1. ตัวพิมพ์เป็นรูปลักษณ์ของภาษาเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมันมีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบของแต่ละภาษาแตกต่างกัน แบบตัวพิมพ์มักได้รับการออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นและความลาดเอนต่างกัน เพื่อให้สามารถตอบสนองการเลือกใช้งาน เรียกชุดตัวพิมพ์นี้ว่า ครอบครัวตัวพิมพ์ ซึ่งแบ่งได้เป็นแบบตัวพิมพ์ธรรมดา ตัวหนาตัว ตัวบาง ตัวเอน เป็นต้น
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน เช่น จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์
ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์ จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์ ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด
2. การจัดกลุ่มตัวพิมพ์มีวิธีต่างๆกัน เช่น จัดกลุ่มตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ ตามรูปลักษณ์และกรใช้งาน เพื่อให้สามารถเลือกแบบตัวพิมพ์ ไปใช้ในงานออกแบบตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
3. การจัดการแบบตัวพิมพ์เป็นการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพิมพ์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะหรือกลุ่งการทำงานด้วยกัน คือ การจัดการตัวพิมพ์ในระดับซอฟแวร์ การจัดการตัวพิมพ์ของซอฟแวร์อรรถประโยชน์ด้านฟร้อน และการจัดการแบบตัวพิมพ์ของซอฟแวร์ประยุกต์
ตัวพิมพ์หรือฟอนต์ (Font) ถือกำหนดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการพิมพ์มาอย่างช้านาน ตั้งแต่ระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ที่มีการประทับแม่พิมพ์ไม้ที่พิมพ์หมึกลงบนกระดาษโดยตรง การหล่อโลหะเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ การกัดกดแผ่นโลหะ การอาศัยความรู้เรื่องแสงและแผ่นฟิล์มเพื่อฉายแสงให้ทะลุผ่านไปทำปฏิกิริยาบนแม่พิมพ์ จนกระทั่งถึงการพิมพ์แบบดิจิทัล ซึ่งเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์และรวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวพิมพ์ยังทำหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวา แต่ทว่าความอิสระที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้จำนวนผู้ใช้ตัวพิมพ์ขยายขอบเขตจากช่างเทคนิคและนักออกแบบไปยังกลุ่มบุคคลทั่วไป กระทั่งนักเรียนชั้นประถมก็สามารถใช้ตัวพิมพ์เพื่อพิมพ์หน้าปกรายงานสวยๆได้อย่างน่าทึ่ง
การใช้ตัวพิมพ์จึงแตกต่างกันตามกลุ่มผู้ใช้งาน ความรู้และความเข้าใจตัวพิมพ์ ทั้งตัวพิมพ์ไทยและตัวพิมพ์โรมัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานออกแบบและการพิมพ์ระดับอาชีพ เพื่อนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปเลือกใช้ตัวพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความมุ่งหมายในการออกแบบหรือการพิมพ์งานนั้นๆในที่สุด