Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ

http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/newsimages//01/25040601.jpg

  1.  การผลิตกระดาษในอุตสาหกรรมประกอบด้วย 5 กระบวนการผลิต ซึ่งจะเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติการที่ต่อเนื่องเป็นลำดับ โดยเริ่มต้นจาก การผลิตเยื่อ การเตรียมน้ำเยื้อ  การทำแผ่นกระดาษ การปรับปรุงสมบัติกระดาษขณะเดินแผ่น และการแปรรูป
  2. กระดาษมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนเส้นใยและส่วนไม่ใช่เส้นใย  ส่วนเส้นใยหรือที่เรียกว่าเยื่อ จะประกอบด้วยเซลล์ พืชรูปร่างต่างๆ เช่น เส้นใย เซลล์สำรองอาหารและเซลล์ ลำเลียงน้ำ ส่วนที่ไม่ใช่เส้นใยจะประกอยไปด้วยสารต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างกัน ได้แก่ สารต้านทานการซิมน้ำ ตัวเติมสารเพิ่มความเหนียว  สารสีย้อม และสารฟอกนวล
  3. การจัดประเภทกระพิมพ์ สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา ซึ่งได้แก่ ชนิดของเยื่อที่ใช้เป็นสัดส่วนผสมและลักษณะความแตกต่างของวิธีการปรับปรุงผิวกระดาษ ซึ่งสามารถจัดแบ่งกระดาษพิมพ์ได้เป็น 3 ประเภท คือ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเคลือบผิว และกระดาษไม่เคลือบผิว

กระดาษทางการพิมพ์

http://www.wongtawan.com/wp-content/uploads/se_color.jpg
  1. กระดาษได้มาจากการนำเอาเส้นและส่วนที่ไม่ใช่ใยมาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ ให้เข้ากันแล้วนำไปทำแผ่นด้วยเครื่องจักรผลิตกระดาษ การผลิตกระดาษในอุตสาหกรรมนั้นประกอบไปด้วย5ขั้นตอน คือ เริ่มจากการผลิตเยื่อ การเตรียมน้ำเยื่อ  การทำแผ่นกระดาษ การปรับปรุงคณสมบัติกระดาษและการแปรรูป
  2. การเลือกกระเพื่อนำไปใช้ในงานต่างๆ ให้เหมาะสม ควรพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ ของกระดาษ เช่น ลักษณทางโครงสร้าง  สมบัติเชิงกล สมบัติด้านทัศนศาสตร์ และสมบัติด้านการกีดกันและต้านทานของกระดาษ
  3. กระดาษจะมีคุณภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการบดเยื่อ และระดับคุณภาพขององค์ประกอบที่ใช้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมภายนอกโดยเฉพาะความชื้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านมิติและสมบัติต่างๆ ของกระดาษ

ตัวทำละลายในหมึกพิมพ์เหลว


ตัวทำละลาย เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของการผลิตหมึกพิมพ์ มีหน้าที่ละลายเรซินและช่วยสร้างชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์
การเลือกใช้ตัทำละลายแต่ละชนิดต้องคำนึงถึงค่าการละลาย อัตราการระเหย จุดเดือด สี กลิ่น และจุดวาบไฟ

ความหมายและความสำคัญของงานก่อนพิมพ์




        งานก่อนพิมพ์เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการพิมพ์   โดยเป็นกระบวนการที่ต่อจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์  เป็นการดำเนินการให้ได้แม่พิมพ์และปรู๊ฟงานพิมพ์  ก่อนที่จะส่งงานนั้นสู่งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์ต่อไป งานก่อนพิมพ์จึงหมายถึง บรรดางานต่างๆที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการต่อเนื่องจากงานก่อนกระบวนการพิมพ์  เพื่อนำไปจัดทำแม่พิมพ์ หรือให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมจะนำไปพิมพ์ตามระบบการพิมพ์แบบต่างๆ โดยที่ข้อมูลหรือการทำงานก่อนพิมพ์ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงการทำงานขั้นตอนอื่นในกระบวนการพิมพ์  ได้แก่ งานพิมพ์และงานหลังพิมพ์

สารเติมแต่งในหมึกพิมพ์เหลว



สารเติบแต่งเป็นหมึกพิมพ์ที่ทำหน้าที่แก้ไขข้อบกพร่องของเรซิน และช่วยปรับปรุงให้หมึกพิมพ์ที่ได้มีคุณสมบัติ

ที่ดีขึ้นเหมาะสมกับการใช้งานตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้ เช่น สารทำให้เปียก สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน

สารทำให้เสถียร

ความหมายของงานหลังพิมพ์


งานหลังพิมพ์ เป็นกระบวนการที่ทำหลังหลังจากวัสดุที่ใช้พิมพ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นม้วนหรือเป็นแผ่นหรือเป็นรูปทรงที่ผ่านการพิมพ์มาแล้ว เพื่อให้ได้ผิวหน้า ขนาด รูปทรงของสิ่งพิมพ์ตามความต้องการของลูกค้าที่จะนำสิ่งพิมพ์นั้นไปใช้งาน โดยสิ่งพิมพ์ที่ได้จากงานหลังพิมพ์อาจเป็นรูปร่างที่ใช้งานได้ทันทีหรือต้องนำมาขึ้นรูปเพื่อการบรรจุ ขึ้นอยูอกับความต้องการของลูกค้า

ลักษณะงานหลังพิมพ์เพื่อให้ได้ลักษณะผิว ขนาด รูปทรงของสิ่งพิมพ์ตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น งานเคลือบผิวหน้าสิ่งพิมพ์ งานตัด งานพับ เป็นต้น ตัวอย่างสิ่งพิมพ์ที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้งานทันทีโดยไม่ต้องนำไปทำการขึ้นรูปก่อน เช่น นามบัตร ส่วนตัวอย่างสิ่งพิมพ์ที่ต้องนำไปทำการขึ้นรูปก่อน เช่น กล่องชนิดพับได้ กล่องกระดาษลูกฟูก ถุง เป็นต้น

เรซินในหมึกพิมพ์เหลว

เรซินเป็นองค์ประกอบที่มีหน้าที่หลักในด้านการสร้างชั้นฟิล์มของหมึกพิมพ์ให้ยึดติดกับวัสดุพิมพ์
ส่วนหน้าท่รอง คือ การให้ความเงาและการทำให้หมึกพิมพ์มีความแข็งแรง การเลือกใช้เรซินในหมึกพิมพ์ทุกชนิดขึ้นอยู่กับระบบการพิมพ์ วัสดุพิมพ์ และสมบัติเฉพาะตัวของเรซิน

ผงสีและสีย้อมในหมึกพิมพ์เหลว

ผงสีและสีย้อมเป็นองค์ประกอบหลักอันหนึ่งในหมึกพิมพ์ทุกชนิด มีหน้าที่เป็นสารให้สีหรือสาร
กำหนดสี การเลือกใช้ผงสีหรือสีย้อมขึ้นอยู่กับสมบัติของตัวผงสีหรือสีย้อม เช่นค่าดัชนีสี
การดูดซึมน้ำมัน การไหล การทนทานต่อสารเคมี

สมบัติและสูตรหมึกของหมึกพิมพ์เหลว

หมึกพิมพ์ในแต่ละระบบการพิมพ์จะแตกต่างกันรมทั้งการแตกต่างของวัสดุพิมพ์ที่นำมาใช้ด้วย
สมบัติของหมึกพิมพ์เหลว ได้แก่ การไหล การแห้งตัว และลักษณะเฉพาะตัวของหมึกพิมพ์เหลว
ตามระบบการพิมพ์ สมบัติดังกล่าวทำให้การผลิตหมึกมีสูตรสำหรับระบบการพิมพ์และวัสดุพิมพ์
ที่ใช้ต่างๆกันไป

การผลิตและการควบคุมคุณภาพของหมึกพิมพ์เหลว

 http://www.printbox-pi.com/img_files/aboutus/200877947491.gif
หมึกพิมพ์เหลวทั้ง2ประเภท มีกระบวนการผลิตโดยพื้นฐาน คือ กระบวนการผสมองค์ประกอบต่างๆ
การตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุในการควบคุมคุณภาพของหมึกพิมพ์เหลวจะควบคุมคุณสมบัติสำคัญ3ประการ ได้แก่
ความหนืด ความเข้มสี และการยึดติดของหมึกพิมพ์บนวัสดุพิมพ์

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์