Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

วิธีการจับยึดและติดตั้งแผ่นพิมพ์บนลูกกลิ้งของเครื่องพิมพ์เฟลกโซ

       
           การสาธิตเทคนิควิธีการติดตั้งและยึดแผ่นแม่พิมพ์เข้ากับโมลูกกลิ้ง บนแท่นยึดเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี  เพื่อเสริมทักษะสำหรับช่างพิมพ์ ที่ทำงานกับเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี  ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มความชำนาญให้แก่ตัวเอง









โครงสร้างพื้นฐานและวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี

   แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีเป็นแม่พิมพ์พื้นนูนซึ่งบริเวณภาพสูงกว่าบริเวณไร้ภาพ  สมัยเริ่มแรกถ้าพูดถึงแม่พิมพ์นี้ทุกคนจะรู้จักในลักษณะของยางธรรมชาติ ซึ่งได้รับการแกะหรือหล่อ ลักษณะการทำแม่พิมพ์แบบเก่านี้ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาคุณภาพของสิ่งพิมพ์ให้ดีขึ้น ดังนั้นแม่พิมพ์ระบบนี้ก็ได้รับการพัฒนาตามด้วยจนมาเป็นแม่พิมพ์พอลิเมอร์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีการผสมสารไวแสงลงไป เมื่อมีการฉายแสงรังสีอัลตราไวโอเลตผ่านฟิล์มเนกาทิฟลงบนแม่พิมพ์พอลิเมอร์ไวแสงแล้วนำไปล้างในน้ำยาสร้างภาพจะได้ภาพที่ต้องการ แม่พิมพ์พอลิเมอร์สามารถให้ภาพพิมพ์ที่ละเอียดได้
       
               แม่พิมพ์พอลิเมอร์ส่วนใหญ่เป็นชนิดแผ่นสำเร็จ ขนาดของแม่พิมพ์พอลิเมอร์ไวแสงสามารถทำได้ขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับแม่พิมพ์ยางธรรมขาติ ซึ่งมีขนาดประมาณ 40 x 40 ตารางนิ้ว แม่พิมพ์พอลิเมอร์สามารถทำได้ถึง 80 x 42 ตารางนิ้ว โดยใช้เครื่องทำแม่พิมพ์ที่มีการควบคุมเป็นอย่างดี

แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี




ประวัติความเป็นมาของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี กล่าวว่าในปี พ.ศ.2313 หรือ ค.ศ.1770 มีนักเคมีชาวอังกฤษ


ชื่อว่า โจเซฟ เพรสเลย์ (Joseph Presley) ค้นพบว่าลาเทกซ์หรือน้ำยางที่แข็งตัวด้วยความร้อนนั้นสามารถนำมาลบรอยดินสอได้ เขาจึงตั้งชื่อว่า ยางลบ (rubber)


อีก 69 ปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2382 หรือ ค.ศ. 1893 นายชาร์ลส กูดเยียร์ (Charles Goodyear) ได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้ยางดิบแข็งขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยได้ทำการทดลองผสมยางดิบกับกำมะถันหรือซัลเฟอร์ และหยดลงบนเตาในครัว และเฝ้าดูปฏิกริยาการแข็งตัวที่เกิดขึ้นของยาง เขาพบว่ายางที่ได้แข็งขึ้น เขาเรียกปฏิกิริยานี้ว่า วัลคาโนเซชัน(Vulcanization) หลังจากการค้นพบนี้ก็ได้เกิดเป็นอุตสาหกรรมการทำยางขึ้น

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์