Custom Search
Latest Article Get our latest posts by subscribing this site

วิธีการสกรีนรูปสีลงบนเสื้อยืดคอกลมสีขาวด้วยเครื่องกดรีดร้อน T Shirt Heat Transfers At Home

คลิปวิดีโอแสดงวิธีการพิมพ์สกรีนสีโลหะลงบนเสื่อยึดคอกลมสีดำด้วยเครื่องพิมพ์รีดร้อน(Heat Transfers) Transfer Foil On Black T Shirts

คลิปแสดงวิธีการพิมพ์ลายผ้าหลาจากบล็อกสกรีนด้วยมือ Textiles Hand Screen Printing

คลิปสาธิตวิธีการพิมพ์สกรีนลายกราฟิกบนผ้าฝ้าย แบบ D.I.Y.

เทคโนโลยีการพิมพ์ผ้าและรูปแบบการสกรีนผ้า


งานพิมพ์ direct print 
1.งานพิมพ์  direct   print   เป็นงานพิมพ์ที่เป็นการพิมพ์ลงไปบนผ้าโดยตรงโดยใช้วัตถุดิบและสารเคมีที่ เหมาะสมกับกระบวนการผลิตนั้นๆ  ซึ่งมีกระบวนการผลิตดังนี้
1.1  การพิมพ์ผ้าเป็นหลา  ซึ่งมีกระบวนการพิมพ์หลายวิธีดังนี้
      1.1.1  การพิมพ์โดยพิมพ์เป็นสีโดยใช้แป้งพิมพ์ลงไปโดยตรงบนผ้าซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดเส้นใยนั้นๆคือ
         - ผ้าโพลีเอสเตอร์  จะใช้สีพิมพ์ disperse ผสมกับแป้งพิมพ์ที่ทำมาจาก gum ซึ่งขึ้นอยู่กับ ชนิดโครงสร้างผ้าและลักษณะเส้นใยที่นำมาใช้ในการผลิตผ้า     และลักษณะของลายพิมพ์ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคนิค
การพิมพ์ของช่างเทคนิคในแต่ละโรงงานนั้นๆ 
        - ผ้าฝ้ายและผ้าเรยอนหรือผ้าสปัน    ซึ่งจะใช้สีพิมพ์  reactive   ผสมกับแป้งพิมพ์ทำมาจาก  เคมีจำ
พวกแอลจิเนต   หรืก  พวก gum
      - ผ้าไนล่อน และ ผ้าไหม  จะใช้สีพิมพ์  acid   เป็นต้น
         1.1.2 การพิมพ์แบบ discharge เป็นการพิมพ์แป้งพิมพ์ที่ผสมสารเคมีประเภทสารฟอกสีลงไปบนผ้า
ย้อมสีเพื่อให้เกิดเป็นลายพิมพืหลังจากที่ผ้าที่พิมพ์ได้ผ่านกระบวนการอบและซักแล้วจึงจะเห็นลักษณะลายพิมพ์
ที่ สวยงาม   ซึ่งงานพิมพ์ประเภทนี้จะไม่เห็นลอยต่อของลายพิม์เวลาที่พิมพ์แล้วบล็อก เคลื่อน   เราสามารถดูงานพิมพ์ประเภทนี้ได้ว่าเป็นงานแบบนี้หรือไม่หลังจากทำเป็นเสื้อ ผ้าแล้วโดยดูจากด้านในตัวเสื้อจะเห็นลายพิมพ์ทะลุออกมาทางด้านหลังผ้าเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการพิมพ์กัดสีผ้าจนทะลุออกมาด้านลังลายพิมพ์
          1.1.3 การพิมพ์แบบ  resist  เป็นการพิมพ์แบบกันสี    ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่มีลักษณะการทำงานพิมพ์ที่คล้ายกันก็คือ  งานบาติก   ที่มีลักษณะงานพิมพ์ที่คล้ายกับการพิมพ์  resist   การพิมพ์แบบนี้จะเป็นการพิมพ์โดยพิมพ์แป้งพิมพ์ที่มีสารกันสี    แล้วนำผ้าที่พิมพ์เสร็จแล้วไปย้อมสีโดยการย้อมแบบ padding  แล้วนำผ้าที่ได้ไปผ่านกระบวนการซัก    ก็จะเห็นเป็นลักษณะงานพิมพ์ที่สวยงาม  
          1.1.4 การพิมพ์แบบ  burn  out  เป็นการพิมพ์แบบใช้สารเคมีเข้าไปทำลายเส้นใยผ้าเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายที่ สวยงาม   ซึ่งการพิมพ์แบบนี้จะใช้กับการพิมพ์ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใย  polyester  กับ  cotton โดยในการพิมพ์แป้งพิมพ์ที่ผสมสารเคมีที่ทำลายเส้นใย cotton จะไปทำลายเส้นใยหลังจากนำผ้าที่พิมพ์ไปผ่านกระบวนการอบและซัก    ก็จะเห็นช่องว่างของเส้นใยที่ถูกทำลายไปเหลือแต่เส้นใย  polyester 
        1.1.5  การพิมพ์แบบ digital  print   เป็นการพิมพ์งานที่ใช้เครื่องพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายกับ printer
ของคอมพิวเตอร์แต่มีขนาดใหญ่กว่า  โดยในกระบวนการผลิตจะต้องนำผ้ามาทำ  treatment ก่อนนำผ้าไปเข้า
เครื่องพิมพ์ซึ่งกระบวนการก็จะคล้ายกับการพิมพ์ผ้าหลาในแบบข้างต้น   แต่จะต่างกันตรงที่ผ้าที่จะต้องพิมพ์
จะ ต้องไปลามิเนตแป้งพิมพ์บนผ้าก่อนแล้วทำให้แห้ง   แล้วจึงนำผ้าที่ได้ไปเข้าเครื่องพิมพ์เพื่อพ่นสีใส่ผ้าให้เกิดเป็นลวดลาย ต่างๆ  แล้วก็ต้องนำผ้าชนิดนั้นๆไปผ่านการอบไอน้ำและการซักเพื่อขจัดคราบเคมีบนผ้า ออกจึงจะสามารถนำไปให้ลูกค้าได้ซึ่งในการพิมพ์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับผ้า ที่ใช้กับสีที่ใช้ในการพิมพ์นั้นๆซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสีพิมพ์ของแต่ ละบริษัท
2.การพิมพ์ indirect หรือการพิมพ์ transfer ในกระบวนการพิมพ์ผ้าหลา   เป็นการพิมพ์สีพิมพ์ใส่วัสดุประเภทกระดาษแล้วนำกระดาษที่พิมพ์แล้วมารีดใส่ ผ้าโดยใช้ลูกกลิ้งความร้อน   โดยในการผลิตจะใช้เครื่องพิมพ์
ที่เรียกว่า กราเวีย  ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์งาน  พลาสติก   แต่ในการพิมพ์ผ้าจะใช้กระดาษแทนพลาสติก  โดยสีพิมพ์ที่ใช้จะเป็นสี  disperse ที่มีค่า migration  สูงๆ โดยในการพิมพ์ประเภทนี้จะใช้ในการพิมพ์พวกเสื้อผ้ากีฬา  ซึ่งมีลวดลายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของทีมกีฬานั้นๆ  ส่วนใหญ่จะพิมพ์ในผ้าที่เป็นเส้นใย polyester  100 %  ที่เป็นผ้า knit ธรรมดา หรือ  ผ้า knit ที่ผสมเส้นใย spandex  เพื่อความนุ่มสบายในการสวมใส่   
    การพิมพ์แบบเป็นชิ้น ( แบบ direct   print )
     ในปัจจุบันจะมีโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งจะมีทำงานพิมพ์แบบเป็นชิ้นซึ่งปัจจุบันมีการ
ทำ งานในโรงงานที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนไม่สูงมากเหมือน อุตสาหกรรมพิมพ์ผ้าหลาซึ่งในกระบวนการพิมพ์ผ้าชิ้นจะมีรูปแบบการพิมพ์อยู่ ดังนี้
   1.การพิมพ์สียาง ( rubber    print )   การพิมพ์สียางเป็นการพิมพ์แป้งพิมพ์ชนิด waterbase  ลงไปบนผ้า
ซึ่งสียางสามารถพิมพ์ลงไปบนผ้าได้เกือบทุกเส้นใยขึ้นอยู่กับชนิดของสียางที่ผลิตมาจากโรงงานผู้ผลิต   ซึ่งสียาง
สามารถพิมพ์ลงไปบนผ้าได้เกือบทุกชนิด   ยกตัวอย่างเช่นผ้าที่ทำจากเส้นใย polyester บางเนื้อผ้าที่มีการทำ
ปรับสภาพเนื้อผ้าเพื่อให้เหมาะกับการสวมใส่จึงทำให้เวลาพิมพ์ ตัวแป้งพิมพ์ไม่สามารถยึดเกาะกับเส้นใยได้ไม่ดี
ต้องใช้สารเคมี crosslinking   agent  ที่มีการยึดเกาะที่มีความเข้มข้นสูงมาใช้ในการพิมพ์ซึ่งเวลาใช้ให้เทสต์
งาน ก่อนทำการผลิตจริงเพราะ  เคมีที่มีการยึดเกาะที่ดีก็จะมีการข้อเสียคือทำให้สีที่พิมพ์ลงไปมีความแข็ง และจะมีปัญหาทำให้ดึงแล้วแตกหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว    และจะมีปัญหาในกรณีที่ทิ้งไว้นานๆแล้วสีจะกรอบ
  2.การพิมพ์สีพลาสติซอล ( plastisol    print ) การพิมพ์สีพลาสติซอลเป็นสีพิมพ์ที่มีส่วนผสมของ pvc และสารเคมีพวก  plastiziser   ซึ่งเป็นสาเหตุของสารก่อเกิดมะเร็ง  ซึ่งในเสื้อผ้าที่เป็นยี่ห้อแบรนด์เนมที่ขาย
ให้กับประเทศแถบยุโรปและประเทศอเมริกา   จะห้ามพิมพ์สีพิมพ์ที่มีส่วนผสมของ pvc และ plastiziser
ซึ่งในปัจจุบันในสินค้าแบรนด์ส่วนใหญ่จะให้พิมพ์สียาง
   3.การพิมพ์กำมะหยี่ ( direct  flock   print )  การพิมพ์กำมะหยี่ลงไปบนผ้าโดยตรงจะใช้วิธีการพิมพ์กาวลงไปบนผ้าแล้วใช้ เครื่องพ่นขนกำมะหยี่ลงไปบนผ้าหลังจากพิมพ์กาวเสร็จแล้ว    โดยจะทำการพ่นขนกำมะหยี่ลงไปบนผ้าทีละสี     ในการพิมพ์กำมะหยี่โดยตรงจะมีวิธีการพิมพ์อยู่  2 แบบ โดยพิมพ์ลงไปบนโต๊ะพิมพ์โดยพิมพ์
ลงไปทีละสีแต่จะมีปัญหาเรื่องของการฟุ้งกระจายของขนกำมะหยี่ในโรงงาน   แต่ในปัจจุบันจะมีเครื่องพิมพ์แบบ
วงกลมซึ่งจะมีกล่องพ่นขนกำมะหยี่โดยจะพ่นลงเฉพาะลาย    โดยในเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีหลายแป้นพิมพ์
โดยจะมีแป้นที่พิมพ์กาวและแป้นที่พ่นกำมะหยี่โดยในการพิมพ์แบบนี้จะไม่มีเรื่องการฟุ้งกระจายของขนกำมะหยี่
เพราะการพ่นแบบนี้จะพ่นโดยใช้กล่องพ่นลงไปบนลายพิมพ์ที่มีการพิมพ์กาวอยู่จะไม่มีการฟุ้งกระจายเพระถูกควบคุมโดยกล่องพ่น
    4.การพิมพ์ discharge   เป็น การพิมพ์แบบกัดสีซึ่งผ้าที่ใช้ในการพิมพ์ส่วนใหญ่จะเป็นผ้า cotton ที่มีการย้อมสีกลุ่ม  ไวนิลซัลโฟน   ซึ่งสีพิมพ์ที่ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้สารฟอกสี    ซึ่งสีที่ใช้ในการพิมพ์จะเป็นแป้งพิมพ์ประเภทปิกเมนต์ผสมกับสารเคมีที่เป็น สารฟอกสี     ในเวลาพิมพ์งานพิมพ์ประเภทนี้ไม่สามารถผสมสาร
ฟอกสีทิ้งไว้ ได้เพราะจะเกิดปฏิกิริยาทำให้สีพิมพ์ไม่สามารถทำปฏิกิริยาได้เต็ม ประสิทธิภาพจะทำให้การกัดสีพิมพ์ไม่สามารถทำให้ได้ชิ้นงานที่มีการกัดสี พิมพ์ที่สม่ำเสมอ   ในการพิมพ์งานประเภทนี้การที่จะทำให้งานมี
ประสิทธิภาพ ได้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของมือพิมพ์ในการพิมพ์งานและส่วนผสมทางเคมีที่ใช้ใน การพิมพ์ต้องผสมได้ตามเปอร์เซ็นต์ที่ทางบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด    ในการพิมพ์ประเภทนี้ถ้าจะให้การกัดสีมีประสิทธิภาพต้อง
พิมพ์งานแล้วทำการอบสีเลยถึงจะมีประสิทธิภาพของงานพิมพื
   5.การพิมพ์ resist   เป็นการพิมพ์แบบกันสีซึ่งส่วนใหญ่ในการพิมพ์ผ้าชิ้นยังไม่มีคนทำ     แต่ส่วนใหญ่จะทำในการทำงานแบบบาติก  ซึ่งจะใช้การมัดผ้าหรือการเขียนเทียนไขลงไปบนผ้าแล้วทำการย้อม   ซึ่งยังมีการทำทีไม่แพร่หลายมากนักเพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือและ แรงงาน 
    6.การพิมพ์ฟอยล์     เป็นการพิมพ์กาวลงไปบนผ้าตามลวดลายที่กำหนดแล้วนำผ้าที่พิมพ์กาวแล้วไปรีดฟอยล์
โดยใช้เครื่องรีดโดยรีดที่อุณหภูมิ  ประมาณ  140 – 160 องศาเซลเซียส
    7.การพิมพ์ HIDEN   เป็นการพิมพ์งานแบบให้ลายพิมพ์มีความหนากว่าการพิมพ์งานแบบทั่วไป   โดยในการพิมพ์งานแบบ  HIDEN  จะมีเทคนิคการพิมพ์ อยู่  2 แบบคือ
     - การพิมพ์แบบใช้เคมีพิมพ์ที่เป็นกลุ่ม WATERBASE  โดยในการพิมพ์งานแบบนี้จะใช้เทคนิคการถ่ายบล็อกให้มีความหนาและก็ใช้เคมีใน การพิมพ์ที่มีความหนาแน่นในโครงสร้างสูงซึ่งเวลาพิมพ์อาจจะต้องใช้การพิมพ์ หลายรอบ   ขึ้นอยู่กับความหนาของบล็อกพิมพ์และความเหนียวของแป้งพิมพ์ซึ่งต้องมีความ หนืดมากกว่า
การพิมพ์งานโดยทั่วไป    และในการพิมพ์สีพิมพ์จำพวกนี้จะมีปัญหาเรื่องของการพิมพ์บล็อกจะตันอยู่เป็นประจำ
ซึ่งต้องแก้ไขโดยใช้สารเติมแต่งที่เป็นพวก WETTING   AGENT  ลงไปในแป้งพิมพ์เพื่อช่วยไม่ให้บล็อก
ตันง่ายจนเกินไป    และในการพิมพ์งานประเภทนี้ในโรงงานไม่ควรมีอากาศที่อบอ้าวมากเพราะจะทำให้สีแห้งไว
ถึงแม้จะมีการเติมสารเติมแต่งลงไปก็ตาม
  - การพิมพ์โดยใช้สีพิมพ์พวกกลุ่ม  PLASTISOL  จะมีการพิมพ์ที่คล้ายกับการพิมพ์ในกลุ่ม  WATERBASE  แต่จะดีกว่าตรงที่พิมพ์แล้วบล็อกไม่ตัน   และในการพิมพ์งานไม่ต้องพิมพ์รอบมากเท่ากับ
การพิมพ์ WATERBASE  ซึ่งถ้าพิมพ์ในเครื่องพิมพ์อัตโนมัติน่าจะได้งานมากกว่าการพิมพ์โดยใช้คนพิมพ์
                
 ในการพิมพ์งานแบบ  TRANSFER   จะมีการพิมพ์งานอยู่  2 แบบคือ      1.การพิมพ์งาน transfer  เป็นแบบการพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษหรือลงไปบนแผ่นฟิล์ม   แล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปบนสีพิมพ์เพื่อที่จะได้มีการยึดเกาะลงไปบนผ้า ได้   โดยเทคนิคในการพิมพ์งานประเภทนี้จะมีอยู่หลายแบบดังนี้คือ
        - การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัติ   โดยพิมพ์สีพิมพ์ผ่านบล็อกสกรีนแล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปอีกครั้ง   โดยในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้เฉพาะงานพิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดมากนัก เช่น   การพิมพ์ป้ายไซด์
สำหรับการรีดติดคอเสื้อซึ่งจะไม่มีรายละเอียดมากในส่วนของลวดลาย
       - การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ offset  ซึ่งจะมีการพิมพ์ที่ละเอียดกว่าการพิมพ์แบบสกรีน  แต่จะเหมาะสมการพิมพ์แบบ ภาพเสมือน   เพราะในการพิมพ์จะพิมพ์แบบพิมพ์  4 สี  โดยในการพิมพ์แบบนี้จะใช้เครื่องพิมพ์
ที่มีหัวพิมพ์  4 หัวพิมพ์โดยจะใช้เพลทในการพิมพ์ซึ่งจะใหค่าความละเอียดของลายพิมพ์มากกว่าการพิมพ์งาน
แบบสกรีน  แต่จะไม่เหมาะกับการพิมพ์แบบสีตายเช่นการพิมพ์ป้ายไซด์   
     - การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์  inkjet  พิมพ์ลงไปบนวัสดุประเภท polyurethane   ซึ่งมีการเคลือบกาวที่
ด้าน หลัง  โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการพิมพ์งานแบบสกรีนและก็จะมีกำลัง การผลิตที่ต่ำกว่าการพิมพ์แบบสกรีน   และในการพิมพ์งานแบบนี้ไม่ต้องมีการพิมพ์กาวลงไปบนลายพิมพ์ไม่เหมือนการ พิมพ์ในแบบข้างต้น

      2.การพิมพ์งาน transfer ที่ใช้สีพิมพ์ disperse  หรือ  เรียกอีกอย่างว่าการพิมพ์แบบ  sublimation  ในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้กับเส้นใยที่เป็นโพลีเอสเตอร์และไนล่อน    และจะต้องรีดงานที่อุณหภูมิ  200 – 210 องศาเซลเซียสซึ่งในการพิมพ์นี้จะใช้หลักการทางเคมีของสีในการแทรกซึมเข้าไป ในเส้นใยไม่เหมือนงาน transfer  ที่อาศัยกาวในการยึดเกาะกับเส้นใย   ซึ่งจะมีเทคนิคการพิมพ์ดังนี้
     - การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์สกรีนแบบกึ่งอัตโนมัติ   โดยจะพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษประเภทกระดาษปอนด์หรืออาร์ตมัน  ขึ้นอยู่กับเทคนิคในแต่ละโรงงาน    โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์งานที่ได้งานจำนวนไม่มากนักและเหมาะกับลาย พิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดของลวดลายมากนัก
    - การพิมพ์โดยใช้เครื่อง offset  โดยจะพิมพ์งานที่มีความละเอียดมากๆได้เช่นงานที่เป็นเม็ดสกรีนแต่จะไม่เหมาะ กับการพิมพ์งานที่เป็นสีตาย  และในกระบวนการผลิตจะสามารถพิมพ์งานได้มากกว่าการพิมพ์แบบสกรีน
  - การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบ  inkjet  โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์ที่มีความละเอียดมากแต่จะมีกำลังการผลิตที่ น้อยกว่าการพิมพ์ในแบบข้างต้น    และในการพิมพ์งานแบบนี้จะเหมาะกับการทำงานส่งตัวอย่างลูกค้ามากกว่าการทำแบบ  production  และเหมาะที่จะทำงานที่เป็น  order  จำนวนน้อย

ประเภทการพิมพ์สกรีน (Type: Screen Printing)

นอกเหนือจากการทอ การย้อม การเพ้นต์แล้ว การตกแต่งลวดลายลงบนผ้าโดยการพิมพ์สกรีนก็ถือเป็นอีกหนึ่งในหลากหลาย กรรมวิธีที่นำมาใช้ในการทำให้เกิดลวดลายบนผ้า โดยผ้าที่ถูกนำมาใช้ในการพิมพ์สกรีนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ผ้าหลา(ผ้าม้วน)และผ้าชิ้น(รวมถึงเสื้อสำเร็จรูป) ซึ่งกระบวนการที่ถูกนำมาในการพิมพ์ผ้ามีทั้งที่เป็นแบบใช้เครื่องจักร อัตโนมัติโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรมการพิมพ์ผ้าขนาดใหญ่และตามโรงงาน เช่นเครื่องพิมพ์แบบ Rotary Screen, Roller Screen, Flat Bed Screen , Digital Printing เป็นต้น และการพิมพ์ผ้าโดยอาศัยแรงงานคน (Hand Printing ) โดยประเภทการพิมพ์สกรีนลงบนผ้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.การพิมพ์โดยตรง (Direct Printing) จะใช้แป้งพิมพ์ซึ่งผสมกับหมึกพิมพ์ตามประเภทที่เหมาะกับเนื้อผ้าและผสมสาร เคมีอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความคมชัดของลายและความเข้มของสี แล้วจึงทำการพิมพ์ตรงลงไปบนเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยตรงยังสามารถจำแนกตามเทคนิคได้ดังนี้ 

1.1 การพิมพ์ดิสชาร์จ (Discharge Printing) เทคนิคนี้ใช้กับการพิมพ์ลวดลายบนผ้าที่ถูกย้อมสีมาก่อนแล้ว โดยใช้สารกำจัดสี(Discharging agent) เพื่อทำลายสีพื้นของผ้าที่ถูกย้อมทำให้เกิดเป็นลวดลายสีขาว(White discharge) ในกรณีที่ต้องการให้เกิดลวดลายสีอื่น ๆ (color discharge) จะเติมสีซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อสารกำจัดสีผสมลงไป เมื่อทำการพิมพ์ ลวดลายสีพื้นของผ้าย้อมจะถูกทำลายแต่สีที่เติมลงไปคงอยู่และเข้าไปแทนที่สี ที่ถูกกัด เมื่อไปผ่านกระบวนการอบและซักแห้งแล้วจึงจะเห็นเป็นลวดลายปรากฏ



1.2 การพิมพ์รีซิส (Resist Printing) เป็นการพิมพ์ลายโดยผสมสารกันสี (Resisting agent) ลงในแป้งพิมพ์เพื่อป้องกันสีย้อมซึ่งจะถูกย้อมหรือพิมพ์ทับในภายหลัง หลังจากย้อมและนำไปซักจะเห็นเป็นลวดลายพิมพ์สีขาว (White Resist) ตรงส่วนที่พิมพ์ลายกันสีไว้ และหากต้องการให้เกิดลวดลายสี (Color Resist) จะเติมสีที่ต้องการผสมลงไปในแป้งพิมพ์พร้อมสารกันสีแล้วจึงพิมพ์ลายก่อนนำไป ย้อม วิธีการนี้นิยมใช้กันในการทำผ้าบาติก


1.3 การพิมพ์เบิร์นเอ๊าท์ (Burn-Out Printing) เป็นการทำให้เกิดลวดลายบนเนื้อผ้าที่มีเส้นใยผสม 2 ชนิด ด้วยการผสมสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำลายเส้นใยของผ้าลงในแป้งพิมพ์ เพื่อทำให้เส้นใยชนิดใดชนิดหนึ่งที่ถูกทำลายเกิดเป็นลวดลาย



1.4 การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital printing) เป็นการพิมพ์ผ้าโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการเดียวกับการพิม์กระดาษ ด้วยเครื่อง Printer ทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้า ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า



2. การพิมพ์แบบอ้อม (Indirect Print) หรือ แบบถ่ายโอนความร้อน Heat Transfer เป็นเทคนิคการพิมพ์โดยวิธีการพิมพ์ลายลงบนกระดาษ แล้วนำไปผ่านกระบวนการกดหรือรีดด้วยความร้อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ



แบบที่ 1 อาศัยหลักการระเหิดของหมึก (Dye sublimation) การพิมพ์วิธีนี้จะใช้การพิมพ์ลายลงบนกระดาษโฟโต้อิงค์เจ็ทที่ใช้สำหรับพิมพ์ ภาพถ่ายทั่วไป โดยใช้หมึกดูราซับ (Durasub) ซึ่งเป็นหมึกประเภทที่มีคุณสมบัติในการระเหิดของสีเมื่อโดนความร้อน (Sublimation Ink) ส่วนเครื่องพิมพ์จะต้องเป็นเครื่องอิงค์เจ็ทที่รองรับหมึกที่มีความเข้มข้น สูงอย่าง Sublimation ink เมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษแล้วนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดความร้อนหมึกจะระเหิด กลายเป็นไอเกาะติดและย้อมลงไปบนเส้นใยผ้าเกิดเป็นลวดลาย โดยหมึกประเภทนี้จะมีคุณสมบัติทนต่อการซักล้างและทนแดด เหมาะกับการพิมพ์ผ้าที่มีสีอ่อนและผ้าใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์หรือไนล่อน
แบบที่ 2 อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิลม์โดยมีกาวเคลือบ เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต , งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และ งานพิมพ์อิงค์เจ็ต ซึ่งแต่ล่ะประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100 %

วิธีการส่งไฟล์ต้นฉบับสำหรับงานพิมพ์



การส่งไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์

หลังจากที่จัดทำไฟล์ต้นฉบับเสร็จและจัดเตรียมไฟล์ที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการส่งไฟล์ที่ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ซึ่งก็ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยมีหลักการเลือกใช้วิธีส่งไฟล์ดังต่อไปนี้ 

บันทึกลงแผ่น CD/DVD


วิธีบันทึกไฟล์ต้นฉบับงานพิมพ์ลงแผ่นเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกส่งไฟล์ได้ครั้งละมากๆ ราคา CD/DVD สำหรับไรท์ไม่แพง และทำสำเนาได้มากเท่าที่ต้องการ การบันทึกไฟล์ต้นฉบับด้วยการบันทึกลงแผ่น CD/DVD สามารถบันทึกไฟล์โดยตรงก็ได้ หรือจะเลือกบีบอัดด้วยโปรแกรม WinZip หรื WinRAR เพื่อลดขนาดไฟล์ก่อนก็ได้ (กรณีที่บีบอัดไฟล์ทางผู้รับงานจะต้องมีโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR ด้วย เพื่อคลายไฟล์ออก) 

บันทึกใส่สื่อดิจิตอลอื่นๆ


นอกจากการบันทึกไฟล์ต้นฉบับลงแผ่น CD/DVD แล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอื่น อีกเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา (External Harddisk) แฟลชไดร์ฟหรือทัมฟ์ไดร์ฟ (Flash Drive or Thumb Drive) หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook) โดยสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลเหล่านี้สามารถโอนไฟล์ต้นฉบับด้วยวิธีเหมาะสำหรับ กรณีที่เจ้าของอุปกรณ์นำงานไปส่งเอง แต่มีจุดด้วยเพราะไม่เหมาะกับการเก็บไฟล์งานแบบถาวร 

ส่งไฟล์ทางอินเตอร์เน็ต


การส่งไฟล์ต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ได้ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีรองรับ เช่น มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขนาดพื้นที่อีเมล์ใหญ่ขึ้น และแนบไฟล์ได้มากขึ้น มีบริการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล แบบออนไลน์ มีโปรแกรมลดขนาดไฟล์ และที่สำคัญมีไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์มาตรฐานสำหรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพสูงและขนาดไฟล์เล็ก จากองค์ประกอบเหล่านี้ จึงทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วกว่าเมื่อก่อน ที่ต้องเดินทางไปส่งไฟล์เองมาก


nn

คลังบทความของเทคโนโลยีการพิมพ์