Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เรซิ่นในหมึกพิมพ์กราวัวร์

   การเลือกใช้เรซิ่นในหมึกพิมพ์กราวัวร์ควรสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วเช่นกัน เนื่องจากแม่พิมพ์ในระบบกราวัวร์เป็นแม่พิมพ์โลหะที่มีความทนทานต่อตัวทำละลายประเภทอะโรมาติกไฮโดคาร์บอน  ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดในการเลือกใช้เรซิ่น สิ่งสำคัญ คือ เรซิ่นแต่ละชนิดนั้น ควรมีสมบัติต่างๆตามปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้วโดยรวมการเลือกใช้เรซิ่นในหมึกพิมพ์กราวัวร์จะต้องสอดคล้องกับเรซิ่นที่ใช้กับหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

เรซิ่นในหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

  การเลือกใช้หมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีควรสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้เรซิ่นสำหรับหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟี  คือ การเลือกเรซิ่นที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีผลต่อการทำลายแม่พิมพ์ยาง โดยปกติแล้วแม่พิมพ์ยางในระบบการพิมพ์ในระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 2 ประเภท คือ แม่พิมพ์ยางธรรมชาติและแม่พิมพ์ยางสังเคราะห์ แม่พิมพ์ยางทั้ง 2 ประเภท มีสมบัติต้านทานต่อตัวทำละลาย แตกต่างกัน แต่โดยรวมแม่พิมพ์ทั้ง2 ประเภท ไม่ทนต่อตัวทำละลายประเภทอะโรมาติก ซึ่งเป็นตัวทำละลายที่มีหมู่วงแหวนเบนซินอยู่ในโครงสร้างทางเคมี ตัวทำละลายประเภทนี้ เช่น ด?ลูอีน ตัวทำละลายที่ใช้กับหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีควรเป็นตัวทำละลายประเภทแอลกอฮอล์ และเอสเทอร์ เท่านั้น

  ในการเลือกเรซิ่่นสำหรับหมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟีนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เรซิ่นต้องละลายในตัวทำลายประเภทที่กล่าวมาแล้ว ให้สมบัติกับการยึดติดกับวัสดุพิมพ์ มีสมบัติการเปียกกับผงสีได้ เป็นเรซิ่นที่มีการสร้างชั้นฟิล์มอย่างรวดเร็ว มีกลิ่นน้อย ให้ค่าตกค้างของตัวทำละลายต่ำ และควรมีสมบัติเข้ากันได้ดีกันเรซิ่นร่วมชนิดอื่นๆ โดยทั่วไปเรซิ่นแต่ละชนิดจะให้สมบัติตามปัจจัยที่ระบุมาไม่ครบถ้วน  จึงทำให้มีการใช้เรซิ่นหลายชนิดในการผลิตหมึกพิมพ์ชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้พิมพ์ด้วย การใช้เรซิ่นหลายๆชนิดในหมึกพิมพ์ชนิดหนึ่งๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาการไม่รวมตัวกันหรือเข้ากันไม่ได้ระหว่างเรซิ่นแต่ละชนิด นอกจากนี้การเลือกใช้ตัวทำละลายที่ไม่เหมาะสมก็จะมีผลต่อสมบัติของหมึกพิมพ์ด้วย ดังนัน้ควรคำนึงถึงทั้งการเข้ากันได้ของเรซิ่นที่ใช้ กับการเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการผลิตหมึกพิมพ์

ปัจจัยทั่วไปในการเลือกเรซิ่น ในงานพิมพ์

  ปัจจัยการเลือกเรซิ่นในหมึกพิมพ์เหลวขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการได้แก่

  1. การสร้างฟิล์มของเรซิ่น  ความแข็ง กลิ่น สี ความโปร่ง ความทึบ และการละลายในตัวทำละลายที่ต้องการ
  2. สมบัติการเปียก กับผงสีที่เลือกใช้เำพื่อให้เกิดการกระจายตัวของผงสีดี และมีความเสถียร
  3. ความหนืด ของวานิชที่ทำจากเรซิ่นควรเพิ่มตามความหนืดของเรซิ่นที่สูงขึ้น
  4. เรซิ่นที่ดีควรมีสมบัติการสร้างชั้นฟิล์มที่รวดเร็วและให้ฟิล์มที่บางเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือความร้อน
  5. เรซิ่นที่ดีควรมีสมบัติการยึดติดกับวัสดุพิิมพ์
  6. บนวัสดุพิมพ์ประเภทกระดาษ  เรซิ่นที่เลือกควรมีการสร้างชั้นฟิล์มที่รวดเร็ว ไม่ควรซึมไปในเนื้อกระดาษมาก เพื่อรักษาความเงาบนผิวกระดาษสูงสุด
  7. เรซิ่นไม่ควรทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบอื่นในหมึกพิมพ์ อันก่อให้เกิดปฏิกิริยาการเกิดเจลซึ่งทำให้หมึกเสียสภาพ

ประเภทและลักษณะทั่วไปของเรซิ่น

   เรซิ่นเป็นสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของโมเรกุลขนาดใหญ่  มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และการสังเคราะห์ทางเคมี  เรซิ่นในธรรมชาติ เช่น โรซิน กัม  เรซิ่นสังเคราะห์เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีโดยปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ (Polymerization) ของโมเรกุลขนาดเล็ก เรซิ่นสังเคราะห์ เช่น  พอลิเอไมด์ พอลิไวนิล สมบัติทางกายภาพของเรซิ่นสังเคราะห์จะมีความสัมพัธ์กับโครงสร้างทางเคมีและองค์ประกอบของเรซิ่นชนิดนั้นๆ สมบัติของเรซิ่นสังเคราะห์จะแตกต่างจากเรซิ่นธรรมชาติ ดังตาารงต่อไปนี้

ตารางการเปรียบเทียบลักษณะทั่วไประหว่างเรซิ่นธรรมชาติและเรซิ่นสังเคราะห์

เรซิ่นในหมึกพิมพ์เหลว

    เรซิ่นเป็นองค์ประกอบที่มีหน้าที่หลักในการสร้างชั้นฟิล์มของหมึกให้ยึดติตกับวัสดุพิมพ์  ส่วนหน้าที่รอง คือ การให้ความเงา และการทำให้ฟิล์มของหมึกพิมพ์มีความแข็งแรง  การเลือกเรซิ่นในหมึกพิมพ์ขึ้นอยู่กับชนิดของหมึกพิมพ์ที่ต้องการ ระบบการพิมพ์ การนำไปใช้งาน และสมบัติเฉพาะตัวของเรซิ่น

ข้อควรคำนึงถึงในการเลือกใช้ผงสีและสีย้อม

        ในหมึกพิมพ์เหลวทั้งเฟล็กโซกราฟีและกราวัวร์  จะมีการเลือกใช้ผลสีที่ต่างกัน  โดยอาศัยปัจจัยหลัก 3 ประการ เป็นตัวกำหนด คือ

  1. การกระจายตัวของผงสี  ที่อยู่ในวานิชแต่ละชนิด  จะมีผลต่อการไหลของหมึกพิมพ์  ในทางทฤษฏีหมึกพิมพ์เหลวที่ดีต้องมีการไหลใกล้เคียงกับน้ำ  ซึ่งมีลักษณะการไหลที่เรียกว่าแบบนิโทเนียน (newtonian flow) ซึ่งเป็นการไหลที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้จะมีแรงกระทำมากหรือน้อย
  2. ความเสถียรของหมึกพิมพ์  การกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอของผลสี  ทำให้ผงสีที่อยู่ในวานิช มีเสถียรภาพการไหลของหมึกพิมพ์ในขณะผลิต  ขณะพิมพ์ และขณะเก็บที่ดีไม่เปลี่ยนแปลง
  3. ความต้องการในการนำไปใช้งานขั้นสุดท้าย กล่าวคือ การเลือกใช้ผงสีต้องให้สอดคล้องกับการนำไปใช้งานครั้งสุดท้าย  เช่น งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่  แชมพูสระผม สิ่งที่จำเป็นของการเลือกใช้ผงสีเหล่านี้  คือ การเลือกสมบัติที่มีความต้านทานต่อด่างและต้านทานสารเคมีในสบู่
การเลือกใช้หมึกพิมพ์เฟล็กโซกราฟี  และหมึกพิมพ์กราวัวร์ต้องสอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าวขั้นต้น  คือ คำนึงถึงการกระจายตัวของผงสี ความเสถียรของหมึกพิมพ์  และความต้องการนำไปใช้งานขั้นสุดท้าย

ดัชนีของผงสีและสีย้อม

  ดัชนีสี (Colour Index หรือ CI) เป็นค่ามาตรฐานในการแยกระดับสีต่างๆ ของทั้งผงสีและสีย้อม ผู้ผลิืตหมึกต้องรู้จักและเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี  โดยปกติจะกำหนดเป็นตัวย่อของสีภาษาอังกฤษ  เช่น สีแดง (red) ใช้ตัวย่อว่า R  แล้วตามด้วยค่าตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึงหลักร้อย ค่าตัวเลขต่างๆ เป็นค่าตัวเลขตามประเภทของผงสีและสีย้อมที่ใช้ต่างๆกัน
            ค่า CI ของสีที่ใข้เป็นมาตรฐานในการผลิตหมึกพิมพ์เหลวทั่วไป มีดังนี้

  • สีแดง    R-48  R-52  R-57 
  • สีส้ม      O-13  O-19
  • สีเหลือง  Y-1  Y-12  Y-13  Y-83
  • สีเขียว   G-7
  • สีน้ำเงิน  B-1  B-15
  • สีม่วง  V-3  V-23  V-27
  • สีขาว  Wt-6
  • สีดำ  Bk-7
     นอกจากยังมีตัวเลขดัชนีสี (colour index number หรือ CI No.) ของผงสีและสีย้อม ซึ่งเป็นตัวเลข 5 หลัก เช่น CI No.45380 ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่มีกำหนดไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบถึงการผลิตและที่มาของหมึกนั้นๆ  ซึ่งจะไม่ของกล่าวในรายละเอียดในที่นี้  เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่จะนิยมระบุดัชนีสีหรือ CI ซึ่งจะจำได้ง่ายกว่า

การเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆระหว่างผงสีอินทรีย์กับผงสีอนินทรีย์

  เนื่องจากผงสีที่ใช้มีผงสีที่ได้มาจากสารอินทรีย์หรือที่เรียกว่าผงสีอินทรีย์ และจากสารอนินทรีย์หรือที่เรียกว่าผงสีอนินทรีย์ ผงสีแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในกสรผลิตหมึกพิมพ์จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังที่มีอยู่ในตาราง
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคึณสมบัติของผงสีอินทรีย์และผงสีอนินทรีย์
              สีย้อมเป็นสารให้สีที่นิยมใช้ในหมึกเหลว  โดยนิยมใช้ในการผลิตหมึกที่ต้องการระดับคล้ำสี (Shade) ที่มีความโปร่งแสงสูง (High transparency) สีย้อมให้ระดับคล้ำสีที่สดสวย  แต่คุณสมบัติการทนแสงแดดและสารเคมีต่ำกว่าผงสีมาก

How to make a simple plastic Id card.(Video)




Alainco Total Card Making Solution using Inkjet Printer and Inkjet PVC Sheets. Ideal for low-volume production of Plastic cards. Very Low setup cost. Raw Material from China. Can make all kinds of Plastic Cards, Staff ID Cards, Student Cards, Membership Cards, Bank Cards etc. Very High on Quality and Very low on Cost.

Step 1 : Designing and  Form Layout

Step 2 : Printng on inkjet PVC Sheet


Step 3 : Cutting into A6 size Sheet.

Step 4 : Preparing  Tray  for  Lamination.

 Lamination Machine


identity badges,office id cards,employee id card,making identification cards,id cards designs,new identity card,international id card,id badges,national identity card,international student id,medical id cards,international student identity,international id cards,international student identification,international student id cards,id card design,id cards design,id name badges,corporate id card

How to print plastic ID cards.on id card machine.


The process of to print a plastic card on the machine ID Card.
How to print a plastic card on the machine ID Card.











Id card machine Price,Id card machine cost,Id card machine rates,Id card machine value,Id card machine charges,Id card machine worth,Id card machine purchase


,

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์