Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Sugar-lift etching of Print Techniques

Sugar-lift etching
คือการเขียนภาพลงบนแม่พิมพ์โลหะด้วยน้ำเชื่อม (น้ำผสมกับน้ำตาลต้มจนได้ที่แล้วผสมด้วยหมึก หรือ สีดำ) จากนั้นใช้วานิชดำผสมบางๆ เคลือบผิวหน้าของแม่พิมพ์ทั้งหมด พอวานิชหมาด จึงนำแม่พิมพ์ไปฉีดหรือแช่ด้วยน้ำอุ่น น้ำตาลที่เขียนไว้ก็จะละลายออกมากับน้ำ นำแม่พิมพ์ไปโรยยางสน และกัดกรดตามกรรมวิธีแม่พิมพ์โลหะ วิธีการนี้จะทำให้ได้ร่องรอยและลักษณะของฝีแปรง เช่นเดียวกับการเขียนด้วยพู่กันในงานจิตรกรรม

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Softground etching of Print Techniques


Softground etching
เป็นอีกวิธีการหนึ่งของเทคนิคแม่พิมพ์โลหะ ( etching) คือการทาหรือกลิ้งเคลือบผิวหน้าแม่พิมพ์ที่มีส่วน ผสมของวานิชดำ ขี้ผึ้งและวาสลีน ส่วนผสมนี้จะให้พื้นผิวที่มีลักษณะอ่อนนุ่มและเหนียว สามารถประทับร่องรอยต่างๆลงไปได้โดยง่าย ศิลปินจะนำวิธีการนี้มาใช้ได้ 2 วิธีการหลักๆคือ หนึ่ง ศิลปินขีดเขียนผ่านกระดาษเนื้อบางลงสู่แม่พิมพ์ที่เคลือบขี้ผึ้ง Softground ไว้แล้ว เมื่อดึงกระดาษออกกระดาษจะซับเนื้อขี้ผึ้งขึ้นมาด้วย เป็นการเปิดผิว หน้าของแม่พิมพ์ จากนั้นจึงนำพิมพ์ไปกัดกรด หรืออีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างพื้นผิวลงบนขี้ผึ้ง เช่น การประทับด้วยรอยน้ำมือ หรือใช้วัสดุแบนกดประทับ โดยนำไปเข้าแท่นพิมพ์เพียงเบาๆ รูปทรงและพื้นผิวของวัสดุก็จะปรากฏที่แม่พิมพ์ตามต้องการ

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะแบบ Spitbite of Print Techniques


Spitbite
เป็นอีกวิธีการหนึ่งของเทคนิค แม่พิมพ์โลหะ โดยขั้นแรกนำแม่พิมพ์ไปผ่านกรรมวิธีโรยยางสน เช่นเดียว กับการเตรียมแม่พิมพ์สำหรับเทคนิค aquatint จากนั้นใช้น้ำกรดที่มีอัตราส่วนที่ผสมเข้มข้น มาระบายลงบนแม่ พิมพ์ ที่เตรียมไว้ น้ำกรดจะค่อยๆกัดผิวหน้าของแม่พิมพ์ สร้างน้ำหนักขาว เท่าดำ ที่มีลักษณะนุ่มนวล คล้ายกับการวาดภาพด้วยหมึกดำหรือสีน้ำ

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์ Aquatint of Print Techniques


Aquatint
เป็นกระบวนการที่ใช้สร้างน้ำหนักมากกว่าเส้น หรือร่องรอยต่างๆ ศิลปินจะโรยผงยางลงบนแม่พิมพ์ด้วยตู้โรยยางสน แล้วใช้ความร้อนลนแม่พิมพ์ให้ทั่ว เพื่อให้ยางสนละลายติดแน่นบนแม่พิมพ์ เมื่อนำแม่พิมพ์ไปแช่ลงในกรด น้ำกรดจะกัดผิวแม่พิมพ์รอบๆ ผงยางสนแต่ละจุดทำให้เกิดร่องวงแหวนเป็นจุดเล็กๆ น้ำกรดนี้สามารถกัดแม่พิมพ์ทั้งแผ่นให้มีน้ำหนักราบเรียบเสมอกัน หรือนำมาระบายลงบนแม่พิมพ์ด้วยพู่กัน เพื่อให้ร่องรอยของฝีแปรงก็ได้

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์ (Drypoint of Print Techniques)


Drypoint
เป็นเทคนิคที่คล้ายคลึงกับเทคนิค Hardground จะต่างกันตรงที่กระบวนการสร้างเส้น และรูปทรงต่างๆ ซึ่งแทนที่จะวาดลงบนพื้นผิวแม่พิมพ์ที่เคลือบขี้ผึ้งแล้วจึงค่อยนำไปกัดกรด แต่จะใช้เหล็กแหลมขูดขีดลงบนผิวหน้าของแม่พิมพ์โดยตรงเหมือนกับการเขียนด้วยปากกา เพียงแต่จะต้องออกแรงกดในการขีดเขียนมากกว่า เพื่อให้ได้เส้นที่ลึกตามความต้องการ เทคนิคนี้จะทำให้เส้นที่ขีดเขียนลงไป มีขอบแหลมคมขึ้นมา เมื่อนำแม่พิมพ์ไปอุดหมึกขอบแข็งนี้จะอุ้มหมึกไว้ได้ดีมากกว่าปกติ ทำให้เส้นที่ได้จากการพิมพ์ด้วยเทคนิคนี้มีความอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่

เทคนิคภาพพิมพ์ ด้วยแม่พิมพ์โลหะ (Etching of Print Techniques)


Etching
แม่พิมพ์โลหะ (มักนิยมใช้แม่พิมพ์ทองแดง หรือสังกะสี) โดยนำแม่พิมพ์มาเคลือบด้วยวานิชดำ ซึ่งมีคุณ สมบัติกันน้ำกรดได้ แล้วขีดเขียนด้วยเหล็กแหลม ( needle) ลงไปเพื่อเปิดผิวหน้าแม่พิมพ์ จากนั้นนำแม่พิมพ์ลงไปแช่ในอ่างน้ำกรด แล้วล้างด้วยน้ำจึงล้างวานิชดำออก นำแม่พิมพ์ไปอุดหมึกพิมพ์ เช็ดหมึกในส่วนที่ไม่ต้องการของผิวหน้าแม่พิมพ์ออก คงเหลือไว้แต่หมึกพิมพ์ที่ฝังอยู่ในร่องลึกเท่านั้น จากนั้นนำไปพิมพ์โดยใช้กระดาษเนื้อดีที่ทำขึ้นเตรียมไว้ พิมพ์ผ่านแรงกดของแท่นพิมพ์ กระดาษพิมพ์ที่ชื้นจะลงไปซับหมึก ในร่องลึกของแม่พิมพ์ขึ้นมาปรากฏเป็นภาพที่ต้องการ

ปัญหาจากการทำแม่พิมพ์ออฟเซตแห้ง

1. ปัญหาด้านสมบัติของวัสดุที่ใช้
  วัสดุสำหรับทำแม่พิมพ์ออฟเซฟแห้ง มีสมบัติแตกต่างชนิดของแม่พิมพ์ คือ แม่พิมพ์โลหะ และ แม่พิมพ์พอลิเมอร์ ดังนั้น การคัด  ปัญหาจากการทำแม่พิมพ์ออฟเซตแห้ง อาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ปัญหาด้านสมบัติของวัสดุที่ใช้ และปัญหาเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับการทำแม่พิมพ์แต่ละชนิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาต่อการทำแม่พิมพ์ หรือเมื่อนำไปใช้งานด้วย ปัญหาด้านสมบัติของวัสดุที่ใช้ แบ่งตามชนิดของแม่พิมพ์ออฟเซตแห้งได้ ดังนี้
1.1 ปัญหาด้านสมบัติของวัสดุสำหรับทำแม่พิมพ์โลหะ วัสดุหลักสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์โลหะ ได้แก่ โลหะที่ใช้ทำแผ่นแม่พิมพ์ และเยื่อไวแสง สำหรับปัญหาของวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ทั้งสอง มีดังนี้
  ปัญหาของโลหะที่ใช้ทำแผ่นแม่พิมพ์ เนื้อของโลหะอาจสร้างปัญหาให้การกัดด้วยกรดเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องได้ เช่น หากมีรูพรุนของฟองอวกาศ หรือส่วนผสมของสารอื่นแปลกปลอมในเนื้อโลหะก็ทำให้การกัดด้วยกรดบริเวณนั้นต่างไปจากที่ทดสอบไว้เดิม
  ปัญหาของเยื่อไวแสง เยื่อไวแสงที่ทำจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ได้แก่ กาวปลา กัมอะราบิกจากยางต้นไม้ส่วนเยื่อไวแสงที่สังเคราะห์ขึ้น ได้แก่ พอลิไวนิลแอลกฮอล์ และโฟโตรซิส ซึ่งทำให้ไวแสงด้วยโพแทสเซียสไบโครเมตหรือโซเดียมไบโครเมต แต่สมบัติของเยื่อแสงที่ทำจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศจึงไม่สามารถควบคุมภาพให้สม่ำเสมอได้เท่าเยื่อไวแสงสังเคราะห์ เป็นผลให้ชั้นของเยื่อไวแสงที่ใช้เคลือบไม่เรียบเสมอกันทั่วทั้งแผ่นหรือเคลือบไม่ติดในบางบริเวณ และกันกรดโลหะได้ไม่เท่ากันในแต่ละครั้ง อีกทั้งการเตรียมเยื่อไวแสงเพื่อไวแสงเพื่อใช้งานก็มีขั้นตอนยุ่งยากกว่า และต้องรีบใช้ทันที หรือเก็บไว้ใช้ได้ไม่นาน แม้จะผสมสารกันบูดแล้วก็ตาม
1.2 ปัญหาด้านสมบัติของวัสดุสำหรับทำแม่พิมพ์พอลิเมอร์ แผ่นพอลิเมอร์ไวแสง เป็นแผ่นแม่พิมพ์สำเร็จใช้ทำแม่พิมพ์พอลิเมอร์ได้ทันที จึงสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า อย่างไรก็ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตแผ่นพอลิเมอร์ไวแสงยังมีปัญหาเช่นกัน ดังนี้
  ปัญหาของชั้นพอลิเมอร์ ความทนทานของชั้นพอลิเมอร์ต่อการขัดสีระหว่างใช้งาน ในปัจจุบันเทียบกับแม่พิมพ์โลหะไม่ได้ กล่าวคือ อายุการใช้งานแม่พิมพ์อยู่ประมาณ 4-6 ล้านครั้งพิมพ์  ขณะที่แม่พิมพ์โลหะใช้ได้ตลอดไปตราบเท่าที่ไม่มีการชำรุดเสียหายก่อนด้วยการชุบชั้นโครเมียมใหม่ นอกจากนี้ชนิดของพอลิเมอร์ก็มีความทนทานต่างกัน พอลิเมอร์ชนิดล้างสร้างภาพด้วยแอลกอฮอล์จะใช้พิมพ์ได้จำนวนครั้งพิมพ์มากกว่าชนิดล้างสร้างภาพด้วยน้ำ แต่มีการพัฒนาให้ชนิดใช้น้ำมีความทนทานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และใกล้เคียงใช้แอลกอฮอล์มากแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อความทนทานของแม่พิมพ์พอลิเมอร์ คือ สารละลายสำหรับทำความสะอาดแม่พิมพ์ และสารละลายที่ใช้ระหว่างพิมพ์งานอาจทำให้ชั้นสารพอลิเมอร์อ่อนตัว เป็นเหตุให้เกิดการชำรุดได้เมื่อถูกของแข็งหรือมีคม และการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายนี้ก็ทำไม่ได้ แต่สำหรับแม่พิมพ์โลหะหากเกิดการชำรุดไม่มากนัก อาจซ่อมแซมได้
  ปัญหาของวัสดุที่ใช้ทำฐานแม่พิมพ์ ปัญหาที่ต้องคำนึงถึงในกรณีใช้แม่พิมพ์พอลิเมอร์ในการพิมพ์งานมากกว่าหนึ่งสี คือ หากใช้แม่พิมพ์ฐานพอลิเอสเทอร์ หรือ พอลิเอสเทอร์ฟอยล์ การยึดหดตัวของแม่พิมพ์จะมีมากกว่าดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการพิมพ์เหลื่อมระหว่างสี ย่อมมีมากด้วย แม่พิมพ์ฐานเหล็กหรืออะลูมิเนียมจึงเหมาะสมกว่า เพราะมีการยึดหดตัวน้อยกว่า และไม่ก่อให้เกิดปัญหาเท่า แต่ปัญหาที่ต้องระมัดระวังในการใช้ฐานเหล็ก และอะลูมิเนียม คือ การเกิดออกไซด์หรือสนิม ซึ่งผู้ผลิตแผ่นพอลิเมอร์ไวแสงก็แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้โลหะผสมกันการเกิดสนิมได้
  ปัญหาของชั้นสารยึดติด ชั้นสารยึดติดที่ใช้ยึดชั้นสารพอลิเมอร์ให้ติดกับฐานโลหะซึ่งเป็นวัสดุต่างชนิดกันอาจหลุดได้เมื่อถูกสารละลายบางชนิดที่ใช้ในเครื่องพิมพ์ จึงต้องตรวจสอบกับผู้ผลิตให้แน่นอนในการเลือกใช้สารละลายที่เหมาะสม โดยไม่ทำปฎิกิริยากับสารที่ใช้ทำสารยึดติด
  ปัญหาของน้ำยาล้างสร้างภาพ กรณีที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์ล้างสร้างภาพบนแม่พิมพ์พอลิเมอร์ต้องจัดให้ห้องทำแม่พิมพ์มีการถ่ายเทอากาศอย่างดี เนื่องจากส่วนไอระเหยของแอลกอฮอล์กับอากาศในปริมาณที่เหมาะสมจะติดไฟ และจุดระเบิดได้

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์