Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การจำแนกแก้วตามลักษณะส่วนผสม


  บรรดาผลิตภัณฑ์แก้วนานาชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นเพื่อสนองความต้องการใช้มีอยู่มากมาย การผลิตแก้วให้เบาเหมือนไม้คอร์ก หรือหนักเหมือนเหล็ก แข็งแรงเหมือนเหล็กกล้า เปราะง่ายเหมือนเปลือกไข่ อ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย หรือแข็งเหมือนเพชรพลอย ก็สามารถจะกระทำได้ทั้งสิน โดยทั่วไปแก้วมีลักษณะแข็ง โปร่งแสง เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวลง สามารถงอไปมาได้ ดังนั้นจึงสามารถใช้แก้วในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาปัตรกรรม โทรคมนาคม วิศวกรรม และยังขยายวงกว้างออกไปโดยไม่มีขอบเขตมีการพัฒนาแก้วชนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  แก้วสามารถจำแนกออกตามส่วนผสมของผลิตภัณฑ์แก้วได้หลายชนิด ได้แก่ แก้วโซดาไลม์ แก้วตะกั่ว แก้วโบโรซิลิเกต วิตเทรียสซิลิก้า แอลคาไลน์ซิลิเกต และแก้วชนิดพิเศษ โดยแก้วละชนิดจะมีส่วนผสมหลัก คือซิลิก้า และแตกต่างกันไปสารอนินทรีย์อื่น
1. แก้วโซดาไลม์
  แก้วโซดาไลม์ ( soda lime glass ) เป็นแก้วที่มีส่วนผสมของโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมออกไซด์ผสมอยู่ด้วย เนื้อแก้วชนิดนี้มีราคาถูก หลอมละลายง่ายเมื่อเทียบกับแก้วประเภทอื่น มีประมาณร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์แก้วทั้งหมด แก้วประเภทนี้ได้แก่ ขวดต่างๆทั้งชนิดใส และมีสี เช่น ถ้วยแก้ว กระจกแผ่น จานชามข้อเสียสำหรับแก้วประเภทนี้ คือ ถ้วยแก้วต่างๆ ผิวบาง มักจะไม่ทนทานในการใช้งาน เกิดการแตกร้าวระหว่างการใช้งานบ่อยๆ เนื่องจากการขยายตัวและหดตัวสูง คำแนะนำในการใช้งานที่เหมาะสม คือ เมื่อนำไปใช้กับน้ำร้อนก็ไม่ควรไปใส่น้ำเย็น หากนำไปใช้สลับทั้งน้ำร้อน และน้ำเย็น อาจทำให้เกิดการแตกได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำเอาแก้วประเภทนี้ไปผลิตเป็นแก้วนิรภัยซึ่งใช้เป็นกระจกรถยนต์ แก้วกระสุน และลูกถ้วยไฟฟ้า ( glass insulator )ได้อีกด้วย
2. แก้วตะกั่ว
  แก้วตะกั่ว ( lead glass ) เป็นแก้วที่มีตะกั่วออกไซด์ สมบัติพิเศษของแก้วประเภทนี้มีความมันแวววาว สุกใสการหลอมแก้วโดยการใช้ตะกั่วเป็นตัวลดจุดหลอมละลายตัวของแก้วให้ต่ำลง หลอมง่าย และสวยงาม จึงนิยมนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทงานศิปละ และเนื่องจากแก้วชนิดนี้มีความต้่านทานไฟฟ้าดี จึงนำไปใช้ผลิตอุปกรณ์วิทยุเรดาร์ หลอดโทรทัศน์ และหลอดชนิดต่างๆด้วย
3. แก้วโบโรซิลิเกต
  แก้วโบโรซิลิเกต( borosilicate glass ) เป็นแก้วที่มีบอแรกซ์ด้วย แก้วประเภทนี้มีลักษณะดีเด่นเป็นพิเศษหลายประการ กล่าวคือ สามารถทนความร้อนได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนทางเคมี การหลอมตัวใช้บอแรกซ์เป็นสารลดจุดหลอมละลายตัวของแก้วให้ต่ำลง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้วประเภทนี้ ได้แก่ แก้วที่เข้าเตาอบได้ แก้วที่ใช้ประจำห้องทดลอง ทำท่อในอุสาหกรรม และทำส่วนประกอบการสูบน้ำ กล้องดูดาว
4. วิตเทรียสซิลิก้า
  วิตเทรียสซิลิก้า ( vitreous silica )หรือแก้วซิลิก้า เป็นแก้วที่มีส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96 จึงหลอมตัวยากต้องใช้อุณหภูมิสูงพิเศษ ขณะหลอมมีฟองเกิดขึ้นมาก จึงนิยมทำการหลอมในสุญญากาศ มีความหนืดสูงมาก เป็นแก้วที่มีความคงทนทางเคมี และทนไฟ้ได้ดี สัมประสิทธิ์การขยายตัวต่ำ มีความแข็งแกร่งดี ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน มีความต้านทานที่ผิวดีมาก มีราคาแพง โดยมากจะใช้ในกรณีที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานต่อความร้อนสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียส
5. แอลคาไลน์ซิลิเกต
  แอลคาไลน์ซิลิเกต( alkaline silicate ) เป็นแก้วที่มีโซเดียมออกไซด์และออกไซดือื่นอยู่ในส่วนผสม ทำให้เกิดการละลายตัวในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าวิตเทรียสซิลิก้ามาก การหลอมละลายแก้วชนิดนี้เกิดได้ยากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของออกไซด์ หากไม่พอเหมาะจะไม่เกิดเนื้อแก้ว ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่นิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์แก้วโดยตรงแต่จะใช้เป็นส่วนผสมในกรณีที่ต้องการให้เกิดการยึดติดของสารให้มากขึ้น เช่น กาว
  นอกจากนี้จะมีแก้วชนิดพิเศษอื่นที่มีลักษณะแตกต่างไปจากที่กล่าวข้างต้น เช่น แก้วโซดาไลม์มีการตกแต่งให้เกิดเป็นสีต่างๆ เพื่อใช้ในงานเฉพาะกิจ บางประเภทต้องการให้เกิดสีสวยงามในเนื้อแก้ว บางประเภทก็ต้องปรับปรุงคุณภาพโดยเฉพาะให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลันโดยไม่แตกหรือมีความคงทนต่อแรงกระทบกระแทรก ดังจะพบว่าจากบางประเภทผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศล หรือ อิตาลี สามารถทดลองโยนลงจากที่สูงให้กระทบพื้นโดยไม่แตกร้าวประการใด

ประเภทของแก้ว


  แก้ว คืออะไร แก้ว คือ สลารชนิดหนึ่ง แต่ในกรณีของสสารทั่วไปมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ในสภาวะที่เป็นก๊าซเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นของเหลว และเมื่อเย็นตัวต่อไปก็จะกลายเป็นของแข็ง เช่น น้ำเป็นของเหลว เมื่อร้อนขึ้นจะกลายเป็นไอ เมื่อเย็นจัดจะกลายเป็นน้ำแข็ง แต่ในกรณีของแก้วนั้น ถึงแม้เมื่อมีอุณหภูมิสูงก็ยังมีสถานะเป็นของเหลวโดยไม่กลายสภาพเป็นก๊าซ ความหนืดของน้ำแก้วในขณะหลอมละลายหรือที่เรียกว่า น้ำแก้ว ( molten glass ) และเมื่ออุณหภูมิต่ำลงเป็นของแข็งที่ไม่เป็นผลึกหรือในรูปอสัณฐาน และมีความแข็งแรงในเนื้อ แต่มีความเปราะของเนื้อแก้ว
  แก้วเป็นสารประกอบซิลิก้าหรือซิลิกอนไดออกไซด์( SiO2 ) ที่มีสารโลหะออกไซด์อื่นหรือมีสารอนินทรีย์บางชนิดอยู่ด้วย มีลักษณะเป็นของแข็งใส มองผ่านทะลุได้ แต่มีความเปราะอยู่ในตังเอง เมื่อนำมาเผาให้ถึงจุดหลอมละลายที่อุณหภูมิสูง และเย็นตัวลงจะได้วัตถุใสโปร่งตา มีความแวววาวสุกใส
  แก้วมีทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์สร้างขึ้น ในยุคหินที่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ไฟในการหุงต้มตรงเชิงตะกอนเตาเมื่อได้รับความร้อนสูงพออาจทำให้เกิดการหลอมละลายที่ผิวกลายเป็นลูกปัดแก้ว แก้วธรรมชาติเกิดจากการหลอมตัวของทรายหรือทรายแก้ว ซึ่งทางเคมี เรียกว่า ซิลฺกอนไดออกไซด์ ( silicon dioxide ) ซึ่งเกิดในลักษณะของหิน หรือแร่ โดยธรรมชาติ เช่น หินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งในทางธรรมชาติจะใช้เวลานานมากกว่าจะได้แก้วดังนั้นมนุษย์จึงคิดค้นหาวิธีการผลิตแก้วให้ได้โดยไม่ใช้เวลานาน โดยนำมาหลอมที่อุณหภูมิสูงและมีวัตถุดิบเพื่อให้เกิดแก้วตามที่ต้องการ แก้วที่ได้โดยฝีมือมนุษย์สามารถจำแนกได้ 2ลักษณะ คือ ประเภทแก้วที่จำแนกตามลักษณะส่วนผสมและตามลักษณะการใช้งาน

มวลโลหะทีเคลือบ


  ลักษณะและสมบัติของโลหะที่ใช้เป็นวัสดุพิมพ์มีทั้งทางเคมีและทางกายภาพ ทางเคมีมีส่วนใหญ่จะเน้นที่ความสามารถของโลหะในด้านความทนทานต่อการกัดกร่อนซึ่งจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดมากนักในที่นี้ลักษณะและสมบัติของโลหะที่จะเน้นจะเป็นทางด้านกายภาพ โลหะที่จะกล่าวถึงโดยส่วนใหญ่ คือ แผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุก ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณการใช้ที่นิยมมาก
  มวลดังกล่าวนี้เป็นมวลโลหะที่ใช้เคลือบ การระบุในรูปที่เป็นมวลโลหะที่ใช้เคลือบทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าการเคลือบของโลหะสม่ำเสมอตลอดทั้งนี้แผ่นโลหะที่เป็นฐานรองรับ ไม่นิยมที่จะวัดความหนาเนื่องจากแผ่นโลหะที่เป็นฐานรองรับอาจมีความหนาที่ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ซึ่งจะมีผลทำให้โลหะที่เคลือบมีความหนาในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไปและจะมีผลต่อการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเคลือบที่บางและไม่ทั่วจากมวลที่ได้สามารถนำค่าตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณหาความหนาโดยเฉลี่ยได้ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ โดยปกติถ้ามวลของโลหะที่เคลือบมาก ความหนาจะมากตามด้วย มวลของโลหะที่เคลือบมาก ความหนาจะมากตามด้วย มวลของโลหะที่ใช้เคลือบสามารถแบ่งได้ตามแผ่นโลหะที่ใช้ 2 ประเภท คือ มวลของดีบุกที่เคลือบ และมวลของโครเมียมที่เคลือบ
1. มวลดีบุกที่เคลือบ
  มวลดีบุกที่เคลือบ ( tin-coating mass ) โดยปกติเหล็กกล้าเคลือบดีบุกจะมีลักษณะของดีบุกที่เคลือบเป็น 2 ลักษณะ คือ เคลือบดีบุกเท่ากันทั้งสองด้าน และเคลือบดีบุกไม่เท่ากันทั้งสองด้าน มวลของดีบุกไม่เท่ากันทั้งสองด้าน มวลของดีบุกที่ใช้เคลือบโดยทั่วไปมี 5 ระดับ คือ 2.8.5.6.8.4.11.2 และ 15.1 กรัมต่อตารางเมตร
  การเคลือบทั้งสองด้าน คือ ด้านบนและด้านล่างนั้น ด้านบนในที่นี้หมายถึงด้านที่เป็นด้านสัมผัสกับการพิมพ์หรือเป็นด้านที่พิมพ์ ส่วนด้านล่างจะเป็นด้านที่อยู่ในกระป๋องจะสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ เช่น อาหาร ในการระบุการเคลือบจะแสดงเป็นการเคลือบด้านบนและด้านล่าง คือ บน/ล่าง เช่น 2.8/2.8 หมายถึง การเคลือบดีบุกให้มวลเคลือบด้านบนเท่ากับด้านล่าง เป็น 2.8 กรัมต่อตารางเมตรโดยปกติจะมีการใช้สัญลักษณ์ E กำกับด้วยเช่น E 2.8/2.8 ในกรณีที่เคลือบไม่เท่ากันก็จะมีตัวเลขที่แสดงต่างกัน เช่น 5.6/2.8
  การเคลือบที่แตกต่างกันสองด้านของดีบุกจะกระทำได้เฉพาะเป็นการเคลือบด้วยไฟฟ้าเท่านั้น ถ้าเป็นการเคลือบด้วยการจุ่มดีบุกร้อน จะให้การเคลือบของน้ำหนักดีบุกสองเท่ากัน ในการเคลือบดีบุกที่มีน้ำหนักของดีบุกที่เคลือบสองด้านต่างกัน จะมีการระบุให้ผู้ใช้หรือโรงพิมพ์ทราบว่าด้านใดหนาบางต่างกัน โดยระบุเป็นเครื่องหมายแสดงการเคลือบที่ต่างกัน ( tinplate coating weigh mark ) มีลักษณะเป็นเส้นหลายแบบ เช่น เส้นตรงต่อเนื่องตามความยาวของแผ่นเหล็กกล้า เส้นทแยง เส้นวงกลม ส่วนใหญ่ที่นิยมจะเป็นหลายแบบ เช่น เส้นตรงต่อเนื่องตามความยาวของแผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุก จะใช้สำหรับระบุให้ทราบว่าแผ่นเหล็กกล้าเคลือบดีบุกนี้มีการเคลือบสองด้านต่างกัน
  ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นมีสัญลักษณ์ที่ใช้ 2 แบบ คือ D และ A ซึ่งต่างกันที่ขนาดของเส้น คือ D เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงเส้นหนาหรือความกว้างของเส้น 2 มิลลิเมตร และลักษณะของเส้นที่ใช้เป็นตรงลากขนานกันไปในทางเดียวกับทิศทางของแนวรีดตลอดทั้งแผ่น
  ส่วนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น มีลักษณะของการแสดงเครื่องหมายที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ มีสัญลักษณ์ที่ใช้เป็น D ซึ่งหมายถึง เส้นที่แสดงความแตกต่าง ( differential line ) ของการเคลือบที่มีน้ำหนักต่างๆกันลักษณะของเส้นที่ใช้ลากขนานกันและไปทางเดียวกันกับทิศทางแนวรีดตลอดทั้งแผ่นเช่นเดียวกันตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่น แต่เส้นที่ใช้จะมีความกว้างของเส้นเพียง 1 มิลลิเมตรและไม่พบว่ามีการใช้เครื่องหมายที่มีสัญลักษณ์ A
  ลักษณะของเส้นที่เกิดมีสีขาว ได้จากการปล่อยสารเคมีผ่านท่อเล็กๆ ที่ปลายท่อหุ้มด้วยผ้าสักหลาดที่สัมผัสบนแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก สารเคมีที่ใช้ คือ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้นประมาณ 20 กรัมต่อลิตร การกำหนดสัญลักษณ์เพื่อทำเส้นอาจเป็นด้านบนหรือด้านล่างแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่นิยมเป็นด้านที่พิมพ์เพื่อเมื่อพิมพ์หมึกพิมพ์แล้วจะมองไม่เห็นลวดลายของเส้น แต่ในบางครั้งถ้าการพิมพ์ต้องการแสดงผิวของโลหะ ลายเส้นที่แสดงควรกำหนดให้อยู่ด้านล่าง ระยะห่างระหว่างเส้นขนานจะแตกต่างกันไป
  ความถี่ห่างของเส้นที่กำหนดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานของแผ่นโลหะ เช่น ลำตัว ขนาดของแต่ละชิ้นที่ใช้จะใหญ่เล็กไม่เท่ากัน การตัดแบ่งแผ่นโลหะไปใช้จะไม่เท่ากัน ถ้ามีการใช้ไม่เหมาะสมอาจมีผลทำให้เส้นที่แสดงเครื่องหมายไม่ถูกตัดแบ่งไปด้วย ทำให้ไม่ทราบชัดเจนว่าด้านใดเป็นด้านที่เคลือบหนาบางต่างกัน
2. มวลโครเมียมที่เคลือบ
  เหล็กกล้าปลอดดีบุกเป็นแผ่นเหล็กกล้าที่เคลือบด้วยชั้นโครเมียมออกไซด์ ชั้นเคลือบของโครเมียมและโครเมียมออกไซด์จะมีหน่วยน้ำหนักเป็นมิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อด้าน มวลโครเมียมที่เคลือบจะไม่หลากหลายเหมือนมวลดีบุกที่เคลือบ มวลโครเมียมที่เคลือบโดยเฉลี่ยที่น้อยที่สุดประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อต้าน และมวลสำหรับชั้นโครเมียมออกไซด์เฉลี่ยที่น้อยที่สุดประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อด้าน

การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย


  การเคลือบและการตกแต่งลวดลาย( glaze and decoration ) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสัน ลวดลายที่สวยงาม และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
  การตกแต่งลวดลายทำได้ 2 วิธี คือ การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ( under giaze decoration ) และการตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ( overglaze decoration )
  5.1 การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ หมายถึง การทำลวดลายต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การเขียนด้วยมือ การใช้ตรายางประทับบนผิว การใช้รูปลอกการพิมพ์ หลังจากทำการตกแต่งลวดลายแล้ว จึงทำการเคลือบทับ และนำไปเผาเคลือบต่อไป
  5.2 การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผ่านการเคลือบและเผาเคลือบแล้วจึงนำมาตกแต่งลวดลาย เช่น การเขียน การใช้รูปลอก( transfer paper ) การพิมพ์ฉลุลายผ้า เพื่อทำให้ได้ลวดลายรูปแบบต้องการ แล้วจึงนำไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ การตกแต่งบนเคลือบจะให้สีที่สดใสกว่า แต่จะมีความคงทนน้อยกว่าการตกแต่งใต้เคลือบ
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ สามารถกระทำโดยนำผลิตภัณฑ์ดิบที่ผ่านการอบแห้ง งบประมาณ 100 องศาเซลเซียส มาผ่านการเคลือบ และเข้าสู่การพิมพ์ฉลุลายผ้าเลย โดยไม่ต้องมีการเผาหลังการเคลือบก่อน แต่จะเผาเคลือบหลังจากพิมพ์ฉลุลายผ้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการเผาครั้งเดียว วิธีนี้นิยมใช้ในการผลิตกระเบื้องเซรามิก อุณหภูมิที่ใช้สำหรับการเผากระเบื้องประมาณ 1150 องศาเซลเซียส จะได้เป็นภาพพิมพ์บนกระเบื้องตามต้องการ
  สรุปได้ว่า การตกแต่งลวดลายบนผลิตภัณฑ์เซรามิก สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ ก่อนการเคลือบ และหลังการเคลือบ
  ถ้าเป็นการตกแต่งลวดลายก่อนการเคลือบ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเคลือบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการเผาเคลือบ( glost firing ) อุณหภูมิการเผาเคลือบแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้ แต่ถ้าเป็นการตกแต่งหลังเคลือบผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วจะผ่านการอบสีอีกครั้ง จากนั้นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้จะนำมาตรวจสอบคูณภาพตามมาตรฐานกำหนดแล้วนำไปบรรจุหีบห่อ รอการจำหน่ายต่อไป เป็นการสิ้นสุดกระบวนการผลิต
   

การเตรียมน้ำยาเคลือบ


  ขั้นตอนในการเตรียมน้ำยาเคลือบ สามารถแบ่งเป็นขั้นๆ ได้ ดังนี้
  1) ชั่งส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆ ตามสูตร
  2) ใส่ส่วนผสมลงในหม้อบดซึ่งมีลูกบดอยู่ เติมน้ำลงไป การบดใช้เวลาประมาณ 8-14 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ความละเอียดตามที่ต้องการ
  3) กรองผ่านตะแกรงที่มีความละเอียดตามกำหนด
  4) ผ่านเครื่องดูดสารแม่เหล็กเพื่อแยกสารเหล็กออก ทำให้น้ำเคลือบปราศจากมลพิษ และมีสีตามต้องการ
  5) เก็บใส่ถุงน้ำยาเคลือบรอการใช้งานต่อไป
4. การเตรียมผลิตภํณฑ์ดิบก่อนเคลือบ
  หลังจากผลิตภัณฑ์ดิบมีการขึ้นรูปตกแต่งและแห้งแล้วโดยการตากแห้งตามธรรมชาติหรือเข้าอบก็ได้ ถ้านำผลิตภัณฑ์ดิบเข้าอบจะทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งเร็วขึ้น แต่ต้องทำการควบคุมความร้อนให้พอเหมาะกับชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากแต่ละชนิดจะมีขนาดและความหนาต่างกัน การทำให้แห้งเร็วเกินไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์แตกเสียได้ การนำเข้าเตาอบ ควรเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆ จนอุณหภูมิ 110-120 องศาเซลเซียส
  ผลิตภัณฑ์ที่แห้งดีแล้ว บางชนิดจะเข้าสู่ขั้นตอนของการเผาดิบ ก่อนการเคลือบ จุดประสงค์ในการเผาดิบเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้มีความแข็งแกร่งขึ้น การเผาดิบจะทำการเผาที่อุณหภูมิประมาณ 800-1200 องศาเซลเซียส แล้วแต่ละชนิดของเนื้อผลิตภัณฑ์ หรือชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  ก่อนชุบหรือฉาบน้ำยาเคลือบควรทำความสะอาดผิวผลิตภัณฑ์ดิบก่อน โดยการปัดหรือเป่าฝุ่นออก หรืออาจใช้ฟองน้ำชื้นๆ เช็ดผิว แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบต่อไป

วัตถุดิบที่ใช้ในการเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาเคลือบหรือใช้ในการเคลือบ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ดังนี้
  2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
  2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
  2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
  การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
  1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
  2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
  3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์