Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

สารเติมแต่งกระดาษ

สารเติมแต่งที่ใช้ในน้ำยาเคลือบส่วนมากเป็นสารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อน  และมีหน้าที่เฉพาะที่ใช้กันในน้ำยาเคลือบ  ตัวอย่างเช่น  สารที่ช่วยทำให้กระจาย  สารช่วยอุ้มน้ำหรือสารปรับความหนืด  สารหล่อลื่น  สารป้องกันการละลายน้ำ  หรือสารช่วยให้เกิดพันธะระหว่างโซ่  สารกันบูด  สารปรับความเป็นกรด-ด่าง  สารต้านทานการซึมน้ำสารเพิ่มความขาวสว่าง  สีย้อม  และสารควบคุมการเกิดฟอง ส่วนสารอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วจะมีการใช้ในน้ำยาเคลือบน้อยมาก  เช่น  สารช่วยจับตัวที่มีประจุบวก   สารต้านการออกซิไดส์  พอลิเมอร์จับประจุ และพลาสติกไซเซอร์

  1. สารที่ช่วยทำให้กระจาย  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินดิเคต( indicate ) ใช้สำหรับกระจายตัวผงสีขาวและช่วยให้ผงสีกระจายตัวได้ในน้ำ มีทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โซเดียมพอลิอะคริลิก( sodium polyacrylic ) และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต ( tetra  sodium  polyphosphate,TSPP) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium polyacrylic )และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดืยมพอลิฟอสเฟต ( tera sodium polyphosphate,TSPP ) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium  hexameta phosphate ) สารที่ช่วยทำให้กระจายชนิดสารอนินทรีย์จะมีสมบัติการกระจายตัวที่ดีกว่าสารอนินทรีย์ โดยเฉพาะสารอินทรีย์จะทนต่อการกระจายตัวที่อุณหภูมิสูงและเวลาที่ปั่นนานได้ดี  แต่มีราคาแพงกว่าสารอนินทรีย์
  2. สารปรับความหนืด  ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อไปควบคุมความหนืด โดยเฉพาะการวัดความหนืดด้วยเครื่องวัดความหนืด  สารปรับความหนืดนี้จะเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของน้ำยาเคลือบทำให้ยาเคลือบหนืดขึ้น  สารที่ใช้ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(  carboxymethyl cellulose,CMC ) ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส( hydroxyetyl cellulose,HEC) หรือโซเดียมอัลจิเนต ( sodium alginate )แป้งที่มีความหนืดสูง และสารสังเคราะห์ประเภทอะคริลิก
  3.  สารหล่อลืน สารที่ใช้เป็นสารเคมีประเภทแคลเซียมสเตียเรต ( calcium  stearate ) นิยมใช้กันมากและสารประเภทนี้ยังช่วยควบคุมการเกิดฝุ่นในระหว่างที่มีการขัดผิวกระดาษด้วย  สารเคมีอื่นที่ใช้ คือ อิมัลชันพอลิเอทิลีน  แอมโมเนียมสเตียเรต พอลิเอทิลีนไกลคอล อิมัลชันไขและน้ำมันที่ผสมซัลเฟอร์( sulfonated oil )
  4. สารป้องกันการละลายน้ำ สารนี้จะใช้สายพอลิเมอร์ยึดเกาะกัน พบมากในน้ำยาเคลือบที่ใช้แป้งเป็นตัวยึดสำหรับการพิมพ์ประเภทออฟเซต  และในน้ำยาเคลือบที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองผสมอยู่ สารประเภทนี้จะช่วยป้องกันการขัดถูที่ผิวเมื่อเปียกได้ดี แต่ก่อนนิยมใช้สารประเภทเมลามีนหรือยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ต่อมาพบว่าสารทั้งสองจะปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารพวกแอมโมเนียมเซอร์โคเนียมคาร์บอเนตมาใช้งาน
  5. สารกันบูด ในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดธรรมชาติ เช่น แป้ง จำเป็นต้องใส่สารกันบูดเพื่อยึดอายุการใช้งานแต่จะพบน้อยในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีป้องกันเชื้อแบคทีเรีย  สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ฟีเนต (phenate)คลอโรฟีเนต( chlorophenate )
  6. สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ที่ใช้มาก คือ แอมโมเนีย และโซดาไฟ
  7. สารต้านทานการซึมน้ำและสารทำให้แยกตัว เป็นสารเคมีประเภทซิลิโคน สารเชิงซ้อนที่มีโครเมียม( chromium compiex ) และสารที่มีฟลูออไรด์ ( fluorochemical )
  8. ส่ารเพิ่มความขาวสว่าง ใช้เพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารเคมีประเภทอนุพันธ์ของสติวบีน ( stilbene derivative ) อนุพันธ์ของเบนโซฟีโนน( benzophenone derivative) และไดบิวทิลไดไทโอคาร์บาร์เมต ( dibtyldithio carbamate )สารเหล่านี้ใช้มากเพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง มีความขาวสว่างสูงขึ้น
  9. สีย้อม ที่ใช้มากจะเป็นประเภทสีฟ้าและสี่ม่วง เพื่อให้กระดาษเคลือบมองดูขาวขึ้น
  10. สารควบคุมการเกิดฟอง มีทั้งสารป้องกันการเกิดฟอง และสารลดฟอง( defoaming agent ) ในปัจจุบันการใช้งานจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก สารควบคุมการเกิอฟองมีทั้งประเภทละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการเกิดฟองดีมาก แต่ถ้าใช้สารควบคุมการเกิดฟองชนิดไม่ละลายน้ำมากเกินไปอาจมีปัญหาที่เรียกว่า ตกปลา ( fish eyes ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำมันบนกระดาษดั้งนั้นก่อนใช้น้ำยาเคลือบสามารถตรวจสอบปัญหาตาปลาได้โดยการนำน้ำยาเคลือบมาทดลองเคลือบลงบนแผ่นกระจกแล้วสังเกตการเกิดตาปลาบนผิวกระจก      

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์