Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การแห้งตัวของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

    การแห้งตัวของหมึกพิมพ์ข้นเหนียวมีกลไกการแห้งตัวแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือการแทรกซึม(penetration) การเกิดพอลิเมอร์โดยการออกซิไดส์ (oxidative polymertion) แบบผสม (combination) และการเกิดพอลิเมอร์โดยใช้รังสีอุลต้าไวดอเลต
          การแทรกซึม  การแห้งตัวแบบการแทรกซึมมักเกิดขึ้นกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่มีความหนืดต่ำอย่างเช่นหมึกพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์ทั้งหมึกพิมพ์ออฟเซคและหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ โดยอาศัยหลักการที่ตัวทำละลายในหมึกพิมพ์จะแทรกซึงผ่านลงไปในช่องว่างของกระดาษ  จึงทำให้เกิดการแห้งตัวขึ้น
   
          การเกิดพอลิเมอร์โดยการออกซิไดส์  การแห้งตัวแบบนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่ประกอบด้วยเรซิ่นและน้ำมันที่ไม่อิ่มตัว  ซึ่งโมเลกุลประกอบไปด้วยหมู่เอทิลีน (C=C) การแห้งตัวแบบนี้แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การเกิดเปอร์ออกไซด์(peroxide)
  2. การสลายตัวให้ฟรีแรดดิเคิล(free radical)
  3. การเกิดพอลิเมอร์
  4. การหยุดการเกิดพอริเมอร์(termination)
ปัจจุยันหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่มีการแห้งตัวแบบนี้ใช้พิมพ์พลาสติกและฟอยล์  ใช้เวลานานในการแห้งตัว  จึงได้มีการพัฒนาการแห้งตัวให้เร็วขึ้นโดยใช้รังสีอุลตราไวโอเลตมาช่วย


       แบบผสม  การแห้งตัวแบบผสมเป็นการเกิดร่วมกันของการแห้งตัวแบบแทรกซึมและการแห้งตัวแบบการเกิดพอลิเมอร์โดยการเกิดออกซิไดส์  ซึ่งมักเกิดขึ้นกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวชนิดป้อนแผ่น


      การเกิดพอลิเมอร์โดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลต  การแห้งตัวแบบนี้จะใช้รังสีอุลตราไวโอเลตช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างพอลิเมอร์

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์