Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

วิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับสำหรับงานพิมพ์



การส่งไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์

หลังจากที่จัดทำไฟล์ต้นฉบับเสร็จและจัดเตรียมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งไฟล์ที่ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ซึ่งก็ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยมีหลักการเลือกใช้วิธีส่งไฟล์ดังต่อไปนี้ 

บันทึกลงแผ่น CD/DVD


วิธีบันทึกไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์ลงแผ่นเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกส่งไฟล์ได้ครั้งละมากๆ ราคา CD/DVD สำหรับไรท์ไม่แพง และทำสำเนาได้มากเท่าที่ต้องการ การบันทึกไฟล์ต้นฉบับด้วยการบันทึกลงแผ่น CD/DVD สามารถบันทึกไฟล์โดยตรงก็ได้ หรือจะเลือกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip หรื WinRAR เพื่อลดขนาดไฟล์ก่อนก็ได้ (กรณีที่บีบอัดไฟล์ทางผู้รับงานจะต้องมีโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR ด้วย เพื่อคลายไฟล์ออก) 

บันทึกใส่สื่อดิจิตอลอื่นๆ


นอกจากการบันทึกไฟล์ต้นฉบับลงแผ่น CD/DVD แล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอื่น อีกเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External Harddisk) แฟลชไดร์ฟหรือทัมฟ์ไดร์ฟ (Flash Drive or Thumb Drive) หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook) โดยสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถโอนไฟล์ต้นฉบับด้วยวิธีเหมาะสำหรับ กรณีที่เจ้าของอุปกรณ์นำงานไปส่งเอง แต่มีจุดด้วยเพราะไม่เหมาะกับการเก็บไฟล์งานแบบถาวร 

ส่งไฟล์ทางอินเตอร์เน็ต


การส่งไฟล์ต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ได้ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีรองรับ เช่น มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขนาดพื้นที่อีเมล์ใหญ่ขึ้น และแนบไฟล์ได้มากขึ้น มีบริการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล แบบออนไลน์ มีโปรแกรมลดขนาดไฟล์ และที่สำคัญมีไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์มาตรฐานสำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงและขนาดไฟล์เล็ก จากองค์ประกอบเหล่านี้ จึงทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ที่ต้องเดินทางไปส่งไฟล์เองมาก


โปรแกรมกราฟิกและการเตรียมไฟล์แต่ละชนิดของงานพิมพ์



ขั้นตอนการเตรียมไฟล์และการส่งไฟล์ต้นฉบับ


ขั้นตอนที่เป็นการเริ่มต้นอยู่ในส่วนของฝ่ายผลิตต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การเริ่มต้นขึ้นอยู่กับชิ้นงานว่าเป็นงานชนิดใด เพราะงานแต่ละประเภทจะผ่านขั้นตอนการผลิตต้นฉบับไม่เหมือนกัน หากเป็นงานโฆษณาจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ตีโจทย์ วางคอนเซ็ปต์ คิดคำประกอบ ถ่ายภาพประกอบ ถ่ายภาพประกอบ เขียนเนื้อเรื่อง และจัดทำต้นฉบับผ่านคอมพิวเตอร์




จากข้อมูลที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าทั้งงานโฆษณาและงานหนังสือ เมื่อมาถึงขั้นตอนสุดท้ายจะต้องมาจบที่คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อผลิตต้นฉบับให้เป็นไฟล์ชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ได้แก่ Adobe InDesign, Illustrator, Photoshop, Acrobat, PageMaker, Ouark และ Word



โปรแกรมกราฟิกและการเตรียมไฟล์แต่ละชนิด


สำหรับไฟล์ที่ได้จากโปรแกรมแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติและวิธีการเตรียมไฟล์ที่แตกต่างกัน โดยมีข้อมูลสำหรับแต่ละโปรแกรมดังนี้



Adobe InDesign

เป็นโปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับงานประเภทจัดหน้าทำหนังสือ หรืองานสิ่งพิมพ์บางชนิด การทำงานคล้ายกับมีโปรแกรม PageMaker และ IIIustrator มารวมกัน หากใครเคยใช้ทั้งสองโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว ก็จะปรับตัวมาใช้ได้ไม่ยาก สำหรับ InDesign นั้นมีโปรแกรมประเภทเดียวกันคือ PageMaker แต่ InDesign นั้นมีโปรแกรมที่กล่าวมาแล้วก็จะปรับตัวมาใช้ได้ไม่ยาก สำหรับ Indesign มีข้อดีเหนือกว่า PageMaker หลายด้าน เพราะมีการพัฒนาให้รองรับการวาดภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีกว่า ส่วนข้อด้อยที่กำลังได้รับการแก้ไข ก็คือเรื่องฟอนต์ภาษาไทย ซึ่งอีกไม่นานน่าจะหมดปัญหานี้




ส่วนวิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับของ InDesign สะดวกมาก เพราะมีคำสั่ง Package สำหรับรวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับงานชิ้นที่ต้องการ ตั้งแต่ไฟล์ภาพ ฟอนต์ที่ต้องใช้มารวมในที่เดียว หลังจากนั้นก็สามารถไรท์ต้นฉบับลงแผ่นส่งได้ทันที โดยไม่ต้องห่วงว่าจะลืมไฟล์ที่จำเป็น



Adobe Illustrator

Illustrator เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการวาดภาพ ผลิตไฟล์ต้นฉบับบรรจุภัณฑ์ ปกหนังสือ และสิ่งพิมพ์หลายชนิด การเตรียมไฟล์ควรเลือกใช้โหมด CMYK เป็นมาตรฐาน ส่วนภาพที่นำมาประกอบ (ภาพถ่าย ไฟล์ภาพอื่นที่ไม่ได้เกิดจาก Illustrator) การนำมาใช้ควรเลือกแบบ Link เพื่อลดขนาดของไฟล์ ส่วนตัวอักษรถ้าไม่มีการแก้ไขแล้วควรจะ Create Outline ให้เป็นลายเส้นป้องกันปัญหาฟอนต์ เมื่อตันฉบับเสร็จแล้วให้รวบรวมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไรที่ส่งฝ่ายผลิต



Adobe Photoshop

Photoshop คือหนึ่งในโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องมีติดตั้งไว้ Photoshop เป็นโปรแกรมมากความสามารถด้านจัดการแก้ไขและ เป็นโปรแกรมที่ในวงการผลิตสิ่งพิมพ์นิยมใช้ สำหรับผู้ทำต้นฉบับด้วย Photoshop มีสิ่งที่ต้องเน้นคือเรื่อง Resolution ซึ่งจะต้องใช้ค่า 300 Pixels/Inch ขึ้นไปเพื่อความคมชัด และใช้โหมดสี CMYK กับไฟล์ต้นฉบับ ส่วนเรื่องอื่นก็แล้วแต่ว่าผลิตต้นฉบับอะไร เช่น ถ้าทำต้นฉบับโปสเตอร์ก็ต้องมีการเผื่อตัดตกด้วย




สุดท้าย หลังจากที่ออกแบบไฟล์ต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็สามารถส่งไฟล์ที่เป็นไฟล์ PSD (ไฟล์เฉพาะของ Photoshop) หรือไฟล์ Tiff ไปให้ฝ่ายผลิตได้ โดยแนะนำให้บันทึก (Save) แบบรวมเลเยอร์ไป เพื่อป้องกันผู้อื่นนำงานของเรา ไปดัดแปลง ส่วนไฟล์ที่ไม่ได้รวมเลเยอร์ก็ให้เราเก็บไว้ เผื่อต้องการแก้ไขในภายหลัง



Adobe Acrobat Professional / distilier

โปรแกรม สำหรับแปลงไฟล์ต้นฉบับจากโปรแกรมอื่นให้เป็นไฟล์ PDF ที่เป็นไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานสากล ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง โดยเฉพาะงานสิ่งพิมพ์ เมื่อทำเป็นไฟล์ PDF แล้วขนาดไฟล์จะเล็กลงจนสามารถส่งต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องฟอนต์และภาพ (เมื่อทำทุกขั้นตอนถูกต้อง) แถมป้องกันการนำไฟล์ต้นฉบับไปแก้ไขได้ในระดับหนึ่งด้วย



Adobe PageMaker

โปรแกรม ด้านการจัดหน้าที่คุ้นเคยกับนักออกแบบมานาน PageMaker เป็นโปรแกรมจัดหน้าที่ใช้งานง่าย มีความสามารถในระดับที่ดี แต่ไม่มีการพัฉนาต่อมานานแล้วตั้งแต่เวอร์ชั่น 7 ดังนั้นการใชเทคนิคบางอย่างจึงต้องอาศัยโปรแกรม Photoshop และ Illustrator มาร่วมทำงานก็จะได้ผลงานที่สวยสมใจ โปรแกรมนี้เหมาะกับงานผลิตต้นฉบับหนังสือ แต่ก็สามารถทำงานสิ่งพิมพ์อื่นได้บ้าง ในส่วนของการส่งไฟล์ทำได้ 2 วิธี คือ การส่งเป็นไฟล์ PageMaker โดยตรง ซึ่งต้องรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดส่งไปด้วย เช่น ฟอนต์ ภาพที่ใช้ในงาน (ไม่แนะนำวิธีไม่ลิงก์ภาพ) หรือจะเลือกวิธีแปลงเป็นไฟล์ PDF ก็ได้



Quark Express Quark

โปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์ที่นิยมใช้ออกแบบหน้าหนังสือ เป็นโปรแกรมที่ใช้มากในฝั่งยุโรปและแคนาดา สำหรับในไทยไม่ค่อยนิยมจะเห็นใช้บ้าง ในวงการโฆษณาและหนังสือพิมพ์



Microsoft Word

เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่นักเขียนนิยมใช้ ส่วนมากใช้พิมพ์ต้นฉบับแล้วส่งไปให้ทีมออกแบบพัฒนาต้นฉบับให้สวยงาม แต่ถ้าหากไม่มีผู้ออกแบบให้ และไม่ถนัดการใช้โปรแกรมกราฟิกก็สามารถตกแต่งเองใน Word แล้วส่งพิมพ์ก็ได้ ซึ่งในผู้ชำนาญ Word บางกลุ่มก็สามารถทำให้งานออกมาดูสวยงามไม่แพ้ผลิตต้นฉบับจากโปรแกรมกราฟิกเลย



EPS

EPS เป็นชื่อไฟล์ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้เป็นไฟล์ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ได้มีคุณภาพสูง การแสดงผลบางโปรแกรมจะไม่ชัด แต่เมื่อพิมพ์จริงจะชัด (ยกเว้นภาพต้นฉบับที่ไม่ชัด) ไฟล์ชนิดนี้นิยมแปลงจาก Illustrator























คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้น มีที่มาจากหลายบริษัท ดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมีความ แตกต่างกันได้ เช่น ในเรื่องของความชื้น การรับน้ำหมึก ความขาว ความหนา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิต ทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้
  1. น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง
  2. ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษ เนื่องจากกระดาษจะถูกดึง และกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทาน กระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้
  3. ความต้านทานต่อน้ำและความชื้น กระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสม และไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษที่เลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบาง หมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร
  4. ความชื้นของกระดาษ กระดาษที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลง
  5. สีสันของเนื้อกระดาษ การเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวล เป็นต้น
  6. ความทึบของกระดาษ เนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่ง หรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือก หากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้
  7. ลักษณะผิวกระดาษ ผิวกระดาษจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น ไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษ
  8. การเรียงตัวของเยื่อกระดาษ / เส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน





ชนิดของกระดาษ มีอะไรบ้าง? (Paper type)

ชนิดของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วยเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

กระดาษอาร์ต



กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไป แล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่ 


  • กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม , 90 แกรม , 100 แกรม , 105 แกรม , 120 แกรม , 130 แกรม , 140 แกรม , 160 แกรม
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษปอนด์

กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด (กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก ) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพง เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนา ในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย



กระดาษถนอมสายตา (Green Read)


เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดยเฉพาะ เนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตา ทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตา กระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบา และเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมีความหนา ดูคุ้มค่า คุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้ว สีจะดูสดใสและนวล มีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไป เหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามาก เช่น หนังสือประเภทวรรณกรรม

กระดาษปรู๊ฟ


กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูก เนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เน้นจำนวนการผลิตมาก ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน


กระดาษคาร์บอนเลส


เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วย เพื่อทำเป็นสำเนา กระดาษชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน


กระดาษกล่อง และกระดาษลูกฟูก


กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตามชนิดของกระดาษ เนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสี ถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่า แต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท


กระดาษแอร์เมล์


เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว


กระดาษพีวีซี


กระดาษชนิดนี้มีความทนทาน เนื้อเหนียว ส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตร และปกรายงาน

ทำไมถึงเรียกกระดาษเป็น แกรม ?



กระดาษใช้หน่วย "แกรม" มาจากภาษาอังกฤษว่า "grams" ภาษาไทยเราควรใช้คำว่า "กรัม" มากกว่า แต่คิดว่ามันดูไม่เท่ ผู้ผลิตจึงเรียกว่า "แกรม" แทน

กระดาษ 80 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 80 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น
กระดาษ 70 แกรม หมายความว่า กระดาษชนิดนั้น ขนาด 1x1 เมตร มีนำ้หนัก 70 กรัม แล้วจึงนำกระดาษนั้นมาตัดเป็นขนาดต่างๆ เช่น A4 A5 B4 B5 เป็นต้น

สาเหตุที่ต้องระบุขนาดของกระดาษเป็นหน่วยกรัม เพราะถ้ากำหนดเป็นความหนา จะทำได้ยากกว่าครับ จึงอาศัยน้ำหนักมาเป็นค่ามาตรฐานแทน







เมื่อพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรม กับ 60 แกรม คงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรม ที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง คำว่า แกรม นี้ก็คือ กรัม ( gram ) นั้นเอง เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวลกระดาษว่าเมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่งๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตร มาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม ( แกรม ) ฉะนั้น กระดาษขนาด 120 แกรม จึงหมายถึง กระดาษที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร 





ในทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย ( บาง ) จะทำให้แสงส่องผ่าน ได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้ามทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดีด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนด้วย ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดนึง แต่ก็จะทำให้หนังสือไมบางจนเกินไปดูแล้วสวยงาม แกรมที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรม 

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็นหน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก 


จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่างๆ

ใบเสร็จ สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary40 - 60 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด70 - 80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์120 - 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า210 - 300 แกรม




เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในงานพิมพ์ (Paper Story)

ทุกวันนี้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขนาด A เป็นขนาดมาตรฐานของ ISO 
ไอเดียของการออกแบบเริ่มต้นมีดังนี้ ในระบบมาตรฐาน ISO นั้น ขนาดกระดาษที่เรียกว่าได้มาตรฐาน จะมีอัตราส่วน ด้านยาว : ด้านกว้าง เป็น 1 : 1.4142 หรือ 1 ต่อ square-root 2 ด้วยอัตราส่วนนี้ จะทำให้การ คำนวนขนาดกระดาษ size ต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวก เพราะว่าถ้านำกระดาษที่มีอัตราส่วนนี้สองแผ่นมาวางต่อกันในด้านยาวแล้ว ก็จะได้กระดาษแผ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงอัตราส่วนเดิมอยู่คือ 1 ต่อ 1.4142 

ความแตกต่างระหว่างชนิด A,B,C

ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/ DIN ในขนาด มิลลิเมตร และ นิ้ว 

แบบกระดาษชนิด Aแบบกระดาษชนิด Bแบบกระดาษชนิด C
ขนาดมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้วมิลลิเมตรนิ้ว
0841 × 118933.1 × 46.81000 × 141439.4 × 55.7917 × 129736.1 × 51.1
1594 × 84123.4 × 33.1707 × 100027.8 × 39.4648 × 91725.5 × 36.1
2420 × 59416.5 × 23.4500 × 70719.7 × 27.8458 × 64818.0 × 25.5
3297 × 42011.7 × 16.5353 × 50013.9 × 19.7324 × 45812.8 × 18.0
4210 × 2978.3 × 11.7250 × 3539.8 × 13.9229 × 3249.0 × 12.8
5148 × 2105.8 × 8.3176 × 2506.9 × 9.8162 × 2296.4 × 9.0
6105 × 1484.1 × 5.8125 × 1764.9 × 6.9114 × 1624.5 × 6.4
774 × 1052.9 × 4.188 × 1253.5 × 4.981 × 1143.2 × 4.5
852 × 742.0 × 2.962 × 882.4 × 3.557 × 812.2 × 3.2
937 × 521.5 × 2.044 × 621.7 × 2.440 × 571.6 × 2.2
1026 × 371.0 × 1.531 × 441.2 × 1.728 × 401.1 × 1.6


a1 b1 c1





ระบบการพิมพ์ Offset (ออฟเซต)


อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) 
Offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์ (Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้น ลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึก และผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน 

ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หิน ได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์ จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้ง โอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับแม่พิมพ้์ (plate cylinder) โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder) กับโมกดพิมพ์ (imoression cylinder)

ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า "ลิโธกราฟี" (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ "ออฟเซต" (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึกพิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า "ออฟเซตลิโธกราฟี" (offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ 


สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับ Offset

ระบบออฟเซต เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบันเพราะให้งานพิมพ์ที่สวยงามมีความคล่องตัวในการจัดอาร์ตเวอร์ค และไม่ว่าจะออกแบอย่างไรการพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไปประกอบกับ ความก้าวหน้าในการทำฟิล์มและการแยกสีในปัจจุบัน ทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งถูกลง สิ่งพิมพ์ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซตควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 

สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ Offset
  1. มีจำนวนพิมพ์ตั้งแต่ 3,000 ชุด ขึ้นไป
  2. มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟ มาก
  3. ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์
  4. ต้องการความประณีต สวยงาม
  5. เป็นการพิมพ์ หลายสี หรือภาพ สี่สีที่ต้องการความสวยงามมากๆ
  6. มีงานอาร์ตเวอร์คที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก
  7. มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ

ระบบการพิมพ์ Digital (ดิจิทัล)


แต่เดิมเราอยากจะทำสื่อสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือที เป็นเรื่องใหญ่ ไหนจะต้องหาโรงพิมพ์ หาคนจัดทำหน้า หอบไฟล์งานไปโรงพิมพ์ นั่งรอเป็นวันกว่าจะได้แผ่นงานออกมาพรูฟดูความถูกต้อง รอผลิตงานเป็นอาทิตย์ และที่สำคัญเราไม่สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนน้อย หรือตามจำนวนที่เราต้องการจริงได้ บางทีพิมพ์งานออกมาจำนวนมหาศาลทำลายกระดาษมากมายแล้วก็เอามาทิ้งเพราะไม่ได้ใช้งาน

ปัจจุบันปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้หมดไป โดยระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล การพิมพ์แบบดิจิตอล คือ การพิมพ์จากไฟล์งานโดยตรงผ่านเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย ไม่ต้องมานั่งสร้างเพลทแยกสีในการพิมพ์เหมือนการพิมพ์แบบออฟเซต
ดังนั้นการพิมพ์แบบดิจิตอลจึงลดขบวนการทำที่ยุ่งยากไปได้มาก




• ประหยัดเวลา
แค่นำไฟล์งานไปเข้าเครื่องพิมพ์ ระบบก็จะทำการพรูฟออกมาให้เห็นทางหน้าจอ และรอที่จะผลิตได้เลย ขบวนการทั้งหมดในการพิมพ์ใช้เวลาไม่กี่วัน

• ประหยัดทรัพยากร
ต้องการ 100 เล่ม ก็พิมพ์แค่ 100 เล่ม ไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ

ระบบการพิมพ์ Inkjet (อิ้งเจ็ท)



เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามความต้องการของเรา

ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

Inkjet Indoor

Inkjet Indoor เป็นงานติดตั้งภายในอาคารหรือที่ที่แดดไม่ส่อง เน้นรายละเอียดความขมชัดของงาน ความละเอียดสูงถึง1200 Dpi เป็นงานใกล้สายตา เหมาะสำหรับงานโฆษณา โปรโมชั่น งานตกแต่งหน้าร้าน นิทรรศการ หรือ เปิดตัวสินค้า

Inkjet Outdoor

Inkjet Outdoor เป็นงานติดตั้งภายนอกอาคาร มีความละเอียด 720 Dpi – 1400 Dpi
700 Dpi เหมาะกับงานลักษณะเป็นตัวหนังสือและขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 ตารางเมตร สำหรับระยะการมองที่ 2 เมตรเป็นต้นไป
1400 Dpi เหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงมองในระยะใกล้ได้อย่างคมชัด
Inkjet Outdoor เหมาะสำหรับงานป้ายภายนอกอาคาร ที่มีความคงทน เช่น ป้าย Billboard ขนาดใหญ่ และ โฆษณาติดข้างรถต่างๆ

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์