Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

สอนการออกแบบGraphicสื่อโฆษณาจากโปรแกรมAdobe Illustrator

วิธีการออกแบบกราฟิกโลโก้ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์แบบชนิดซองคุ๊กกี้ในโปรแกรมIllustrator กับ photoshop


วิธีการออกแบบลายกราฟิกบนเสื้อยืดคอกลมด้วยโปรแกรมIllustrator


คลิปสอนเทคนิคการปรับขนาดเลย์เอาต์ของสื่อโฆษณาที่ออกแบบด้านGraphic ในโปรแกรมAdobe Photoshop

วิธีการออกแบบ โลโก้ประเภทเน้นสีสันสดใส Colored Logo / Graphic Design ในโปรแกรม Adobe Illustrator Tutorial

วิธีการออกแบบโลโก้ Vintage ในโปรแกรมAdobe Illustrator Tutorial

การทำแม่พิมพ์ระบบออฟเซท

การทำแม่พิมพ์เป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งนักออกแบบต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะได้ออกแบบต้นฉบับ และใช้คำสั่งให้ถูกต้อง เข้าใจตรงกัน ขั้นตอนนี้จะใช้ช่างเทคนิคเฉพาะด้านเรียกว่าช่างทำแม่พิมพ์ ซึ่งแม่พิมพ์ของแต่ละระบบพิมพ์จะมีลักษณะและวิธีการทำที่แตกต่างกัน เช่น การพิมพ์แบบกราเวียร์ แม่พิมพ์จะเป็นแบบแท่งกลม การพิมพ์แบบแฟลกโซกราฟี่ แม่พิมพ์จะเป็นแผ่นยาง การพิมพ์แบบซิลค์สกรีน แม่พิมพ์จะเป็นผ้าใยสังเคราะห์ขึงตรึงอยู่บนกรอบไม้ การพิมพ์เลตเตอร์เพรส แม่พิมพ์จะเป็นตัวเรียงโลหะนูนขึ้นมา ส่วนที่เป็นภาพจะเป็นบล็อก และการพิมพ์ระบบออฟเซท แม่พิมพ์จะเป็นแผ่นโลหะผิวเรียบ แม้ว่าแม่พิมพ์จะมีลักษณะแตกต่างกันแต่ก็มีการพัฒนาร่วมกันดังนี้ 

ในปีค.ศ. 888 ชาวจีนค้นคิดแม่พิมพ์จากการแกะสลักตราประจำแผ่นดินและทำแม่พิมพ์จากการแกะสลักไม้ 

ในปีค.ศ. 899 ชาวจีนใช้ประติมากรรมเป็นแม่พิมพ์เพื่อการลอกรูป 

ในปีค.ศ. 1241 ชาวเกาหลีสามารถหล่อตัวเรียงโลหะได้เป็นผลสำเร็จ 

ในปีค.ศ. 1440 โจฮัน กูเต็นเบิร์ก หล่อตัวเรียงโลหะ คิดค้นหมึกพิมพ์และแท่นพิมพ์ระบบเล็ทเตอร์เพลส 

ในปีค.ศ. 1495 อัลเบิร์ด ดูเลอร์ คิดค้นการทำแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้เหล็กแหลมเขียนหรือจานบนแผ่นทองแดง คลึงหมึกและพิมพ์เป็นภาพที่มีความคมชัดมาก 

ในปีค.ศ. 1513 อู การ์ พัฒนาการพิมพ์ระบบแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้กรดกัดแผ่นเหล็กให้เป็นร่อง และพัฒนาไปสู่การพิมพ์ธนบัตร 

ในปีค.ศ. 1520 รูคัส แวน ไลย์เด็น ทำแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยใช้กรดกัดแผ่นทองแดง และพัฒนาเป็นแม่พิมพ์ร่องลึก 

ในปีค.ศ. 1827 โจเซฟ เนียฟฟอร์เนียฟ ชาวฝรั่งเศส ได้ค้นคิดการคงสภาพภาพถ่ายได้เป็นผลสำเร็จเป็นภาพเนกาตีฟ ซึ่งถ่ายจากกล้องออบสคูรา เป็นภาพถ่ายอาคารที่อยู่ตรงกันข้ามกับห้องทำงานของเขา นับเป็นภาพถ่ายที่คงสภาพถาวร ภาพแรกของโลก 

ในปีค.ศ. 1839 หลุย ดาแก ใช้วิธีถ่ายภาพถ่ายลงบนแผ่นบล็อกเป็นแม่พิมพ์แทนการเขียนภาพ เรียกว่ากระบวนการดาแกโรไทป์ 

1. ต้นฉบับหรืออาร์ตเวิร์ค 

หลังจากช่างอาร์ตได้จัดทำต้นฉบับ หรืออาร์ตเวิร์ค เขียนคำสั่ง และตรวจสอบความถูกต้องดีแล้ว ควรเตรียมต้นฉบับให้อยู่ในสภาพที่ดี เรียบร้อย พร้อมใช้งาน เช่นภาพประกอบที่เป็นภาพเล็กควรใส่ซอง ภาพใหญ่ควรม้วนและเขียนเลขหน้าไว้ด้านหลัง ถ้าเป็นสไลด์ควรเก็บไว้ในซองพลาสติก ติดภาพตามตำแหน่งที่ต้องการด้วยเทป นอกจากนี้ต้นฉบับควรติดบนกระดาษแข็ง มีกระดาษบางปะหน้า และมีกระดาษปิดหน้าเป็นปกอีกครั้งหนึ่งเพื่อกันการขีดข่วน จากนั้นจึงส่งต่อไปยังโรงพิมพ์และร้านเพลท เพื่อดำเนินการทำแม่พิมพ์ ช่างทำแม่พิมพ์จะศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นฉบับ และคำสั่งต่างๆอย่างละเอียดจนเข้าใจตรงกับความต้องการของนักออกแบบแล้วจึงส่งไปถ่ายฟิล์มแยกสี ขั้นตอนนี้นับว่าสำคัญเพราะช่างทำแม่พิมพ์จะทำตามคำสั่งในต้นฉบับต้องชัดเจน เข้าใจตรงกัน เช่น การสั่งรหัสสีต้องถูกต้องตรงกับไกด์สี เป้นต้น นอกจากนี้ควรตระหนักเสมอว่า ต้นฉบับที่ดีและสมบูรณ์ งานพิมพ์ที่สำเร็จออกมาก็จะดีด้วย 

2.การถ่ายฟิล์ม 

เป็นการนำต้นฉบับที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อยแล้ว ไปถ่ายฟิล์ม เพื่อเป็นต้นแบบไว้ โดยใช้ฟิล์มลิท (Lith Film) ซึ่งเป็นฟิล์มที่มีความเข้มสูง สามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่าฟิล์มทั่วไป การฟิล์มเพื่อการทำแม่พิมพ์แบ่งออกเป็นสองลักาณะคือ 
2.1 ถ่ายฟิล์มลายเส้น (Line Work) เป็นการถ่ายตัวอักษร ข้อความต่างๆ ภาพเขียนภาพวาดลายเส้นหรือภาพถ่ายทั่วไป บางครั้งเรียว่า ถ่ายสกรีนลายเส้น เมื่อนำไปพิมพ์ภาพที่ปรากฏจะเป็นสองนำหนักคือ ขาว - ดำ บางครั้งนักออกแบบต้องการภาพที่แปลกตาออกไป อาจจะนำภาพถ่ายที่มีหลายนํ้าหนักมาถ่ายสกรีนลายเส้นก็ได้ 
2.2 ถ่ายฟิล์มภาพสกรีน (Screen Work หรือ Half tone)


เป็นการถ่ายฟิล์มจากต้นฉบับที่เป็นรูปถ่ายหรือสไลด์ มีหลายนํ้าหนักต่อเนื่องกันในหนึ่งภาพ (Continuous tome) ตั้งแต่ดำมาก ดำ ปานกลาง นวล ขาว เช่น ภาพถ่ายทั่วไป ในการถ่ายฟิล์มทำแม่พิมพ์จะใช้แผ่นสกรีนช่วยควบคุมแสงให้ตกลงบนฟิล์มในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งปรากฏบนฟิล์มเป็นเม็ดเล็กๆเรียกว่าเม็ดสกรีน ทำให้ภาพที่พิมพ์ออกมา ดูด้วยสายตาปกติจะเห็นเป็นสีเรียบๆ มีลักษณะเป็นนํ้าหนักอ่อนแก่ต่อเนื่องกันเหมือนภาพจริง แต่ถ้าขยายดูจะเห็นเป็นจุดหรือเป็นเม็ดสกรีนเต็มไปทั้งภาพ บริเวณที่มีสีเข้มจะเป็นบริเวณที่มีจำนวนเม็ดสกรีนมาก บริเวณที่มีสีอ่อนจะมีจำนวนเม็ดสกรีนน้อย การถ่ายฟิล์มลักษณะนี้เป็นการถ่ายฟิล์มเพื่อการพิมพ์สีเดียว 
3. การแยกสี (Color Separation) 
เป็นการถ่ายฟิล์มที่แตกต่างไปจาก 2 ลักาณะแรก เพราะเป็นการถ่ายฟิล์มเพื่องานพิมพ์สอดสี (Process Color) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เหมือนหรือใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด (วัตถุสิ่งของต่างๆในธรรมชาติมีสีสรรมากมาย ในขณะที่การพิมพ์มีเพียงสี่สี และสีพิเศษเท่านั้น) การแยกสีจะเริ่มจาการถ่ายฟิล์มแยกสีทีละสี โดยใช้ฟิลเตอร์สีต่างๆ (Fillter )ได้แก่ แดง เขียว นํ้าเงินและนูตรอล (Neutral ) ตามลำดับ ต่อจากนั้นจึงประกอบแผ่นสกรีนลงบนฟิล์มที่แยกสีแล้ว สุดท้ายจะได้ฟิล์มสี 4 ชุดคือ 
3.1 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีแดงบานเย็น (Magenta ) 
3.2 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีฟ้า (Cyan) 
3.3 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีเหลือง (Yellow ) 
3.4 ฟิล์มสำหรับนำไปพิมพ์ด้วยหมึกสีดำ (Black ) 

- เมื่อแยกฟิล์มแล้ว นำแต่ละฟิล์มอัดลงบนเพลท แล้วพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ทั้งสี่สีจะได้ภาพเหมือนต้นฉบับทุกประการ แต่ก่อนวงการพิมพ์ของไทยจะแยกสีด้วยฟิลเตอร์ ปัจจุบันแยกสีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า เครื่องสแกนเนอร์ (Electronic Scanner) ซึ่งเป็นระบบการแยกสีโดยใช้โฟรโตเซล (Photo cell ) เป็นตัวแยกสีโดยการจับหมึกของสีและถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์มแยกสีด้วยเครื่องมือทางอีเล็คทรอนิค เป็นตัวแยกสีทำให้ได้งานที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นแบบสะดวกและรวดเร็ว (ขั้นตอนนี้สัมภาษณ์จากผู้ชำนาญการของร้าน เจ.ฟิล์ม ) เริ่มจากนำต้นฉบับเข้าห้องถ่าย เข้าเครื่องคิดเปอร์เซนต์ ถ้าเป็นสไลด์ต้องนำมาติดกับหลอกแก้วของเครื่องสแกนเนอร์ด้วยกาว แล้วป้อนโปรแกรมสี เปอร์เซนต์ ขนาดของฟิล์ม ขนาดของรูป เมื่อเครื่องล้างเสร็จก็จะนำไปล้างที่เครื่องล้างฟิล์ม โดยผ่านนํ้ายา DGV,FIX,NASH แล้วออกมายังที่พักเก็บฟิล์ม นำฟิล์มมาเช็คขนาดกับอาร์ตเวิร์ค จัดเข้าชุดกันแล้วใส่ไว้เป็นซองๆ จากนั้นจึงส่งไปยังช่างประกอบฟิล์มต่อไป 

- เครื่องสแกนเนอร์ที่ใช้ในการแยกสีมีหลายแบบ คุณภาพการทำงานแล้วแต่การโปรแกรมและราคา มีทั้งจับภาพ จับหมึก แล้วเจาะเป็นแม่พิมพ์บนแผ่นโลหะเลย และจับหมึก แยกสี ถ่ายออกมาเป็นฟิล์มพร้อมสกรีนในตัวเสร็จเรียบร้อย ปัจจุบันได้พัฒนาไปถึงการจับหมึก แยกสี พร้อมสกรีนแล้วประกอบฟิล์มได้เลย โดยใช้เครื่องประกอบฟิล์มทำงานควบไปกับเครื่องแยกสี นอกจากนี้ยังสามารถแยกสีจากสไลด์ที่ซ้อนกันหรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการในภาพออกได้ด้วย 

- ภาพถ่ายทั่วไปกับภาพจากสไลด์ เมือ่แยกสีด้วยเครื่องจากแสกนเนอร์ จะให้ผลใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับฝีมือช่างถ่ายภาพและความคมชัดของภาพ เครื่องแยกสีสามารถทำได้ทั้งสองอย่างแต่ถ้าภาพที่มีความคมชัดใกล้เคียงกัน ภาพจากสไลด์จะได้คุณภาพที่ดีกว่า สีสันมีความแน่น มีความละเอียด มีชีวิตชีวามากกว่า และสามารถขยายให้ใหญ่ได้ ในขณะที่ภาพถ่ายทั่วไปถ้าขยายใหญ่เกินไป (เกินสองเท่าตัว) เกรนจะใหญ่ขึ้น ทำให้ภาพพล่ามัว ไม่คมชัดเท่าที่ควรหรือที่เรียกว่าแกรนแตก



4. การประกอบฟิล์ม 
-งานพิมพ์สอดสี จะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นภาพ โลโก้ ตัวอักษรและข้อความต่างๆบางครั้งมีสีพิเศษด้วย ทำให้ต้องแยกถ่ายฟิล์ม แยกสีแต่ละส่วนแล้วนำมาประกอบกัน เช่น ส่วนที่เป็นภาพ 4 สี จะแยกเป็นฟิล์มจากเครื่องสแกนเนอร์ ส่วนที่เป็นตัวหนังสือสีเดียวกันหรือสีตายจะได้จากการถ่ายฟิล์มลายเส้น เป็นต้น นำมาประกอบรวมกันเป็นชุด 1 ชุดจะมี 4 สี ส่วนสีพิเศษต้องทำเพลทแยกอีกต่างหาก


5. การเรียงฟิล์มหรือการเลย์ฟิล์ม 
เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจาการประกอบฟิล์ม โดยทำฟิล์มที่ประกอบถูกต้องตามแบบหรือต้นฉบับแล้ว มาจัดวางตามดัมมี ตามอาร์ตเวิร์ค ถ้าเป็นหนังสือ จะจัดวางตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ เพื่อสะดวกแก่การเก็ย หรือการพับยก ก่อนที่จะนำไปอัดลงเพลท 
ดัมมี หมายถึงรูปแบบจำลองของสิ่งพิมพ์สำเร็จ จัดทำโดยผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งที่กำหนดว่า ตัวอักษรข้อความ รูปภาพ อยู่ในตำแหน่งใด สีอะไร ในกรณีที่เป็นงานพิมพ์ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก การทำดัมมีอาจทำเพียงคร่าวๆ และจำลองขนาดให้เล็กลงกว่างานจริงก็ได้ตามสะดวกแต่ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ที่ซับซ้อน (มีการเจาะ การตัดบางส่วน) ควรทำดัมมีให้ชัดเจนมีการกำหนดรายละเอียด ตำแหน่งต่างๆที่แน่นอนตายตัว เพื่อผู้ประกอบฟิล์ม ผู้พิมพ์ ผู้จัดเก็บทำรูปสำเร็จจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อันเป็นการลดปํญหา การผิดพลาดในการพิมพ์อีกทางหนึ่งด้วย 
การเรียงฟิล์มต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามต้นฉบับ ขนาดของแท่นพิมพ์ การพับ การเก็บเล่มเป็นหลัก จะทำตามความคิดเห็นของช่างเรียงฟิล์มไมได้ เพราะบางครั้งช่างเรียงเห็นเหมาะสม แต่นักออกแบบต้องการให้แปลกออกไป ดังนั้นเมื่อมีข้อขัดข้องหรือสงสัย ควรสอบถามเจ้าของงานก่อน เพราะถ้าเรียงฟิล์มไม่ถูกต้องสิ่งพิมพ์ก็จะผิดไปหมด เช่น ภาพกลับหัว ตัวหนังสือทับสกรีนไม่ชัดเจน ภาพกลับซ้ายเป็นขวา เป็นต้น 

6. การอัดเพลท 

เพลทเป็นแผ่นบางๆผิวหน้าเรียบ ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ พลาสติก และโลหะต่างๆ เช่น สังกะสี ทองแดง อลูมิเนียม เพลทมี 2 ชนิดคือ 
6.1 เพลทกราเวียร์ เป็นแผ่นเรียบส่วนที่ต้องการพิมพ์จะกัดกรดเป็นนบ่อ เป้นร่องลึก เวลาพิมพ์จะพิมพ์ตรง เพลทแม่พิมพ์และกระดาษและกระดาษจะสัมผัสกันด้วยแรงกด 
6.2 เพลทออฟเซท เป็นแผ่นเรียบ ส่วนใหญ่จะทำด้วยอลูนิเนียม ฉาบและเคลือบด้วยนํ้ายาไวแสง ส่วนที่เป็นภาพจะฉาบไว้ด้วยนํ้ายามีคุณสมบัติรับหมึก ไม่รับนํ้า เมื่อคลึงหมึกลงไปจะติดหมึกเฉพาะส่วนที่เป้นภาพ ไม่ติดพื้น (ซึ่งเคลือบไว้ด้วยนํ้ายาฟลาวเท็น) เวลาพิมพ์จะพิมพ์โดยอ้อมลงบนโมยางก่อนพิมพ์ลงบนกระดาษ เพลทออฟเซทมีหลายขนาด เช่น ขนาดเล็ก 21.5 นิ้ว x 25.5 นิ้ว และชนาดใหญ่ 31.5 นิ้ว x 41.5 นิ้ว 

ขั้นตอนการอัดเพลท 


1. นำฟิล์มที่ผ่านการเลย์ และติดบนแผ่นแอสร่อนแล้ว เข้าเครื่องอัดเพลทที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม มีหลอดไฟที่ใช้กระแสไฟประมาณ 4,000 วัตต์อยู่ด้านบน หลอดไฟนนี้จะให้แสงอุลตร้าไวโอเลตที่แรงมาก จึงต้องมีม่านป้องกันแสงไว้รอบๆเครื่องอัดเพลท ภายในเครื่องอัดเพลทจะมีมอเตอร์ ปั้มลม ดูดอากาศภายในเครื่องอัดเพลทออกให้หมด เพื่อให้ฟิล์มแอสร่อนแนบสนิทกับพื้นเพลท เวลาพิมพ์จะได้มีความสมํ่าเสมอสวยงาม ถ้าอัดเพลทไม่แนบสนิทที่เรียกว่าเพลทบวม เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วส่วนที่เป็นสกรีนจะไม่เรียบเสมอเหมือนต้นฉบับ 

2. นำเพลทที่ผ่านการอัดด้วยแสง มาล้างด้วยนํ้ายา โดยเครื่องล้างเพลท ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ ที่เป็นนํ้ายาทำหน้าที่ล้างส่วนที่ไม่ต้องการออกเป็นพื้นเพลทสีขาว หรือสีเนื้อเพลท ส่วนที่เป็นนํ้าจะทำหน้าที่ล้างคราบนํ้ายาออกอีกครั้งหนึ่ง เพลทที่ผ่านกระบวนการออกมาจากเครื่องล้างเพลทจะมีส่วนที่ต้องการพิมพ์เป็นสีเขียว ส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์จะเป็นสีขาว 

3. นำเพลทที่ออกจากเครื่องล้างเพลท ไปยังอ่างล้างนํ้า ลงหมึกดำเพื่อรักษาเนื้อเพลท ให้คงทนต่อการพิมพ์ ก่อนส่งไปยังโรงพิมพ์จะนำเพลทไปทา กาวกรัม เพื่อรักษาหน้าเพลทอีกครั้งหนึ่ง 
สรุปการทำแม่พิมพ์เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการโดยผู้ที่ชำนาญการญฉพาะด้าน ซึ่งส่วนใหญ่เรามอบให้โรงพิมพ์เป็นผู้ดำเนินการหลังจากที่ต้นฉบับเป็นที่พอใจของลูกค้าแล้ว หรืออาจจะดำเนอนการเองที่เรียกว่าวิ่งเพลท โดยไปติดต่อกับร้านทำเพลทโดยตรงก็ได้ 
การทำแม่พิมพ์มี 2 ชนิดคือแม่พิมพ์ขาว-ดำ หรือแม่พิมพ์สีเดียวซึ่งไม่ค่อยยุ่งยากนักและแม่พิมพ์ 4 สี ซึ่งจะได้ผลงานที่มีหลายสีตามธรรมชาติ หรือตามของจริงที่ปรากฏเห็น โดยจะถ่ายเป็นมาสเตอร์แล้วแยกสีออกเป็นสิ่สี คือ สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีดำ ต่อจากนั้นจึงนำมาประกอบฟิล์ม เรียงพิมพ์ให้ได้สีตามต้นฉบับ เลย์ฟิล์มตามหน้าต่างๆ เมือ่ถูกต้องตามต้นฉบับแล้วจึงอัดลงเพลท พิมพ์ปรู๊ฟตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งจึงนำส่งโรงพิมพ์ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลดีจาก http://www.epccorps.com/lesson09.htm

วิธีการเอาองค์ที่ไม่ต้องการออกจากภาพด้วย Photoshop

วิธีการแต่งภาพเปลี่ยนสีผิวของบุคคลจากผิวดำเป็นผิวขาวใน Photoshop

สุดยอดเทคนิคการแต่งรูปภาพของผิวหน้าคนให้ได้รายละเอียดตามลักษณะผิวที่ต้องการด้วย Photoshop

nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์