Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วย Chine Colle of Print Techniques

Chine Colle
Chine คือ กระดาษชนิดหนึ่งที่มีเนื้อสีนวล ผิวเนียนบางมาก สามารถนำมาปะติดด้วยกาวแป้งเปียกลงบนกระดาษภาพพิมพ์ ก่อนที่จะนำไปพิมพ์ภาพทับเพื่อให้ได้น้ำหนักของพื้นที่สี ที่แตกต่างกันออกไป

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วย Acid of Print Techniques


Acid
คือ น้ำกรดที่ใช้สำหรับกัดผิวหน้า ของแม่พิมพ์ในเทคนิคแม่พิมพ์โลหะ ( Etching ) เพื่อทำให้เกิดเส้นหรือน้ำหนักต่างๆ กรดที่ใช้ทั่วไปได้แก่ กรดไนตริก กรดไฮโดรคลอลิค และเฟริกคลอไรด์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Edition of Print Techniques


Edition
งานพิมพ์ชิ้นๆหนึ่งสามารถพิมพ์จำนวนพิมพ์ ( edition) ได้ตั้งแต่หนึ่งชิ้นของผลงานไปจนถึง หลายพันชิ้น การพิมพ์ผลงานจำนวนมาก อาจทำความเสียหายแก่แม่พิมพ์ได้ ซึ่งทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ดี หรือมีมาตรา ฐานไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อรักษามาตราฐานคุณภาพของผลงาน จึงมีการกำหนดจำนวนพิมพ์ ( edition) ของงานไว้อยู่ในราว หนึ่งร้อยชิ้น แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมพิมพ์กันโดยประมาณ 30-40 ชิ้น ส่วนงานภาพพิมพ์สีที่ใช้แม่ พิมพ์หลายแม่พิมพ์นั้นจะยุ่งยาก และใช้เวลามากในการพิมพ์ กรณีนี้จำนวนพิมพ์ของผลงานจึงกำหนดให้น้อย ลงไปอีก

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Monotype of Print Techniques


Monotype
วิธีการนี้ศิลปินจะวาด ระบายหรือกลิ้งสีบนพื้นผิวหน้าของวัสดุชนิดต่างๆ เช่น แผ่นพลาสติก กระดาษ สังกะสี หรือแผ่นไม้ จากนั้นนำกระดาษมากดทับ หรือนำภาพที่วาดไว้ดังกล่าวไปพิมพ์ผ่านแท่นพิมพ์ วิธีการแบบนี้สามารถสร้างรูปได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Silksceen of Print Techniques


Silksceen
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Serigraph วิธีการที่ง่ายที่สุดของเทคนิคนี้ก็คือ ศิลปินจะกันส่วนต่างๆที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพของแม่พิมพ์ที่ขึงจากตะแกรงผ้า (ส่วนใหญ่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ คล้ายผ้าไหม) ขึงบนกรอบเฟรม จากนั้นหมึกพิมพ์จะถูกปาดด้วยยางปาดผ่านแม่พิมพ์ลงสู่กระดาษด้านล่าง โดยหมึกจะสามารถผ่านพื้นที่แม่พิมพ์ที่ไม่ได้ถูกกันเท่านั้นลงปรากฎบนกระดาษเป็นภาพ งานซิลค์สกรีนที่ใช้หลายๆสี สามารถทำได้โดยการพิมพ์ผ่านแม่พิมพ์หลายแม่พิมพ์ คือแม่พิมพ์แต่ละแม่พิมพ์สำหรับสีแต่ละสี นอกจากวิธีนี้ศิลปินสามมารถเขียนภาพลงบนแผ่นฟิล์มใสด้วยหมึกที่มีความทึบแสง หรือแสงไม่สามารถส่องผ่านได้ ถ้าเป็นงานภาพพิมพ์สี ศิลปินจะ ต้องแยกสีโดยการ เขียนแยกลงบนแผ่นฟิล์มแต่ละแผ่น ซึ่งต้องทับซ้อนให้พอดีกัน จากนั้นภาพบนฟิล์มจะถูกถ่าย ทอดลง บนแม่พิมพ์โดย กระบวนการฉายแสง คือใช้น้ำยาไวแสงผสมกับกาวอัดเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์ นำแผ่น ฟิล์มที่เขียนไว้วางทับแม่พิมพ์ แล้วนำไปฉายด้วยแสงไฟ จากนั้นนำไปฉีดน้ำ พื้นที่ที่ศิลปินไม่ได้เขียน ด้วยหมึกทึบแสงจะถูกกันไว้ด้วยน้ำยาไวแสงที่แข็งตัวและติดแน่น เมื่อนำไปพิมพ์หมึกพิมพ์จะไม่สามารถผ่านได้ การพิมพ์เทคนิคนี้เริ่มแพร่หลายในยุโรป เมื่อปลายทศวรรษที่ 1940 นี้เอง

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แบบ Lithography of Print Techniques


Lithography
คำว่า ลิโธกราฟ (ภาพพิมพ์หิน) หรือ Planographic process คือ กระบวนการทำภาพพิมพ์ที่มีแม่พิมพ์ผิวเรียบแบน เป็นการวาดเส้นลงแผ่นหิน นอกจากแผ่นแม่พิมพ์หินเนื้อดีแล้ว แม่พิมพ์ที่ผลิตเป็นพิเศษจากโลหะก็สามารถนำมาใช้กับเทคนิคนี้ได้ วิธีการของเทคนิคนั้นอาศัยหลักความจริงที่ว่า ไขมันกับน้ำจะไม่รวมตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาพที่เขียนลงบนแม่พิมพ์ จะเขียนด้วยวัสดุที่มีส่วนผสมของไข จากนั้นจะทำแม่พิมพ์ให้ชื้นด้วยน้ำ แล้วจึงนำหมึกซึ่งมีส่วนผสมของไขกลิ้งลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์ หมึกจะติดกับภาพที่ร่างไว้ด้วยไข แต่จะไม่ติดลงบนผิวแม่พิมพ์ที่เปียกชื้น จากนั้นพิมพ์ภาพโดยผ่านแรงกดจากแท่นพิมพ์ สำหรับการพิมพ์จำนวนมากนั้น ต้องรักษาแม่พิมพ์โดยการใช้สารเคมีเคลือบเพื่อปกป้องภาพที่ร่างด้วยไขให้ติดแน่นกับแม่พิมพ์ แล้วใช้กาวอะราบิคเคลือบให้ทั่วแม่พิมพ์อีก ขั้วหนึ่งเพื่อป้องกันไขมันอื่นๆที่สามารถติดลงบนแม่พิมพ์ได้ สำหรับการสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นสี ศิลปินจะใช้การแยกแม่พิมพ์

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Sugar-lift etching of Print Techniques

Sugar-lift etching
คือการเขียนภาพลงบนแม่พิมพ์โลหะด้วยน้ำเชื่อม (น้ำผสมกับน้ำตาลต้มจนได้ที่แล้วผสมด้วยหมึก หรือ สีดำ) จากนั้นใช้วานิชดำผสมบางๆ เคลือบผิวหน้าของแม่พิมพ์ทั้งหมด พอวานิชหมาด จึงนำแม่พิมพ์ไปฉีดหรือแช่ด้วยน้ำอุ่น น้ำตาลที่เขียนไว้ก็จะละลายออกมากับน้ำ นำแม่พิมพ์ไปโรยยางสน และกัดกรดตามกรรมวิธีแม่พิมพ์โลหะ วิธีการนี้จะทำให้ได้ร่องรอยและลักษณะของฝีแปรง เช่นเดียวกับการเขียนด้วยพู่กันในงานจิตรกรรม

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Softground etching of Print Techniques


Softground etching
เป็นอีกวิธีการหนึ่งของเทคนิคแม่พิมพ์โลหะ ( etching) คือการทาหรือกลิ้งเคลือบผิวหน้าแม่พิมพ์ที่มีส่วน ผสมของวานิชดำ ขี้ผึ้งและวาสลีน ส่วนผสมนี้จะให้พื้นผิวที่มีลักษณะอ่อนนุ่มและเหนียว สามารถประทับร่องรอยต่างๆลงไปได้โดยง่าย ศิลปินจะนำวิธีการนี้มาใช้ได้ 2 วิธีการหลักๆคือ หนึ่ง ศิลปินขีดเขียนผ่านกระดาษเนื้อบางลงสู่แม่พิมพ์ที่เคลือบขี้ผึ้ง Softground ไว้แล้ว เมื่อดึงกระดาษออกกระดาษจะซับเนื้อขี้ผึ้งขึ้นมาด้วย เป็นการเปิดผิว หน้าของแม่พิมพ์ จากนั้นจึงนำพิมพ์ไปกัดกรด หรืออีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างพื้นผิวลงบนขี้ผึ้ง เช่น การประทับด้วยรอยน้ำมือ หรือใช้วัสดุแบนกดประทับ โดยนำไปเข้าแท่นพิมพ์เพียงเบาๆ รูปทรงและพื้นผิวของวัสดุก็จะปรากฏที่แม่พิมพ์ตามต้องการ

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Spitbite of Print Techniques


Spitbite
เป็นอีกวิธีการหนึ่งของเทคนิค แม่พิมพ์โลหะ โดยขั้นแรกนำแม่พิมพ์ไปผ่านกรรมวิธีโรยยางสน เช่นเดียว กับการเตรียมแม่พิมพ์สำหรับเทคนิค aquatint จากนั้นใช้น้ำกรดที่มีอัตราส่วนที่ผสมเข้มข้น มาระบายลงบนแม่ พิมพ์ ที่เตรียมไว้ น้ำกรดจะค่อยๆกัดผิวหน้าของแม่พิมพ์ สร้างน้ำหนักขาว เท่าดำ ที่มีลักษณะนุ่มนวล คล้ายกับการวาดภาพด้วยหมึกดำหรือสีน้ำ

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์ Aquatint of Print Techniques


Aquatint
เป็นกระบวนการที่ใช้สร้างน้ำหนักมากกว่าเส้น หรือร่องรอยต่างๆ ศิลปินจะโรยผงยางลงบนแม่พิมพ์ด้วยตู้โรยยางสน แล้วใช้ความร้อนลนแม่พิมพ์ให้ทั่ว เพื่อให้ยางสนละลายติดแน่นบนแม่พิมพ์ เมื่อนำแม่พิมพ์ไปแช่ลงในกรด น้ำกรดจะกัดผิวแม่พิมพ์รอบๆ ผงยางสนแต่ละจุดทำให้เกิดร่องวงแหวนเป็นจุดเล็กๆ น้ำกรดนี้สามารถกัดแม่พิมพ์ทั้งแผ่นให้มีน้ำหนักราบเรียบเสมอกัน หรือนำมาระบายลงบนแม่พิมพ์ด้วยพู่กัน เพื่อให้ร่องรอยของฝีแปรงก็ได้

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์ (Drypoint of Print Techniques)


Drypoint
เป็นเทคนิคที่คล้ายคลึงกับเทคนิค Hardground จะต่างกันตรงที่กระบวนการสร้างเส้น และรูปทรงต่างๆ ซึ่งแทนที่จะวาดลงบนพื้นผิวแม่พิมพ์ที่เคลือบขี้ผึ้งแล้วจึงค่อยนำไปกัดกรด แต่จะใช้เหล็กแหลมขูดขีดลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์โดยตรงเหมือนกับการเขียนด้วยปากกา เพียงแต่จะต้องออกแรงกดในการขีดเขียนมากกว่า เพื่อให้ได้เส้นที่ลึกตามความต้องการ เทคนิคนี้จะทำให้เส้นที่ขีดเขียนลงไป มีขอบแหลมคมขึ้นมา เมื่อนำแม่พิมพ์ไปอุดหมึกขอบแข็งนี้จะอุ้มหมึกไว้ได้ดีมากกว่าปกติ ทำให้เส้นที่ได้จากการพิมพ์ด้วยเทคนิคนี้มีความอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะ (Etching of Print Techniques)


Etching
แม่พิมพ์โลหะ (มักนิยมใช้แม่พิมพ์ทองแดง หรือสังกะสี) โดยนำแม่พิมพ์มาเคลือบด้วยวานิชดำ ซึ่งมีคุณ สมบัติกันน้ำกรดได้ แล้วขีดเขียนด้วยเหล็กแหลม ( needle) ลงไปเพื่อเปิดผิวหน้าแม่พิมพ์ จากนั้นนำแม่พิมพ์ลงไปแช่ในอ่างน้ำกรด แล้วล้างด้วยน้ำจึงล้างวานิชดำออก นำแม่พิมพ์ไปอุดหมึกพิมพ์ เช็ดหมึกในส่วนที่ไม่ต้องการของผิวหน้าแม่พิมพ์ออก คงเหลือไว้แต่หมึกพิมพ์ที่ฝังอยู่ในร่องลึกเท่านั้น จากนั้นนำไปพิมพ์โดยใช้กระดาษเนื้อดีที่ทำขึ้นเตรียมไว้ พิมพ์ผ่านแรงกดของแท่นพิมพ์ กระดาษพิมพ์ที่ชื้นจะลงไปซับหมึก ในร่องลึกของแม่พิมพ์ขึ้นมาปรากฏเป็นภาพที่ต้องการ

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์แกะสลักจากไม้ (Woodcut of Print Techniques)


Woodcut
ศิลปินจะแกะผิวหน้าของแม่พิมพ์ไม้ด้วยสิ่ว มีด หรืออุปกรณ์แกะสลัก จากนั้นนำไปพิมพ์ การพิมพ์นั้นสามารถพิมพ์โดยผ่านแรงกดของแท่นพิมพ์ หรือพิมพ์ด้วยมือในลักษณะเดียวกันนี้ฝนด้านหลังของกระดาษพิมพ์ก็ได้ ภาพพิมพ์แกะไม้โดยทั่วไป มักจะเห็นเป็นเส้น หรือพื้นที่สีดำบนกระดาษขาว แต่ศิลปินฝรั่งเศสที่ชื่อ โกแกง ( Gauguin) ทำให้ภาพพิมพ์ชนิดนี้มีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยเขาใช้กระดาษทรายขัดลดขอบคมของภาพที่แกะขึ้น เพื่อให้ได้ระดับของน้ำหนักที่ต่างกันในภาพ

แม่พิมพ์ออฟเซตชนิดโลหะ

              แม่พิมพ์ออฟเซตชนิดโลหะ ( Metal Plate ) เป็นแม่พิมพ์ที่มีการใช้โลหะ 2 หรือ 3 ชนิด เคลือบชั้นกันเป็นชั้นๆ โดยวิธีการเคลือบโลหะ โดยโลหะที่ใช้มีคุณสมบัติแตกต่างกันด้านการรับหมึกและการรับน้ำ เพื่อมาแบ่งบริเวณภาพและบริเวณไร้ภาพออกจากกัน
             
              ตัวอย่างโลหะที่รับหมึกพิมพ์ไำด้ดี  ทำหน้าที่เป็นบริเวณภาพ ได้แก่ สังกะสี ทองแดง ทองเหลือง และเงิน
              ตัวอย่างโลหะที่รับน้ำได้ดี  ทำหน้าที่เป็นบริเวณไร้ภาพ ได้แก่ อลูมิเนียม โครเมียม และนิกเกิล
จากโครงสร้างของแม่พิมพ์ออฟเซตที่ใช้โลหะ 3 ชนิด ในการผลิตแม่พิมพ์โลหะแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันโดยโครเมียมทำหน้าเป็นส่วนรับน้ำหรือเป็นบริเวณไร้ภาพ ส่วนทองแดงทำหน้าที่เป็นส่วนที่รับหมึกหรือบริเวณภาพ และอลูมิเนียมทำหน้าที่เป็นฐานรองรับเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก้แม่พิมพ์
             เนื่องจากบริเวณภาพเป็นโลหะ ทำให้แม่พิมพ์ชนิดนี้ใช้งานได้นาน แม่พิมพ์ชนิดนี้มีการผลิตคล้ายแม่พิมพ์พื้นลึก 

โครงสร้างพื้นฐานและวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์พื้นราบ

     เนื่องจากแม่พิมพ์พื้นราบที่มีในที่นี้ คือ แม่พิมพ์ออฟเซต  ใช้หลักการของการไม่รวมตัวกันระหว่างน้ำกับน้ำมัน และแม่พิมพ์มีบริเวณภาพและบริเวณไร้ภาพที่อยู่ในระดับเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานและวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ออฟเซตสามารถแบ่งได้ตามที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการพิมพ์ 3 ประิเภท ดังนี้

  1. แม่พิมพ์ออฟเซตชนิดโลหะ(Matel plate)
  2. แม่พิมพ์ออฟเซตชนิดกึ่งสำเร็จ ( Wipe on plate )
  3. แม่พิมพ์ออฟเซตชนิดสำเร็จ ( Presensitized plate )

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์