Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้น มีที่มาจากหลายบริษัท ดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมีความ แตกต่างกันได้ เช่น ในเรื่องของความชื้น การรับน้ำหมึก ความขาว ความหนา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิต ทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้
  1. น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง
  2. ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษ เนื่องจากกระดาษจะถูกดึง และกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทาน กระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้
  3. ความต้านทานต่อน้ำและความชื้น กระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสม และไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษที่เลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบาง หมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร
  4. ความชื้นของกระดาษ กระดาษที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลง
  5. สีสันของเนื้อกระดาษ การเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวล เป็นต้น
  6. ความทึบของกระดาษ เนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่ง หรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือก หากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้
  7. ลักษณะผิวกระดาษ ผิวกระดาษจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น ไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษ
  8. การเรียงตัวของเยื่อกระดาษ / เส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน





ชนิดของกระดาษ มีอะไรบ้าง? (Paper type)

ชนิดของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วยเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

กระดาษอาร์ต



กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ 


  • กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษปอนด์

กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด (กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก ) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพง เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนา ในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย



กระดาษถนอมสายตา (Green Read)


เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดยเฉพาะ เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตา ทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตา กระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบา และเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมีความหนา ดูคุ้มค่า คุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้ว สีจะดูสดใสและนวล มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไป เหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามาก เช่น หนังสือประเภทวรรณกรรม

กระดาษปรู๊ฟ


กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูก เนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เน้นจำนวนการผลิตมาก ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน


กระดาษคาร์บอนเลส


เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วย เพื่อทำเป็นสำเนา กระดาษชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน


กระดาษกล่อง และกระดาษลูกฟูก


กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตามชนิดของกระดาษ เนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสี ถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่า แต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท


กระดาษแอร์เมล์


เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว


กระดาษพีวีซี


กระดาษชนิดนี้มีความทนทาน เนื้อเหนียว ส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตร และปกรายงาน

คลิปขั้นตอนการผลิตหมึกพิมพ์ (How Ink Is Made)


เป็นคลิปแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตหมึกพิมพ์ในระบบอุตสาหกรรมงานพิมพ์ (How Ink Is Made)   ด้วยเทคโนโลยีการผลิตของ PrintingInkCompany

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์