Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

วิธีการทำแม่พิมพ์สกรีน screen print สำหรับกรีนเสื้อ ด้วยเครื่องพิมพ์ Yudu Machine























เทคโนโลยีการพิมพ์ธนบัตร

   


    การพิมพ์ธนบัตรประกอบด้วยการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ ด้วยกรรมวิธีการพิมพ์ ๒ แบบ คือ การพิมพ์ออฟเซตแห้ง (Dry offset) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายว่า การพิมพ์สีพื้น และการพิมพ์อินทาลโย (Intaglio) หรือเรียกตามลักษณะลวดลายที่ได้จากการพิมพ์ว่า การพิมพ์เส้นนูน นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนการผลิตเป็นธนบัตรสำเร็จรูป คือ การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น ซึ่งใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress)

การพิมพ์สีพื้น

เป็นงานขั้นตอนแรกของการพิมพ์ธนบัตร โดยใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้บางส่วนของลวดลายที่ตั้งใจออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตรซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอย่างหนึ่ง

 เครื่องพิมพ์สีพื้น     

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่ผ่านการพิมพ์สีพื้นด้านหน้า


การพิมพ์เส้นนูน

เป็นการพิมพ์ภาพและลวดลายต่าง ๆ ด้วยเครื่องพิมพ์แบบพิเศษที่ใช้แรงกดพิมพ์สูงและหมึกพิมพ์ซึ่งมีความเหนียวหนืดสูง เพื่อทำให้หมึกพิมพ์กองนูนบนผิวกระดาษ ทำให้ได้รายละเอียดและความอิ่มตัวสีสูง เหมาะกับการพิมพ์ภาพประธานและส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นและคมชัด เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และตัวเลขแจ้งราคาด้านหน้าธนบัตร เป็นต้น ซึ่งหากใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสผ่านเบา ๆ จะรู้สึกได้ถึงความนูนนั้น นับเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญยิ่งในการผลิตธนบัตรและสิ่งพิมพ์มีค่าอื่น

แม่พิมพ์เส้นนูน  

 เครื่องพิมพ์เส้นนูน

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่ผ่านการพิมพ์เส้นนูน


การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น

แผ่นพิมพ์ที่พิมพ์ภาพและลวดลายสีพื้นและเส้นนูนแล้ว จะผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด เพื่อคัดแยกธนบัตรที่มีข้อบกพร่องออกไปทำลาย ส่วนธนบัตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจะส่งไปพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นต่อไป
การพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นใช้การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เพื่อควบคุมจำนวนธนบัตรออกใช้ โดยเครื่องพิมพ์จะมีระบบควบคุมและตรวจสอบการเปลี่ยนเลขหมายในแต่ละรอบการพิมพ์ ดังนั้น เลขหมายที่กำกับบนธนบัตรแต่ละฉบับที่เป็นแบบและชนิดราคาเดียวกันจะไม่ซ้ำกันเป็นอันขาด สำหรับลายเซ็นบนธนบัตรทุกฉบับจะเป็นลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยนั้น ๆ

 เครื่องพิมพ์เลขหมายและลายเซ็น     

แผ่นพิมพ์ธนบัตรที่พิมพ์เลขหมายและลายเซ็นแล้ว







หลักสูตรการอบรมของสถาบันการพิมพ์ไทย




Competency Structure
1.
Follow OH&S practices and identify environmental hazards
14.
Printing problem
2.
Apply knowledge requirements of printing
15.
Print length
3.
Prepare machine for operation basic
16.
Colour Matching
4.
Set up basic lithographic printing
17.
Colour separation - screen
5.
Print chemistry - ink and water balance
18.
Measuring tool
6.
Produce basic lithographic print single colour
19.
Paper manufacture
7.
Printing plate care
20.
Produce complex lithographic print - 4 colour process
8.
Make ready book
21.
Inspecquality against required standards - densitometry
9.
Produce complex Lithographic print 4 colour line
22.
Quick change over
10.
Operate and monitor machines - registration23.Set up basic coating (varnish)
11.
Perfacting24.On-demand printing (digital printing)
12.Blanket and packing25.Printing costing and estimating
13.Imposition26.Web - Basic


โครงการฝึกอบรมทางด้านการพิมพ์ Lithographic Printing เป็นโครงการหลักสูตรเกียรติบัตร ระดับ 3 มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคนิค และการผลิต ตลอดจนการจัดกระบวนการฝึกทักษะในองค์กร เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึง หลักทฤษฎีและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิมพ์อันหลากหลาย รวมถึงหมึก และน้ำยาเคมีต่างๆเป็นต้น เตรียมรับมือกับปัญาหาทางด้านเทคนิคต่างๆ รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการผลิต ตลอดจนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์และได้ฝึกผนจากกระบวนการทำงานจริงที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออีกด้วย
เวลาเรียน
14 กรกฎาคม 2551 – 24 ตุลาคม 2551
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. ถึง 16.30 น.
สถานที่เรียน
Thai Print Academy (นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร)
ผู้สอน
จาก RMIT และสมาคมการพิมพ์ไทย
ภาษา
บทเรียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยจะมีการแปลเป็นภาษาไทยในบางวิชา
ค่าใช้จ่าย
150,000 บาท ต่อ 1 ท่าน
เกียรติบัตร
RMIT Certificate III Printing and Graphic Arts


คุณสมบัติของผู้เรียน

1. ควรจะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษพอสมควร เนื่องจากการเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแปลเป็นภาษาไทยเพียงบางวิชา

2. ชาย/หญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป

3. ผู้เรียนต้องมีชั่วโมงเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของตารางเรียนทั้งหมด มิฉะนั้นทาง RMIT และทาง Thai Print Academy ขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะไม่มอบใบ Certificate III
เครื่องที่ใช้สำหรับการฝึกอบรม
Machine
Brand
Model
Printing machine
Mitsubishi
D 3000 LS-4
CTP
Kodak
Trendsetter 800 II
Folding Machine
Shoei
SPK 74 – 4 KTL
Stitching Machine
Muller Martini
Valore
Perfect Binding
Muller Martini
AmigoPlus
Cutter+Jogger
Polar
115+R4


ข้อมูลจาก http://www.thaiprintacademy.com/

สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย: Thailand Printing Federation



สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เกิดขึ้นจากความต้องการของกลุ่มสมาคมต่างๆ ที่ประกอบการเกี่ยวข้องกับการพิมพ์ เพื่อต้องการเข้า ไปช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่จะซ้ำซ้อนเหลื่อมล้ำกันมาตลอดระหว่างสมาชิก ของผู้ประกอบการ และในช่วงเวลาที่ผ่านมา บทบาทของการแก้ปัญหาระหว่างภาครัฐกับเอกชน ส่วนใหญ่รัฐบาลจะยอมรับฟังผ่าน ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นหลัก กลุ่มสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเห็นว่า ควรจะมีการทำงานร่วมกันเป็นแนวทางเดียวกัน และควรนำปัญหาต่างๆ นำเสนอผ่านทางกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อยู่แล้ว ให้เป็นผู้ดำเนินการประกอบกับระหว่างนั้นได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งภาคของอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเอชีย / เอเชียอาคเนย์ การพิมพ์และสิ่งพิมพ์หนังสือก็รวมอยู่ในข่ายที่จะต้องจัดตั้งเป็นภาคีของภูมิภาคด้วย โดยสาขาของอุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้ถูกจัดให้ เป็นแกนนำของการพิมพ์ของประเทศที่จะเข้าไปร่วมจัดตั้งเป็นภาคี (printing and Publishing Club) 


จากสาเหตุดังกล่าว ประกอบกับความต้องการของผู้ประกอบทางด้านการพิมพ์ที่จะร่วมกันแก้ปัญหาของบรรดาสมาชิกจึงได้นำรูปแบบ การทำงานของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (ของสภาอุตสาหกรรมฯ) มาศึกษาและปรับโครงสร้างให้เข้ากับการทำงานของกลุ่มการพิมพ์ ดังนั้นในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2536 จึงมีมติจัดตั้งเป็นสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นแกนกลางประกอบด้วยสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวม 7 กลุ่ม โดยให้นายกทุกสมาคมทำหน้าที่เป็นมนตรีและทำการเลือกประธานมนตรีและจัดแบ่งการทำงานเป็น รูปแบบองค์กรชัดเจน โดยประธานมนตรีจะมีวาระการทำงานครั้งละ 1 ปี และจะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนให้นายกของแต่ละกลุ่มเข้าทำหน้าที่ประธาน ซึ่งวันที่ 7 มกราคม 2536 เป็นวันกำเนิด สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ (สอกพ.) โดยได้เชิญนายกสมาคม ประธานกลุ่มและชมรม มาทำความตกลงในการเข้ารับตำแหน่งด้วยวิธีการจับฉลาก เพื่อมาทำหน้าที่ประธานคณะมนตรีท่านละ 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณอร่าม อามรดิษ พาไปลงสัตยาบันที่สโมสรรัฐสภา


วัตถุประสงค์

ผดุงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ร่วมกันในการประกอบอาชีพของมวลสมาชิก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเข้าทำความตกลงกับรัฐบาลและองค์กรของประเทศในกรณีที่มีส่วนเกี่ยวพันและมีผล
กระทบกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง 


ประสานงานและปฏิบัติงานโดยพลันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง
ทางด้านภาษี บุคลากร การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอื่น
ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ทั้งในทางปฏิบัติและในทางวิชาการ 


ให้การช่วยเหลือมวลสมาชิกที่มีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

สมาชิกของสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์


1. สมาคมการพิมพ์ไทย

2. กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

3. สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

4. สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

5. สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย

6. สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย

7. ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย

8. สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์

9. สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

คณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ วาระปี 2556-2557


รายนามอดีตคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์










การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )

การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป








การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์ 
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป 
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์ 
4. ผู้พิมพ์

ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ 
1.ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้ 
2.สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้

ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้ 

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์ 
1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์ 

2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
2.1ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย 
2.2ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ 
3.1ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป 
3.2ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม





4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ 
4.1แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ 
4.2แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร 
4.3แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT ) 
4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

ที่มาจาก http://www.mew6.com/composer/art/printing.php

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์