Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เซรามิกแบบใหม่

ตั้งแต่ปีค.ศ 1940 มาจนปัจจุบัน วิทยาการด้านวัสดุมีการค้นคว้าและพัฒนาอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ นิวเคลียร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการพัฒนาวัสดุใหม่ๆขึ้น มีการศึกษาวิจัยและนำเซรามิกไปใช้ในงานเหล่านี้ จึงเกิดเซรามิกชนิดใหม่ชนิดใหม่ขึ้น เรียกกันว่า เซรามิกแบบใหม่( new ceramics )หรือเนื้อละเอียด( fine ceramics )หรือเซรามิกแบบเทคโนโลยีขั้นสูง( high-technology ceramics )เซรามิกชนิดนี้มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสูง มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นผลิตเซรามิกแบบใหม่เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปขายต่างประเทศ จึงมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

  เซรามิกแบบใหม่ ผลิตจากสารที่มีความบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์แร่หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติภายใต้การควบคุมพิเศษด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ให้ได้สารที่มีคุณภาพและสมบัติพิเศษตามต้งการ นำสารบริสุทธิ์ที่มีอนุภาคเล็กมากมาขึ้นรูปโดยวิธีใช้แรงดันอัด และเผาที่อุณหภูมิสูง ให้เกิดการรวมตัวของอนุภาคได้เนื้อละเอียดและแข็ง กระบวนการผลิตทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสูงเพื่อให้ได้เซรามิกที่มีคุณภาพเฉพาะนั้นๆ
  เซรามิกแบบใหม่ มีอยู่หลายชนิดในปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีความตื่นตัวและพยายามพัฒนาวัสดุเซรามิกชนิดต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเซรามิกจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโยีทั้งทางด้านอวกาศ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น การใช้เคเบิลใยแก้วในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันการสื่อสารสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เรียกกันว่า เป็นยุคของข่าวสารไร้พรมแดนขึ้น การค้นพบตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด หรือซุปเปอร์คอนดักเตอร์อุณหภูมิสูง( high-temperperature supercon-ductor) ซึ่งทำจากสารเซรามิกมีสภาพการนำไฟฟ้าได้โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กพลังมหาศาลออกมาได้ หากสามารถนำประยุกต์ใช้งานได้จะเกิดประโยชน์มหาศาล เช่น ใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปัจจุบันมาก ใช้ในอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆของการแพทย์ทางอวกาศ พัฒนารถไฟเหาะ แม่เหล็ก ตลอดจนใช้ในปฎิกริยานิวเคลืยร์ การใช้งานของเซรามิกแบบใหม่สามารถสรุปได้
  ชนิดของเซรามิกแบบใหม่ สามารถจัดแบ่งได้โดยอาศัยการแบ่งตามลักษณะการทำงานตามตารางข้างต้นนอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดของเซรามิกแบบใหม่ตามประเภทของสารประกอบ เช่น ออกไซด์ ไนไตรล์  คาร์ไบด์ บอไรด์ ฟลูออไรด์และซัลไฟด์
  เซรามิกแบบใหม่มีการใช้ในวงการพิมพ์บ้าง โดยส่วนใหญ่งานพิมพ์จะเป็นตัวเลขหรือข้อความ ไม่ค่อยมีการใช้พิมพ์ภาพสกรีนหรือภาพฮาล์ฟโทน

สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน

     เป็นสมบัติทางเชิงกลที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมของกระดาษที่เกิดขึ้นในขณะที่ได้รับแรงดึงซึ่งกระดาษแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันซึ่งสามารถอธิบายได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด( stress-strain plot ) ความเค้นในที่นี้ หมายถึง แรงที่กระทำให้วัตถุเกิดการยึดตัว ยกตัวอย่างเช่น แขวนตุ้มน้ำหนักไว้ที่ปลายลวด ลวดจะได้รับแรงดึงทำให้เกิดการยึดตัวขึ้น แรงที่กระทำเรียกว่า เทนไซล์สเตรส(tensile stress) มีหน่วยเป็นแรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น นิวตันต่อตารางเมตร( N/m2) ความเครียดในที่นี้ หมายถึง การยึดตัวของวัตถุเมื่อถูกแรงดึง หน่วยที่ใช้เป็นร้อยละ โดยคิดจากความยาวที่เพิ่มขึ้นต่อความยาวเดิมของวัตถุ เช่น วัตถุเดิมยาว 100 มิลลิเมตร หลังได้รับแรงดึงมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 105 มิลลิเมตร ดังนั้นวัตถุนี้จะมีความเครียดหรือความยึดเท่ากับร้อยละ 5 พฤติกรรมของกระดาษอธิบายจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น-ความเครียดได้ ดังภาพที่ 9.27 จากภาพจะเห็นว่าค่าแรงดึงของแนวขนานเครื่องจะสูงกว่าแนวขวางเครื่องและความยึดตัวของแนวขวางเครื่องจะสูงกว่าแนวขนานเครื่องอันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียงตัวของเส้นใย ที่ระดับความยึดร้อยละ 0.005 ของกระดาษทุกชนิด ค่าความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงและความยึด จะเป็นสมการเส้นตรง โดยเมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะมีการยึดตัวออกและสามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกเรียกพฤติกรรมนี้กระดาษว่าพฤติกรรมที่ยืดหยุ่นได้( elastic behavier ) แต่ที่ระดับความยึดตัวสูงกว่านี้กระดาษจะแสดงสมบัติคล้ายพลาสติก คือ เมื่อได้รับแรงดึงกระดาษจะยึดตัวออกแล้วไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออก ซึ่งเป็นลักษณะการยึดตัวของพลาสติก ที่ระดับความยึดร้อยละ0.022และ0.03 ซึ่งเป็นวงจรที่สองและสามของการยึดตัวและหดตัวของกระดาษ( straining-destrining cycles ) ในช่วงวงจรนี้กระดาษยึดตัวออกโดยมีแรงกระทำที่คงที่ แต่ไม่สามารถหดตัวกลับไปที่ความยาวเดิมได้เมื่อเอาแรงออกจะเห็นได้ว่ากระดาษสามารถแสดงสมบัติทั้งของยางและพลาสติกได้เมื่อได้รับแรงดึง( viscoselastic) จากเส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยึดต้ว สามารถจัดสมบัติเชิงกลพื้นฐาน โดยพิจารณาจากพื้นที่ใต้เส้นโค้งของแรงดึงและความยึดตัวหรือทีอีเอ ( tensilr energy absorption,TEA) มีหน่วยเป็นพลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เช่น จูลต่อตารางเมตร(j/m2)กระดาษแต่ละชนิดจะมีพื้นที่ภายใต้เส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดึงและความยืดตัวต่างกัน ยกตัวอย่างดังภาพที่9.28 กระดาษ2 ตัวอย่างaและbจะมีค่าTEA ไม่เท่ากัน กระดาษA มีค่าแรงดึงสูงกว่ากระดาษb แต่กระดาษ Bจะมีค่า TEA สูงกว่ากระดาษ A ซึ่งมีค่าแรงดึงสูงกว่าทั้งนี้เป็นเพราะกระดาษ B มีค่าความยึดสูงกว่า A มาก จึงให้ค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA สูงกว่าด้วย เพราะค่า TEA เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากค่าแรงดึงและความยึดตัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น

หน้าที่ของน้ำยาฟาวเทน พอสังเกตุ


                      น้ำยาฟาวเทนเป็นสารละลายชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยตัวถูกละลายหลายชนิดโดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย น้ำและตัวถูกละลายเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่างๆ กัน แต่โดนปกติแล้วจะทำให้น้ำยาฟาวเทนเคลือบได้ดีบริเวณไร้ภาพ กล่าวคือจะเคลือบในลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ อย่างถึง แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่เคลือบบริเวณภาพ 
  น้ำยาฟาวเทนมีชื่อเรียกได้หลายชื่อด้วยกัน ได้แก่ น้ำยาฟาวเทน (fountain Solution ) หรือน้ำยาที่ทำให้ชื้น(dampening solution) การทำให้ชื้น (dampening  หรือ dumping)หมายถึง การให้ความชื้นหรือน้ำแก่แม่พิมพ์
                     น้ำยาฟาวเทนมีจำหน่ายกันทั่วไปเป็นน้ำยาฟาวเทนเข้มข้น หรือในท้องตลาดเรียกกันโดยทั่วไปว่า"หัวน้ำยาฟาวเทน"หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "หัวน้ำยา" เวลาช่างพิมพ์นำไปใช้ในการพิมพ์ ต้องนำหัวน้ำยาฟาวเทนนี้มาทำให้เจือจางเสียก่อน โดยการตวงแล้วเติมน้ำยาตามสัดส่วนและคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ปริมาณหัวน้ำยาฟาวเทนที่ใช้ไม่มีการกำหนดตายตัว โดยทั่วไปต้องคำนึงถึงคุณสมบัติและคุณภาพของน้ำที่จะนำมาใช้เจือจางด้วย ทั้งนี้เพราะน้ำแต่ละท้องถิ่นก็จะมีคุณสมบัติและคุณภาพแตกต่างกันไป น้ำยาฟาวเทนที่เติมน้ำและทำให้เจือจางแล้วเป็นน้ำยาฟาวเทนที่พร้อมจะใช้เพื่อทำการพิมพ์

การยึดติดของหมึกพิมพ์

       สามารถตรวจสอบโดยการใช้เทปใสขนาดกว้าง 1 นิ้ว หมึกพิมพ็ที่มีคุณสมบัติยึดติดบนวัสดุพิมพ์ที่ดี  เมื่อใช้เทปกาวแปะบริเวณหมึกพิมพ์และดึงออกมา  ต้องไม่หลุดออกจากวัสดุพิมพ์อย่างเด็ดขาด  หากหมึกพิมพ์ที่ตรวจสอบหลุดลอกออกจากผิววัสดุพิมพ์   แสดงให้เห็นว่าหมีกพิมพ์ที่ผลิตนั้นมีคุณภาพไม่ได้มาตราฐานที่กำหนด

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์