วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาเคลือบหรือใช้ในการเคลือบ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ดังนี้
2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง
2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง