Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

การจำแนกแก้วตามลักษณะการใช้งาน


  แก้วสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
1. แก้วที่ใช้ในวงการวิทยาศาสาตร์
  เมื่อพิจารณาสมบัติๆของแก้ว เช่น ทางด้านเชิงกล ความร้อน ทางไฟฟ้า ทางแสง และทางเคมีแล้วแก้วยังสมารถผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในความต้องการได้หลายประเภท เป็นเครื่องมือที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น แก้วที่ใช้ทำเลนส์ และแก้วปริซึมในกล้องจุลทรรศน์ที่มีคูณภาพสูง กล้องดูดาวที่ใช้ในการสำรวจจักรกาลโดยศึกษาระยะดวงดาวที่อยู่ห่างไกลจากโลภมากได้ ทำการวิเคราะห์ความลึกลับต่างๆ ของธรรมชาติโดยถ่องแท้โดยใช้สายตาผ่านเลนส์แก้ว นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาแก้วที่เหมาะสำหรับการใช้งานทางเคมีที่ทนต่อความร้อน และกัดกร่อนจากกรดได้ดีอีกด้วย
  ในห้องผ่าตัดยุคใหม่จะประกอบด้วยแก้วพิเศษซึ่งช่วยลดความร้อนจากหลอดไฟแรงเทียนสูงให้หมดโดยแก้วจะทำหน้าที่คลายความร้อนออกได้ช้ามาก ในทางการแพทย์ ห้องผ่าตัดยุคใหม่ จะใช้แก้วพิเศษชนิดรูปวงแหวนประกอบปืนอิเล็กตรอนใช้ยิงอนุภาคไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าการฉายรังสี( เรเดียม )ถึง 2 เท่าตัวในการค้นคว้าวิจัยต้องใช้แก้ว เช่น บิกเกอร์ ปิเปต บูเรต หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่นๆ อีกมาก
2. แก้วที่ใช้ในการให้แสงสว่าง
  ในอดีตจำเป็นต้องใช้โป๊ะแก้ว ปัจจุบันจึงมีหลอดไฟที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันเช่น หลอดไฟประหยัดไฟฟ้า ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออน ส่วนหลอดที่ใช้ทำป้ายโฆษณาที่มีสวยสดงดงามและหลอดที่มีกำลังส่องสว่างสูงกว่าหลอดธรรมดาด้วย การเกิดสีต่างๆ นั้น เป็นผลเนื่องจากการอัดก๊าซเข้าไปหลอด หรือเกิดจากสารเคมีบางชนิด เช่น แคลเซียมทังสเตนให้สีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเกตให้สีเขียว แคตเมียมบอเรต( cadmium borate ) ให้สีชมพู่
  สำหรับหลอดไฟที่อัดด้วยก๊าซฮาโลนา คลอรีน ฟลูออรีน ไอโอดีน นั้น ขณะที่หลอดติดจะเกิดความร้อนสูงให้แสงสว่างมาก จึงนิยมใช้ทำหลอดไฟสปอตไลด์( sport light ) ของรถยนต์ นอกจากนี้ยังสามารถอัดสารอื่นๆ เข้าไปในหลอดไฟ เช่น โซเดียม ปรอท นิยมใช้เป็นหลอดไฟแสงสว่างตามถนนหนทาง หรือกระโจมไฟ การอัดสารใดๆ เข้าไปหลอดไฟ จะต้องพิจารณาด้านความเหมาะสมในการใช้งาน
 3. แก้วที่ใช้วงการก่อสร้าง
  ในปี พ.ศ 2443 หรือ ค.ศ 1900 ผลิตภัณฑ์แก้วที่นำมาใช้ในวงการก่อสร้างเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ แก้วแผ่นใช้บุหน้าต่าง แต่ในปัจจุบันได้นำแก้วมาใช้เป็นจำนวนมาก ทำเป็นผลิตภัณฑ์แก้วแบบต่างๆ เช่น อิฐแก้ว ผลิตภัณฑ์แก้วชนิดเส้นใยใช้ทำม่าน หรือบุเก้าอี้ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ในที่ๆ แสงสว่างน้อยไม่เพียงพอก็ใช้บุเพดานหรือหลังคา หรือ กำแพงด้วยอิฐแก้วก็จะช่วยให้มีแสงสว่างดี และมากขึ้น
  ในปัจจุบันในวงการสถาปัตย์กรรมพยายามหาผลิตภัณฑ์แก้วแบบใหม่มาใช้งาน และนับวันจะมีบทบาทมากขึ้น การใช้เส้นใยแก้วก็เช่นเดียวกัน ได้จากการหลอมแก้ว แล้วใช้การดึงจากแก้วเหลวให้เป็นเส้นใย เมื่อได้เส้นใยขนาดต่างๆ ตามต้องการแล้ว จึงนำไปทอเป็นแผ่น สุดแท้แต่ลักษณะความต้องการในการใช้งาน บางครั้งก็นำเส้นใยไปทอเป็นเสื้อกันความร้อน หรือเสื้อกันไฟ ใยแก้วส่วนใหญ่ใช้บุเป็นฉนวนกันความร้อน ถือว่าเป็นวัตถุช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในตู้เย็น จะมีแผ่นฉนวนกันความร้อนบุโดยรอบ
  ในวิทยาการแผนใหม่กล่าวไว้ว่า ช่วงคลื่นของโทรทัศน์สี สามารถถ่ายทอดภาพ และเคลื่อนไปตามเส้นใยแก้วได้เป็นระยะทางไกลๆ แก้วอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำใช้งานก่อสร้าง ได้แก่ แก้วโฟม ( foam giass ) ซึ่งทำจากแก้วบดละเอียดผสมกับถ่านบด แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิสูง ใช้เป็นวัตถุก่อสร้างที่สำคัญอย่างหนึ่ง สมบัติพิเศษของแก้วโฟม คือ น้ำหนักเบามาก ลอยน้ำได้ ทนไฟ และไม่มีกลิ่น เมื่อหลอมละลายจะเกิดการขยายตัวมีฟองสีดำ เทลงไปลงแบบ และปล่อยให้แข็งตัวจะได้ในวัตถุที่แข็ง ทั้งหมดนี้แสดงว่าแก้วมีบทบาทเกี่ยวข้องกับความเจริญและความใกล้ชิดกับมนุษย์โลกอยู่ตลอดเวลา
4. แก้วในวงการศิปละ
  ผลิตภัณฑ์แก้วประเภทนี้ ไดแก่ แก้วไวแสง ซึ่งมีความไวต่อรังสีอัลตราไวโเลต ซึ่งสามารถใช้อัดภาพในแก้ว นอกจากนี้ยังมีแก้วสีต่างๆ ที่ใช้ในป้ายสัญญาณจราจร แก้วสีมาจากแก้วใส แต่ใส่ออกไซด์ของโลหะลงไปเล็กน้อยทำให้เกิดสีขึ้นในเนื้อแก้ว เช่น ใส่โคบอลต์ออกไซด์ ( cobalt oxide ) ให้สีน้ำเงิน ใส่เหล็กออกไซด์ให้สีชาใส่โครมิกออกไซด์ ( chromic oxide ) ให้สีเขียว
  บางทีก็ใช้ในการทำแว่นตาสีต่างๆ ในกรณีที่เป็นขวดแก้ว เรียกว่า แก้วเจียไน มีการตกแต่งโดยการกัดผิวให้เป็นรูปร่างศิปละขึ้นมา แก้วอีกอย่างหนึ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ เรียกว่า แก้วกระจกสี ซึ่งนิยมใช้ในการตกแต่งโบสถ์ วัดวาอาราม
5. แก้วในวงการอุตสาหกรรม
  แก้วมีส่วนช่วยให้กิจกรรมดำเนินไปด้วยความสะดวกหลายประการ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจะช่วยแก้ไขได้โดยผลิตภัณฑ์แก้ว เพราะนำไปใช้ในกิจกรรมเฉพาะเรื่องงได้ เช่น แก้วใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน ทนความร้อนได้ดี ไม่ผุกร่อน มองเห็นการทำงานได้ง่าย นอกจากนี้แก้วยังนำไปใช้ทำท่อต่างๆ ที่ใช้ในอุาสาหกรรมนม แก้วบางประเภทใช้กันความร้อนในอุตสาหกรรมโลหะ และใช้เป็นชิ้นส่วนของปั๊มบางประเภทที่ต้องทนต่อสารเคมี แก้วชนิดเป็นแก้วโบโรซิลิเกต หรือแก้วซิลิก้า ในปัจจุบันนี้ได้มีวิวัฒนาการนำแก้วมาใช้ทำเครื่องยนต์ต่างๆด้วย
6. แก้วในวงการอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนานคม
  จากการที่แก้วมีสมบัติเป็นฉนวน จึงได้มีการนำแก้วมาใช้ในการโทรคมนานคมและวงการอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั่วไปแก้วชนิดนี้ใช้ในวงการวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบเป็นพิเศษให้ทนต่อแรงดันไฟฟ้าสูงและช่วงความถี่สูงได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องประกอบทางวิทยุต่างๆ เช่น ตัวเหนี่ยว( inductance ) ตัวเก็บประจุ ( capactior ) หลอดโทรทัศน์สุญญากาศ แก้วบางประเภทนำมาทำเทปใสหนา 1/1000 ของ 1 นิ้ว ใช้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ สะดวกในการนำไปในที่ต่างๆ แม้แต่ลูกถ้วยไฟฟ้าแก้วตามหัวเสาไฟ หรือสายผ่านสัญญาณ ( transmission line ) ที่พบเห็นกันทั่วๆ ไปอีกด้วย
7. แก้วในยุคอวกาศ
  แก้วที่มีบทบาทสำคัญในวงการยุคอวกาศ โดยเฉพาะที่มนุษย์โลกได้พยายามขึ้นไปในอวกาศเพื่อการศึกษาจำเป็นต้องมองผ่านหน้าต่าง ซึ่งทำด้วยแก้วพิเศษ แม้แต่ในจรวดก็เช่นเดียวกัน ส่วนประกอบหลายอย่างใช้แก้วเป็นวัสดุสำคัญรวมถึงกล้องถ่ายรูปชนิดพิเศษที่ติดไปกับจรวดด้วย แก้วเหล่านี้ต้องทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลันได้โดยไม่เกิดการแตก นอกจากนี้ยังทนต่อรังสีอินฟาเรดที่ใช้ทำหน้ากระจังเครื่องบินที่ใช้ความเร็วสูง และใช้กระจกที่ทนต่อความสูงมากๆ แก้วอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานจรวด ได้แก่ แก้วเซรามิก ใช้การฉาบผิวที่อุณหภูมิสูง เนื่องจากกระสวยอวกาศก่อนร่อนลงสู่ผิวโลกจะต้องเสียดสีกับอากาศตามชั้นต่างๆ ทำให้เกิดความร้อนสูง จึงจำเป็นต้องเคลือบด้วยแก้วเซรามิกที่หัวจรวด กระเบื้องที่มีรูปร่างเป็นโฟมฟูๆ ฉาบผิวด้วยแก้วซิลิก้า มีการระบายความร้อนดีมาก และเป็นฉนวนกันความร้อนที่เมื่อผ่านชั้นอากาศก็ทนได้ดีซึ่งขึ้นอยู่สารยึดที่ทำให้เซรามิกหรือกระเบื้องติดอยู่ดี หรือไม่เท่านั้น

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์