Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

โปรแกรมที่ใช้ในการวางหน้า

ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการทำงานตั้งแต่กำหนดรูปแบบการวางหน้าจนกระทั่งการสั่งพิมพ์ผลออก ดังต่อไปนี้
    แสดงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวางหน้า (Impostion)


ชื่อโปรแกรม : Signastation
บริษัทผู้ผลิต : Heidelberg
ระบบปฏิบัติการ : Mac/Windows




ชื่อโปรแกรม : KIM PDF
บริษัทผู้ผลิต : Krause-Biagosch Gmblt
ระบบปฏิบัติการ : Windows




ชื่อโปรแกรม : Quite Imposing
บริษัทผู้ผลิต : Quite Software
ระบบปฏิบัติการ : Mac/Windows




ชื่อโปรแกรม : Pandora
บริษัทผู้ผลิต : Scenie Software
ระบบปฏิบัติการ : Mac/Windows




ชื่อโปรแกรม : Preps
บริษัทผู้ผลิต : Scenie Software
ระบบปฏิบัติการ : Mac/Windows



ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการวางหน้า

   การวางหน้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วางหน้าเป็นเท๕โนโ,ยีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันในการวางหน้า  เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็ว  และมีความถูกต้องในการทำงานสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับการวางหน้าระบบอื่น  ขั้นตอนการวางหน้าทั้งหมดสามารถกำหนดและดำเนินการได้ด้วยคำสั่งที่มีอยู๋ในโปรแกรม  ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่ใช้ในการวางหน้ามีอยู่มากมาย  อาทิเช่น
Preps,

Impostrip, 


 Signastation 


และอื่นๆ  อีกมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วความสามารถและวิธีการทำงานจะมีพื้นฐานและแนวคิดเดียวกัน  ซึ่งจำลองมาจากการวางหน้าด้วยมือ  ดังนั้น  ผู้ที่มีพื้นฐานในการวางหน้าด้วยมือ  สามารถใช้แนวคิดและประสบการณ์มาปรับใช้งานกับโปรแกรมการวางหน้าได้

สูตรหมึกพิมพ์ของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

สูตรหมึกพื้นฐานโดยทั่วไปของหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์และหมึกพิมพ์ออฟเซตที่ใช้พิพม์จะมิได้ระบุถึงข้อกำหนดของแต่ละองค์ประกอบหลักเฉพาะลงไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดเครื่องพิมพ์และการใช้งาน

ตัวอย่างสูตรหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ที่แห้งตัวแบบการเกิดพอลิเมอร์โดยการออกซิไดส์ ตัวอย่างเช่น


ชนิดของสาร                                                               
ผงถ่าน(carbon black)                        ปริมาณที่ใช้         20
โทนเนอร์สีฟ้าสะท้อนแสง(reflex toner)     ปริมาณที่ใช้    4
อัลคิดจากถั่วเหลือง(soyabean alkyd)      ปริมาณที่ใช้   32
วานิช                                                        ปริมาณที่ใช้  30
ตัวทำละลายจากการกลั่นปิโตเลียม           ปริมาณที่ใช้   9
สารที่ช่วยทำให้แห้ง                                  ปริมาณที่ใช้  2
ไข                                                        ปริมาณที่ใช้      __
                                                                                          100

ความหมายของการวางหน้าเพื่อทำแม่พิมพ์

   การวางหน้าเป็นกระบวนการของการจัดวางหน้า (หรือชิ้นงาน) จำนวนหน้าเดียวหรือหลายหน้าเข้าด้วยกัน ลงบนพื้นที่ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในการทำแม่พิมพ์ โดยพื้นที่ที่กำหนดไว้นั้นจะถูกกำหนดโดยขนาดพื้นที่ในการพิมพ์ของเคร่องพิมพ์ ส่วลักษณะของการจัดวางนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม แผ่นพับ หรือฉลาก และลักษณะของการพิมพ์  เช่น พิมพ์แบบป้อนแผ่น  หรือป้อนม้วน ทั้งสองปัยจัยเป็นตัวกำหนดให้ลักษณะของการวางหน้าแตกต่างกัน
 
         สิ่งที่สำคัญในการวางแผนการวางหน้า คือจะต้องแน่ใจว่า เรื่องมือและอุปกรณืที่มีอยู่สามารถผลิตงานออกมาได้ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ทั้งในส่วนการตัด การพับ และการเข้าเล่ม เพราะเมื่องานผ่านกระบวนการพิมพ์แล้ว หากมีการผิดพลาดในกางวางหน้าที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ในการพับหรือการเข้าเล่ม ก็จะเกิดการเสียหายอย่างมากต่อการผลิต  ดังนั้น ก่อนทำการวางแผนการวางหน้า ควรศึกษาความสามารถและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีอยู่ แล้วจึงออกแบบการวางหน้าให้เหมาะสมสอดคล้องกัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางหน้า

    ขั้นตอนการวางหน้า (imposition) มีความต่อเนื่่องกับขั้นตอนในการจัดประกอบหน้า กล่าคือ หลังจากที่นำข้อความและภาพต้นฉบับมารวมกันในแต่ละหน้าหรือแต่ละแบบตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นวิธีการจัดวางงานดังกล่าวเพื่อให้แม่พิมพ์ โดยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกระบวนการผลิตในขั้นตอนการพิมพ์และขั้นตอนหลังพิมพ์  แต่เดิมการวางหน้าทำด้วยมือโดยช่างเลย์หรือช่างวางหน้า โดยนำเอาฟิล์มที่จัดประกอบหน้าและนำมาทำการวางหน้าที่ละหน้าทีละสี  และมีการพัฒนาจนกระทั่งถึงยุคการใช้คอมพิวเตอรผืในการจัดประกอบหน้าและพิมพ์ผลออกมาเป็นฟิล์มแยกสี  แต่เนื่องจากในยุคต้นของการจัดประกอบหน้าด้วยความพิวเตอร์  ขนาดของเครื่องอิมเมจเซตเตอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ผลออกเป็นฟิล์มขนาดเล็ก เช่น ขนาด A4 หรือ ขนาด A3 ดังนั้น การพิมพ์ผลออกจึงทำได้ทีละหน้าหรือสองหน้า  จากนั้นจึงเอาฟิล์มแยกสีของงานหน้าต่างๆ  มาจัดวางเข้าเป็นยกหรือกรอบเพื่อใช้ในการทำแม่พิมพ์ต่อไป

การแห้งตัวของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

    การแห้งตัวของหมึกพิมพ์ข้นเหนียวมีกลไกการแห้งตัวแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือการแทรกซึม(penetration) การเกิดพอลิเมอร์โดยการออกซิไดส์ (oxidative polymertion) แบบผสม (combination) และการเกิดพอลิเมอร์โดยใช้รังสีอุลต้าไวดอเลต
          การแทรกซึม  การแห้งตัวแบบการแทรกซึมมักเกิดขึ้นกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่มีความหนืดต่ำอย่างเช่นหมึกพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์ทั้งหมึกพิมพ์ออฟเซคและหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ โดยอาศัยหลักการที่ตัวทำละลายในหมึกพิมพ์จะแทรกซึงผ่านลงไปในช่องว่างของกระดาษ  จึงทำให้เกิดการแห้งตัวขึ้น
   
          การเกิดพอลิเมอร์โดยการออกซิไดส์  การแห้งตัวแบบนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่ประกอบด้วยเรซิ่นและน้ำมันที่ไม่อิ่มตัว  ซึ่งโมเลกุลประกอบไปด้วยหมู่เอทิลีน (C=C) การแห้งตัวแบบนี้แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การเกิดเปอร์ออกไซด์(peroxide)
  2. การสลายตัวให้ฟรีแรดดิเคิล(free radical)
  3. การเกิดพอลิเมอร์
  4. การหยุดการเกิดพอริเมอร์(termination)
ปัจจุยันหมึกพิมพ์ข้นเหนียวที่มีการแห้งตัวแบบนี้ใช้พิมพ์พลาสติกและฟอยล์  ใช้เวลานานในการแห้งตัว  จึงได้มีการพัฒนาการแห้งตัวให้เร็วขึ้นโดยใช้รังสีอุลตราไวโอเลตมาช่วย


       แบบผสม  การแห้งตัวแบบผสมเป็นการเกิดร่วมกันของการแห้งตัวแบบแทรกซึมและการแห้งตัวแบบการเกิดพอลิเมอร์โดยการเกิดออกซิไดส์  ซึ่งมักเกิดขึ้นกับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวชนิดป้อนแผ่น


      การเกิดพอลิเมอร์โดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลต  การแห้งตัวแบบนี้จะใช้รังสีอุลตราไวโอเลตช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างพอลิเมอร์

การไหลหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

       การไหล คือ การเปลี่ยนรูปร่างที่เกิดขึ้นอย่างถาวรเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเกิดการไหล อนุภาคของวัตถุจะเคลื่อนไหลผ่านไปบนกันและกัน โดยทั่วไปการวัดการไหลทำได้หลายวิธีแต่ที่นิยมใช้วัดการไหลของหมึกพ์ข้นเหนียว คือ การวัดอัตราการแพร่กระจาย หรือ DM ในการเลือกใช้หมึกที่มีการหลายต่างๆ กันสามารถเลือกได้จากค่าความชัน (Slope,S) จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่า DM กับลอการิทึมของเวลาเมื่อเทียบกับอุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ถ้าความชันมีความมากแสดงว่าหมึกมีการไหลที่ดีกว่าหมึกที่มีความชันน้อย ค่า DM จะแปรตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นค่า DM จะสูงตาม

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า DM กับ ลอการิทึมของเวลา

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า DM กับ อุณหภูมิ
          สมบัติอย่างหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันการไหลของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว คือ ความเหนียวหนืด เป็นแงยึดที่มีอยู่ในตัวของหมึกซึ่งบงบอกถึงความเหนียวหนืดของหมึก  ความเหนียวหนืดมีความสัมพันธ์กับอัตราเร็วในการพิมพ์และอุณหภูมิ  กล่าวคือ ถ้าอัตราเร็วในการพิมพ์เพิ่มขึ้น ค่าความเหนียวหนืดของหมึกพิมพ์จะเพิ่มขึ้น  และถ้าอัตราเร็วในหมึกพิมพ์ลดลงค่าความเหนียวหนืดของหมึกพิมพ์จะลดลง โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความเหนียวหนืดของหมึกพิมพ์จะลดลงและการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนียวหนืดจะมีความแตกต่างกันมากที่อุณหภูมิต่ำ

การผลิตหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

             หมึกพิมพ์ข้นเหนียวทั้งหมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์และหมึกพิมพ์ออฟเซตมีกระบวนการผลิตที่เหมือนกันตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

การผสมก่อนบด
    การผสมก่อนบดเป็นขั้นตอนในการนำผงสีทั้งหมด  บางส่วนของวานิช สารเติมแต่ง และตัวทำละลายมาผสมกันในภาชนะโลหะโยใช้เครื่องผสมที่มีความเร็วสูงเพื่อให้อนุภาคของผงสีมีขนาดเล็กลงและน้อยลงและทำให้ถูกเป๊ยกด้วยวานิช วานิชมีลักษณะเป็นของเหลวเตรียมได้โยนำเรซิ่นมาทำปฏิกริยาหรือละลายกับน้ำมันและตัวทำละลาย
         
             ผงสีโดยทั่วไปถ้าพิจารณาจากอนุภาค สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ


อนุภาคเดี่ยว(primary particle)
เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กสุดและมีพันธะเคมีที่มีความแข็งแรงมาก ผงสีอนุภาคเดี่ยวมีรูปร่างโมเลกุลเป็น 3 แบบ คือ อสัณฐานหรือไม่เป็นผลึก (amorphous) สเฟียริเคิลหรือทรงกลม(sherical) และเป็นผลึก (crystalline)


อนุภาคปานกลาง (aggregat)
อนุภาคที่มีขนาดปานกลางเกิดจากการรวมตัวของอนุภาคเดี่ยว โดยการยึดติดกันด้วยพันธะเคมีระหว่างพื้นผิวของอนุภาคเดี่ยว ซึ่งพันธะเคมีที่ยึดติดกันนี้มีความแข็งแรงมากเช่นกัน


อนุภาคใหญ่ (agglomerate)
อนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเกิดจากพันธะอย่างอ่อนระหว่างโมเลกุลของอนุภาคปานกลาง

การบด
การบดเป็นขั้นตอนที่ทำให้โมเลกุลของผงสีมีขนาดเล็กจนเป็นอนุภาคเดี่ยวซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งได้รับการทำให้เปียกและกระจายตัวในวานิชโดยใช้เครื่องบด เครื่องบดที่นิยมใช้สำหรับหมึกพิมพ์ข้นเหนียวมีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องบดชนิดลูกกลิ้ง 3 ลูก (three roll mill ) และเครื่องบดชนิดชอต (shot mill)


การผสมสี
     ในขั้นตอนนี้จะมีการเติมส่วนที่เหลือให้ครบสูตรและมีการเติมแต่งระดับคล้ำสีให้ได้ตามต้องการ  ดดยการเติมผงสีหรือแม่สีลงไปในเครื่องบดชนิดลูกกลิ้ง 3 ลูกโดยตรง ซึ่งเหมาะกับการทำหมึกพิมพ์ข้นเหนียวในปริมาณที่เหมาะสม  ส่วนการทำหมึกในปริมาณที่มาก มักนิยมผสมสีในภาชนะโลหะโดยใช้เครื่องผสมที่มีความสูง 

การตรวจสอบคุณภาพ 
        หลังจากผสมสีให้ได้ระดับคล้ำสีตามที่ต้องการแล้วก่อนบรรจุภาชนะจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหมึกให้ได้ตามมาตารฐานตามที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งรายละเอียดในเรื่องการควบคุมคุณภาพจะได้กล่าวต่อไป

การกรอง
        หลังจากตรวจสอบคุณภาพแล้วจะบรรจุจะต้อวเอาสิ่งสกปรกหรือฝุ่นออกเสียก่อนโดยถุงกรองชนิดพิเศษ  ซึ่งจะทำการกรองเฉพาะการบดด้วยเครื่องบดหมึกชนิดชอตและต้องเป็นหมึกเหลวพอสมควร

การบรรจุภาชนะ
        ภาชนะที่บรรจุมีหลายชนิด คือ 1  2  5  16  20  และ180 กิโลกรัม

ประเภทของหมึกพิมพ์ข้นเหนียว

              หมึกพิมพ์หมึกข้นเหนียวมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ประเภทที่รู้จักกันดี คือ หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ และหมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟีหรือหมึกพิมพ์ออฟเซต
 
หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์
           
               หมึกพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เป็นหมึกพิมพ์ที่ใช้กับระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ซึ่งเป็นงานพิมพ์ที่มีหลักการ คือ เริ่มด้วยการจ่ายหมึกให้กับผิวส่วนที่เป็นภาพของแม่พิมพ์ (แม่พิมพ์เป็นแบบพื้นนูน) จากนั้นป้อนแผ่นกระดาษที่วางอยู่บนแม่พิมพ์ มีแรงกดช่วยให้หมึกพิมพ์สามารถถ่ายทอดไปยังกระดาษนั้นให้ติดแน่นได้ หลักการคล้ายกับการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟีซึ่งมีแม่พิมพ์เป็นแบบพื้นนูนเช่นเดียวกัน  แต่หมึกที่ใช้ของระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์จะเป็นหมึกพิมพ์ข้นเหนียว ไม่ใช่หมึกพิมพ์เหลวเหมือนระบบการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

หลักการของระบบการพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์

หมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟี
               หมึกพิมพ์ออฟเซตลิโธกราฟีหรือเรียกสั้นๆว่า หมึกพิมพ์ออฟเซต หรือในต่างประเทศนิยมเรียกว่า หมึกลิโธกราฟี เป้นหมึกพิมพ์ที่ใช้กับระบบการพิมพ์ออฟเซตซึ่งเป็นระบบที่มีหลักการ คือ หมึกจะถ่ายทอดจากรางหมึกไปยังแม่พิมพ์  และจากแม่พิมพ์จะถ่ายทอดไปยังวัสดุที่ใช้พิมพ์  โดยผ่านผ้ายาง(Blanket) แม่พิมพ์ที่ใช้เป็นแบบพื้นราบ (planographic) แม่พิมพ์จะเคลือบด้วยสารเคมีซึ่งทำให้เกิดเป็นบริเวณภาพและบริเวณไร้ภาพได้  โดยบริเวณไร้ภาพหรือบริเวณที่ไม่ต้องการพิมพ์จะรับน้ำจากรางน้ำและไม่รับหมึกทำให้ไม้เกิดภาพพิมพ์ขึ้นเกิด
หลักการของระบบการพิมพ์ออฟเซต

การไหลของหมึกพิมพ์เหลว

คุณสมบัติที่สำคัญมากของหมึกพิมพ์เหลว คือ คุณสมบัติด้านการไหล การไหลที่มีผลดีโดยตรงต่อคุณภาพงานพิมพ์แต่ละระบบ การไหลของหมึกพิมพ์เหลวใช้วัดโยอ้อมจากความหนืดซึ่งวัดจากถ้วนตวงมาตราฐาน เช่น ซาห์นคัพ ฟอร์ดคัพ หรืออาจวัดจากเครื่องมือวัดความหนืดแบบโรเทชันนัล การไหลและความหนืดมีความสัมพันธ์กันแบบสมการผกผัน กล่าวคือ หมึกที่มีการไหลที่ดี จะมีความหนือต่ำ ส่วนหมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีจะมีความหนืดสูง ความหนืดของหมึกพิมพ์เำหลวจะเหลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กันองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่เลือกใช้โดยเฉพาะผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

อิทธิพลขององค์ประกอบที่มีผลต่อการไหล
   หมึกพิมพ์จะมีการไหลดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่ใช้ ได้แก ผงสี เรซิ่น ตัวทำละลายและสารเติมแต่ง

  1. ผงสี ผงสีที่ใช้ในการผลิตหมึกพิมพ์มี 2 ชนด คือ ผงสีอินทรีและผงสีอนินทรี ผงสีทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันแตกต่างกัน โดยผงสีที่มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำมันสูง เมื่อนำมาผลิตหมึกพิมพ์จะได้หมึกพิมพ์ที่มีการไหลไม่ดีหรือมีความหนืดสูง โดยปกติผงสีอินทรีย์ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันสูงกว่าผงสีอนินทรีย์มาก แต่ผงสีอินทรีย์ในCIเดียวกันที่ผลิตจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละบริษัทก็ให้ค่าการดูดซึมน้ำมันที่แตกต่างกัน
  2. เรซิ่น ผู้ผลิตหมึกควรเลือใช้เรซิ่นที่มีค่าการไหลที่ดีไม่ว่าจะอยู่ในอุณภูมิที่แตกต่างกันเพียงใด เรซิ่นบางตัวในอุณภูมิต่ำ เรซิ่นประเภทนี้ได้แก่ พอลิเอไมด์ วิธีการป้องกัน คือ การหลีกเลี่ยงที่จะใช้เรซินเหล่านี้
  3. ตัวทำละลาย ตัวทำละลายแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายเรซิ่นที่แตกต่างกัน ตัวทำละลายใดที่เป็นตัวทำลัลายหลักของเรซิ่นตัวที่เลือกใช้จะให้ค่าการไหลที่ดี แต่ตัวทำละลายที่ดีนั้นอาจมีอัตราการระเหยเร็ว ซึ่งมีผลทำให้การไหลลดลง จึงต้องมีตัวทำละลายอื่นผสม ดังนั้นในสูตรหมึกพิมพ์แต่ละสูตรที่มีเรซิ่นเป็นองค์ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิดจึงมักจะมีตัวทำละลายหลายชนิดเพื่อรักษาสมบัติการไหลให้ดีที่สุด 
  4. สารเติมแต่ง สารเติมแต่งมีผลต่อการไหลของหมึกพิมพ์หลายชนิด เช่น ทำให้ผงสีกระจายตัวในวานิชได้ดี  หมึกพิมพ์มีการไหลดี ช่วยเพิ่มความหนืดของหมึกพิมพ์ที่ผลิตได้ต่ำกว่ามาตราฐาน
ผลกระทบของการไหลของหมึกพิมพ์เหลวที่มีต่อคุณภาพงานพิมพ์
          คุณภาพของงานพิมพ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์เหลวไม่ว่าจะเป็นเฟล็กโซกราฟีหรือกราวัวร์ มีผลโดยตรงจากสมบัติการไหลของหมึกพิมพ์เหลว หมึกพิมพ์ที่มีการไหลจะช่วยให้สภาพพิมพ์ได้ (printabillity) ดี กล่าวคือ เมื่อบริเวณที่เป็นพื้นตาย งานพิมพ์จะเรียบเนียน ไม่เป็นร้อยด่าง เป็นจ้ำหรือเป็นดวง หรือเมื่อบริเวณที่เปฯสกรีนหรือฮาล์ฟโทน การถ่ายโอนภาพที่ได้สวยเต็มทุกเม็ดสกรีน

    nn

    คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์