Latest Article Get our latest posts by subscribing this site
Fall of Autumn Filmstrip: คลิปการเรียงตัวพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรส
Posted by Ok-Workshop
Posted on 19:51
การทนทานต่อไขมัน และกรด-ด่าง ของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 18:21
คุณสมบิติต่างๆ เหล่านี้โดยสูตรหมึกพิมพ์ก่อนการผลิต แต่ควรมีการตรวจสอบให้แน่นอนหลังการผลิตโดยมีการตรวจสอบเป็นครั้งคราวนั้น การตรวจสอบสมบัติด้านการทนทานต่อไขมัน กรดและด่างจะกระทำโดยการปาดลากหมึกพิมพ์ที่ต้องการลงบนวัสดุพิมพ์ที่กำหนด จากนั้นนำชิ้นวัสดุพิมพ์แช่ในไขมันซึ่งอาจจะเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ตามแต่กำหนดหรือแช่ในน้ำกรดหรือด่างประมาณ 3 ชั่วโมง หลังจากทำการตรวจสอบชิ้นวัีสดุพิมพ์ที่ทดสอบ หากไม่มีลักษณะที่ฟิล์มของหมึกหลุดออกจากวัสดุพิมพ์ แสดงว่าหมึกพิมพ์ที่ผลิตมีคุณสมบัติต่อสิ่งที่ทดสอบ
การทนความร้อนของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 18:08
ในงานพิมพ์วัสดุพิืมพ์สำหรับงานบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไป หมึกพิมพ์ที่ใช้ควรมีคุณสมบัติทนทานต่อความร้อน เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบรรจุซอง ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูง โดยปกติหมึกพิมพ์กาวัวร์กำหนดการทนความร้อนไว้ที่อุณหภูมิ 150 ถึง 200 องศาเซลเซียล การตรวจสอบการทนความร้อนต่อความร้อน อาศัยมาตรทำรอยผนึก (heat seal meter) มีลักษณะเป็นแท่งความร้อนหน้าตัดเรียบ สาืมารถกำหนดระยะเวลา อุณหภูมิและแรงกดในการตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบโดยมาตรวัดทำรอยผนึกแล้วจะพบว่าหมึกพิมพ์ที่ดีนั้น ณ บริเวณรอยผนึกหมึกต้องไม่หลุดออกจากวัสดุพิมพ์อย่างเด็ดขาด
การทนทานต่อการขีดข่วนและการขัดถูกของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:40
การตรวจสอบทำโดยการใช้เล็บของผู้ตรวจสอบเป็นตัววัดโดยการใช้เล็บขีดข่วนไปมาบนผิวฟิล์มของหมึกพิมพ์ที่ตรวจสอบ หมึกพิมพ์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการขีดข่วนจะให้ผิวฟิล์มที่แข็งแรงไม่หลุดลอกเป็นรอยตามการขูดขีดของเล็บ ส่วนคุณสมบัติด้านความทนทานต่อการขัดถูสามารถตรวจสอบโดยใช้คนหรือเครื่องทดสอบความทนทานต่อการขัดถู หมึกพิมพ์ที่ดีเมื่อถูกตรวจสอบความทนทานต่อการขัดถู ผิวฟิล์มของหมึกพิมพ์จะไม่หลุดลอกออกตามการเสียดสีของการถูกไปมาบนผิวฟิล์มนั้น
การยึดติดของหมึกพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:21
สามารถตรวจสอบโดยการใช้เทปใสขนาดกว้าง 1 นิ้ว หมึกพิมพ็ที่มีคุณสมบัติยึดติดบนวัสดุพิมพ์ที่ดี เมื่อใช้เทปกาวแปะบริเวณหมึกพิมพ์และดึงออกมา ต้องไม่หลุดออกจากวัสดุพิมพ์อย่างเด็ดขาด หากหมึกพิมพ์ที่ตรวจสอบหลุดลอกออกจากผิววัสดุพิมพ์ แสดงให้เห็นว่าหมีกพิมพ์ที่ผลิตนั้นมีคุณภาพไม่ได้มาตราฐานที่กำหนด
วิธีการนำเข้าข้อมูลภาพในงานก่อนพิมพ์ สามารถทำได้โดยวิธีต่อไปนี้
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:22
- การกราดด้วยเครื่่องกราด
- การถ่าพภาพด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล
- การจัดทำภาพด้วยโปรแกรมสร้างภาพ
- การนำเข้าข้อมูลภาพจากแหล่งข้อมูลภาพ
ระบบการจัดการสี ในงานก่อนการพิมพ์
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:15
การทำพรีไฟลต์ (Preflight)
Posted by Ok-Workshop
Posted on 07:04
เป็นการตรวจสอบรายละเอียดของไฟล์ข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะส่งออกข้อมูลนั้นไปยังเครื่องพิมพ์หรือเครื่องอิมเมจเซตเตอร์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์งาน ความสใบรูณ์ของรายละเอียดทุกอย่างในเนื้อหางานพิมพ์ การตั้งค่าต่างๆ ที่ไม่สร้างปัญหาในขั้นตอนต่อไป ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลงานก่อนพิมพ์ดิจิทัล
แต่ปัจจุบันการตรวจสอบดังกล่าวจัดทำผ่านโปรแกรมเฉพาะสำหรับการตรวจสอบงานส่งออกข้อมูลงานก่อนพิมพ์ เช่น โปรแกรมไฟลต์เช็ค (Flight Check) และพรีไฟลต์โปร (PreFlight Pro) เป็นต้น โดยโปรแกรมจะตรวจสอบไฟล์งานและจะเตือนเมื่อพบว่าอาจมีปัญหาต่อไปนี้
แต่ปัจจุบันการตรวจสอบดังกล่าวจัดทำผ่านโปรแกรมเฉพาะสำหรับการตรวจสอบงานส่งออกข้อมูลงานก่อนพิมพ์ เช่น โปรแกรมไฟลต์เช็ค (Flight Check) และพรีไฟลต์โปร (PreFlight Pro) เป็นต้น โดยโปรแกรมจะตรวจสอบไฟล์งานและจะเตือนเมื่อพบว่าอาจมีปัญหาต่อไปนี้
- แบบตัวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่
- ไฟล์ภาพขาดหายไป
- ขนาดหน้าไม่ถูกต้อง
- กำหนดสีไม่ถูกต้อง
- รูปแบบไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่รองรับการนำไปใช้งาน เป็นต้น
การตรวจปรู๊ฟ
Posted by Ok-Workshop
Posted on 06:35
เนื่องจากงานก่อนพิมพ์มีความเกี่ยวข้องกับรายละเอียดมาก และมีขั้นตอนที่ทำงานมาก งานที่ทำมีโอกาศผิดพลาดได้ และความผิดพลาดที่ซ้อนอยู่ในเนื่้องาน หากตรวจไม่พบ จะส่งผลไปยังขั้นตอนต่อๆไป ในกระบวนการพิมพ์ ยิ่งปล่อยให้ความผิดพลาดผ่านกระบวนการไปมากเท่าใด ความเสียหายและความยุ่งยากในการแก้ไขก็จะมากตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการตรวจสอบงานในแต่ละขั้นตอนอย่างรัดกุม
สิ่งที่จะต้องมีการตรวจปรู๊ฟอย่างละเอียด ได้แก่ความถูกต้องของเนื้อหา ความถูกต้องของภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและการบรรยายภาพ ความถูกต้องของการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในหน้างานพิมพ์ ความถูกต้องของการวางหน้างานพิมพ์ ความถูกต้องของสี ความครบถ้วนของเครื่องหมายควบคุมคุณภาพการพิมพ์ เป็นต้อน โดยผู้ปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนที่ทำการตรวจปรู๊ฟ จะต้องไม่ส่งต่อการทำงานโดยปล่อยให้ความผิดพลาดยังคงอยู่ในเนื้องานพิมพ์ แต่จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องทันที
สิ่งที่จะต้องมีการตรวจปรู๊ฟอย่างละเอียด ได้แก่ความถูกต้องของเนื้อหา ความถูกต้องของภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและการบรรยายภาพ ความถูกต้องของการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ในหน้างานพิมพ์ ความถูกต้องของการวางหน้างานพิมพ์ ความถูกต้องของสี ความครบถ้วนของเครื่องหมายควบคุมคุณภาพการพิมพ์ เป็นต้อน โดยผู้ปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนที่ทำการตรวจปรู๊ฟ จะต้องไม่ส่งต่อการทำงานโดยปล่อยให้ความผิดพลาดยังคงอยู่ในเนื้องานพิมพ์ แต่จะต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องทันที