Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

เทคโนโลยีเกี่ยวกับด้วยพิมพ์และเทคโนโลยีการจัดการข้อความ



  • ตัวพิมพ์ที่เป็นรูปลักษณะของภาษเขียนของชนชาติต่างๆ ตัวอักษรไทยและตัวอักษรโรมัน (ภาษาอังกฤษ) มีลักษณะโครงสร้างและส่วนประกอบแตกต่างกัน  แบบตัวพิมพ์มักถูกออกแบบเป็นชุดที่มีขนาดของเส้นหรือความลาดเอียงแตกต่างกัน  เพื่อให้สามารถตอบสนองการนำไปใช้งาน  ชุดครอบครัวตัดพิมพ์  แบ่งเป็นตัวธรรมดา  ตัวหนา  ตัวบาง  ตังเอน  สำหรับการจัดกลุ่มตัวพิมพ์วิธีการจัดการต่างๆกัน เช่น  แบ่งตามพัฒนาการของตัวพิมพ์ แบ่งตามรูปลักษณ์  และแบ่งตามการใช้งาน  ความรู้ในการจัดกลุ่มตัวพิมพ์นี้ จะในการเลือกแบบตัวพิมพ์ไปใช้ในงานได้ดี
  • เทคโนโลยีการจัดการข้อความเป็นเทคโนโลยีการนำข้อมูลตัวอักขระต่างๆ เข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบบรรณาธิกรให้เหมาะสมในงานเตรียมการก่อนพิมพ์หรืองานเตรียมการก่อนผลิตสื่อต่างๆ  ด้วยกรรมวิธีทางดิจิทัลหรืออิเลกทรอนิกส์  ส่วนแรกคือ  เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับนำตัวอักษรของเนื้อหาเข้าคอมพิวเตอร์ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัลด้วยวิธีต่างๆ  และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบรรณาธิกร  คือ  การแก้ไขปรับปรุงตัวอักษรและเน้อหาข้อความให้เหมาะสมตามที่ต้องการสำหรับการนำข้อความนั้นไปใช้งานต่อไป


วัตถุดิบที่ใช้ในการเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำยาเคลือบหรือใช้ในการเคลือบ แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้ดังนี้
  2.1 สารที่ทำให้เกิดแก้ว( glass former ) คือ ซิลิก้า( silica )ที่มีสูตรทางเคมีว่า sio2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดแก้ว คือ ให้ซิลิก้าในน้ำยาเคลือบที่นิยมใช้ เช่น ดินสูตร AI2O,2Sio2,2H2O) หินฟันมา ( K2O,AI2O3,6SIO2 ) ทรายแก้ว( SiO2 ) หินเขี้ยวหนุมาน ( quartz )
  2.2 สารช่วยหลอมละลาย เนื่องจากซิลิก้า มีจุดหลอมตัวที่อุณหภูมิประมาณ 1710 องศาเซสเซียส ซึ่งสูงเกินไปสำหรับการหลอมเพื่อเคลือบเซรามิก จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยลดจุดหลอมละลายที่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าฟลักซ์( fiuxes ) หรือสารช่วยหลอมละลาย วัตถุดิบที่ใช้เป็นฟลักซ์มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ออกไซด์ของตะกั่ว( PbO) บอแร็กซ์ หินปูน ( CaCO3 ) หินฟันม้า ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ใช้ คือ โซดาเฟลสปาร์( Na2O.AI2O3.6Sio2 ) และโพแทสเฟลสปาร์ (K2O.AI2O3.6SIO2 )
  2.3 สารเติมแต่ง ( additives ) เป็นสารที่เพิ่มเข้าไปในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ เพื่อปรับปรุงเคลือบให้ได้ลักษณะหรือสมบัติตามต้องการ สารเติมแต่งที่ใช้มีดังนี้
1) สารปรับค่าความหนืด เป็นสารที่ช่วยทำให้เกิดการยึดเกาะในระหว่างการเผา น้ำยาเคลือบที่หลอมละลายจะต้องการวัตถุดิบที่มีสมบัติให้เคลือบมีความต้านทานการไหลหรือแข็งติดบนชิ้นงานไหลไปหมด เช่น สารอะลูมินา( AI ) หรือ อะลูมินาออกไซด์ ( AI2O3 ) จะมีสมบัติช่วยปรับการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ โดยทั่วไปในน้ำยาเคลือบจะใช้ ดิน หินฟันม้า เป็นวัตถุดิบที่ให้สารอะลูมินา
2) สารที่ช่วยทำให้ทีบแสง เมื่อใส่สารที่ช่วยทำให้ทึบแสง เช่น ออกไซด์ของดีบุก ( Sno2 ) เซอร์โคเนียมออกไซด์ ( ZrO2 ) ไททาเนียมไดออกไซด์ ( TiO2 )ลงในน้ำยาเคลือบ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบลดความใสโปร่งแสงลง เป็นเคลือบทึบ ซึ่งจะบังผิวเนื้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ไม่เห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์
3) สารที่ช่วยทำให้ผิวด้าน คือ สารที่จะไปลดความมันของน้ำยาเคลือบลง ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมีลักษณะด้าน สารที่ใช้เช่น แบเรียนคาร์บอเนต( BaCO3 ) นอกจากนี้การใช้อะลูมินาในประมาณมาก ก็จะทำให้เกิดเคลือบด้านด้วย
4) สารให้สี คือ สารที่ใส่ไปในน้ำยาเคลือบ เมื่อเผาเคลือบแล้ว จะเกิดเป็นสารเคลือบสีต่างๆ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
  การจัดกลุ่มวัตถุดิบข้างต้นเป็นแนวทางทื่นายสตาฟฟอร์ด( Eugene C.Stafford ) เขียนไว้ในหนังสือโมเดิร์นอินดัสเทรลเซรามิกส์( modern industrial ceramics ) ซึ่งจะเป็นวิธีจัดกลุ่มวัตถุดิบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการจัดแบ่งกลุ่ม คือ ตามสมบัติความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการคำนวณส่วนผสมน้ำยาเคลือบวัตถุดิบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นด่าง กลุ่มที่เป็นกลาง และกลุ่มที่เป็นกรด
  1) กลุ่มที่เป็นด่าง ( bases ) มีสัญลักษณ์ RO หรือ R2O เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ตะกั่วออกไซด์ ( PbO ) โซเดียมออกไซด์ ( Na2O ) สมบัติของวัตถุดิบในกลุ่มด่าง คือ ช่วยลดจุดหลอมตัวของเคลือบ
  2) กลุ่มที่เป็นกลาง ( intermediates ) มีสัญลักษณ์ R2O3 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ โดยทั่วไปกลุ่มที่เป็นกลางจะหมายถึง อะลูมินา ( AI2O3 )เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอะลูมินามีสมบัติเป็นตัวควบคุมการไหลตัวของน้ำยาเคลือบ นอกจากนี้ยังมีออกไซด์ที่มีสัญลักษณ์ในกลุ่มนี้ตัวอื่นๆ เช่น บอริกออกไซด์ ( B2O3 ) ซึ่งสมบัติเพิ่มความแข็งให้เคลือบลดการขยายตัวเมื่อร้อน
  3) กลุ่มที่เป็นกรด ( acids ) มีสัญลักษณ์ RO2 เขียนแทนวัตถุดิบกลุ่มนี้ เช่น ซิลิก้า ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดแก้วดีบุกออกไซด์ ( SnO2 ) เป็นตัวทำให้เคลือบทึบแสง

การเคลือบผลิตภัณฑ์

การเคลือบเซรามิกเป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้ว เคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ดินลงในถังน้ำยาเคลือบหรือการพ่นน้ำยาเคลือบหรือการราดด้วยน้ำยาเคลือบ จากนั้นปล่อยให้เย็นลงจะเกิดเป็นลักษณะเหมือนแก้วติดบนผิวผลิตภัณฑ์นี้ ชั้นของสารที่เคลือบอยู่บนเซรามิกเป็นชั้นของเนื้อแก้วบางๆ ที่เกิดจากส่วนผสมของซิลิก้ากับสารที่ช่วยให้เกิดการหลอมละลายสารเคลือบที่ได้จะมีสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีเหมือนกัน สมบัติทางฟิสิกส์ คือมีความแข็ง ทนทานต่อการขัดสีเป็นฉนวนไฟฟ้า สมบัติทางเคมี คือ ไม่ละลายหรือละลายในสารเคมีได้น้อยมาก ยกเว้น กรดแก้วหรือกรดไฮโดรฟลูออริก(HF)และด่างแก่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ความสะอาดได้สะดวกและให้ความสวยงามอีกด้วย
1. ชนิดของน้ำยาเคลือบ
  การจำแนกชนิดของน้ำยาเคลือบ สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าจะพิจารณาสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก
  อาจจำแนกน้ำยาเคลือบได้ตามอุณหภูมิการเผาเคลือบหรือตามส่วนผสมของน้ำยาเคลือบหรือตามลักษณะที่ได้หลังการเผา หรือตามกรรมวิธีการเตรียม อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเคลือบชนิดใด จะต้องมีซิลิก้าเป็นองค์ประกอบหลักเสมอ
1.1 น้ำยาเคลือบตามอุณหภูมิของการเผาเคลือบ สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบไฟต่ำ ( low temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิเหมาะกับเซรามิกสำหรับการเผาอยู่ระหว่าง 700-900 องศาเซลเซียส
  2) น้ำยาเคลือบไฟกลาง( medium temperature glaze ) น้ำยาเคลือบชนิดนี้มีอุณหภูมิการเผาเคลือบอยู่ระหว่าง 900-1450 องศาเซลเซียส
1.2 น้ำยาเคลือบตามส่วนผสม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบตะกั่ว( lead glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม สมบัติของตะกั่วจะเป็นสารที่ช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ ตะกั่วที่ใช้อยู่ในรูปสารประกอบของตะกั่ว เช่น ออกไซด์ของตะกั่วคาร์บอเนตของตะกั่ว ตัวอย่างเช่น ตะกั่วแดง( Pb3O4) ตะกั่วขาว( 2PbCO3,Pb( OH2))
  2) น้ำยาเคลือบไม่มีตะกั่ว( leadless glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ไม่ใส่ตะกั่ว แต่จะมีสารตัวอื่นเป็นตัวช่วยลดจุดหลอมละลายของน้ำยาเคลือบ เช่น หินฟันม้า บอแร็กซ์
1,3 น้ำยาเคลือบตามลักษณะที่ได้หลังการเผา น้ำยาเคลือบชนิดนี้จำแนกตามลักษณะของเคลือบที่ปรากฎให้เห็นหลังการเผา ซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลายชนิดด้วยกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางชนิด ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบใส( Clear glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งให้เคลือบผลิตภัณฑ์ดินหรือเนื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ปั้นและเผาแล้วมีลักษณะใสเหมือนแก้ว สามารถมองเห็นสีของเนื้อผลิตภัณฑ์ใต้เคลือบ
  2) น้ำยาเคลือบด้าน( opaque glaye ) คือ น้ำยาเคลือบซึงเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีแสงส่องผ่านได้น้อย หรือไม่ผ่านเลย เคลือบจะช่วยปิดบังผิวของเนื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากน้ำยาเคลือบชนิดนี้มีสารทำให้เกิดความเคลือบทึบผสมอยู่ เช่น เซอร์โคเนียมซิลิเกต( ZrSio4)ออกไซด์ของดีบุก(SnO2)
  3) น้ำยาเคลือบด้าน( matt glaze )คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินแล้วหลังเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะผิวด้าน เนื่องจากเกิดผลึกเล็กๆที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ผิวเคลือบ เช่น การเติมสารประเภทออกไซด์ของสังกะสี(ZnO)หินปูน( Cao) หรือเคลือบด้านที่เกิดจากการเติมวัสดุทนไฟ เช่น อะลูมินา(AI2O3)
  4) น้ำยาเคลือบผลึก( crystalline glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีผลึกขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตา รูปผลึกอาจเป็นรูปพัด รูปเข็ม หรือเป็นดอก เนื่องจากการตกผลึกของน้ำยาเคลือบระหว่างที่มีความหนืดต่ำ ขณะที่ถูกเผา ณ อุณหภูมิสูง และเมื่อทำให้สารเคลือบเย็นตัวลงช้าๆอย่างเหมาะสมแล้ว จะเกิดเป็นผลึกขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น ผลึกที่เกิดจากการใช้ออกไซด์ของสังกะสี(Zno )
  5) น้ำยาเคลือบสี( colored glaze ) คือ น้ำยาเคลือบซึ่งเมื่อเคลือบผลิตภัณฑ์ดินและเผาแล้วผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีสีต่างๆเกิดจากการใส่สารที่ให้สีประเภทออกไซด์ของธาตุที่ทำให้เกิดสี( coloring oxide ) หรือ ผงสีเซรามิกสำเร็จรูปที่เรียกว่าสเตน( stain ) ลงในส่วนผสมน้ำยาเคลือบ
  สีของสารเคลือบซึ่งเกิดจากสารให้สีที่ผสมลงในน้ำยาเคลือบจากสารให้สีตามนั้นจะเห็นว่าออกไซด์บางตัวสามารถเกิดสีได้มากกว่าหนึ่งสี เช่น คอปเปอร์ออกไซด์ สามารถให้สีแดงหรือสีเขียวได้ ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศในการเผาต่างกัน การเผาเพื่อให้เกิดสีแดง บรรยากาศในการเตาเผาจะต้องเป็นแบบสันดาบไม่สมบูรณ์ ส่วนสีเขียวเกิดจากบรรยากาศการเผาแบบสมบูรณ์ นอกจากสีเคลือบจะขึ้นอยู่กับสภาพการเผาแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่นส่วนผสมของน้ำยาเคลือบ อุณหภูมิการเผาปริมาณสารให้สีที่ใช้และอาจใช้ออกไซด์ที่ให้สีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปผสมกัน เพื่อให้เกิดสีต่างๆได้ หลายสี อีกด้วย
  ในอุตสาหกรรม นิยมใช้สีสำเร็จรูปหรือสเตนแทนออกไซด์ที่ให้สี เนื่องจากเป็นสีที่มีมาตรฐานให้สีคงที่สามารถให้สีต่างๆ หลากหลาย เช่น สีแดง ชมพู่ ส้ม เทา ดำ
1.4 น้ำยาเคลือบตามกรรมวิธีการเตรียม สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1) น้ำยาเคลือบดิบ( raw glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ มาชั่งตามสูตร ใส่น้ำบดในหม้อบดจนละเอียดแล้วนำไปกรองและเก็บไว้ใช้งานต่อไป
  2) น้ำยาเคลือบฟริต( fritted glaze ) คือ น้ำยาเคลือบที่มีส่วนผสมบางตัวสามารถละลายได้ เช่น บอแร็กซ์หรือมีสารที่เป็นพิษ ได้แก่ สารตะกั่ว สารเหล่านี้จะถูกนำมาหลอมเป็นแก้วที่เรียกว่า ฟริต(frit )ซึ่งจะไม่ละลายน้ำและไม่เป็นพิษ ส่วนผสมของเคลือบจึงประกอบด้วยฟริตและวัตถุดิบอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกหลอม นำมาบดผสมกันเป็นน้ำยาเคลือบต่อไป
  นอกจากการจำแนกตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ยังมีแบบอื่นๆอีก เช่น การจำแนกตามชื่อของวัตถุดิบ หรือสารเคมีที่ใช้ผสมในน้ำยาเคลือบ เช่น น้ำยาเคลือบหินฟันม้า น้ำยาเคลือบหินปูน หรือน้ำยาเคลือบดีบุก

การเตรียมเซรามิกเพื่อการพิมพ์

  การเตรียมเซรามิกเพื่อพิมพ์จะผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกระบวนการผลิตเซรามิก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมส่วนผสมของเนื้อผลิตภัณฑ์( body preparation )
2. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์( forming)
3. การอบแห้ง( drying )
4. การเผาดิบ( bisque firing )
5. การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ( underglaze decoration )
6.การเคลือบ( glazing )
7.การเผาเคลือบ( glost  firiin )
8.การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ( overglaze decoration )
9.การอบสี( decorating fire )
10.การตรวจสอบคุณภาพ ( inspection )
  การเตรียมเนื้อผลิตภัณฑ์ เป็นการนำวัตถุดิบต่างๆ เช่น ดินขาว ดินเหนียว หินฟันม้า ทรายแก้ว ผสมกับน้ำบดให้ได้ความละเอียดตามต้องการ ผ่านตะแกรงกรองเข้าเครื่องแยกสารเหล็ก จากนั้นเข้าสู่บ่อพัก สารที่ได้เรียกว่า น้ำดิน น้ำดินที่ได้ในขั้นนี้สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปโดยวิธีการหล่อแบบในขั้นตอนต่อไปได้ หรือนำน้ำดินเข้าเครื่องอัดไล่น้ำออกจากดิน ได้ดินออกมาเป็นแผ่น และเข้าเครื่องนวดจะได้ดินที่มีความเหนียวเหมาะกับการขึ้นรูป บางวิธีนำน้ำดินเข้าเครื่องพ่นให้เป็นเม็ดฝุ่น( spray dryer ) ซึ่งนิยมใช้ในการทำกระเบื้องโดยจะนำเม็ดฝุ่นเข้าเครื่องอัดเป็นแผ่นในการขั้นการขึ้นรูป ส่วนผสมของวัตถุดิบต่างๆที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ ข้างต้นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันนั้น โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า เนื้อดินปั้นหรือเนื้อผลิตภัณฑ์( body )ซึ่งจะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการขึ้นรูปต่อไป
  การขึ้นรูป คือ การนำผลิตภัณฑ์มาปั้นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามตามต้องการ การขึ้นรูปมีหลายวิธีเช่น การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การหล่อแบบ และการอัด
  การอบแห้ง นั้นจะกระทำหลังจากการขึ้นรูปแล้ว จะมีการตกแต่งให้มีความเรียบร้อย เช่น ลบรอยตะเข็บ ส่วนเกินออก หรือมีการแกะลวดลายลงในผลิตภัณฑ์ดิบ จากนั้นจะนำไปผึ่งให้แห้งหรือนำเข้าเตาอบ เพื่อไล่ความชิ้นออกไปก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
  การเผาดิบ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เซรามิกบางประเภท หรือผลิตภัณฑ์ดิบบางชนิดจะผ่านขั้นตอนการเผาดิบก่อนการเคลือบ เนื่องจากการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์หรือดินปั้น ทำให้ลดปริมาณการสูญเสียลงจากการแตกเสียหายเวลานำไปเคลือบ และการเผาดิบจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดินที่ได้มีความพรุนตัวดีจึงสามารถดูดซึมน้ำยาเคลือบได้ดีขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์โอ่งราชบุรี จะไม่นำไปเผาดิบ แต่จะนำไปอบให้แห้งหรือถ้าไม่เข้าอบก็จะต้องทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้เนื้อผลิตภัณฑ์แห้งสนิทจึงนำไปเคลือบได้
  การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ เป็นการตกแต่งให้เกิดสีลวดลายต่างๆโดยการเขียนด้วยมือ ใช้รูปลอกการพิมพ์ การตกแต่งลวดลายนี้จะทำก่อนการเคลือบ จึงเรียกว่า การตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ
  การเคลือบ เป็นการนำน้ำยาเคลือบที่ผสมตามสูตรแล้วเคลือบบนผิวของเนื้อผลิตภํณฑ์ เทคนิคการเคลือบทำได้หลายวิธี เช่น การจุ่มผลิตภัณฑ์ลงในถังน้ำยาเคลือบ การพ่นเคลือบ การเทราด แล้วแต่ความต้องการและความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์
  การเผาเคลือบจะกระทำหลังจากผ่านขั้นตอนการเคลือบแล้ว ผลิตภัณฑ์จะถูกลำเลียงเข้าสู่เตาเผา เพื่อเผาเคลือบ อุณหภูมิการเผาเคลือบจะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของน้ำยาเคลือบที่ใช้
  การตกแต่งลวดลายบนเคลือบ ผลิตภัณฑ์บางชนิดต้องการลวดลายต่างๆบนเคลือบอีกชั้น หรือต้องการมีสีสันสดใสต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ จะมีสีหลายสีและเป็นลวดลสายต่างๆ สวยงาม เกิดจากการเขียนลวดลายด้วยสีเซรามิกตามแบบที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ถ้วย จาน อาจจะมีการพิมพ์ลาย ติดรูปลอกหรือเขียนด้วยมือ บนผิวเคลือบอีกครั้ง
  การตรวจสอบคุณภาพ ในการผลิตควรมีการตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมวิธีการผลิตแล้ว ก่อนนำไปบรรจุหีบห่อ และส่งขายต่อไปนั้น ควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งก่อน เช่น ตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ มีการตรวจสอบการทำงาน การชำระล้าง การรั่วซึม ถ้าเป็นกระเบื้องควรมีการตรวจสอบขนาดด้วย การบิดเบี้ยว การดูดซึมน้ำ การทนทานต่อสารเคมี ความแข็งแกร่ง
  การอบสี หลังจากตกแต่งลวดลายบนเคลือบแล้วจะนำผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ได้เข้าอบอีกครั้งที่อุณหภูมิ700-1200 องศาเซสเซียส อุณหภูมิการอบสีแล้วแต่ชนิดของสีที่ใช้ เพื่อให้สีหลอมละลายติดกับผิวเคลือบ หรือสุกตัวอยู่ในเคลือบ

เซรามิกแบบใหม่

ตั้งแต่ปีค.ศ 1940 มาจนปัจจุบัน วิทยาการด้านวัสดุมีการค้นคว้าและพัฒนาอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ นิวเคลียร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการพัฒนาวัสดุใหม่ๆขึ้น มีการศึกษาวิจัยและนำเซรามิกไปใช้ในงานเหล่านี้ จึงเกิดเซรามิกชนิดใหม่ชนิดใหม่ขึ้น เรียกกันว่า เซรามิกแบบใหม่( new ceramics )หรือเนื้อละเอียด( fine ceramics )หรือเซรามิกแบบเทคโนโลยีขั้นสูง( high-technology ceramics )เซรามิกชนิดนี้มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างสูง มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นผลิตเซรามิกแบบใหม่เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปขายต่างประเทศ จึงมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

  เซรามิกแบบใหม่ ผลิตจากสารที่มีความบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์แร่หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติภายใต้การควบคุมพิเศษด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ให้ได้สารที่มีคุณภาพและสมบัติพิเศษตามต้งการ นำสารบริสุทธิ์ที่มีอนุภาคเล็กมากมาขึ้นรูปโดยวิธีใช้แรงดันอัด และเผาที่อุณหภูมิสูง ให้เกิดการรวมตัวของอนุภาคได้เนื้อละเอียดและแข็ง กระบวนการผลิตทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสูงเพื่อให้ได้เซรามิกที่มีคุณภาพเฉพาะนั้นๆ
  เซรามิกแบบใหม่ มีอยู่หลายชนิดในปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีความตื่นตัวและพยายามพัฒนาวัสดุเซรามิกชนิดต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากเซรามิกจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโยีทั้งทางด้านอวกาศ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่น การใช้เคเบิลใยแก้วในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันการสื่อสารสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก เรียกกันว่า เป็นยุคของข่าวสารไร้พรมแดนขึ้น การค้นพบตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด หรือซุปเปอร์คอนดักเตอร์อุณหภูมิสูง( high-temperperature supercon-ductor) ซึ่งทำจากสารเซรามิกมีสภาพการนำไฟฟ้าได้โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กพลังมหาศาลออกมาได้ หากสามารถนำประยุกต์ใช้งานได้จะเกิดประโยชน์มหาศาล เช่น ใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปัจจุบันมาก ใช้ในอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆของการแพทย์ทางอวกาศ พัฒนารถไฟเหาะ แม่เหล็ก ตลอดจนใช้ในปฎิกริยานิวเคลืยร์ การใช้งานของเซรามิกแบบใหม่สามารถสรุปได้
  ชนิดของเซรามิกแบบใหม่ สามารถจัดแบ่งได้โดยอาศัยการแบ่งตามลักษณะการทำงานตามตารางข้างต้นนอกจากนี้ยังมีการแบ่งชนิดของเซรามิกแบบใหม่ตามประเภทของสารประกอบ เช่น ออกไซด์ ไนไตรล์  คาร์ไบด์ บอไรด์ ฟลูออไรด์และซัลไฟด์
  เซรามิกแบบใหม่มีการใช้ในวงการพิมพ์บ้าง โดยส่วนใหญ่งานพิมพ์จะเป็นตัวเลขหรือข้อความ ไม่ค่อยมีการใช้พิมพ์ภาพสกรีนหรือภาพฮาล์ฟโทน

ประเภทของเซรามิกที่แบ่งตามลักษณะของเนื้อดิน

  การจำแนกประเภทเซรามิกแบบเดิมตามลักษณะของเนื้อดิน เป็นที่นิยมใช้มาก เซรามิกชนิดนี้ ได้แก่
2.1 เทอราคอดตา( terra cotta )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อดินเป็นสี(ไม่ขาว) เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลืองอ่อนเกิดจากการใช้ดินเหนียวที่มีเหล็กปนอยู่ ทำให้เมื่อเผาแล้วจะเกิดเป็นสีขึ้น เผาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำประมาณ900-1050 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์มีความพรุนตัวและดูดซึมน้ำได้ เช่น กระถางต้นไม้ หม้อดิน
2.2 เอิตเทนเวร์(earthen ware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อละเอียด มีสีขาวหรือขาวอมเทา ผลิตภัณฑ์มีความพรุนตัวและดูดซึมน้ำได้สูงประมาณร้อยละ 10-15 เนื้อผลิตภัณฑ์ จึงมักจะได้รับการเคลือบผิว เช่น ภาชนะ จาน ชาม กระเบื้อง เครื่องประดับ ของตกแต่ง
2.3 สโตนแวร์( stone ware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแน่น สีเนื้อดิน อาจมีสีขาวหรือสีอื่นๆได้ มีความแข็งแกร่งทึบแสง การดูดซึมน้ำต่ำมาก หรือไม่ดูดซึมน้ำ เนื่องจากอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาค่อนข้างสูงประมาณ 1100-1300 องศาเซสเซียส ทำให้ผลิตภัณฑ์ถูกเผาถึงจุดสุกตัว เช่น ถ้วย จาน ชาม ชุดน้ำชา กาแฟ ซึ่งผลิตภัตฑ์ที่ได้จะมีความแข็งแกร่งกว่าเอิทเทนแวร์
2.4 พอร์สเลน(porcelain)เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแน่นเนียนละเอียด มีสีขาว โปร่งแสง เคาะมีเสียงดังกังวาลเผาที่อุณหภูมิตั้งแต่ 1200องศาเซลเซียส ขึ้นไป ทำให้ถึงจุดสุกตัว ไม่ดูดซึมน้ำ มีความแข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์พอร์สเลนมีมากมาย เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ ฉนวนไฟฟ้า ภาชนะสำหรับงานทดลองทางเคมี
2.5 โบนไชน่า( bone china )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางโปร่งแสงมาก เนื่องจากการใช้เถ้ากระดูกสัตว์( boneash )เป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญของส่วนผสมเนื้อผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์โบนไชนามีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแกร่งนิยมผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น ถ้วย จาน ชาม ชุดน้ำชา กาแฟ
เซรามิกแบบเดิมนี้มักใช้เป็นวัสดุสำหรับการพิมพ์

ประเภทของเซรามิกที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

 ผลิตภัณฑ์ของเซรามิกแบบเดิม มักผลิตขึ้นเพื่อใช้ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ทำภาชนะสำหรับใส่น้ำ อาหาร ยารักษาโรคทำวัตถุก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัย ดังนั้นการจำแนกประเภทของเซรามิกแบบเดิมตามลักษณะการใช้งาน มีดังนี้
1.1 เซรามิกที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง( structural ceramics )ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องบุผนัง กระเบื้องโมเสก กระเบื้องมุงหลังคา อิฐธรรมดา หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า อิฐมอญ อิฐปูพื้น อิฐประดับ อิฐกลวง ท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์
  นอกจากนี้ซีเมนต์( cement )ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการก่อสร้าง ก็จัดเป็นเซรามิกด้วย เนื่องจากซีเมนต์ได้จากการเผาส่วนผสมที่มีวัตถุดิบประเภท ดิน หิน ปูน
1.2 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องสุขภัณฑ์(sanitary ware)เช่น อ่างล้างหน้า โถส้วม
1.3 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร( tableware )เช่น จาน ชาม ถ้วย ชุดน้ำชา กาแฟ
1.4 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องใช้ในครัว(kichen ware) เป็นภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร หรือหุงค้ม อาจใช้กับเตาอบ หรือเปลวไฟ มีสมบัติทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความร้อนอย่างรวดเร็ว หรือทนทานต่อความร้อนที่เกิดจากเปลวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้โดยตรง
1.5 เซรามิกที่ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ( novelty )
1.6 เซรามิกที่ใช้เป็นวัตถุทนไฟ ( refactory )เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติด้านทนความร้อนได้สูงกว่า(สูงกว่า 1580 องศาเซสเซียส ขึ้นไป) มีความแข็งแรงทนต่อแรงกด ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ผลิตภัณฑ์ประเภทวัตถุทนไฟ เช่น อิฐทนไฟ วัสดุทนไฟ ส่วนใหญ่วัตถุไฟใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ทำเตาเผา เตาหลอมเหล็ก และยังใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมเคมี
1.7 เซรามิกที่ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า( electrical insulator )เช่น ลูกถ้วยไฟฟ้า หัวเทียน ที่ตัดไฟ
1.8 เซรามิกที่ใช้เป็นโลหะเคลือบ( enamel )สารที่ใช้เคลือบบนผิวโลหะ คือ เซรามิก เช่น การเคลือบบนผิว ทอง เงิน เหล็ก ตัวอย่างเช่น จานสังกะสี
1.9 เซรามิกที่ใช้เป็นแก้ว( glass) แก้วจัดเป็นเซรามิก ได้จากการนำทรายที่เป็นวัตถุดิบหลักมาโดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ต้องใชัความร้อน
  นอกจากนี้ยังมีเซรามิกชนิดอื่นๆเช่น เซรามิกที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ขัดหรือตัด ภาชนะสำหรับใช้งานเคมีในห้องปฎิบัติการ

เซรามิกแบบเดิม

เซรามิก( ceramic )มาจากภาษากรีกว่าเครามอส(Keramos)ซึ่งมีความหมายว่าของแข็งที่ได้จากการเผาในที่นี้จึงขอให้คำนิยามของเซรามิก ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบประเภทสารอนินทรีย์ เช่น แร่ หิน ดินที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติมารวมกันและเผาด้วยความร้อนสูงให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็ง เซรามิกบางชนิดจะเป็นเซรามิกที่ผลิตจากดินล้วนๆเซรามิกบางชนิดจะเตรียมจากวัตถุดิบหลายชนิดผสมกัน เช่น ดิน หิน ส่วนผสมที่เตรียมขึ้นนี้จะถูกเรียกว่าเนื้อดิน
  ผลิตภัณฑ์เซรามิก ประกอบด้วยลักษณะเฉพาะ 2 ประการ คือ ใช้สารอนินทรีย์และผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ใช้ความร้อนสูง
  ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งมีประวัติการพัฒนามายาวนาน  มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์ได้มีการทำผลิตเซรามิกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินกลาง มีการทำภาชนะเซรามิกประเภทหม้อหุงต้ม ภาชนะใส่น้ำดื่ม และภาชนะที่ใช้ในพิธีการต่างๆ จากยุคหินกลางเข้ามาสู่ยุคประวัติศาสตร์ได้มีการผลิตภัณฑ์เซรามิกขึ้นมาหลากหลายประเภท เป็นการใช้ทั้งศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นำเอาวัตถุดิบที่องค์ประกอบหลักเป็นสารประเภทอนินทรีย์สาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิลิก้ามาใช้ในการผลิต พัฒนาเนื้อส่วนผสมกรรมวิธีการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติตามต้องการ เซรามิกประเภทนี้ เรียกว่า เซรามิแบบเดิม( classical ceramic)หรือเซรามิกแบบทั่วไป( conventional ceramic )ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานและตามลักษณะของเนื้อดิน

สารเติมแต่งกระดาษ

สารเติมแต่งที่ใช้ในน้ำยาเคลือบส่วนมากเป็นสารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อน  และมีหน้าที่เฉพาะที่ใช้กันในน้ำยาเคลือบ  ตัวอย่างเช่น  สารที่ช่วยทำให้กระจาย  สารช่วยอุ้มน้ำหรือสารปรับความหนืด  สารหล่อลื่น  สารป้องกันการละลายน้ำ  หรือสารช่วยให้เกิดพันธะระหว่างโซ่  สารกันบูด  สารปรับความเป็นกรด-ด่าง  สารต้านทานการซึมน้ำสารเพิ่มความขาวสว่าง  สีย้อม  และสารควบคุมการเกิดฟอง ส่วนสารอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วจะมีการใช้ในน้ำยาเคลือบน้อยมาก  เช่น  สารช่วยจับตัวที่มีประจุบวก   สารต้านการออกซิไดส์  พอลิเมอร์จับประจุ และพลาสติกไซเซอร์

  1. สารที่ช่วยทำให้กระจาย  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอินดิเคต( indicate ) ใช้สำหรับกระจายตัวผงสีขาวและช่วยให้ผงสีกระจายตัวได้ในน้ำ มีทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โซเดียมพอลิอะคริลิก( sodium polyacrylic ) และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต ( tetra  sodium  polyphosphate,TSPP) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium polyacrylic )และสารอนินทรีย์เช่น  เททระโซเดืยมพอลิฟอสเฟต ( tera sodium polyphosphate,TSPP ) และโซเดียมเฮกซะเมทาฟอสเฟต( sodium  hexameta phosphate ) สารที่ช่วยทำให้กระจายชนิดสารอนินทรีย์จะมีสมบัติการกระจายตัวที่ดีกว่าสารอนินทรีย์ โดยเฉพาะสารอินทรีย์จะทนต่อการกระจายตัวที่อุณหภูมิสูงและเวลาที่ปั่นนานได้ดี  แต่มีราคาแพงกว่าสารอนินทรีย์
  2. สารปรับความหนืด  ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมีที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อไปควบคุมความหนืด โดยเฉพาะการวัดความหนืดด้วยเครื่องวัดความหนืด  สารปรับความหนืดนี้จะเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของน้ำยาเคลือบทำให้ยาเคลือบหนืดขึ้น  สารที่ใช้ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(  carboxymethyl cellulose,CMC ) ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส( hydroxyetyl cellulose,HEC) หรือโซเดียมอัลจิเนต ( sodium alginate )แป้งที่มีความหนืดสูง และสารสังเคราะห์ประเภทอะคริลิก
  3.  สารหล่อลืน สารที่ใช้เป็นสารเคมีประเภทแคลเซียมสเตียเรต ( calcium  stearate ) นิยมใช้กันมากและสารประเภทนี้ยังช่วยควบคุมการเกิดฝุ่นในระหว่างที่มีการขัดผิวกระดาษด้วย  สารเคมีอื่นที่ใช้ คือ อิมัลชันพอลิเอทิลีน  แอมโมเนียมสเตียเรต พอลิเอทิลีนไกลคอล อิมัลชันไขและน้ำมันที่ผสมซัลเฟอร์( sulfonated oil )
  4. สารป้องกันการละลายน้ำ สารนี้จะใช้สายพอลิเมอร์ยึดเกาะกัน พบมากในน้ำยาเคลือบที่ใช้แป้งเป็นตัวยึดสำหรับการพิมพ์ประเภทออฟเซต  และในน้ำยาเคลือบที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองผสมอยู่ สารประเภทนี้จะช่วยป้องกันการขัดถูที่ผิวเมื่อเปียกได้ดี แต่ก่อนนิยมใช้สารประเภทเมลามีนหรือยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ ต่อมาพบว่าสารทั้งสองจะปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารพวกแอมโมเนียมเซอร์โคเนียมคาร์บอเนตมาใช้งาน
  5. สารกันบูด ในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดธรรมชาติ เช่น แป้ง จำเป็นต้องใส่สารกันบูดเพื่อยึดอายุการใช้งานแต่จะพบน้อยในน้ำยาเคลือบที่ใช้ตัวยึดสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีป้องกันเชื้อแบคทีเรีย  สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ฟีเนต (phenate)คลอโรฟีเนต( chlorophenate )
  6. สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ที่ใช้มาก คือ แอมโมเนีย และโซดาไฟ
  7. สารต้านทานการซึมน้ำและสารทำให้แยกตัว เป็นสารเคมีประเภทซิลิโคน สารเชิงซ้อนที่มีโครเมียม( chromium compiex ) และสารที่มีฟลูออไรด์ ( fluorochemical )
  8. ส่ารเพิ่มความขาวสว่าง ใช้เพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารเคมีประเภทอนุพันธ์ของสติวบีน ( stilbene derivative ) อนุพันธ์ของเบนโซฟีโนน( benzophenone derivative) และไดบิวทิลไดไทโอคาร์บาร์เมต ( dibtyldithio carbamate )สารเหล่านี้ใช้มากเพื่อให้ได้กระดาษเคลือบที่มีคุณภาพสูง มีความขาวสว่างสูงขึ้น
  9. สีย้อม ที่ใช้มากจะเป็นประเภทสีฟ้าและสี่ม่วง เพื่อให้กระดาษเคลือบมองดูขาวขึ้น
  10. สารควบคุมการเกิดฟอง มีทั้งสารป้องกันการเกิดฟอง และสารลดฟอง( defoaming agent ) ในปัจจุบันการใช้งานจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก สารควบคุมการเกิอฟองมีทั้งประเภทละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมการเกิดฟองดีมาก แต่ถ้าใช้สารควบคุมการเกิดฟองชนิดไม่ละลายน้ำมากเกินไปอาจมีปัญหาที่เรียกว่า ตกปลา ( fish eyes ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหยดน้ำมันบนกระดาษดั้งนั้นก่อนใช้น้ำยาเคลือบสามารถตรวจสอบปัญหาตาปลาได้โดยการนำน้ำยาเคลือบมาทดลองเคลือบลงบนแผ่นกระจกแล้วสังเกตการเกิดตาปลาบนผิวกระจก      

ตัวยึดกระดาษสังเคราะห์

ตัวยึดสังเคราะห์เป็นสารที่ได้จากสารสังเคราะห์มักนิยมใชัในรูปลาเทกซ์   ซึ่งจะมีขนาดเม็ดสารประมาณ 0.1-  0.5  ไมครอน และใช้ผสมในน้ำยาเคลือบในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 10  โดยน้ำหนักต่อเนื้อสารทั้งหมดลาเทกซ์จะมีอิทธิพลต่อสมบัติเกี่ยวกับการพิมพ์ของกระดาษเคลือบ ต้นทุนการผลิต  และความสามารถในการผลิตของเครื่องเคลือบกระดาษ
  • ลาเทกซ์สำหรับอุตสาหกรรมกระดาษเคลือบแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ คือ ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีน พอลิไวนิลอะซิเตต  ลาเทกซ์ไวนิลอะคริลิก และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์  ลาเทกซ์สไตรีนบิวตาไดอีน
  • ลาเทกซ์ไตรีนบิวตาไดอีนเป็นลาเทกซ์ที่มีแรงยึดติดที่แข็งแรงมาก สังเคราะห์ได้จากปฎิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ระหว่างสไตรีนกับบิวตาไดอีนเกิดเป็นพอลิเมอร์ร่วมกระจายตัวในน้ำร่วมกับสารลดแรงตึงผิว ลาเทกซ์ชนิดนี้จะให้ชั้นฟิล์มที่แข็งหรือนิ่มขึ้นกับค่าอุณหภูมิที่ลาเทกซ์เริ่มแข็งตัวกลายเป็นฟิล์มแห้ง( glass transition  temperature,Tg ) ปกติอัตราส่วนของสไตรีนที่น้อย คือ ระหว่างร้อยละ 50-55 จะให้ค่า Tg ต่ำ กล่าวคือ ฟิล์มจะนิ่มหักงอ  อ่อนตัวได้ดีและมีความเหนียวหนึด

โดยทั่วไปลาเทกซ์ชนิดนี้จะมีอัตราส่วนของสไตรีนต่อบิวตาไดอีนเท่ากับ 65  ต่อ  35 โดยน้ำหนักจะให้สมบัติที่ดีในด้านความมันวาว การห้กงออ่อนตัวง่าย  ความเหนียวหนืดต่ำ  และมีแรงยึดติดกับสารอื่นดี  น้ำยาเคลือบกระดาษที่ใช้ลาเทกซ์ชนิดนี้จะออกเป็นสีเหลี่ยมเมื่อถูกแสงแดด
  • ลาเทกซ์ที่ใช้มากเป็นอันดับรองมา  คือ  ลาเทกซ์อะคริลิก  ให้สมบัติด้านการหักงออ่อนตัวดี  แรงยึดติดกับสารอื่นดีคล้ายกับลาเทกซ์ไดรีนบิวตาไดอีนแต่มีราคาแพง  ลาเทกซ์อะคริลิกมีกลิ่นจากพอลิเมอร์ร่วมน้อยต้านทานต่อแสงแดดดีมาก  ปกติจะใช้กับกระดาษเคลือบที่ต้องการคุณภาพสูง


nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์