่องอย่างเข้มข้น ซึ่งก็ต้องบอกว่ามันเป็นผลดีต่อวงการพิมพ์บ้านเราทำให้เรามีความหลากหลายในการเลือกใช้สินค้าและบริการมากขึ้นด้วย
หากคนที่ไม่ได้อยู่ใน แวดวงการพิมพ์แล้ว บางครั้งเราแทบแยกไม่ออกได้ว่างานพิมพ์ที่อยู่เบื้องหน้านี้พิมพ์ด้วยระบบอะไร? เพราะเทคโนโลยีของเครื่องปรินท์ออนดิมานด์นั้นต้องเรียกได้ว่าก๊อปปี้มาจากระบบงานพิมพ์ออฟเซ็ทเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี เครื่องพิมพ์บางตัวหากใช้กล้องขยายส่องดูจะเห็นเป็นเม็ดสกรีนเช่นเดียวกับระบบพิมพ์ออฟเซ็ตก็มี

ในส่วนของการทำงานหลังการพิมพ์เสร็จสิ้น (post press) ไม่ว่าจะเป็นการเคลือบ การเข้าเล่ม,การทำ Spot uv ,ทำบล็อกใบมีดตัดพับ ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับงานออฟเซ็ท เรียกได้ว่าหากคุณกำลังมองหางานพิมพ์อะไรสักอย่างที่ยอดพิมพ์ไม่มากนัก ออนดิมานด์ น่าจะตอบโจทย์ได้บ้าง เพราะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปได้มาก

กลับมาที่คำถามว่า ออนดิมานด์คืออะไร ทำไมเราต้องพรินท์ออนดิมานด์
สาเหตุหลัก ๆที่ทำให้ปัจจุบันคนนิยมหันมาพิมพ์ออนดิมานด์กันมากขึ้นก็เพราะ

1. ระบบพรินท์ออนดิมานด์มีความสวยงามเทียบเท่ากับออฟเซ็ท

2. มีความรวดเร็วไม่ต้องรอนานหลายวันเหมือนเมื่อก่อน

3. ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไปได้มาก เมื่อเทียบกับระบบออฟเซ็ท
(ในกรณีพิมพ์ยอดจำนวนน้อย ๆ )

4. ไม่ต้องเก็บสต็อกสินค้าไว้นาน สามารถพิมพ์เท่ายอดที่จำเป็นก็ได้ ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ พิมพ์ยอดน้อย ๆ ได้ราคาถูก และเร็วน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ออนดิมานด์ กินขาดออฟเซ็ทไปหลายช่วงตัว

เครดิต จาก http://www.fileopen.co.th/

ระบบการพิมพ์ Offset (ออฟเซต)


อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) 
Offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้น ลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึก และผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน 

ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หิน ได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์ จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้ง โอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ้์ (plate cylinder) โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder) กับโมกดพิมพ์ (imoression cylinder)

ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า "ลิโธกราฟี" (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ "ออฟเซต" (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า "ออฟเซตลิโธกราฟี" (offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ 


สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับ Offset

ระบบออฟเซต เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบันเพราะให้งานพิมพ์ที่สวยงามมีความคล่องตัวในการจัดอาร์ตเวอร์ค และไม่ว่าจะออกแบอย่างไรการพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไปประกอบกับ ความก้าวหน้าในการทำฟิล์มและการแยกสีในปัจจุบัน ทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งถูกลง สิ่งพิมพ์ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซตควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 

สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ Offset
  1. มีจำนวนพิมพ์ตั้งแต่ 3,000 ชุด ขึ้นไป
  2. มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟ มาก
  3. ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์
  4. ต้องการความประณีต สวยงาม
  5. เป็นการพิมพ์ หลายสี หรือภาพ สี่สีที่ต้องการความสวยงามมากๆ
  6. มีงานอาร์ตเวอร์คที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก
  7. มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ

ระบบการพิมพ์ Digital (ดิจิทัล)


แต่เดิมเราอยากจะทำสื่อสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือที เป็นเรื่องใหญ่ ไหนจะต้องหาโรงพิมพ์ หาคนจัดทำหน้า หอบไฟล์งานไปโรงพิมพ์ นั่งรอเป็นวันกว่าจะได้แผ่นงานออกมาพรูฟดูความถูกต้อง รอผลิตงานเป็นอาทิตย์ และที่สำคัญเราไม่สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนน้อย หรือตามจำนวนที่เราต้องการจริงได้ บางทีพิมพ์งานออกมาจำนวนมหาศาลทำลายกระดาษมากมายแล้วก็เอามาทิ้งเพราะไม่ได้ใช้งาน

ปัจจุบันปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้หมดไป โดยระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล การพิมพ์แบบดิจิตอล คือ การพิมพ์จากไฟล์งานโดยตรงผ่านเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย ไม่ต้องมานั่งสร้างเพลทแยกสีในการพิมพ์เหมือนการพิมพ์แบบออฟเซต
ดังนั้นการพิมพ์แบบดิจิตอลจึงลดขบวนการทำที่ยุ่งยากไปได้มาก




• ประหยัดเวลา
แค่นำไฟล์งานไปเข้าเครื่องพิมพ์ ระบบก็จะทำการพรูฟออกมาให้เห็นทางหน้าจอ และรอที่จะผลิตได้เลย ขบวนการทั้งหมดในการพิมพ์ใช้เวลาไม่กี่วัน

• ประหยัดทรัพยากร
ต้องการ 100 เล่ม ก็พิมพ์แค่ 100 เล่ม ไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ

ระบบการพิมพ์ Inkjet (อิ้งเจ็ท)



เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามความต้องการของเรา

ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

Inkjet Indoor

Inkjet Indoor เป็นงานติดตั้งภายในอาคารหรือที่ที่แดดไม่ส่อง เน้นรายละเอียดความขมชัดของงาน ความละเอียดสูงถึง1200 Dpi เป็นงานใกล้สายตา เหมาะสำหรับงานโฆษณา โปรโมชั่น งานตกแต่งหน้าร้าน นิทรรศการ หรือ เปิดตัวสินค้า

Inkjet Outdoor

Inkjet Outdoor เป็นงานติดตั้งภายนอกอาคาร มีความละเอียด 720 Dpi – 1400 Dpi
700 Dpi เหมาะกับงานลักษณะเป็นตัวหนังสือและขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 ตารางเมตร สำหรับระยะการมองที่ 2 เมตรเป็นต้นไป
1400 Dpi เหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงมองในระยะใกล้ได้อย่างคมชัด
Inkjet Outdoor เหมาะสำหรับงานป้ายภายนอกอาคาร ที่มีความคงทน เช่น ป้าย Billboard ขนาดใหญ่ และ โฆษณาติดข้างรถต่างๆ

เทคโนโลยีการพิมพ์ธนบัตร

   


    การพิมพ์ธนบัตรประกอบด้วยการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ ๒ แบบ คือ การพิมพ์ออฟเซตแห้ง (Dry offset) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายว่า การพิมพ์สีพื้น และการพิมพ์อินทาลโย (Intaglio) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายที่ได้จากการพิมพ์ว่า การพิมพ์เส้นนูน นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนการผลิตเป็นธนบัตรสำเร็จรูป คือ การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น ซึ่งใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress)

การพิมพ์สีพื้น

เป็นงานขั้นตอนแรกของการพิมพ์ธนบัตร โดยใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้บางส่วนของลวดลายที่ตั้งใจออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตรซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอย่างหนึ่ง

 เครื่องพิมพ์สีพื้น     

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่ผ่านการพิมพ์สีพื้นด้านหน้า


การพิมพ์เส้นนูน

เป็นการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ ด้วยเครื่องพิมพ์แบบพิเศษที่ใช้แรงกดพิมพ์สูงและหมึกพิมพ์ซึ่งมีความเหนียวหนืดสูง เพื่อทำให้หมึกพิมพ์กองนูนบนผิวกระดาษ ทำให้ได้รายละเอียดและความอิ่มตัวสีสูง เหมาะกับการพิมพ์ภาพประธานและส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นและคมชัด เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และตัวเลขแจ้งราคาด้านหน้าธนบัตร เป็นต้น ซึ่งหากใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสผ่านเบา ๆ จะรู้สึกได้ถึงความนูนนั้น นับเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญยิ่งในการผลิตธนบัตรและสิ่งพิมพ์มีค่าอื่น

แม่พิมพ์เส้นนูน  

 เครื่องพิมพ์เส้นนูน

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่ผ่านการพิมพ์เส้นนูน


การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น

แผ่นพิมพ์ที่พิมพ์ภาพและลวดลายสีพื้นและเส้นนูนแล้ว จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด เพื่อคัดแยกธนบัตรที่มีข้อบกพร่องออกไปทำลาย ส่วนธนบัตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจะส่งไปพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นต่อไป
การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เพื่อควบคุมจำนวนธนบัตรออกใช้ โดยเครื่องพิมพ์จะมีระบบควบคุมและตรวจสอบการเปลี่ยนเลขหมายในแต่ละรอบการพิมพ์ ดังนั้น เลขหมายที่กำกับบนธนบัตรแต่ละฉบับที่เป็นแบบและชนิดราคาเดียวกันจะไม่ซ้ำกันเป็นอันขาด สำหรับลายเซ็นบนธนบัตรทุกฉบับจะเป็นลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยนั้น ๆ

 เครื่องพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น     

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่พิมพ์เลขหมายและลายเซ็นแล้ว







nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์