Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ


  สมบัติเชิงกลของกระดาษเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักย์ภาพในการใช้งานกระดาษ ซึ่งหมายถึง การที่กระดาษมีความทนทานต่อการใช้งาน(  durability   ) และความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทำในลักษณะต่างๆเช่น แรงดึง  แรงเฉือน  แรงบิด  และแรงที่ทำให้กระดาษโค้งงอ  ซึ่งแรงเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายขั้นตอนตั้งแต่การผลิตกระดาษ  การแปรรูปจนถึงการใช้งาน  กระดาษจะตอบสนองแรงที่มากระทำเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกระดาษ  ซึ่งสามารถวัดออกมาได้ในรูปของเชิงกลได้ ดังนั้นในการเลือกกระดาษเพื่อนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงสมบัติทางเชิงกลของกระดาษด้วย
            สมบัติทางเชิงกลของกระดาษ แบ่งเป็น 2  ประเภท คือ
            1.   สมบัติทางเชิงกลพื้นฐาน และ
             2.  สมบัติทางเชิงกลประยุกต์
             สมบัติทางเชิงกลพื้นฐานจะพิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏให้เห็นของกระดาษในขณะรับแรงที่มากระทำซึ่งจะสัมพันธ์กับทฤษฏีว่าด้วยการเสียรูปของกระดาษที่เกิดจากการรับแรง( mechanical  deformation  )  ส่วนสมบัติทางเชิงกลประยุกต์จะพิจารณาจากสมบัติทางเชิงกลต่างๆ ของกระดาษ ซึ่งมีการทดสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตและการแปรรูป

โครงสร้างของแผ่นกระดาษลูกฟูก

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/4/video2/110.jpg


แผ่นกระดาษลูกฟูกมีลักษณะโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายๆชั้นนำมาประกอบติดเป็นแผ่นด้วยกาวหรือสารยึดติด แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นผิวนอกหรือผิวหน้า 2 ส่วน ซึ่งทำจากกระดาษผิวกล่อง (Linerboard) และส่วนชั้นกลางภายในซึ่งเป็นกระดาษลูกฟูก (Corrugated Medium หรือ flute Medium) ซึ่งทำจากกระดาษทำลูกฟูก (corrugating medium) เรียกแผ่นกระดาษลูกฟูกที่มีกระดาษผิวกล่องปีดทับทั้ง2ด้าน ว่า
แผ่นกระดาษลูกฟูก 2 หน้า (double faced) แผ่นกระดาษลูกฟูกอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของกระดาษ อย่างน้อยที่สูด 2 ชั้นประกบติดกันก็ได้ คือ ประกอบด้วยชั้นของกระดาษผิวกล่องกับกระดาษทำลูกฟูกด้านเดียว หรือที่เรียกว่า แผ่นกระดาษลูกฟูกหน้าเดียว (single faced)

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์